พักยกเรื่องเล่าจากประเทศเพื่อนบ้าน กันสักหน่อย ก่อนที่จะว่ากันยาวๆ ในซีรีย์ท่องมาเลย์ฉบับต่อไป
พูดถึงสังคมออนไลน์แล้ว นอกจากเว็บไซต์เฟซบุ๊กที่เสมือนเกือบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทั้งการทำงานและอยากบ่นอะไรที่ไร้สาระแล้ว ทวิตเตอร์ ก็เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กอีกสิ่งที่ผมใช้ส่องความสดของสถานการณ์ ทั้งเหตุและความเห็นของบางบุคคลที่ดูมีความสำคัญต่อข่าวนั้น ส่วนอีกแอพลิเคชั่น ๑ ที่ถือว่าติดเอาการก็คงหนีไม่พ้น “อินสตาแกรม” ศูนย์รวมแห่งการแบ่งปันภาพถ่ายกันจากทั่วทุกมุมโลก ที่เคยเขียนไปแล้วในบทความแรกๆ ของผม
แต่ช่วงหลังก็แอบเบื่อๆ แทนดารา เวลาเห็นคนที่ผมชอบ (แน่นอนว่าจะเป็นสาวๆ) โพสต์ภาพปั๊บก็จะมีพวกมา “ฝากร้าน” กันใต้คอมเมนท์ปุ๊บ ถ้าเป็นผมโดนเองก็คงเซ็ง จะดูความเห็นที่เกี่ยวข้องไม่ใช่มาตลาด (ขนาดแค่เห็นยังรำคาญแทน) หลังๆ ผมเห็นอีกวิธีนึงคือร้านค้ามาโพสต์คอมเมนท์ปกติ ดูแล้วก็ยังโอเคนะ เนียนๆ ดีกว่ามาโต้งๆ
ผมถามเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ใช้อินสตาแกรมไว้ขายของและขายค่อนข้างดีว่า เคยฝากร้านมั้ยแล้วได้ผลยังไง เขาบอกว่า เขาไม่ได้ใช้วิธีนั้น แต่มักใช้วิธีอื่น เช่น ไปกดฟอลโลว์กลุ่มเป้าหมายมากกว่า ที่ไม่ใช้เพราะรู้สึกคล้ายๆ กัน
สิ่งที่ผมมักจะทำบ่อยๆ นอกจากจะโพสต์ภาพของกิน หรือสถานที่ และชีวิตส่วนตัว แล้ว ก็ยังมีอีกอย่างที่จะถือว่าเป็นงานอดิเรก (ที่ไร้สาระ) เลยก็ว่าได้ นั่นคือการ “ชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” จะถือว่า ชิมเพื่อรีวิว (แบบบ้านๆ) เลยก็ได้นะ เพราะผมก็พยายามไล่กินทุกรส ทุกยี่ห้อ ที่มันมีขายในตามตลาดเนี่ยล่ะ ว่าแต่ ที่มาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมันมีความเป็นมาอย่างไร
เอาจริงๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คาดว่ามีมานานแล้วในประเทศจีน ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง แต่ที่เพิ่งมาเป็นอุตสาหกรรมก็เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยคุณอันโด โมโมฟุกุ ผู้ก่อตั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนิชชิน ซึ่งได้ไอเดียหลังจากที่เห็นคนต่อแถวรอกินราเมนใน จ.โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จึงคิดนำเส้นราเมนไปผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่ และทอดในน้ำมันปาล์มและอบแห้ง พอจะกินก็แค่เติมน้ำร้อนใส่ ไม่ต้องปรุงอะไร นิชชินจึงถือกำเนิดเป็นเจ้าแรกของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ในชื่อของ "ชิกิง ราเมง" (Chikin Ramen) และมีการพัฒนาต่อมาจนนำไปขายสู่ทั่วโลก
ส่วนของบ้านเราที่ฮิตติดปากกันมากคงหนีไม่พ้น ยี่ห้อ “มาม่า” แต่นั่นไม่ใช่เจ้าแรกที่เข้ามายังเมืองไทย เพราะใน พ.ศ.๒๕๑๔ “ซันวา" ได้ถือกำเนิดเป็นเจ้าแรก มาแบบต้นฉบับญี่ปุ่นต้มก่อนปรุง ตามมาด้วย “ยำยำ” (ในเว็บไซต์อายิโนโมโต๊ะ อ้างว่า ยำยำเป็นเจ้าแรกที่ผลิตในไทย) ที่พัฒนามาจากบะหมี่ของไต้หวันที่ชงในน้ำร้อนเพียง ๓ นาที และ “ไวไว” ของบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด เป็นรายถัดมา ส่วน "มาม่า" โดยบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด เป็นเจ้าที่ ๔ ก่อกำเนิดเมื่อต้นปี ๒๕๑๕
บทบันทึกของคุณเทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล ส่วนหนึ่งก็ได้ยอมรับว่า ยำยำถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดให้คนรู้จักกับสินค้าชนิดนี้ แต่กลับมาประสบปัญหาเมื่อกลางปี ๒๕๑๕ จากการที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าว "พบอันตรายจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้บริโภคมากอาจเป็นอัมพาต" นั่นทำให้ยอดขายตกต่ำอย่างรวดเร็ว แม้ทั้ง ๒ ค่ายจะพยายามกู้วิกฤติทั้งติดต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอยืนยันความปลอดภัยและทุ่มงบฯ โฆษณา แต่ก็ไม่กระเตื้องขึ้น มาม่าเองในช่วงนั้นก็เริ่มผลิตแล้วด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และนำออกขายในปี ๒๕๑๖ ในช่วงที่ข่าวเริ่มซาลง พร้อมกับถือกำเนิดแผนชงให้ชิมฟรีตามตลาดด้วยพนักงานสาว นั่นจึงทำให้เป็นที่นิยมในเวลาต่อมา **(ที่มา คอลัมน์ คิด-ลอง-ทำ Made by สหพัฒน์ ขอนั่งกลางใจผู้บริโภคตลอดไป,ประชาชาติธุรกิจ )
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้านเราในช่วงแรกก็หนีไม่พ้น รสซุปไก่ รสหมูสับ ตามมาด้วย รสต้มยำกุ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่ผลิตในเมืองไทย หมูสับ ต้มยำกุ้ง แทบทุกยี่ห้อต้องมี ซึ่งปัจจุบันเท่าที่เห็นในท้องตลาด นอกจาก ๓ ยี่ห้อหลัก ก็มีอีกหลายเจ้าแตกต่างกันไป ทั้งลักษณะเส้น เครื่องปรุง รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ อย่างที่กำลังมาแรงก็คงหนีไม่พ้น “นิชชิน” (เข้ามาในไทยเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ร่วมทุนกับเครือสหพัฒน์) ฉบับปรับปรุงใหม่ ๓ รสชาติ คือ ต้มยำกุ้งน้ำข้น หมูสับ กุ้งมะนาว ที่เน้นความเหนียวนุ่มของเส้นคล้ายกับราเมนของญี่ปุ่น พร้อมสโลแกนอร่อยที่เส้นเข้มที่ซุป
นอกนั้นก็ที่เราคุ้นหูกันดี อย่าง “ควิก” (ยี่ห้อย่อยมาจากไวไว) ที่ในยุคเริ่มแรกเน้นเทรนด์วัยรุ่น กับข้อความโฆษณาชงแค่ ๒ นาที และรสชาติเผ็ดเป็นหลัก , “เอฟเอฟ” ,”กุ๊งกิ๊ง” ,”ซื่อสัตย์”,”ฟอร์มี” หรือ ยี่ห้อสำหรับชาวมุสลิมอย่าง “ซือดะ” ,”จายา” ,”รุสกี” รวมไปถึงพวกห้างค้าปลีก ก็มีผลิต อาทิ “โลตัส” แม้กระทั่งยี่ห้อ “เซเว่น เซเลค” ของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อิเลฟเว่น รวมทั้งอาหารแช่แข็งอย่าง “พรานทะเล” ก็เอากับเขาด้วย
แม้กระทั่งยี่ห้อต่างชาติก็นำรสชาติแปลกๆ เข้ามาขายในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่และขนาดกลาง อาทิ ยี่ห้อนองซิม ของเกาหลีใต้ ที่มีทั้งแกงกิมจิ ,จาจังเมี่ยน ,ซีส หรือ อาหารแดนโสมอีกหลายชนิด, ยี่ห้อ นิชชินแบบต้นฉบับญี่ปุ่น พวกราเมน และของร่วมเออีซีอย่าง อินโดหมี่ ของอินโดนีเซีย อันนี้จะมีพวกหมี่โกเร็ง อาหารสุดฮิตของบ้านเขา
ด้วยความที่มันมีรสใหม่ๆ มากมายนี้ จึงเป็นสาเหตุ ๑ ให้ผมตัดสินใจที่เริ่มรีวิวลงบนอินสตาแกรม ตรงนี้ต้องออกตัวก่อนเลยว่า ผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้มาม่านะครับ ไม่ได้ศึกษาแบบลึกซึ้งเท่าไหร่ แค่พอรู้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ว่าแต่ แล้วทำไมผมถึงคิดที่จะทำล่ะ ...
