อีกไม่กี่วันก็จะได้เห็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว และจากนั้นก็จะเห็นโฉมหน้าของสภาปฏิรูป สภานิติบัญญัติกับรัฐบาลใหม่ โฉมหน้าของบุคคลเหล่านี้จะบอกเราได้ในระดับหนึ่งว่าประเทศไทยหลังจากพ้นยุคทหารคสช.รอเลือกตั้งใหม่จะเป็นเช่นไร
จากนี้ไปไม่ใช่รอบลองไฟเปิดโอกาสให้ใช้อำนาจเก็บคะแนนตุนแล้วนะขอรับ หลังจากกรกฏาคมเป็นต้นไปฝ่ายกุมอำนาจรัฐจะต้องเล่นในรอบเล่นจริงเจ็บจริง พลาดเสียแต้มสะสมมากๆ อาจถึงขั้นทำให้รัฐนาวาเอียงได้เลย นั่นเพราะ........
การบริหารราชการแผ่นดินที่ต้องตัดสินใจนโยบายสาธารณะจะมีคนชอบคนไม่ชอบ คนได้คนไม่ได้สองด้านเสมอ การบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมือนการปราบยาบ้า ปราบวินเถื่อนที่ได้แต้มเต็มๆ แต่ต้องชั่งน้ำหนักตัดสินใจเช่นว่าจะคง 30 บาทรักษาทุกโรคหรือให้ประชาชนช่วยแชร์ จะเดินหน้าโครงการเขื่อนหรือไม่ จะเอาระบบใดมาแทนจำนำข้าวตลอดถึงการพยุงราคาพืชผลตัวอื่น
กระแสสังคมคาดหวังกับการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม จับต้องได้ รัฐบาลคสช.สภาปฏิรูป และสภานิติบัญญัติฯ อยู่ภายใต้เงื่อนไขความคาดหวังนี้ อย่างเรื่องพลังงานที่มีคนผิดหวังไปแล้ว จากนี้อาจจะมีผู้คนผิดหวังมากขึ้นๆ หากว่ารัฐไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปได้จริง ทั้งนี้เพราะแนวคิดการปฏิรูปหลายเรื่อง ขัดแย้งโดยธรรมชาติกับระบบคิดแบบราชการซึ่งเป็นกลไกหลักของรัฐบาลเองโดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจเพราะระบบราชการไทยเชื่อในหลักการรวมศูนย์อำนาจมายาวนาน
ระบบราชการ หรือเรียกให้ชัดก็คือความคิดแบบอำมาตยาธิปไตย อันเป็นพื้นฐานอำนาจของรัฐบาลคสช. ช่วงชิงโอกาสนี้เสนอแนวนโยบายแบบของตน ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากข้อเสนอของซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจและบอร์ดปตท. ให้ขายกิจการท่อก๊าซเป็นเอกชน 100% นัยว่าเพื่อป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงของอำนาจฝ่ายการเมือง ความคิดแบบนี้เป็นความคิดพื้นฐานแบบเทคโนแครตและขุนนางราชการมายาวนาน เพราะพวกนี้เชื่อในการสร้างอาณาจักรราชการเทคโนแครต นำ “คนดีๆ” เข้าไปทำงาน และจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนเอง ขณะที่แนวคิดการปฏิรูปหลายเรื่องมุ่งเรียกร้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
รัฐบาล คสช. จะประสบปัญหาความขัดแย้งในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกลุ่มความคิดปฏิรูป กับกลุ่มความคิดประสิทธิภาพของระบบกลไกราชการแบบเดิมในเวทีปฏิรูป รัฐบาลและคสช.อาจจะใช้การสงบสยบความเคลื่อนไหวโยนปัญหาให้สภาปฏิรูปและสภานิติบัญญัติหารือกันเอาเอง แล้วค่อยไปฟันธงตัดสินเอาตอนท้ายที่ใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่หากทำเช่นนั้นก็เท่ากับแสดงว่า คสช.ไม่ได้มียุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน
