อาชีพการทำสวนยางของคนในภาคใต้กำลังวิกฤตหนักขึ้นทุกวัน ที่จริงเป็นปัญหานี้สะสมมานาน วนอยู่ในวงจรเดิม เวลานี้ ราคายางตกต่ำมากที่สุดในรอบสิบปี ล่าสุดน้ำยางสด ราคากิโลกรัมละ 38 บาท ยางแผ่นดิบ กิโลกรัมละ 46.50 บาท (ข้อมูล สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง 26 ม.ค. 58) ในขณะที่ต้นทุนกิโลกรัมละ 65.25 บาท เรียกว่าขาดทุนทุกวัน อย่างนี้ชาวสวนยางจะมีชีวิตอยู่กันอย่างไรครับ
ประเทศไทยเคยเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่ส่งยางออกไปขายมากที่สุดในโลก แต่ทว่าราคายางตกต่ำในปัจจุบัน เกิดจากทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ จีนคือผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะนี้จีนลดการนำเข้ายางพารา และเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ซื้อ มาเป็นผู้ผลิตเองมากขึ้น ด้วยการลงทุนปลูกยางพาราในลาว เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งโตกำลังจะกรีดน้ำยางได้แล้ว ส่งผลกระทบต่อปัญหายางพาราราคาตกต่ำ และจะรุนแรงมากขึ้นในปีต่อๆ ไป
สำหรับปัญหาภายในของไทย คนภาคใต้ส่วนใหญ่ทำสวนยางเป็นอาชีพหลักมายาวนานนับร้อยๆ ปีแล้ว ภูมิประเทศและภูมิอากาศในภาคใต้ปลูกสวนยางได้ผลผลิตดี เมื่อก่อนสวนยางพาราส่วนใหญ่จะปลูกกันบนพื้นที่เป็นควนหรือเนินเขา ส่วนพื้นที่ราบลุ่มชาวบ้านก็ทำนาปลูกข้าว
เวลานี้พื้นที่การปลูกยางพาราเปลี่ยนแปลงไปมาก ช่วงยางราคาดี รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปลูก ไม่เฉพาะในภาคใต้ แต่ขยายไปทางภาคตะวันออก ซึ่งอากาศและพืชพันธุ์คล้ายกับภาคใต้ และในที่สุดก็ขยายพื้นที่การปลูกครั้งใหญ่ไปในภาคอิสานและภาคเหนือ ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกยางพารา 63 จังหวัดกระจายในทุกภาคของประเทศไทย และมีพื้นที่ราว 22 ล้านไร่เลยทีเดียว นโยบายที่ผิดพลาด ราคายางตกต่ำมีผลต่อเกษตรกรจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
แม้ในภาคใต้เองก็ขยายพื้นที่การปลูกไปในพื้นที่ราบที่เคยใช้ทำนาปลูกข้าว ที่นาจำนวนมากถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราหรือสวนปาล์ม พื้นที่ทำนาในภาคใต้ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งลดน้อยลงจนเกือบหมดแล้ว รวมทั้งเกิดการบุกรุกป่าเพื่อทำสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาถึงทุกวันนี้
ชาวสวนยางได้รับเงินช่วยเหลือในการทำสวนยางจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือการลงทุนในการปลูกบางส่วน เช่น พันธุ์กิ่งกล้ายาง และปุ๋ย หลังการปลูกชาวสวนยางต้องดูแลต้นยางถึง 7 ปีเลยทีเดียวจึงจะโตพอจะกรีดยางได้
ตลอด 7 ปี นั้น ชาวสวนยางต้องมีรายได้อื่นมาเลี้ยงชีพและครอบครัว บางรายอาจแบ่งที่ดินทำนา ทำสวนมะพร้าว หรือปลูกพืชไร่อย่างอื่น ชาวสวนยางขนาดกลางหรือใหญ่ ก็จะใช้วิธีแบ่งโซนปลูก เพื่อให้มียางที่อยู่ในช่วงกรีดได้ สลับกับแปลงที่ปลูกใหม่ทดแทน ส่วนคนที่ไม่มีสวนยางหรือที่ดิน มีอาชีพรับจ้างกรีดยาง ก็ต้องขายแรงงานตามสวนยางใหญ่ๆ หรือไม่ก็ต้องเผชิญกับสภาวะว่างงาน