อันที่จริงในต่างประเทศก็มีผู้รีวิวไว้มากมาย ทั้งในยูทิวบ์ ก็มีชาวญี่ปุ่นทำอาหารชนิดนี้พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ชมอย่างละเอียด หรือในอินสตาแกรมเองก็มีสมาชิกชื่อดังอย่าง เดอะ ราเมน เรตเตอร์ (The Ramen Rater) เจ้านี้มีสื่อไทยบางเจ้าก็เอาข้อมูลที่เขาจัดอันดับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อร่อยที่สุดในโลก (ของเขา) ไปตีพิมพ์ซะงั้น รายนี้ชงมาม่าแบบเหมือนภาพหน้าซองมากๆ มีอะไรแกเอามาใส่หมด เป๊ะจนคิดไปได้เลยว่า ยังกับฉีกซองชงน้ำร้อนแล้วมันจะฟูฟ่องพร้อมเครื่องจัดเต็มไปเสียขนาดนั้น
ส่วนตัวผมมันเกิดจาก “ความสงสัยที่ไร้สาระ” เพราะเห็นผู้ใช้ส่วนใหญ่มักโพสต์รูปของกินที่ดูมีราคาแพง อาทิ อาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือ ฝรั่ง ไอ้เราด้วยความนึกสนุก ปนสงสัยว่า เอ๊ะทำไม ไม่ค่อยมีใครโพสต์อะไรที่เป็นอาหารพื้นฐานเลย แล้วก็อยากทดลองดูปฏิกิริยาของคนในอินสตาแกรมด้วย ก็เลยเริ่มปฏิบัติการชงแล้วโพสต์จาก มาม่า ต้มยำกุ้ง สุดเบสิกที่ผมเชื่อว่า คนไทยร้อยละ ๙๐ เคยกินแน่ๆ พร้อมกับบอกเล่าถึงรสชาติ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เผื่อชาวต่างชาติเห็นแล้วพอมาเมืองไทยจะได้ซื้อไปทดลอง รวมทั้งเป็นไกด์ไลน์ให้แก่พวกพนักงานออฟฟิศแบบผม หรือนักศึกษาเด็กหอ ว่าไอ้รสนี้มันเป็นยังไง
วิธีชิมก็คือชงตามที่เขาเขียนไว้ จะ ๒ หรือ ๓ นาทีก็แล้วแต่ซองระบุ โดยใส่แค่เครื่องปรุงที่ให้มาเท่านั้น ซึ่งผลตอบรับก็พอมีอยู่บ้าง ทั้งคนไทยที่เข้ามาถามหรือร่วมแสดงความเห็น และชาวต่างชาติบางคนที่บอกเคยกินรสนั้นรสนี้ (อันนี้งงเหมือนกัน) พอทำไปเรื่อยๆ มันก็เริ่มสนุกที่จะได้ทดลอง (เป็นเหยื่อให้ก่อน)
ผมใช้บรรทัดฐานการชิมคือ เอาความ “เหมือนของจริง” เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเส้น และความอร่อย เช่น ถ้ากินรสหมูน้ำตก มันต้องรู้สึกถึงความเป็นหมูน้ำตก (ที่มาถึงใหม่ๆ แล้วเรายังไม่ได้ใส่เครื่องปรุง) ถ้าทุกอย่างตรงเป๊ะ ผมก็ชม แต่ข้อด้อยของผมคือ ไม่ได้เขียนระบุพวกศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ หรือส่วนผสมทั้งหมด เพราะผมรู้สึกว่า ถึงเวลากินจริงๆ ก็แทบจะไม่มีคนมาใส่ใจมันหรอก คนก็อยากรู้กันแค่ว่า มันอร่อยมั้ย เท่านั้น
ทีนี้ด้วยความที่ว่า บรรทัดฐานของผมคือรสเหมือนจริง มันเกิดปัญหาต่อการทดลองในบะหมี่กึ่งฯ ของต่างประเทศ ที่เราไม่มีทางจะรู้รสชาติมันได้เลย อย่างที่รุ่นน้องผมซื้อมาม่า ฟิลิปปินส์ ยี่ห้อ ลักกี้ หมี่ มาให้ชิมเนี่ยล่ะ ไอ้เราก็ไม่เคยทานอาหารแดนตากาล๊อก จนทำให้เราต้องไปสืบค้นให้ปวดหัวเล่นๆ ว่ามันคืออะไรวะ แล้วก็เริ่มชิม วิเคราะห์ หรือแม้กระทั่งของบ้านเราที่เป็นรสฟิวชั่น แต่ในเมื่อเราไม่รู้รสที่แท้จริงทั้งหมด ก็ต้องข้ามไปสู่วิจารณญานของเราเป็นตัวตั้งว่า กินแล้วมันอร่อยหรือไม่
