รายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับใหม่ ค่อยปรากฏขึ้นมาทีละน้อย จนเริ่มพอจะเห็นรูปร่างได้มากขึ้น และภายในเวลาอีกไม่เกินสองเดือน เราก็น่าจะได้เห็นรัฐธรรมนูญฉบับเต็มๆ กันทั้งฉบับ
ที่ชัดเจนขึ้นมาในตอนนี้คือเรื่องของรัฐสภา
รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญใหม่จะยังเป็นระบบสองสภาฯ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (สภา ส.ส.) และวุฒิสภา (สภา ส.ว. อยู่)
สภาผู้แทนราษฎรนั้น ที่มาของ ส.ส.ก็จะมาจากสองแบบ คือ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยแบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 250 คน และแบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คน โดยอาจจะมีการนำเอาวิธีการเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ด้วย
ส.ส.อาจจะไม่สังกัด หรือสังกัดภายใต้กลุ่มการเมืองที่มีโครงสร้างหลวมกว่าได้ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมา
ส.ส.เขต เป็นระบบเขตเดียวคนเดียว หรือในรัฐธรรมนูญปี 2540 และรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่แก้ไขครั้งล่าสุด (ก่อนรัฐบาลยิ่งลักษณ์) ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อจะคล้ายๆ รัฐธรรมนูญ 2550 ดั้งเดิม คือแบ่งเป็นภาค แต่ที่ไม่เหมือน ก็คือรอบนี้จะแบ่งเขตประเทศออกเป็น 6 ภาค และการคิดคำนวณหา ส.ส.ในแบบภาคจะเอาระบบบัญชีรายชื่อแบบเยอรมนีมาใช้ คือจะเอาจำนวน ส.ส.ภาคนี้ไว้ปรับจำนวน ส.ส.ในสภาฯ ของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆนั้นให้สอดคล้องกับความนิยมของประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยอาจจะได้ ส.ส.ประเภทภาคนี้เพิ่มขึ้นมาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับจำนวน ส.ส.เขตที่ได้ไปก่อนแล้ว รายละเอียดในเรื่องนี้อาจจะต้องพูดถึงกันอีกทีเมื่อมีภาพของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ที่ชัดเจนขึ้น
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.นั้นก็จะมาจากการสรรหาทั้งหมด 200 คน หรืออาจจะใช้ว่าการเลือกตั้งโดยทางอ้อมก็ได้ แต่จะเป็นการเลือกตั้งมาจากกลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มประสบการณ์ ได้แก่ กลุ่มผู้เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เลือกกันเองให้ได้ไม่เกิน 10 คน
กลุ่มผู้เคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนระดับสูง ที่ตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร หรือข้าราชการฝ่ายทหารระดับปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.สส. ผบ.เหล่าทัพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กร เลือกกันเองประเภทละไม่เกิน 10 คน
กลุ่มผู้แทนองค์กรวิชาชีพหรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้งรับรอง อีกจำนวนไม่เกิน 10 คน
กลุ่มตัวแทนจากองค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่นไม่เกิน 50 คน
และสุดท้าย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอื่นๆ ตามที่พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.อีกรวมกันไม่เกิน 100 คน
จากโครงสร้างดังกล่าว จะเห็นว่า ส.ส. และ ส.ว.นั้น จะมีที่มาแตกต่างกัน แต่ก็มี “ฐานแห่งอำนาจ” เดียวกัน คือ ประชาชนและตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง
โดย ส.ส.นั้นจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ในฐานะของ “พลเมือง” แต่ละคน ที่ไม่มีสถานภาพใดๆ เลย นอกจากความเป็นพลเมืองชาวไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนด ทุกคนมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน สมดังชื่อของ “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