สภาปฏิรูป อาจขัดแย้งกับ สภานิติบัญญัติ....ระหว่าง 1 ปีนับจากนี้ สภานิติบัญญัติ สนช. จะเดินหน้าปั๊มกฎหมายต่างๆ ที่หน่วยงานกระทรวงทบวงกรมเตรียมชงไว้ในวาระของการปล่อยผีครั้งใหญ่ สังเกตดูก็ได้ สนช.ในยุครัฐประหารมักจะมีงานเข้าให้เร่งปั๊มกฎหมายตามแนวทางใหญ่ของผู้มีอำนาจยุคนั้น อย่างเช่นในยุครสช.เป็นยุคที่กระแสโลกาภิวัตน์+เสรีนิยมมาแรง มีการปั๊มกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายรวมทั้งพรบ.ที่เกี่ยวกับการปิโตรเลียม ประชุมวันหนึ่งผ่านได้หลายฉบับเป็นมหกรรม ส่วน สนช.ในยุคบิ๊กบัง+ขิงแก่ ก็มีกฎหมายใบสั่งหลายตัวเหมือนกันเช่นพรบ.มหาวิทยาลัยนอกระบบ ทราบมาว่าตอนนี้ข้าราชการแต่ละกระทรวงเตรียมกฎหมายของตัวเองเป็นหางว่าวไว้แล้ว ชนชั้นใดออกกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น กฎหมายที่เสนอโดยระบบราชการก็เพื่อราชการตามแนวคิดแนวทางของราชการที่อาจจะแย้งในเชิงหลักการกับแนวคิดของฝ่ายปฏิรูป หากว่าสนช.ปล่อยกฎหมายเหล่านี้ผ่านสภามากๆ ย่อมมีแนวโน้มสูงที่ผลสุดท้ายที่ขัดแย้งกับสภาปฏิรูปที่มุ่งหน้าเสนอข้อปรับปรุงกฎหมายตามแนวทางปฏิรูป
ดังนั้นการมีหรือไม่มียุทธศาสตร์การปฏิรูปของคสช.หรือรัฐบาลคสช.ที่ชัดเจนจะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการสร้างกรอบทำงานให้กับสนช.แต่เริ่ม ปัญหาก็คือ แนวโน้มของรัฐบาลคสช.เองโน้มเอียงไปทางแนวคิดของระบบราชการหรือที่เรียกภาษาวิชาการว่าอำมาตยาธิปไตย ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากการดำเนินการเรื่องการพลังงาน และมีข่าวว่าคสช.ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการกระจายอำนาจสักเท่าใดนัก ที่จะทำจริงๆ ก็คือการปฏิรูปการเมือง การเข้าสู่ระบบการเมือง การป้องกันและปราบปรามทุจริตมากกว่าเรื่องอื่น หาก คสช./รัฐบาล คสช.แสดงท่าทีชัดเจนว่ามียุทธศาสตร์ใดออกมา อาจจะมีผลต่อแรงต้านที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มอกหัก และคาดหวังจากการปฏิรูป
กลุ่มเสื้อแดงและฝ่ายอำนาจเดิมแม้อ่อนกำลังลงแต่ก็ผันแปรกับอำนาจของรัฐบาลคสช. หากรัฐบาลคสช.ทำเรื่องผิดพลาดมากก็จะฟื้นเร็วขึ้น ระยะนี้คือระยะกบดานและรอคอยอย่างที่ทักษิณ ชินวัตรส่งสัญญาณ WAIT มานั่นเอง การตัดสินใจใดๆ ของรัฐบาลคสช. การออกกฎหมายของสนช. และแนวทางของสภาปฏิรูป ล้วนแต่มีผลทางตรงทางอ้อมกับกลุ่มเสื้อแดงทั้งสิ้น
ขณะนี้เป็นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมกำหนดเดิม คสช.ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วและเดือนหน้าจะเป็นบรรยากาศของการตั้งครม. สนช. สภาปฏิรูป บรรยากาศแบบนี้อาจจะชักชวนให้ผู้คนคาดหวังไปถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่แท้ที่สุดแล้วนั่นยังเป็นแค่ภาพภายนอก เนื้อหาที่แท้จริงที่จะรับประกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่จริงอยู่ที่คสช.มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่
ครึ่งเดือนหลังของกรกฎาคม...จากนี้จะเริ่มเข้าสู่รอบเล่นจริงเจ็บจริงแล้ว.