แล้วของไทย ยี่ห้อไหนอร่อยที่สุด ...ผมว่าแต่ละยี่ห้อก็มีความโดดเด่นต่างกันไป อย่างเส้นบะหมี่เอาแบบพื้นฐานซองละ ๖ บาท ที่เจอจะมีอยู่ ๒ แบบ คือ ทั่วไป เส้นนุ่มแต่ไม่เหนียวมาก บางยี่ห้อถึงกับฝืดคอ กับอีกแบบคือเส้นคล้ายราเมน ที่เหนียวนุ่ม ลื่นคอกว่า ส่วนน้ำซุปหรือเครื่องปรุงก็ว่ากันไปตามแต่ละยี่ห้อ ถ้าถามความอร่อยมันขึ้นอยู่กับลิ้นของแต่ละคนที่มีพื้นฐานในการกินต่างกัน บรรทัดฐานของผมจึงอยู่ที่ความเหมือนมากกว่า
หลายๆ ยี่ห้อ ก็เริ่มผลิตรสชาติใหม่ๆ เพื่อแข่งขันและให้โดนใจผู้บริโภค อย่าง เอฟเอฟ ที่อาจจะดูงั้นๆ แต่ผมเขาก็มีหลายรสชาติ และทำได้ดี เช่น เนื้อตุ๋นต้มยำ ก็คล้ายกับของจริงมากๆ และก็อร่อยดีด้วย เว้นแต่เส้นที่ไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ หรือ ไวไวหอยลายผัดฉ่า ก็คล้ายกับกินอาหารต้นฉบับ แถมยังเผ็ดจัดจ้านสะใจคนชอบรสจัดด้วย (ขนาดผม ที่ไม่ชอบกินเผ็ด แต่รสนี้ต้องยอม) ขนาดมาม่า เองก็พัฒนารสชาติเพิ่มขึ้่นเรื่อยๆ ทั้งแกงเขียวหวาน,สไปซี่ ซีส ให้ได้เลือกกินกันมากมาย
ยิ่งมีรสให้เลือกมาก ก็ยิ่งสนุกในการได้ชิม จนมีหลายคนเตือนๆ ผมถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น ...
แน่นอนว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ ทำมาจากแป้งสาลี ส่วนเครื่องปรุงก็มีทั้งน้ำมัน เกลือ ผงชูรส มีการศึกษากันว่า แค่ 1 ซอง ก็ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมเกินความต้องการถึงร้อยละ 50 ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการทำงานของไต และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ จึงควรเติมไข่ เนื้อสัตว์ และผักลงไปเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เรื่องนี้ผมก็รู้ดีครับ แต่ถ้าทำเช่นนั้นผมก็จะไม่ได้รับรู้ถึงรสชาติที่แท้จริงของมันล่ะสิ ... ผมจึงเลือกที่จะทานแค่สัปดาห์ละ ๒ - ๓ มื้อ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
แต่สุดท้าย แม้ผมจะรีวิวไว้ในอินสตาแกรมมากมายเท่าใด มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คุณเชื่อว่ามันอร่อยหรือทานแทบไม่ได้ คุณเท่านั้นเป็นผู้พิสูจน์ว่าผมพูดจริงหรือไม่ .... แต่ถ้าฟังพิษภัยแล้วไม่อยากเสี่ยง ผู้อ่านก็สามารถอ่านผลงานของผมโดยลองเปิดไอจี พิมพ์หาแท็ก #reviewnoodle ติดตามกันได้นะครับ
พูดถึงสังคมออนไลน์แล้ว นอกจากเว็บไซต์เฟซบุ๊กที่เสมือนเกือบเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ทั้งการทำงานและอยากบ่นอะไรที่ไร้สาระแล้ว ทวิตเตอร์ ก็เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์กอีกสิ่งที่ผมใช้ส่องความสดของสถานการณ์ ทั้งเหตุและความเห็นของบางบุคคลที่ดูมีความสำคัญต่อข่าวนั้น ส่วนอีกแอพลิเคชั่น ๑ ที่ถือว่าติดเอาการก็คงหนีไม่พ้น “อินสตาแกรม” ศูนย์รวมแห่งการแบ่งปันภาพถ่ายกันจากทั่วทุกมุมโลก ที่เคยเขียนไปแล้วในบทความแรกๆ ของผม
