กระแสไม่พอใจแนวทางจัดการพลังงานของคณะทหารในหน้าโซเชียลเน็ตเวิร์คและลามออกมาบนท้องถนนไม่ได้เกิดจาก วีระ รสนา ขาหุ้นฯ เกิดเขม่น คสช.หรอกนะครับ ลองย้อนทบทวนดีๆ ปะทุรอบนี้เกิดจาก คสช. แท้ๆ
ปากหนึ่งประกาศว่ากำลังจะปฏิรูปใหญ่ 11 ด้านซึ่งมีการพลังงานรวมอยู่ด้วย คำว่าปฏิรูปใหญ่นั้นทำให้คนนึกไปถึงภาพของการร่วมแรงร่วมใจผลักดันสิ่งเดิมๆ ที่เคยเป็นมาให้เกิดดีขึ้น แต่ คสช. ก็ตั้งคนหน้าเดิมๆ ที่อยู่เบื้องหลังกิจการแบบเดิมๆ มาเป็นคณะกรรมการเลือก สปช. และยังให้ออกมติ กพช. 15 สิงหาคม ให้แยกธุรกิจท่อก๊าซออกมาตั้งบริษัทใหม่แล้วยังมีติ่งกำหนดไว้ว่าให้ปตท.ถือหุ้นก่อน 100% จากนั้นก.คลังจะเข้าไปถือ 25%
จุดนี้แหละครับที่ทำให้น้ำอุ่นๆ กลายเป็นน้ำเดือดขึ้นมาชั่วข้ามคืน !
ถ้า คสช./กพช. ไม่มีมติเดินหน้าเรื่องท่อก๊าซ ความไม่พอใจด้านการพลังงานไม่เป็นกระแสสูงปรี๊ดแบบนี้หรอก เรื่องนี้ไม่ใช่ประชาชนเกิดไม่รักชาติหรือเกิดอยากให้ทักษิณกลับมาหรอก แต่ปมปัญหานี้ยอมไม่ได้
แยกแยะดีๆ เขาไม่ได้ต่อต้านคสช.นะครับ แต่เขาต่อต้านนโยบายพลังงานที่ คสช.เห็นชอบ
เอาล่ะ จากนี้เราจะไม่พูดเรื่องคสช.แล้วเพราะตอนนี้ คสช. ต้องลดบทบาทแล้วเพราะมีโปรดเกล้าฯตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว อำนาจรัฐาธิปัตย์ของคสช. หมดไปแล้วมีแต่อำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ดังนั้นรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะต้องเข้ามาสวมรับการจัดการปมปัญหาด้านการพลังงานต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ พูดในรายการทีวี ไม่รู้ว่าสวมหมวกใบไหนพูดเรื่องการพลังงานหลายครั้งโดยรวมยังเข้าใจว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการนั้นเป็นความต้องการที่ไม่มีเหตุผล จู่ๆ จะให้ลดราคาฮวบฮาบไม่ได้ ประชาชนต้องใช้พลังงานในราคาตลาดแล้วก็บอกว่าการปฏิรูปจัดการพลังงานต้องใจเย็นๆ
ให้ประชาชนรอคอย ใจเย็นๆ ไว้ก่อน แต่กลับมีมติ กพช. เดินหน้าแปรรูปท่อก๊าซแบบนี้ก็เกิดเรื่องสิครับ...
วิงวอนพล.อ.ประยุทธ์ ผมไม่อยากเรียกท่านว่าพลเอกมันดูเป็นนายทหารใหญ่ตอนนี้ท่านมาใส่สูทเป็นนายกฯ เรียกคุณประยุทธ์ฟังดูใกล้ชิดประชาชนดี...ขอวิงวอนคุณประยุทธ์ถอยก่อนเถอะครับ ชะลอแนวคิดแปรรูปท่อก๊าซตั้งบริษัทใหม่เอาไว้ก่อนแล้วรอรับฟังข้อมูลต่างๆ ให้กระจ่างชัด
ตกลงท่อก๊าซในทะเลราว 400 ก.ม.ที่ปตท.ไม่คืนให้ตามคำสั่งศาลปกครองโดยอ้างว่าอยู่นอกเขต 12 ไมล์ทะเลนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่...ปตท.ตอนแรกเสียงแข็งจากนั้นก็ยื่นศาลปกครองให้อธิบายความให้กระจ่างชัด กรณีนี้ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกคนไทยนะครับท่านนายกฯ ประยุทธ์ ข้อกฎหมายอธิบายไปประชาชนฟังไม่เข้าใจหรอก แต่เขาสงสัยตอนที่ปตท.ไปสร้างท่อในทะเลตอนนั้นปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจใช้เงินหลวง 100% ทำในนามของรัฐไทย ผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะควรถือเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของคนในชาติมิใช่หรือครับแต่ไหงตอนนี้กลับบอกว่าไม่ใช่ แต่เป็นท่อของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งล้วนๆ
สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ควรทำหลังจากประกาศชะลอการแยกท่อก๊าซตามแนวทางเดิมชั่วคราว (เพราะอย่างไรต้องแยกโครงข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชนออกมาแน่นอน) เพื่อมาพิจารณาให้กระจ่างถึงข้อดีข้อเสียระหว่าง