จากนี้ไปไม่ใช่รอบลองไฟเปิดโอกาสให้ใช้อำนาจเก็บคะแนนตุนแล้วนะขอรับ หลังจากกรกฏาคมเป็นต้นไปฝ่ายกุมอำนาจรัฐจะต้องเล่นในรอบเล่นจริงเจ็บจริง พลาดเสียแต้มสะสมมากๆ อาจถึงขั้นทำให้รัฐนาวาเอียงได้เลย นั่นเพราะ........
การบริหารราชการแผ่นดินที่ต้องตัดสินใจนโยบายสาธารณะจะมีคนชอบคนไม่ชอบ คนได้คนไม่ได้สองด้านเสมอ การบริหารราชการแผ่นดินไม่เหมือนการปราบยาบ้า ปราบวินเถื่อนที่ได้แต้มเต็มๆ แต่ต้องชั่งน้ำหนักตัดสินใจเช่นว่าจะคง 30 บาทรักษาทุกโรคหรือให้ประชาชนช่วยแชร์ จะเดินหน้าโครงการเขื่อนหรือไม่ จะเอาระบบใดมาแทนจำนำข้าวตลอดถึงการพยุงราคาพืชผลตัวอื่น
กระแสสังคมคาดหวังกับการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม จับต้องได้ รัฐบาลคสช.สภาปฏิรูป และสภานิติบัญญัติฯ อยู่ภายใต้เงื่อนไขความคาดหวังนี้ อย่างเรื่องพลังงานที่มีคนผิดหวังไปแล้ว จากนี้อาจจะมีผู้คนผิดหวังมากขึ้นๆ หากว่ารัฐไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิรูปได้จริง ทั้งนี้เพราะแนวคิดการปฏิรูปหลายเรื่อง ขัดแย้งโดยธรรมชาติกับระบบคิดแบบราชการซึ่งเป็นกลไกหลักของรัฐบาลเองโดยเฉพาะเรื่องการกระจายอำนาจเพราะระบบราชการไทยเชื่อในหลักการรวมศูนย์อำนาจมายาวนาน
ระบบราชการ หรือเรียกให้ชัดก็คือความคิดแบบอำมาตยาธิปไตย อันเป็นพื้นฐานอำนาจของรัฐบาลคสช. ช่วงชิงโอกาสนี้เสนอแนวนโยบายแบบของตน ดังที่เห็นได้ชัดเจนจากข้อเสนอของซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจและบอร์ดปตท. ให้ขายกิจการท่อก๊าซเป็นเอกชน 100% นัยว่าเพื่อป้องกันการก้าวก่ายแทรกแซงของอำนาจฝ่ายการเมือง ความคิดแบบนี้เป็นความคิดพื้นฐานแบบเทคโนแครตและขุนนางราชการมายาวนาน เพราะพวกนี้เชื่อในการสร้างอาณาจักรราชการเทคโนแครต นำ “คนดีๆ” เข้าไปทำงาน และจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนเอง ขณะที่แนวคิดการปฏิรูปหลายเรื่องมุ่งเรียกร้องให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม
รัฐบาล คสช. จะประสบปัญหาความขัดแย้งในเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกลุ่มความคิดปฏิรูป กับกลุ่มความคิดประสิทธิภาพของระบบกลไกราชการแบบเดิมในเวทีปฏิรูป รัฐบาลและคสช.อาจจะใช้การสงบสยบความเคลื่อนไหวโยนปัญหาให้สภาปฏิรูปและสภานิติบัญญัติหารือกันเอาเอง แล้วค่อยไปฟันธงตัดสินเอาตอนท้ายที่ใกล้เลือกตั้งแล้ว แต่หากทำเช่นนั้นก็เท่ากับแสดงว่า คสช.ไม่ได้มียุทธศาสตร์การปฏิรูปที่ชัดเจน