แต่ช่วงหลังก็แอบเบื่อๆ แทนดารา เวลาเห็นคนที่ผมชอบ (แน่นอนว่าจะเป็นสาวๆ) โพสต์ภาพปั๊บก็จะมีพวกมา “ฝากร้าน” กันใต้คอมเมนท์ปุ๊บ ถ้าเป็นผมโดนเองก็คงเซ็ง จะดูความเห็นที่เกี่ยวข้องไม่ใช่มาตลาด (ขนาดแค่เห็นยังรำคาญแทน) หลังๆ ผมเห็นอีกวิธีนึงคือร้านค้ามาโพสต์คอมเมนท์ปกติ ดูแล้วก็ยังโอเคนะ เนียนๆ ดีกว่ามาโต้งๆ
ผมถามเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่ใช้อินสตาแกรมไว้ขายของและขายค่อนข้างดีว่า เคยฝากร้านมั้ยแล้วได้ผลยังไง เขาบอกว่า เขาไม่ได้ใช้วิธีนั้น แต่มักใช้วิธีอื่น เช่น ไปกดฟอลโลว์กลุ่มเป้าหมายมากกว่า ที่ไม่ใช้เพราะรู้สึกคล้ายๆ กัน
สิ่งที่ผมมักจะทำบ่อยๆ นอกจากจะโพสต์ภาพของกิน หรือสถานที่ และชีวิตส่วนตัว แล้ว ก็ยังมีอีกอย่างที่จะถือว่าเป็นงานอดิเรก (ที่ไร้สาระ) เลยก็ว่าได้ นั่นคือการ “ชิมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” จะถือว่า ชิมเพื่อรีวิว (แบบบ้านๆ) เลยก็ได้นะ เพราะผมก็พยายามไล่กินทุกรส ทุกยี่ห้อ ที่มันมีขายในตามตลาดเนี่ยล่ะ ว่าแต่ ที่มาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมันมีความเป็นมาอย่างไร
เอาจริงๆ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คาดว่ามีมานานแล้วในประเทศจีน ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง แต่ที่เพิ่งมาเป็นอุตสาหกรรมก็เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยคุณอันโด โมโมฟุกุ ผู้ก่อตั้งบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนิชชิน ซึ่งได้ไอเดียหลังจากที่เห็นคนต่อแถวรอกินราเมนใน จ.โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น จึงคิดนำเส้นราเมนไปผสมกับน้ำซุปกระดูกไก่ และทอดในน้ำมันปาล์มและอบแห้ง พอจะกินก็แค่เติมน้ำร้อนใส่ ไม่ต้องปรุงอะไร นิชชินจึงถือกำเนิดเป็นเจ้าแรกของผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ในชื่อของ "ชิกิง ราเมง" (Chikin Ramen) และมีการพัฒนาต่อมาจนนำไปขายสู่ทั่วโลก
ส่วนของบ้านเราที่ฮิตติดปากกันมากคงหนีไม่พ้น ยี่ห้อ “มาม่า” แต่นั่นไม่ใช่เจ้าแรกที่เข้ามายังเมืองไทย เพราะใน พ.ศ.๒๕๑๔ “ซันวา" ได้ถือกำเนิดเป็นเจ้าแรก มาแบบต้นฉบับญี่ปุ่นต้มก่อนปรุง ตามมาด้วย “ยำยำ” (ในเว็บไซต์อายิโนโมโต๊ะ อ้างว่า ยำยำเป็นเจ้าแรกที่ผลิตในไทย) ที่พัฒนามาจากบะหมี่ของไต้หวันที่ชงในน้ำร้อนเพียง ๓ นาที และ “ไวไว” ของบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด เป็นรายถัดมา ส่วน "มาม่า" โดยบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด เป็นเจ้าที่ ๔ ก่อกำเนิดเมื่อต้นปี ๒๕๑๕
บทบันทึกของคุณเทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล ส่วนหนึ่งก็ได้ยอมรับว่า ยำยำถือเป็นผู้บุกเบิกตลาดให้คนรู้จักกับสินค้าชนิดนี้ แต่กลับมาประสบปัญหาเมื่อกลางปี ๒๕๑๕ จากการที่หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวข่าว "พบอันตรายจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผู้บริโภคมากอาจเป็นอัมพาต" นั่นทำให้ยอดขายตกต่ำอย่างรวดเร็ว แม้ทั้ง ๒ ค่ายจะพยายามกู้วิกฤติทั้งติดต่อกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอยืนยันความปลอดภัยและทุ่มงบฯ โฆษณา แต่ก็ไม่กระเตื้องขึ้น มาม่าเองในช่วงนั้นก็เริ่มผลิตแล้วด้วย จึงต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และนำออกขายในปี ๒๕๑๖ ในช่วงที่ข่าวเริ่มซาลง พร้อมกับถือกำเนิดแผนชงให้ชิมฟรีตามตลาดด้วยพนักงานสาว นั่นจึงทำให้เป็นที่นิยมในเวลาต่อมา **(ที่มา คอลัมน์ คิด-ลอง-ทำ Made by สหพัฒน์ ขอนั่งกลางใจผู้บริโภคตลอดไป,ประชาชาติธุรกิจ )
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ้านเราในช่วงแรกก็หนีไม่พ้น รสซุปไก่ รสหมูสับ ตามมาด้วย รสต้มยำกุ้ง และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่ผลิตในเมืองไทย หมูสับ ต้มยำกุ้ง แทบทุกยี่ห้อต้องมี ซึ่งปัจจุบันเท่าที่เห็นในท้องตลาด นอกจาก ๓ ยี่ห้อหลัก ก็มีอีกหลายเจ้าแตกต่างกันไป ทั้งลักษณะเส้น เครื่องปรุง รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ อย่างที่กำลังมาแรงก็คงหนีไม่พ้น “นิชชิน” (เข้ามาในไทยเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๗ ร่วมทุนกับเครือสหพัฒน์) ฉบับปรับปรุงใหม่ ๓ รสชาติ คือ ต้มยำกุ้งน้ำข้น หมูสับ กุ้งมะนาว ที่เน้นความเหนียวนุ่มของเส้นคล้ายกับราเมนของญี่ปุ่น พร้อมสโลแกนอร่อยที่เส้นเข้มที่ซุป
นอกนั้นก็ที่เราคุ้นหูกันดี อย่าง “ควิก” (ยี่ห้อย่อยมาจากไวไว) ที่ในยุคเริ่มแรกเน้นเทรนด์วัยรุ่น กับข้อความโฆษณาชงแค่ ๒ นาที และรสชาติเผ็ดเป็นหลัก , “เอฟเอฟ” ,”กุ๊งกิ๊ง” ,”ซื่อสัตย์”,”ฟอร์มี” หรือ ยี่ห้อสำหรับชาวมุสลิมอย่าง “ซือดะ” ,”จายา” ,”รุสกี” รวมไปถึงพวกห้างค้าปลีก ก็มีผลิต อาทิ “โลตัส” แม้กระทั่งยี่ห้อ “เซเว่น เซเลค” ของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อิเลฟเว่น รวมทั้งอาหารแช่แข็งอย่าง “พรานทะเล” ก็เอากับเขาด้วย
แม้กระทั่งยี่ห้อต่างชาติก็นำรสชาติแปลกๆ เข้ามาขายในซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่และขนาดกลาง อาทิ ยี่ห้อนองซิม ของเกาหลีใต้ ที่มีทั้งแกงกิมจิ ,จาจังเมี่ยน ,ซีส หรือ อาหารแดนโสมอีกหลายชนิด, ยี่ห้อ นิชชินแบบต้นฉบับญี่ปุ่น พวกราเมน และของร่วมเออีซีอย่าง อินโดหมี่ ของอินโดนีเซีย อันนี้จะมีพวกหมี่โกเร็ง อาหารสุดฮิตของบ้านเขา
ด้วยความที่มันมีรสใหม่ๆ มากมายนี้ จึงเป็นสาเหตุ ๑ ให้ผมตัดสินใจที่เริ่มรีวิวลงบนอินสตาแกรม ตรงนี้ต้องออกตัวก่อนเลยว่า ผมไม่ใช่แฟนพันธุ์แท้มาม่านะครับ ไม่ได้ศึกษาแบบลึกซึ้งเท่าไหร่ แค่พอรู้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ว่าแต่ แล้วทำไมผมถึงคิดที่จะทำล่ะ ...