ส่วน ส.ว.นั้น ชื่อก็บอกว่าเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ดังนั้นสมาชิกของสภาฯ ดังกล่าว ก็ควรไม่ใช่หรือที่จะต้องมี “วุฒิ” เหนือกว่าสมาชิกประเภทราษฎรทั่วไป นั่นจึงหมายถึง สภาฯ นี้เป็นตัวแทนที่ผ่านจากการเลือกตั้งของ “ผู้คน” ที่อยู่ในสถานะต่างๆ ทั้งราชการ การเมือง กลุ่มอาชีพ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มสังคมต่างๆ
ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่เปิดเผยออกมานี้ จึงคล้ายว่าเป็นเหมือนกับ “ตัวแทน” ของ “สถานะ” ของพลเมืองแต่ละคนที่มี คือนอกจากเป็น “พลเมืองไทย” แล้ว เรายังเป็น “ข้าราชการ” เป็น “นักธุรกิจ” เป็น “เกษตรกร” เป็น “ทนายความ” เป็น “นักวิชาการ” เป็นอะไรต่อมิอะไร ตาม “หมวก” ที่เราสวมอยู่
การเลือกตั้ง ส.ส.คือการส่งตัวแทนของ “ตัวตน” ในฐานะพลเมืองของเรา ส่วนการร่วมสรรหา “ส.ว” คือการส่งตัวแทนบน “หมวก” ของเรา เข้าไปอยู่ในสภาสูง
เช่น นาย ก.เป็นเกษตรกรเลี้ยงโค ในการเลือกตั้ง ส.ส.เขาจะก็ไปกาเลือกพรรค “สีแดง” เป็น “ผู้แทน” ส่วนตัวของเขา ส่วนในการสรรหา ส.ว.เขาก็จะมี “นายกสมาคมผู้เลี้ยงโค” (องค์กรสมมติ) ซึ่งเขาอาจจะเคยเลือก นาย ค.เป็นนายกสมาคมไป ก็จะเท่ากับเขาเองก็ส่ง นาย ค.ไปเป็น “ตัวแทน” ในหมวกเกษตรกรเลี้ยงโคของเขา เข้าร่วมสรรหากับตัวแทนขององค์กรวิชาชีพอื่นๆ ว่าใครจะได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ใน “หมวก” คนเลี้ยงโคของเขานั่นเอง เป็นรูปแบบการส่งตัวแทนไปทางอ้อม
หากคิดดูด้วยตรรกะเช่นนี้ก็จะเห็นว่าสมเหตุสมผลดีกับการที่จะมีวุฒิสภา ซึ่งเป็น “สภาสูง” หรือ “สภาที่มีวุฒิ” ที่น่าจะต้องมีการได้มาที่ “แตกต่าง” จากกรณีของ ส.ส.เพราะถ้าให้เลือกตั้งมาทั้งสองวิธี ก็ไม่เห็นว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรเลยในเชิงที่มา
ที่จะต้องกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ เพราะเชื่อได้ว่า เรื่องที่มาของ ส.ว.ในรูปแบบนี้ กำลังเป็นข่าวออกมา และเวลาไม่นานก็จะต้องถูกต่อต้านจาก “นักประชาธิปไตยสำเร็จรูป” ขาประจำที่จะเปิดเกมโจมตี ตาม “คาถา” ที่พวกเขาท่องไว้แต่ว่า “ประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง หากไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย” หรือ “ตัวแทนของประชาชนต้องมาจากการเลือกตั้ง หากไม่ได้เลือกตั้ง ไม่เรียกว่าเป็นตัวแทนของประชาชน”
ทั้งๆ ที่อันที่จริงแล้วการเป็น “ตัวแทน” นั้นแม้จะมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่น่าจะหมายถึงการเลือกตั้งรูปแบบเดียว กาบัตรแบบเดียว เลือกคนประเภทเดียวกันแยกเป็นสองสภาฯ มิใช่หรือ
หรือเราควรถือว่าการหา “ตัวแทน” ที่ดีนั้น ควรจะมีวิธีการที่หลากหลาย รองรับทั้งความประสงค์หรือความต้องการส่วนตัว (คือสมาชิก ส.ส.) กับความต้องการหรือตัวแทนในเชิงสถานภาพ บทบาท อาชีพ (คือสมาชิก ส.ว.)
หากยังมัวแต่ติดกับดักท่องคาถา “การเลือกตั้ง” แบบนกแก้วนกขุนทองอยู่เช่นนี้ต่อไป การเมืองก็กลับไปสู่สภาพเดิมๆ อีก คือการเมืองรูปแบบเดียว การเมืองแบบพวกมากลากไป การเมืองที่ใครซื้อคนได้เยอะกว่า ไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินหรือซื้อด้วยใจ ก็เป็นฝ่ายพวกมากชนะกินรวบ แล้วสั่งสมบารมีเงินทองสร้างความได้เปรียบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เราจะยังต้องการการเมืองเช่นนั้นหรือ
หรือจะละวางความเชื่อเก่าๆ คาถาเดิม มาลองเปลี่ยนมุมคิดเพื่อคำตอบใหม่ของการปฏิรูปการเมืองและประเทศชาติดูบ้าง.