สภาปฏิรูป อาจขัดแย้งกับ สภานิติบัญญัติ....ระหว่าง 1 ปีนับจากนี้ สภานิติบัญญัติ สนช. จะเดินหน้าปั๊มกฎหมายต่างๆ ที่หน่วยงานกระทรวงทบวงกรมเตรียมชงไว้ในวาระของการปล่อยผีครั้งใหญ่ สังเกตดูก็ได้ สนช.ในยุครัฐประหารมักจะมีงานเข้าให้เร่งปั๊มกฎหมายตามแนวทางใหญ่ของผู้มีอำนาจยุคนั้น อย่างเช่นในยุครสช.เป็นยุคที่กระแสโลกาภิวัตน์+เสรีนิยมมาแรง มีการปั๊มกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายรวมทั้งพรบ.ที่เกี่ยวกับการปิโตรเลียม ประชุมวันหนึ่งผ่านได้หลายฉบับเป็นมหกรรม ส่วน สนช.ในยุคบิ๊กบัง+ขิงแก่ ก็มีกฎหมายใบสั่งหลายตัวเหมือนกันเช่นพรบ.มหาวิทยาลัยนอกระบบ ทราบมาว่าตอนนี้ข้าราชการแต่ละกระทรวงเตรียมกฎหมายของตัวเองเป็นหางว่าวไว้แล้ว ชนชั้นใดออกกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น กฎหมายที่เสนอโดยระบบราชการก็เพื่อราชการตามแนวคิดแนวทางของราชการที่อาจจะแย้งในเชิงหลักการกับแนวคิดของฝ่ายปฏิรูป หากว่าสนช.ปล่อยกฎหมายเหล่านี้ผ่านสภามากๆ ย่อมมีแนวโน้มสูงที่ผลสุดท้ายที่ขัดแย้งกับสภาปฏิรูปที่มุ่งหน้าเสนอข้อปรับปรุงกฎหมายตามแนวทางปฏิรูป
ดังนั้นการมีหรือไม่มียุทธศาสตร์การปฏิรูปของคสช.หรือรัฐบาลคสช.ที่ชัดเจนจะมีความสำคัญมาก เพราะเป็นการสร้างกรอบทำงานให้กับสนช.แต่เริ่ม ปัญหาก็คือ แนวโน้มของรัฐบาลคสช.เองโน้มเอียงไปทางแนวคิดของระบบราชการหรือที่เรียกภาษาวิชาการว่าอำมาตยาธิปไตย ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากการดำเนินการเรื่องการพลังงาน และมีข่าวว่าคสช.ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการกระจายอำนาจสักเท่าใดนัก ที่จะทำจริงๆ ก็คือการปฏิรูปการเมือง การเข้าสู่ระบบการเมือง การป้องกันและปราบปรามทุจริตมากกว่าเรื่องอื่น หาก คสช./รัฐบาล คสช.แสดงท่าทีชัดเจนว่ามียุทธศาสตร์ใดออกมา อาจจะมีผลต่อแรงต้านที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มอกหัก และคาดหวังจากการปฏิรูป
กลุ่มเสื้อแดงและฝ่ายอำนาจเดิมแม้อ่อนกำลังลงแต่ก็ผันแปรกับอำนาจของรัฐบาลคสช. หากรัฐบาลคสช.ทำเรื่องผิดพลาดมากก็จะฟื้นเร็วขึ้น ระยะนี้คือระยะกบดานและรอคอยอย่างที่ทักษิณ ชินวัตรส่งสัญญาณ WAIT มานั่นเอง การตัดสินใจใดๆ ของรัฐบาลคสช. การออกกฎหมายของสนช. และแนวทางของสภาปฏิรูป ล้วนแต่มีผลทางตรงทางอ้อมกับกลุ่มเสื้อแดงทั้งสิ้น
ขณะนี้เป็นช่วงกลางเดือนกรกฎาคมกำหนดเดิม คสช.ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วและเดือนหน้าจะเป็นบรรยากาศของการตั้งครม. สนช. สภาปฏิรูป บรรยากาศแบบนี้อาจจะชักชวนให้ผู้คนคาดหวังไปถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ แต่แท้ที่สุดแล้วนั่นยังเป็นแค่ภาพภายนอก เนื้อหาที่แท้จริงที่จะรับประกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใหม่จริงอยู่ที่คสช.มียุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะปฏิรูปเปลี่ยนแปลงจริงหรือไม่
ครึ่งเดือนหลังของกรกฎาคม...จากนี้จะเริ่มเข้าสู่รอบเล่นจริงเจ็บจริงแล้ว.