ช่วงนี้หลายคนเซ็ง อึดอัดไม่อยากพูดเรื่องการเมืองในประเทศ ต้องเลี่ยงไม่พูดพาดพิงถึง บุคคลที่สาม ที่คุณๆก็รู้ว่าใคร แล้วก็ไม่อยากพูดถึงอีกหลายๆคน แต่เอาเถอะ ยังไงก็ต้องทำหน้าที่กันต่อไปในฐานะสื่อมวลชน และประชาชนคนหนึ่ง
เมื่อพูดเรื่องการเมืองในประเทศลำบากนัก หุบปากต่อไป หันไปดูรอบๆบ้าน ที่ฮ่องกงน่าสนใจครับ
การประท้วงที่ฮ่องกง ของเหล่านักศึกษา คนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ที่กล้าออกมา ร่วมกันแสดงจุดยืนทางการเมือง บรรยากาศการชุมนุมบนถนนในฮ่องกง ก่อตัวยืดเยื้อมาหลายวันแล้ว จะยืดเยื้อข้ามปีกันอย่างการชุมนุมประท้วงของประชาชนในกรุงเทพฯหรือไม่ ผลการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามดูกันครับ
ฮ่องกงเป็นเขตปกครองพิเศษ ภายใต้อำนาจการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่อยู่เพียง 1,096.63 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งฮ่องกง เกาลูน และเกาะอื่นๆ ฮ่องกงเป็นเมืองท่าสำคัญ เจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็นประตูเปิดสู่จีนแผ่นดินใหญ่
สงครามระหว่างอังกฤษกับจีน ในยุคล่าอาณานิคมในกลางศตวรรษที่ 19 นับตั้งแต่สงครามฝิ่น (ครั้งแรกปีค.ศ. 1834 ครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1856 ) จีนเป็นฝ่ายแพ้ ยุติสงครามด้วยสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ นับตั้งแต่สัญญานานกิง (ค.ศ.1842) จนถึงข้อตกลงปักกิ่ง (ค.ศ.1860) สุดท้าย จีนต้องยอมยกฮ่องกงให้อังกฤษเช่าเป็นเวลา 99 ปี ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของเครือจักรภพอังกฤษมาเกือบร้อยปี เพิ่งมีการส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้จีนในปี 1997 ภายใต้นโยบาย หนึ่งประเทศสองระบบ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
การชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกง ที่เรียกกันว่าชุมนุมออคคิวพายฮ่องกง หรือบางคนเรียกว่าการปฎิวัติร่ม เป็นการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ของนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ คนหนุ่มสาววัยทำงาน เริ่มขึ้นช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภายใต้การนำของนักศึกษาที่รวมกลุ่มเป็นสหพันธ์นักศึกษาฮ่องกง(Hong Kong Federation of Students) ในขณะที่แกนนำ นักศึกษา โจชัว หว่อง(Joshua Wang)และผู้นำประท้วง นายเบนนี่ ไท่ (Benny Tai)รองศาสตราจารย์ทางนิติศาสตร์ ยืนยันว่า นี่ไม่ใช่การปฏิวัติ เป็นการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย
มีการประท้วงใหญ่หน้าสำนักงานใหญ่ของรัฐหรือศูนย์ราชการฮ่องกง (Admiralty) ยึดแยกสำคัญๆหลายแยก หลังคณะกรรมธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประกาศคำวินิจฉัยต่อการปฏิรูปการเลือกตั้ง คณะกรรมธิการชุดนี้ไม่อนุญาตให้มีการเสนอชื่อพลเรือน แต่คณะกรรมการจะเลือกผู้สมัครจากการถูกเสนอชื่อเอง ทำให้คนฮ่องกงไม่พอใจและลุกขึ้นมาคัดค้านจำนวนมาก
ผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ให้ปฏิรูปการปกครอง ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในการเลือกผู้ว่าการฮ่องกง ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในปี 2017 ด้วยหลักการ หนึ่งคนหนึ่งเสียง และขีดเส้นตายให้นายเหลียง ชุน อิง (หรือ ซี วาย เหลียง) ผู้ว่าการฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง คนปัจจุบันลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้นายแครี่ ลัม(Carrie Lam)ปลัดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งเป็นข้าราชการประจำและมีท่าทีปรองดองกว่า ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
ที่น่าสนใจคือ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว มีรายงานข่าวว่า 95%ของคนที่มาชุมนุมทุกคืนในสัปดาห์แรก อายุ 15-25 ปี เป็นปัญญาชน เป็นคนฮ่องกงรุ่นใหม่ คนเหล่านี้เป็นอนาคตของฮ่องกง มีความแตกต่างจากคนจีนรุ่นก่อนในฮ่องกง และมีความแตกต่างกับคนจีนที่มาจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตลักษณ์และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คนเหล่านี้เรียกตัวเองเป็นคนฮ่องกง ไม่ใช่คนจีน พูดภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาจีน
แม้ทางการจีนไม่ได้ปราบปรามการชุมนุมประท้วงของนักศึกษาอย่างรุนแรงเหมือนกรณีเทียนอันเหมิน อย่างที่วิตกกัน แต่มีการใช้ความรุนแรงหลายครั้ง ผู้ชุมนุมถูกตำรวจสกัดด้วยการใช้แก๊สน้ำตา และจับกุม ในขณะเดียวกัน มีการพยายามเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนนักศึกษาหลายรอบด้วยพื้นฐานให้ยอมรับความเท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย และรัฐบาลต้องยืนยันรับรองจะนำผลการเจรจาไปปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงมีความสลับซับซ้อน มีการเปิดโปงเบื้องหลังการสนับสนุนทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และนายทุนนักธุรกิจและการเชื่อมโยงกับการเมืองระดับประเทศของจีน การต่อสู้เรียกร้องความเป็นอิสระปกครองตนเองของชนเผ่าต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน และการเมืองระดับนานาชาติ
จีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ซึ่งแปลว่าทุกอย่างอยู่ในกำมือรัฐบาล ดังนั้นเมื่อมีการประท้วงเกิดขึ้นก็มีข่าวมากมายว่ารัฐบาลจีนจะปราบปรามผู้ชุมนุม หรือจะมีการปฏิบัติการอะไรบางอย่างเพื่อยุติเรื่องนี้ให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
มีคนดังหลายคนที่ออกมาพูดทั้งสนับสนุนผู้ชุมนุมและคัดค้าน หนึ่งในนั้นคือโจวเหวินฟะ ที่ออกมายืนข้างผู้ชุมนุม ซึงก็ไม่รู้ว่าเจ้าพ่อเซียงไฮ้ จะโดนเรียกให้ไปรายงานตัวที่เซียงไฮ้หรือไม่ หรือว่าจะโดนรัฐบาลจีนห้ามเข้าประเทศติดแบล็คลิสต์ไปอีกคน
เพราะก่อนหน้านี้ เคนนี่ จี นัก แซ็กโซโฟนชื่อก้องโลก แค่เพียงเขาเดินผ่านพื้นที่การชุมนุมและดันมีคนจำเขาได้เข้ามาขอถ่ายรูป เขายังโดนแบนติดแบล็คลิสต์ของรัฐบาลกลางไปซะอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ในฐานะเป็นคนร่วมสมัย คนหนุ่มสาววัยทำงานที่ผ่านช่วงเยาวชนมาไม่นาน เห็น การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนนักเรียนนักศึกษาและคนหนุ่มสาววัยทำงานออกมาร่วมชุมนุมประท้วง ก็อยากจะบอกว่าดีใจครับที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมือง คนรุ่นนี้จะเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง เป็นอนาคตเป็นความหวังของประเทศชาติในวันหน้า