ก.แยกธุรกิจท่อก๊าซทั้งหมดออกมาเป็นเอกเทศโดยรัฐเป็นเจ้าของ 100%
ข.แยกธุรกิจท่อก๊าซออกมาโดยรัฐถือหุ้นร่วมกับเอกชนทั่วไป
เอาแค่ 2 ประเด็นนี้ รัฐบาลควรจะอธิบายข้อแตกต่าง ข้อดีข้อเสียข้อจำกัดของทั้งสองทางเลือกให้ประชาชนเข้าใจเสียก่อน อย่าลืมนะครับท่อก๊าซเป็นโครงข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐแบบเดียวกับสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หรือถนนไฮเวย์รัฐธรรมนูญปี 50 ระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามทำให้เป็นของเอกชน ถ้ารัฐไม่ถือ 100% อย่างน้อยที่สุดต้องถือ 51%
แต่ข่าวตอนแรกที่ออกมาบอกว่าให้ปตท. (บริษัทมหาชน) ถือ 100% ต่อมาจะให้ก.คลังเข้าไปร่วมถือ 25% แต่พอคนไม่พอใจมากขึ้นโฆษก คสช.ค่อยมาแก้ตัวว่ารัฐจะถือเพิ่มเป็นลำดับๆ จนเป็น 100%
เอ๊ะ! ยังไงกันแน่ จะให้ประชาชนเชื่อมติที่เป็นทางการ จะเชื่อข่าวที่ออกมาวันแรก หรือจะเชื่อโฆษกที่แก้ต่างในวันถัดมาดี ?
ทำให้กระจ่าง ใคร่ครวญให้รอบคอบ สะเด็ดน้ำก่อนดีกว่าครับ ดีกว่าให้โฆษก คสช. ออกมาแก้ข่าวที่แถลงไปแล้วเป็นรายวัน แล้วก็ให้หน่วยทหารไปห้ามขาหุ้นคนเดินเท้าบอกว่ามีอะไรให้ไปคุยกันในกระบวนการปฏิรูป
ปั๊ดโธ่บร๊ะขอรับ...ปากหนึ่งบอกให้ไปคุยกันที่เวทีปฏิรูป แต่มืออีกข้างเดินหน้าตามแนวทางอำมาตย์พลังงานแปรรูปขายท่อไปแล้ว คนเขาจะเชื่อได้อย่างไร
คุณประยุทธ์...ท่านนายกฯ ด้วยความเคารพ ถอยก่อนเถิดครับ.
ปากหนึ่งประกาศว่ากำลังจะปฏิรูปใหญ่ 11 ด้านซึ่งมีการพลังงานรวมอยู่ด้วย คำว่าปฏิรูปใหญ่นั้นทำให้คนนึกไปถึงภาพของการร่วมแรงร่วมใจผลักดันสิ่งเดิมๆ ที่เคยเป็นมาให้เกิดดีขึ้น แต่ คสช. ก็ตั้งคนหน้าเดิมๆ ที่อยู่เบื้องหลังกิจการแบบเดิมๆ มาเป็นคณะกรรมการเลือก สปช. และยังให้ออกมติ กพช. 15 สิงหาคม ให้แยกธุรกิจท่อก๊าซออกมาตั้งบริษัทใหม่แล้วยังมีติ่งกำหนดไว้ว่าให้ปตท.ถือหุ้นก่อน 100% จากนั้นก.คลังจะเข้าไปถือ 25%
จุดนี้แหละครับที่ทำให้น้ำอุ่นๆ กลายเป็นน้ำเดือดขึ้นมาชั่วข้ามคืน !
ถ้า คสช./กพช. ไม่มีมติเดินหน้าเรื่องท่อก๊าซ ความไม่พอใจด้านการพลังงานไม่เป็นกระแสสูงปรี๊ดแบบนี้หรอก เรื่องนี้ไม่ใช่ประชาชนเกิดไม่รักชาติหรือเกิดอยากให้ทักษิณกลับมาหรอก แต่ปมปัญหานี้ยอมไม่ได้
แยกแยะดีๆ เขาไม่ได้ต่อต้านคสช.นะครับ แต่เขาต่อต้านนโยบายพลังงานที่ คสช.เห็นชอบ
เอาล่ะ จากนี้เราจะไม่พูดเรื่องคสช.แล้วเพราะตอนนี้ คสช. ต้องลดบทบาทแล้วเพราะมีโปรดเกล้าฯตั้งนายกรัฐมนตรีแล้ว อำนาจรัฐาธิปัตย์ของคสช. หมดไปแล้วมีแต่อำนาจตามกรอบรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีนายกรัฐมนตรีชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ดังนั้นรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะต้องเข้ามาสวมรับการจัดการปมปัญหาด้านการพลังงานต่อไป
พล.อ.ประยุทธ์ พูดในรายการทีวี ไม่รู้ว่าสวมหมวกใบไหนพูดเรื่องการพลังงานหลายครั้งโดยรวมยังเข้าใจว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการนั้นเป็นความต้องการที่ไม่มีเหตุผล จู่ๆ จะให้ลดราคาฮวบฮาบไม่ได้ ประชาชนต้องใช้พลังงานในราคาตลาดแล้วก็บอกว่าการปฏิรูปจัดการพลังงานต้องใจเย็นๆ
ให้ประชาชนรอคอย ใจเย็นๆ ไว้ก่อน แต่กลับมีมติ กพช. เดินหน้าแปรรูปท่อก๊าซแบบนี้ก็เกิดเรื่องสิครับ...