ที่ชัดเจนขึ้นมาในตอนนี้คือเรื่องของรัฐสภา
รัฐสภาตามรัฐธรรมนูญใหม่จะยังเป็นระบบสองสภาฯ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (สภา ส.ส.) และวุฒิสภา (สภา ส.ว. อยู่)
สภาผู้แทนราษฎรนั้น ที่มาของ ส.ส.ก็จะมาจากสองแบบ คือ ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยแบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 250 คน และแบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คน โดยอาจจะมีการนำเอาวิธีการเลือกตั้งด้วยเทคโนโลยีระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ด้วย
ส.ส.อาจจะไม่สังกัด หรือสังกัดภายใต้กลุ่มการเมืองที่มีโครงสร้างหลวมกว่าได้ ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมา
ส.ส.เขต เป็นระบบเขตเดียวคนเดียว หรือในรัฐธรรมนูญปี 2540 และรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่แก้ไขครั้งล่าสุด (ก่อนรัฐบาลยิ่งลักษณ์) ส่วน ส.ส.บัญชีรายชื่อจะคล้ายๆ รัฐธรรมนูญ 2550 ดั้งเดิม คือแบ่งเป็นภาค แต่ที่ไม่เหมือน ก็คือรอบนี้จะแบ่งเขตประเทศออกเป็น 6 ภาค และการคิดคำนวณหา ส.ส.ในแบบภาคจะเอาระบบบัญชีรายชื่อแบบเยอรมนีมาใช้ คือจะเอาจำนวน ส.ส.ภาคนี้ไว้ปรับจำนวน ส.ส.ในสภาฯ ของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองต่างๆนั้นให้สอดคล้องกับความนิยมของประชาชนอย่างแท้จริงมากขึ้น โดยอาจจะได้ ส.ส.ประเภทภาคนี้เพิ่มขึ้นมาหรือไม่ก็ได้ ขึ้นกับจำนวน ส.ส.เขตที่ได้ไปก่อนแล้ว รายละเอียดในเรื่องนี้อาจจะต้องพูดถึงกันอีกทีเมื่อมีภาพของรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ที่ชัดเจนขึ้น
ส่วนสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว.นั้นก็จะมาจากการสรรหาทั้งหมด 200 คน หรืออาจจะใช้ว่าการเลือกตั้งโดยทางอ้อมก็ได้ แต่จะเป็นการเลือกตั้งมาจากกลุ่มวิชาชีพ และกลุ่มประสบการณ์ ได้แก่ กลุ่มผู้เคยดำรงตำแหน่งระดับสูงในรัฐ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา และประธานศาลฎีกา เลือกกันเองให้ได้ไม่เกิน 10 คน
กลุ่มผู้เคยเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนระดับสูง ที่ตำแหน่งปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่าซึ่งเป็นตำแหน่งบริหาร หรือข้าราชการฝ่ายทหารระดับปลัดกระทรวงกลาโหม ผบ.สส. ผบ.เหล่าทัพ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานองค์การมหาชนหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าองค์กร เลือกกันเองประเภทละไม่เกิน 10 คน
กลุ่มผู้แทนองค์กรวิชาชีพหรืออาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้งรับรอง อีกจำนวนไม่เกิน 10 คน
กลุ่มตัวแทนจากองค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่นไม่เกิน 50 คน
และสุดท้าย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเมือง ความมั่นคง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม ชาติพันธุ์ ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม คุ้มครองผู้บริโภค เด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และอื่นๆ ตามที่พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.อีกรวมกันไม่เกิน 100 คน
จากโครงสร้างดังกล่าว จะเห็นว่า ส.ส. และ ส.ว.นั้น จะมีที่มาแตกต่างกัน แต่ก็มี “ฐานแห่งอำนาจ” เดียวกัน คือ ประชาชนและตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศนั่นเอง