สุดท้ายนี้ต้องตามดูว่าพญามังกรจะปิดเกมนี้ได้อย่างไร ตอนนี้ก็มีการพยายามเจรจากันต่อไป หวังนะครับ ว่าทุกอย่างจะจบลงด้วยสันติวิธี
เมื่อพูดเรื่องการเมืองในประเทศลำบากนัก หุบปากต่อไป หันไปดูรอบๆบ้าน ที่ฮ่องกงน่าสนใจครับ
การประท้วงที่ฮ่องกง ของเหล่านักศึกษา คนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ ที่กล้าออกมา ร่วมกันแสดงจุดยืนทางการเมือง บรรยากาศการชุมนุมบนถนนในฮ่องกง ก่อตัวยืดเยื้อมาหลายวันแล้ว จะยืดเยื้อข้ามปีกันอย่างการชุมนุมประท้วงของประชาชนในกรุงเทพฯหรือไม่ ผลการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาจะเป็นอย่างไร ต้องติดตามดูกันครับ
ฮ่องกงเป็นเขตปกครองพิเศษ ภายใต้อำนาจการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่อยู่เพียง 1,096.63 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งฮ่องกง เกาลูน และเกาะอื่นๆ ฮ่องกงเป็นเมืองท่าสำคัญ เจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ เป็นประตูเปิดสู่จีนแผ่นดินใหญ่
สงครามระหว่างอังกฤษกับจีน ในยุคล่าอาณานิคมในกลางศตวรรษที่ 19 นับตั้งแต่สงครามฝิ่น (ครั้งแรกปีค.ศ. 1834 ครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1856 ) จีนเป็นฝ่ายแพ้ ยุติสงครามด้วยสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ นับตั้งแต่สัญญานานกิง (ค.ศ.1842) จนถึงข้อตกลงปักกิ่ง (ค.ศ.1860) สุดท้าย จีนต้องยอมยกฮ่องกงให้อังกฤษเช่าเป็นเวลา 99 ปี ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของเครือจักรภพอังกฤษมาเกือบร้อยปี เพิ่งมีการส่งมอบเกาะฮ่องกงคืนให้จีนในปี 1997 ภายใต้นโยบาย หนึ่งประเทศสองระบบ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
การชุมนุมประท้วงที่ฮ่องกง ที่เรียกกันว่าชุมนุมออคคิวพายฮ่องกง หรือบางคนเรียกว่าการปฎิวัติร่ม เป็นการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ของนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ คนหนุ่มสาววัยทำงาน เริ่มขึ้นช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ภายใต้การนำของนักศึกษาที่รวมกลุ่มเป็นสหพันธ์นักศึกษาฮ่องกง(Hong Kong Federation of Students) ในขณะที่แกนนำ นักศึกษา โจชัว หว่อง(Joshua Wang)และผู้นำประท้วง นายเบนนี่ ไท่ (Benny Tai)รองศาสตราจารย์ทางนิติศาสตร์ ยืนยันว่า นี่ไม่ใช่การปฏิวัติ เป็นการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย
มีการประท้วงใหญ่หน้าสำนักงานใหญ่ของรัฐหรือศูนย์ราชการฮ่องกง (Admiralty) ยึดแยกสำคัญๆหลายแยก หลังคณะกรรมธิการสามัญประจำสภาประชาชนแห่งชาติประกาศคำวินิจฉัยต่อการปฏิรูปการเลือกตั้ง คณะกรรมธิการชุดนี้ไม่อนุญาตให้มีการเสนอชื่อพลเรือน แต่คณะกรรมการจะเลือกผู้สมัครจากการถูกเสนอชื่อเอง ทำให้คนฮ่องกงไม่พอใจและลุกขึ้นมาคัดค้านจำนวนมาก
ผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ให้ปฏิรูปการปกครอง ให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในการเลือกผู้ว่าการฮ่องกง ซึ่งจะมีการเลือกตั้งในปี 2017 ด้วยหลักการ หนึ่งคนหนึ่งเสียง และขีดเส้นตายให้นายเหลียง ชุน อิง (หรือ ซี วาย เหลียง) ผู้ว่าการฮ่องกง ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง คนปัจจุบันลาออกจากตำแหน่ง เปิดทางให้นายแครี่ ลัม(Carrie Lam)ปลัดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งเป็นข้าราชการประจำและมีท่าทีปรองดองกว่า ขึ้นมาทำหน้าที่แทน
