เมื่อวันพุธที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ศอ.รส.ได้ออกแถลงการณ์ที่เรียกว่า เหมือนการเร่งเครื่องชน แสดงให้เห็นถึงอาการลุแก่อำนาจถึงที่สุดของรัฐบาล
และยังเป็นข้อเสนอที่หมิ่นเหม่จนน่าตกใจ ว่ามาจากความคิดของนายชัยเกษม นิติสิริ ผู้เคยเป็นถึงอัยการสูงสุด ซึ่งเดิมนั้นแนวความคิดนี้ ทางรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ยังเคยถึงกับออกมากึ่งรับกึ่งปฏิเสธ ว่าเป็นเพียงความเห็นของนายชัยเกษมแต่เพียงผู้เดียว ไม่ผูกพันทางพรรค แต่แล้วเมื่อแถลงการณ์ ศอ.รส.ออกมาเช่นนี้ จึงเท่ากับผูกพันต่อรัฐบาลกลายๆ แล้ว เนื่องจาก ศอ.รส.เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงต่อรัฐบาล
ก่อนหน้าที่จะมีการแถลงการณ์ ศอ.รส.ได้ออกประกาศเชิญปลัดกระทรวงซึ่งเป็นเหมือนการ “สอบกำลัง” อำนาจในการสั่งการข้าราชการประจำ โดยเรียกข้าราชการระดับสูงที่สุดของแต่ละกระทรวงเข้าไป “นับหัว” หลังจากที่ กปปส.ได้เดินเรียกแขกเข้าพบข้าราชการในหน่วยราชการต่างๆ มาแล้วก่อนหน้านี้
ส่วนใครไม่มา เช่น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ถูกเอาปูนป้ายหมายหัวกันไป
หลังจากสอบกำลังด้วยการนับหัวปลัดกระทรวงกันไปแล้ว ก็มีการออกแถลงการณ์ที่เป็นปัญหานั้น ซึ่งมีลักษณะ “เหวี่ยงแห” ไปทั้งหมด
เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า “อำนาจ” ของ ศอ.รส.นั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษในการที่ให้ ศอ.รส.นั้น ปฏิบัติการพิเศษ สามารถสั่งการหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงได้
เพียงแต่ “หน่วยราชการ” ที่ ศอ.รส.สามารถที่จะสั่งการ หรือประสานงานได้นั้น จะมีขอบเขตอยู่เพียงเฉพาะ “หน่วยราชการฝ่ายบริหาร” หรือ “หน่วยงานทางปกครอง” ที่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารเท่านั้น เพราะอำนาจของ ศอ.รส.เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร คือฝ่ายรัฐบาลนั่นเอง
ไม่รวมไปถึง “ศาล” ต่างๆ ที่เป็นองค์กรตุลาการ และ “องค์กรอิสระ” ต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญออกแบบไว้เพื่อให้ตรวจสอบถ่วงดุลโดยไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาใคร
เช่นที่ไม่ว่าจะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ไม่อาจที่จะใช้อำนาจไป “สั่ง” ศาลว่า ต่อไปนี้ คดีประเภทนี้ให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น หรือคดีแบบนี้ขอให้ศาลยกฟ้อง
หรือไม่อาจใช้อำนาจไปสั่งฝ่ายตรวจสอบอย่าง ป.ป.ช.ว่า ต่อไปนี้ หากมีการร้องเรียนเรื่องรัฐมนตรีทุจริต ให้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนได้นั่นแหละครับ
ลองคิดดูว่า ถ้าฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลสามารถใช้อำนาจได้ถึงขนาดนั้น จะเป็นเรื่องล้ำเส้นผิดที่ผิดทางขนาดไหน
อันนี้พูดกันโดยหลักการนะครับ ต่อให้ในกรณีที่รัฐบาลที่มีความถูกต้องชอบธรรม ก็ยังไม่สมควรกระทำเช่นนี้ แล้วนี่เป็นรัฐบาลรักษาการที่มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม ถูกร้องเรียนตรวจสอบ มีคดีฟ้องร้องในศาลเรื่องทุจริต เรื่องการใช้อำนาจมิชอบอยู่ด้วย
การออกแถลงการณ์ของ ศอ.รส.ข้างต้น จึงมีความสุ่มเสี่ยงในแง่ของการก้าวล่วงอำนาจศาลและองค์กรอิสระที่ไม่อยู่ในอำนาจหรือความก้าวก่ายของตัวด้วยลุแก่อำนาจอย่างน่ากลัว แม้ถ้อยคำจะฟังดูสุภาพอย่างไร แต่ถ้าพิจารณากันที่เนื้อหาเอามาแปลเป็นภาษาจิ๊กโก๋ คือ “เฮ้ย ศาล เว้ย ป.ป.ช. โว้ย ข้าเตือนให้แกตัดสินคดีที่พวกข้าถูกฟ้องว่าทุจริตใช้อำนาจไม่ชอบให้เข้าท่าหน่อย ถ้าขัดใจระวังจบไม่สวยนะ”