เมื่อต้นยางพาราโตพอกรีดได้ ชาวสวนก็จะกรีดไป 5-10 ปี บางราย 15 ปีก็มี ต้นยางที่แก่แล้วน้ำยางจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็ต้องโค่นต้นแก่ ขายเป็นไม้ยางพาราเพื่อแปรรูป แล้วก็ปลูกต้นยางกันใหม่ ต้องรอคอยและปลูกใหม่วนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ล่ะครับ
ช่วงต้นยางอยู่ในวัยกรีดได้ ก็ไม่ใช่จะกรีดยางได้ทุกวันตลอดปี มีช่วงที่ชาวสวนยางต้องหยุดกรีดยางหลายช่วงเหมือนกันครับ เพราะจะได้น้ำยางน้อยและเพื่อดูแลต้นยางรักษาคุณภาพการกรีดยาง หน้าแล้งเมื่อยางผลัดใบใบร่วงก็ต้องงดการกรีดยาง หน้าฝนก็ต้องงดกรีดยางเพราะน้ำฝนจะทำให้น้ำยางเสียหาย ฉะนั้นในปีหนึ่งๆ ก็ต้องหยุดกรีดยางอยู่หลายเดือนเหมือนกัน
ชีวิตชาวสวนยางแตกต่างจากเกษตรกรอื่นๆ การกรีดยางต้องทำงานตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ต้องติดไฟฉายไว้ที่หน้าผากเพื่อสะดวกในการทำงาน เพราะกรีดยางกลางคืน ถึงตอนเช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำยางออกได้ดีที่สุด และต้องรีบเก็บน้ำยางแต่เช้า เพราะตอนสาย อากาศร้อนขึ้นน้ำยางจะแข็งตัวเร็ว ทำให้เก็บน้ำยางได้น้อย อาชีพนี้ต้องอดนอน แล้วนอนพักเอาแรงตอนกลางวันเพื่อออกไปกรีดยางตอนกลางคืน ก็เสี่ยงภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ร้ายมีพิษ
ชาวสวนยางขนาดกลางหรือใหญ่ต้องจ้างแรงงานกรีดยาง ภาวะแรงงานขาดแคลนเป็นปัญหาหนึ่งที่มีมาโดยตลอด การจ้างแรงงานใช้วิธีแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของสวนยางกับลูกจ้างกรีดยาง อาจจะด้วยการแบ่งรายได้ 50/50 หรือแบ่งครึ่งกัน บางรายก็แบ่งกัน 60/40
วิถีชีวิตชุมชนชาวสวนยางมีลักษณะเฉพาะ มีช่วงเวลาการทำงาน และรายได้ไม่ต่อเนื่อง ถ้าไม่มีการวางแผนการจัดการตั้งแต่การใช้พื้นที่ในการปลูก การดูแลบำรุง การเก็บผลผลิต และรายได้ ก็จะลำบากไม่น้อย ในขณะที่ราคายางขึ้นๆ ลงๆ ยิ่งเวลาราคายางตกต่ำมากๆ อย่างตอนนี้ ปัญหาของชาวสวนยางยิ่งทับถมหนักขึ้น
การแก้ปัญหาชาวสวนยางพาราในเวลานี้ ไม่อาจแก้ได้ด้วยการให้เงินคนช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่เป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน การผลิตของชาวสวนยางพาราที่เป็นอยู่นำไปสู่ความอดอยากยากจน เกษตรกรชาวสวนยางต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน มีชีวิตพออยู่พอกิน มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพดี นอกจากปลูกยางพาราแล้วยังต้องปลูกพืชผักผลไม้ พืชสมุนไพร และเลี้ยงสัตว์ สำหรับเป็นอาหารอย่างพอเพียง พร้อมๆ กับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
ประเทศไทยปลูกยางพารา ขายยางดิบมาเป็นร้อยปี แทบจะไม่พัฒนาการแปรรูป หรือสร้างอุตสาหกรรมจากวัตถุดิบยางพารา นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน เกษตรกรชาวสวนยางต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ไทยก้าวไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากยางพาราเพราะเราไม่อาจพึ่งพาการส่งออกยางพาราในรูปสินค้าเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป
วิกฤตราคายางพาราตกต่ำครั้งนี้ ควรเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ในวิกฤตมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอแหละครับ
ประเทศไทยเคยเป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่ส่งยางออกไปขายมากที่สุดในโลก แต่ทว่าราคายางตกต่ำในปัจจุบัน เกิดจากทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ จีนคือผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะนี้จีนลดการนำเข้ายางพารา และเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ซื้อ มาเป็นผู้ผลิตเองมากขึ้น ด้วยการลงทุนปลูกยางพาราในลาว เวียดนาม กัมพูชา ซึ่งโตกำลังจะกรีดน้ำยางได้แล้ว ส่งผลกระทบต่อปัญหายางพาราราคาตกต่ำ และจะรุนแรงมากขึ้นในปีต่อๆ ไป
สำหรับปัญหาภายในของไทย คนภาคใต้ส่วนใหญ่ทำสวนยางเป็นอาชีพหลักมายาวนานนับร้อยๆ ปีแล้ว ภูมิประเทศและภูมิอากาศในภาคใต้ปลูกสวนยางได้ผลผลิตดี เมื่อก่อนสวนยางพาราส่วนใหญ่จะปลูกกันบนพื้นที่เป็นควนหรือเนินเขา ส่วนพื้นที่ราบลุ่มชาวบ้านก็ทำนาปลูกข้าว
เวลานี้พื้นที่การปลูกยางพาราเปลี่ยนแปลงไปมาก ช่วงยางราคาดี รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการปลูก ไม่เฉพาะในภาคใต้ แต่ขยายไปทางภาคตะวันออก ซึ่งอากาศและพืชพันธุ์คล้ายกับภาคใต้ และในที่สุดก็ขยายพื้นที่การปลูกครั้งใหญ่ไปในภาคอิสานและภาคเหนือ ขณะนี้มีพื้นที่ปลูกยางพารา 63 จังหวัดกระจายในทุกภาคของประเทศไทย และมีพื้นที่ราว 22 ล้านไร่เลยทีเดียว นโยบายที่ผิดพลาด ราคายางตกต่ำมีผลต่อเกษตรกรจำนวนมากทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
แม้ในภาคใต้เองก็ขยายพื้นที่การปลูกไปในพื้นที่ราบที่เคยใช้ทำนาปลูกข้าว ที่นาจำนวนมากถูกเปลี่ยนเป็นสวนยางพาราหรือสวนปาล์ม พื้นที่ทำนาในภาคใต้ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ก็ยิ่งลดน้อยลงจนเกือบหมดแล้ว รวมทั้งเกิดการบุกรุกป่าเพื่อทำสวนยางและสวนปาล์มน้ำมัน จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาถึงทุกวันนี้
ชาวสวนยางได้รับเงินช่วยเหลือในการทำสวนยางจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งเป็นเพียงการช่วยเหลือการลงทุนในการปลูกบางส่วน เช่น พันธุ์กิ่งกล้ายาง และปุ๋ย หลังการปลูกชาวสวนยางต้องดูแลต้นยางถึง 7 ปีเลยทีเดียวจึงจะโตพอจะกรีดยางได้
ตลอด 7 ปี นั้น ชาวสวนยางต้องมีรายได้อื่นมาเลี้ยงชีพและครอบครัว บางรายอาจแบ่งที่ดินทำนา ทำสวนมะพร้าว หรือปลูกพืชไร่อย่างอื่น ชาวสวนยางขนาดกลางหรือใหญ่ ก็จะใช้วิธีแบ่งโซนปลูก เพื่อให้มียางที่อยู่ในช่วงกรีดได้ สลับกับแปลงที่ปลูกใหม่ทดแทน ส่วนคนที่ไม่มีสวนยางหรือที่ดิน มีอาชีพรับจ้างกรีดยาง ก็ต้องขายแรงงานตามสวนยางใหญ่ๆ หรือไม่ก็ต้องเผชิญกับสภาวะว่างงาน
เมื่อต้นยางพาราโตพอกรีดได้ ชาวสวนก็จะกรีดไป 5-10 ปี บางราย 15 ปีก็มี ต้นยางที่แก่แล้วน้ำยางจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ก็ต้องโค่นต้นแก่ ขายเป็นไม้ยางพาราเพื่อแปรรูป แล้วก็ปลูกต้นยางกันใหม่ ต้องรอคอยและปลูกใหม่วนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่อย่างนี้ล่ะครับ