โดย ส.ส.นั้นจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ในฐานะของ “พลเมือง” แต่ละคน ที่ไม่มีสถานภาพใดๆ เลย นอกจากความเป็นพลเมืองชาวไทย ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายเลือกตั้งกำหนด ทุกคนมีหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน สมดังชื่อของ “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร”
ส่วน ส.ว.นั้น ชื่อก็บอกว่าเป็น “สมาชิกวุฒิสภา” ดังนั้นสมาชิกของสภาฯ ดังกล่าว ก็ควรไม่ใช่หรือที่จะต้องมี “วุฒิ” เหนือกว่าสมาชิกประเภทราษฎรทั่วไป นั่นจึงหมายถึง สภาฯ นี้เป็นตัวแทนที่ผ่านจากการเลือกตั้งของ “ผู้คน” ที่อยู่ในสถานะต่างๆ ทั้งราชการ การเมือง กลุ่มอาชีพ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มผู้ประกอบการ และกลุ่มสังคมต่างๆ
ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญใหม่ที่เปิดเผยออกมานี้ จึงคล้ายว่าเป็นเหมือนกับ “ตัวแทน” ของ “สถานะ” ของพลเมืองแต่ละคนที่มี คือนอกจากเป็น “พลเมืองไทย” แล้ว เรายังเป็น “ข้าราชการ” เป็น “นักธุรกิจ” เป็น “เกษตรกร” เป็น “ทนายความ” เป็น “นักวิชาการ” เป็นอะไรต่อมิอะไร ตาม “หมวก” ที่เราสวมอยู่
การเลือกตั้ง ส.ส.คือการส่งตัวแทนของ “ตัวตน” ในฐานะพลเมืองของเรา ส่วนการร่วมสรรหา “ส.ว” คือการส่งตัวแทนบน “หมวก” ของเรา เข้าไปอยู่ในสภาสูง
เช่น นาย ก.เป็นเกษตรกรเลี้ยงโค ในการเลือกตั้ง ส.ส.เขาจะก็ไปกาเลือกพรรค “สีแดง” เป็น “ผู้แทน” ส่วนตัวของเขา ส่วนในการสรรหา ส.ว.เขาก็จะมี “นายกสมาคมผู้เลี้ยงโค” (องค์กรสมมติ) ซึ่งเขาอาจจะเคยเลือก นาย ค.เป็นนายกสมาคมไป ก็จะเท่ากับเขาเองก็ส่ง นาย ค.ไปเป็น “ตัวแทน” ในหมวกเกษตรกรเลี้ยงโคของเขา เข้าร่วมสรรหากับตัวแทนขององค์กรวิชาชีพอื่นๆ ว่าใครจะได้เป็นสมาชิกวุฒิสภา ใน “หมวก” คนเลี้ยงโคของเขานั่นเอง เป็นรูปแบบการส่งตัวแทนไปทางอ้อม
หากคิดดูด้วยตรรกะเช่นนี้ก็จะเห็นว่าสมเหตุสมผลดีกับการที่จะมีวุฒิสภา ซึ่งเป็น “สภาสูง” หรือ “สภาที่มีวุฒิ” ที่น่าจะต้องมีการได้มาที่ “แตกต่าง” จากกรณีของ ส.ส.เพราะถ้าให้เลือกตั้งมาทั้งสองวิธี ก็ไม่เห็นว่าจะมีความแตกต่างกันอย่างไรเลยในเชิงที่มา
ที่จะต้องกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ เพราะเชื่อได้ว่า เรื่องที่มาของ ส.ว.ในรูปแบบนี้ กำลังเป็นข่าวออกมา และเวลาไม่นานก็จะต้องถูกต่อต้านจาก “นักประชาธิปไตยสำเร็จรูป” ขาประจำที่จะเปิดเกมโจมตี ตาม “คาถา” ที่พวกเขาท่องไว้แต่ว่า “ประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง หากไม่มีการเลือกตั้ง ก็ไม่ใช่ประชาธิปไตย” หรือ “ตัวแทนของประชาชนต้องมาจากการเลือกตั้ง หากไม่ได้เลือกตั้ง ไม่เรียกว่าเป็นตัวแทนของประชาชน”
ทั้งๆ ที่อันที่จริงแล้วการเป็น “ตัวแทน” นั้นแม้จะมาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่น่าจะหมายถึงการเลือกตั้งรูปแบบเดียว กาบัตรแบบเดียว เลือกคนประเภทเดียวกันแยกเป็นสองสภาฯ มิใช่หรือ
หรือเราควรถือว่าการหา “ตัวแทน” ที่ดีนั้น ควรจะมีวิธีการที่หลากหลาย รองรับทั้งความประสงค์หรือความต้องการส่วนตัว (คือสมาชิก ส.ส.) กับความต้องการหรือตัวแทนในเชิงสถานภาพ บทบาท อาชีพ (คือสมาชิก ส.ว.)
หากยังมัวแต่ติดกับดักท่องคาถา “การเลือกตั้ง” แบบนกแก้วนกขุนทองอยู่เช่นนี้ต่อไป การเมืองก็กลับไปสู่สภาพเดิมๆ อีก คือการเมืองรูปแบบเดียว การเมืองแบบพวกมากลากไป การเมืองที่ใครซื้อคนได้เยอะกว่า ไม่ว่าจะซื้อด้วยเงินหรือซื้อด้วยใจ ก็เป็นฝ่ายพวกมากชนะกินรวบ แล้วสั่งสมบารมีเงินทองสร้างความได้เปรียบต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เราจะยังต้องการการเมืองเช่นนั้นหรือ
หรือจะละวางความเชื่อเก่าๆ คาถาเดิม มาลองเปลี่ยนมุมคิดเพื่อคำตอบใหม่ของการปฏิรูปการเมืองและประเทศชาติดูบ้าง.