ที่น่าสนใจคือ ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว มีรายงานข่าวว่า 95%ของคนที่มาชุมนุมทุกคืนในสัปดาห์แรก อายุ 15-25 ปี เป็นปัญญาชน เป็นคนฮ่องกงรุ่นใหม่ คนเหล่านี้เป็นอนาคตของฮ่องกง มีความแตกต่างจากคนจีนรุ่นก่อนในฮ่องกง และมีความแตกต่างกับคนจีนที่มาจากแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอัตลักษณ์และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง คนเหล่านี้เรียกตัวเองเป็นคนฮ่องกง ไม่ใช่คนจีน พูดภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาจีน
แม้ทางการจีนไม่ได้ปราบปรามการชุมนุมประท้วงของนักศึกษาอย่างรุนแรงเหมือนกรณีเทียนอันเหมิน อย่างที่วิตกกัน แต่มีการใช้ความรุนแรงหลายครั้ง ผู้ชุมนุมถูกตำรวจสกัดด้วยการใช้แก๊สน้ำตา และจับกุม ในขณะเดียวกัน มีการพยายามเจรจาระหว่างตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและตัวแทนนักศึกษาหลายรอบด้วยพื้นฐานให้ยอมรับความเท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย และรัฐบาลต้องยืนยันรับรองจะนำผลการเจรจาไปปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม การชุมนุมประท้วงในฮ่องกงมีความสลับซับซ้อน มีการเปิดโปงเบื้องหลังการสนับสนุนทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ และนายทุนนักธุรกิจและการเชื่อมโยงกับการเมืองระดับประเทศของจีน การต่อสู้เรียกร้องความเป็นอิสระปกครองตนเองของชนเผ่าต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน และการเมืองระดับนานาชาติ
จีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ของโลก มีประชากรมากที่สุดในโลก เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ซึ่งแปลว่าทุกอย่างอยู่ในกำมือรัฐบาล ดังนั้นเมื่อมีการประท้วงเกิดขึ้นก็มีข่าวมากมายว่ารัฐบาลจีนจะปราบปรามผู้ชุมนุม หรือจะมีการปฏิบัติการอะไรบางอย่างเพื่อยุติเรื่องนี้ให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
มีคนดังหลายคนที่ออกมาพูดทั้งสนับสนุนผู้ชุมนุมและคัดค้าน หนึ่งในนั้นคือโจวเหวินฟะ ที่ออกมายืนข้างผู้ชุมนุม ซึงก็ไม่รู้ว่าเจ้าพ่อเซียงไฮ้ จะโดนเรียกให้ไปรายงานตัวที่เซียงไฮ้หรือไม่ หรือว่าจะโดนรัฐบาลจีนห้ามเข้าประเทศติดแบล็คลิสต์ไปอีกคน
เพราะก่อนหน้านี้ เคนนี่ จี นัก แซ็กโซโฟนชื่อก้องโลก แค่เพียงเขาเดินผ่านพื้นที่การชุมนุมและดันมีคนจำเขาได้เข้ามาขอถ่ายรูป เขายังโดนแบนติดแบล็คลิสต์ของรัฐบาลกลางไปซะอย่างนั้น
อย่างไรก็ตาม ในฐานะเป็นคนร่วมสมัย คนหนุ่มสาววัยทำงานที่ผ่านช่วงเยาวชนมาไม่นาน เห็น การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนนักเรียนนักศึกษาและคนหนุ่มสาววัยทำงานออกมาร่วมชุมนุมประท้วง ก็อยากจะบอกว่าดีใจครับที่ได้เห็นคนรุ่นใหม่ตื่นตัวทางการเมือง คนรุ่นนี้จะเป็นกำลังสำคัญของบ้านเมือง เป็นอนาคตเป็นความหวังของประเทศชาติในวันหน้า
สุดท้ายนี้ต้องตามดูว่าพญามังกรจะปิดเกมนี้ได้อย่างไร ตอนนี้ก็มีการพยายามเจรจากันต่อไป หวังนะครับ ว่าทุกอย่างจะจบลงด้วยสันติวิธี