วิงวอนพล.อ.ประยุทธ์ ผมไม่อยากเรียกท่านว่าพลเอกมันดูเป็นนายทหารใหญ่ตอนนี้ท่านมาใส่สูทเป็นนายกฯ เรียกคุณประยุทธ์ฟังดูใกล้ชิดประชาชนดี...ขอวิงวอนคุณประยุทธ์ถอยก่อนเถอะครับ ชะลอแนวคิดแปรรูปท่อก๊าซตั้งบริษัทใหม่เอาไว้ก่อนแล้วรอรับฟังข้อมูลต่างๆ ให้กระจ่างชัด
ตกลงท่อก๊าซในทะเลราว 400 ก.ม.ที่ปตท.ไม่คืนให้ตามคำสั่งศาลปกครองโดยอ้างว่าอยู่นอกเขต 12 ไมล์ทะเลนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่...ปตท.ตอนแรกเสียงแข็งจากนั้นก็ยื่นศาลปกครองให้อธิบายความให้กระจ่างชัด กรณีนี้ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกคนไทยนะครับท่านนายกฯ ประยุทธ์ ข้อกฎหมายอธิบายไปประชาชนฟังไม่เข้าใจหรอก แต่เขาสงสัยตอนที่ปตท.ไปสร้างท่อในทะเลตอนนั้นปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจใช้เงินหลวง 100% ทำในนามของรัฐไทย ผลประโยชน์ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะควรถือเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของคนในชาติมิใช่หรือครับแต่ไหงตอนนี้กลับบอกว่าไม่ใช่ แต่เป็นท่อของบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งล้วนๆ
สิ่งที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ควรทำหลังจากประกาศชะลอการแยกท่อก๊าซตามแนวทางเดิมชั่วคราว (เพราะอย่างไรต้องแยกโครงข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชนออกมาแน่นอน) เพื่อมาพิจารณาให้กระจ่างถึงข้อดีข้อเสียระหว่าง
ก.แยกธุรกิจท่อก๊าซทั้งหมดออกมาเป็นเอกเทศโดยรัฐเป็นเจ้าของ 100%
ข.แยกธุรกิจท่อก๊าซออกมาโดยรัฐถือหุ้นร่วมกับเอกชนทั่วไป
เอาแค่ 2 ประเด็นนี้ รัฐบาลควรจะอธิบายข้อแตกต่าง ข้อดีข้อเสียข้อจำกัดของทั้งสองทางเลือกให้ประชาชนเข้าใจเสียก่อน อย่าลืมนะครับท่อก๊าซเป็นโครงข่ายสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐแบบเดียวกับสายส่งไฟฟ้าแรงสูง หรือถนนไฮเวย์รัฐธรรมนูญปี 50 ระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามทำให้เป็นของเอกชน ถ้ารัฐไม่ถือ 100% อย่างน้อยที่สุดต้องถือ 51%
แต่ข่าวตอนแรกที่ออกมาบอกว่าให้ปตท. (บริษัทมหาชน) ถือ 100% ต่อมาจะให้ก.คลังเข้าไปร่วมถือ 25% แต่พอคนไม่พอใจมากขึ้นโฆษก คสช.ค่อยมาแก้ตัวว่ารัฐจะถือเพิ่มเป็นลำดับๆ จนเป็น 100%
เอ๊ะ! ยังไงกันแน่ จะให้ประชาชนเชื่อมติที่เป็นทางการ จะเชื่อข่าวที่ออกมาวันแรก หรือจะเชื่อโฆษกที่แก้ต่างในวันถัดมาดี ?
ทำให้กระจ่าง ใคร่ครวญให้รอบคอบ สะเด็ดน้ำก่อนดีกว่าครับ ดีกว่าให้โฆษก คสช. ออกมาแก้ข่าวที่แถลงไปแล้วเป็นรายวัน แล้วก็ให้หน่วยทหารไปห้ามขาหุ้นคนเดินเท้าบอกว่ามีอะไรให้ไปคุยกันในกระบวนการปฏิรูป
ปั๊ดโธ่บร๊ะขอรับ...ปากหนึ่งบอกให้ไปคุยกันที่เวทีปฏิรูป แต่มืออีกข้างเดินหน้าตามแนวทางอำมาตย์พลังงานแปรรูปขายท่อไปแล้ว คนเขาจะเชื่อได้อย่างไร
คุณประยุทธ์...ท่านนายกฯ ด้วยความเคารพ ถอยก่อนเถิดครับ.