ช่วงต้นยางอยู่ในวัยกรีดได้ ก็ไม่ใช่จะกรีดยางได้ทุกวันตลอดปี มีช่วงที่ชาวสวนยางต้องหยุดกรีดยางหลายช่วงเหมือนกันครับ เพราะจะได้น้ำยางน้อยและเพื่อดูแลต้นยางรักษาคุณภาพการกรีดยาง หน้าแล้งเมื่อยางผลัดใบใบร่วงก็ต้องงดการกรีดยาง หน้าฝนก็ต้องงดกรีดยางเพราะน้ำฝนจะทำให้น้ำยางเสียหาย ฉะนั้นในปีหนึ่งๆ ก็ต้องหยุดกรีดยางอยู่หลายเดือนเหมือนกัน
ชีวิตชาวสวนยางแตกต่างจากเกษตรกรอื่นๆ การกรีดยางต้องทำงานตอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ต้องติดไฟฉายไว้ที่หน้าผากเพื่อสะดวกในการทำงาน เพราะกรีดยางกลางคืน ถึงตอนเช้ามืด ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำยางออกได้ดีที่สุด และต้องรีบเก็บน้ำยางแต่เช้า เพราะตอนสาย อากาศร้อนขึ้นน้ำยางจะแข็งตัวเร็ว ทำให้เก็บน้ำยางได้น้อย อาชีพนี้ต้องอดนอน แล้วนอนพักเอาแรงตอนกลางวันเพื่อออกไปกรีดยางตอนกลางคืน ก็เสี่ยงภัยจากโจรผู้ร้ายและสัตว์ร้ายมีพิษ
ชาวสวนยางขนาดกลางหรือใหญ่ต้องจ้างแรงงานกรีดยาง ภาวะแรงงานขาดแคลนเป็นปัญหาหนึ่งที่มีมาโดยตลอด การจ้างแรงงานใช้วิธีแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของสวนยางกับลูกจ้างกรีดยาง อาจจะด้วยการแบ่งรายได้ 50/50 หรือแบ่งครึ่งกัน บางรายก็แบ่งกัน 60/40
วิถีชีวิตชุมชนชาวสวนยางมีลักษณะเฉพาะ มีช่วงเวลาการทำงาน และรายได้ไม่ต่อเนื่อง ถ้าไม่มีการวางแผนการจัดการตั้งแต่การใช้พื้นที่ในการปลูก การดูแลบำรุง การเก็บผลผลิต และรายได้ ก็จะลำบากไม่น้อย ในขณะที่ราคายางขึ้นๆ ลงๆ ยิ่งเวลาราคายางตกต่ำมากๆ อย่างตอนนี้ ปัญหาของชาวสวนยางยิ่งทับถมหนักขึ้น
การแก้ปัญหาชาวสวนยางพาราในเวลานี้ ไม่อาจแก้ได้ด้วยการให้เงินคนช่วยเหลือเฉพาะหน้า แต่เป็นเรื่องที่ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน การผลิตของชาวสวนยางพาราที่เป็นอยู่นำไปสู่ความอดอยากยากจน เกษตรกรชาวสวนยางต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน มีชีวิตพออยู่พอกิน มีคุณภาพชีวิตและสุขภาพดี นอกจากปลูกยางพาราแล้วยังต้องปลูกพืชผักผลไม้ พืชสมุนไพร และเลี้ยงสัตว์ สำหรับเป็นอาหารอย่างพอเพียง พร้อมๆ กับการสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
ประเทศไทยปลูกยางพารา ขายยางดิบมาเป็นร้อยปี แทบจะไม่พัฒนาการแปรรูป หรือสร้างอุตสาหกรรมจากวัตถุดิบยางพารา นักวิชาการ ธุรกิจเอกชน เกษตรกรชาวสวนยางต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากภาครัฐอย่างจริงจัง เพื่อให้ไทยก้าวไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากยางพาราเพราะเราไม่อาจพึ่งพาการส่งออกยางพาราในรูปสินค้าเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป
วิกฤตราคายางพาราตกต่ำครั้งนี้ ควรเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาของเกษตรกรชาวสวนยางพาราอย่างยั่งยืน ในวิกฤตมีโอกาสเกิดขึ้นได้เสมอแหละครับ