อันที่จริงในต่างประเทศก็มีผู้รีวิวไว้มากมาย ทั้งในยูทิวบ์ ก็มีชาวญี่ปุ่นทำอาหารชนิดนี้พร้อมให้ความรู้แก่ผู้ชมอย่างละเอียด หรือในอินสตาแกรมเองก็มีสมาชิกชื่อดังอย่าง เดอะ ราเมน เรตเตอร์ (The Ramen Rater) เจ้านี้มีสื่อไทยบางเจ้าก็เอาข้อมูลที่เขาจัดอันดับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่อร่อยที่สุดในโลก (ของเขา) ไปตีพิมพ์ซะงั้น รายนี้ชงมาม่าแบบเหมือนภาพหน้าซองมากๆ มีอะไรแกเอามาใส่หมด เป๊ะจนคิดไปได้เลยว่า ยังกับฉีกซองชงน้ำร้อนแล้วมันจะฟูฟ่องพร้อมเครื่องจัดเต็มไปเสียขนาดนั้น
ส่วนตัวผมมันเกิดจาก “ความสงสัยที่ไร้สาระ” เพราะเห็นผู้ใช้ส่วนใหญ่มักโพสต์รูปของกินที่ดูมีราคาแพง อาทิ อาหารญี่ปุ่น เกาหลี หรือ ฝรั่ง ไอ้เราด้วยความนึกสนุก ปนสงสัยว่า เอ๊ะทำไม ไม่ค่อยมีใครโพสต์อะไรที่เป็นอาหารพื้นฐานเลย แล้วก็อยากทดลองดูปฏิกิริยาของคนในอินสตาแกรมด้วย ก็เลยเริ่มปฏิบัติการชงแล้วโพสต์จาก มาม่า ต้มยำกุ้ง สุดเบสิกที่ผมเชื่อว่า คนไทยร้อยละ ๙๐ เคยกินแน่ๆ พร้อมกับบอกเล่าถึงรสชาติ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เผื่อชาวต่างชาติเห็นแล้วพอมาเมืองไทยจะได้ซื้อไปทดลอง รวมทั้งเป็นไกด์ไลน์ให้แก่พวกพนักงานออฟฟิศแบบผม หรือนักศึกษาเด็กหอ ว่าไอ้รสนี้มันเป็นยังไง
วิธีชิมก็คือชงตามที่เขาเขียนไว้ จะ ๒ หรือ ๓ นาทีก็แล้วแต่ซองระบุ โดยใส่แค่เครื่องปรุงที่ให้มาเท่านั้น ซึ่งผลตอบรับก็พอมีอยู่บ้าง ทั้งคนไทยที่เข้ามาถามหรือร่วมแสดงความเห็น และชาวต่างชาติบางคนที่บอกเคยกินรสนั้นรสนี้ (อันนี้งงเหมือนกัน) พอทำไปเรื่อยๆ มันก็เริ่มสนุกที่จะได้ทดลอง (เป็นเหยื่อให้ก่อน)
ผมใช้บรรทัดฐานการชิมคือ เอาความ “เหมือนของจริง” เป็นอันดับแรก ตามมาด้วยเส้น และความอร่อย เช่น ถ้ากินรสหมูน้ำตก มันต้องรู้สึกถึงความเป็นหมูน้ำตก (ที่มาถึงใหม่ๆ แล้วเรายังไม่ได้ใส่เครื่องปรุง) ถ้าทุกอย่างตรงเป๊ะ ผมก็ชม แต่ข้อด้อยของผมคือ ไม่ได้เขียนระบุพวกศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ หรือส่วนผสมทั้งหมด เพราะผมรู้สึกว่า ถึงเวลากินจริงๆ ก็แทบจะไม่มีคนมาใส่ใจมันหรอก คนก็อยากรู้กันแค่ว่า มันอร่อยมั้ย เท่านั้น
ทีนี้ด้วยความที่ว่า บรรทัดฐานของผมคือรสเหมือนจริง มันเกิดปัญหาต่อการทดลองในบะหมี่กึ่งฯ ของต่างประเทศ ที่เราไม่มีทางจะรู้รสชาติมันได้เลย อย่างที่รุ่นน้องผมซื้อมาม่า ฟิลิปปินส์ ยี่ห้อ ลักกี้ หมี่ มาให้ชิมเนี่ยล่ะ ไอ้เราก็ไม่เคยทานอาหารแดนตากาล๊อก จนทำให้เราต้องไปสืบค้นให้ปวดหัวเล่นๆ ว่ามันคืออะไรวะ แล้วก็เริ่มชิม วิเคราะห์ หรือแม้กระทั่งของบ้านเราที่เป็นรสฟิวชั่น แต่ในเมื่อเราไม่รู้รสที่แท้จริงทั้งหมด ก็ต้องข้ามไปสู่วิจารณญานของเราเป็นตัวตั้งว่า กินแล้วมันอร่อยหรือไม่
แล้วของไทย ยี่ห้อไหนอร่อยที่สุด ...ผมว่าแต่ละยี่ห้อก็มีความโดดเด่นต่างกันไป อย่างเส้นบะหมี่เอาแบบพื้นฐานซองละ ๖ บาท ที่เจอจะมีอยู่ ๒ แบบ คือ ทั่วไป เส้นนุ่มแต่ไม่เหนียวมาก บางยี่ห้อถึงกับฝืดคอ กับอีกแบบคือเส้นคล้ายราเมน ที่เหนียวนุ่ม ลื่นคอกว่า ส่วนน้ำซุปหรือเครื่องปรุงก็ว่ากันไปตามแต่ละยี่ห้อ ถ้าถามความอร่อยมันขึ้นอยู่กับลิ้นของแต่ละคนที่มีพื้นฐานในการกินต่างกัน บรรทัดฐานของผมจึงอยู่ที่ความเหมือนมากกว่า
หลายๆ ยี่ห้อ ก็เริ่มผลิตรสชาติใหม่ๆ เพื่อแข่งขันและให้โดนใจผู้บริโภค อย่าง เอฟเอฟ ที่อาจจะดูงั้นๆ แต่ผมเขาก็มีหลายรสชาติ และทำได้ดี เช่น เนื้อตุ๋นต้มยำ ก็คล้ายกับของจริงมากๆ และก็อร่อยดีด้วย เว้นแต่เส้นที่ไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ หรือ ไวไวหอยลายผัดฉ่า ก็คล้ายกับกินอาหารต้นฉบับ แถมยังเผ็ดจัดจ้านสะใจคนชอบรสจัดด้วย (ขนาดผม ที่ไม่ชอบกินเผ็ด แต่รสนี้ต้องยอม) ขนาดมาม่า เองก็พัฒนารสชาติเพิ่มขึ้่นเรื่อยๆ ทั้งแกงเขียวหวาน,สไปซี่ ซีส ให้ได้เลือกกินกันมากมาย
ยิ่งมีรสให้เลือกมาก ก็ยิ่งสนุกในการได้ชิม จนมีหลายคนเตือนๆ ผมถึงภัยที่อาจเกิดขึ้น ...
แน่นอนว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปส่วนใหญ่ ทำมาจากแป้งสาลี ส่วนเครื่องปรุงก็มีทั้งน้ำมัน เกลือ ผงชูรส มีการศึกษากันว่า แค่ 1 ซอง ก็ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมเกินความต้องการถึงร้อยละ 50 ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการทำงานของไต และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้ จึงควรเติมไข่ เนื้อสัตว์ และผักลงไปเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เรื่องนี้ผมก็รู้ดีครับ แต่ถ้าทำเช่นนั้นผมก็จะไม่ได้รับรู้ถึงรสชาติที่แท้จริงของมันล่ะสิ ... ผมจึงเลือกที่จะทานแค่สัปดาห์ละ ๒ - ๓ มื้อ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้อื่น
แต่สุดท้าย แม้ผมจะรีวิวไว้ในอินสตาแกรมมากมายเท่าใด มันก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้คุณเชื่อว่ามันอร่อยหรือทานแทบไม่ได้ คุณเท่านั้นเป็นผู้พิสูจน์ว่าผมพูดจริงหรือไม่ .... แต่ถ้าฟังพิษภัยแล้วไม่อยากเสี่ยง ผู้อ่านก็สามารถอ่านผลงานของผมโดยลองเปิดไอจี พิมพ์หาแท็ก #reviewnoodle ติดตามกันได้นะครับ