จึงไม่แปลกใจที่หลังจากแถลงการณ์ ศอ.รส.ฉบับดังกล่าวประกาศออกมาแล้ว ก็ได้รับการโต้ตอบอย่างรุนแรงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.และแม้แต่ฝ่ายข้าราชการ แม้แต่ล่าสุดฝ่ายทหารอย่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ.ก็ออกมาปัดว่า มติและการแถลงของ ศอ.รส.นั้นไม่ผูกพันกองทัพ
ส่วนที่จัดว่าอันตรายที่สุดของแถลงการณ์นี้ ที่ถือว่ารัฐบาลผลักดันตัวเองและสถานการณ์ไปสู่ขอบเหวแห่งความหมิ่นเหม่ คือข้อเรียกร้องข้อที่ว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐบาลจะต้องพ้นตำแหน่งไปทั้งคณะโดยไม่สามารถรักษาการต่อไปได้แล้ว คณะรัฐมนตรีก็ชอบที่จะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ว่าคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากการอยู่ในตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ และระหว่างที่รอพระบรมราชวินิจฉัยนี้ คณะรัฐมนตรีจะ “อยู่รักษาการต่อไป”
การเปิดไพ่ออกมาว่า จะใช้วิธีนี้หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ต้องพ้นตำแหน่งนั้น เป็นการหมิ่นเหม่ที่จะก่อเหตุระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเป็นอย่างยิ่ง นั่นเพราะเท่ากับเป็นเหมือนการ “ถวายฎีกา” ให้ทบทวนคำวินิจฉัย โดยไม่มีอำนาจ
เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ในทางการปกครองเราจะต้องถือว่า ศาลแต่ละศาลได้ปฏิบัติหน้าที่มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว หลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พระมหากษัตริย์จะมาทรงลงนามรับรองคำพิพากษาทุกฉบับซึ่งวันหนึ่งมีนับพันเรื่อง
การอุทธรณ์ฎีกาใดๆ หากมี ก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือแม้จะมีประเพณีให้ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดสามารถถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่นั่นก็มีบัญญัติรับรองไว้ตามกฎหมายและกฎระเบียบราชการ
และสำคัญที่สุด การถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษที่ถูกต้อง จะต้องยอมรับเสียก่อนว่าตนเอง “ผิด” และได้รับโทษบ้างแล้ว จึงจะขอได้
แต่การถวายฎีกาโดยปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจศาล กล่าวหาว่า ศาลตัดสิน “ผิด” ตัดสินเกินกว่าเขตอำนาจของตัวเองนั้น ไม่เคยมีมาก่อน
ซ้ำร้ายยังแสดงเจตนาว่า จะยัง “ไม่ยอมรับคำพิพากษา” จนกว่าจะมีพระบรมราชวินิจฉัยด้วย
ซึ่งผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งธรรมเนียมประเพณี ถือเป็นเรื่องการล่วงละเมิด สร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ช่างเป็นความบังอาจที่เกินกว่าที่จะรับได้จริงๆ
ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะเลือกวิธีเช่นนี้ตามแถลงการณ์จริง ก็อาจจะต้องรอดูว่า ทั้งฝ่ายประชาชนก็ดี ฝ่ายทหารก็ตาม จะเอาอย่างไร จะทำจริงสมกับที่เคยให้สัญญาไว้หรือไม่.
และยังเป็นข้อเสนอที่หมิ่นเหม่จนน่าตกใจ ว่ามาจากความคิดของนายชัยเกษม นิติสิริ ผู้เคยเป็นถึงอัยการสูงสุด ซึ่งเดิมนั้นแนวความคิดนี้ ทางรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ยังเคยถึงกับออกมากึ่งรับกึ่งปฏิเสธ ว่าเป็นเพียงความเห็นของนายชัยเกษมแต่เพียงผู้เดียว ไม่ผูกพันทางพรรค แต่แล้วเมื่อแถลงการณ์ ศอ.รส.ออกมาเช่นนี้ จึงเท่ากับผูกพันต่อรัฐบาลกลายๆ แล้ว เนื่องจาก ศอ.รส.เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงต่อรัฐบาล
ก่อนหน้าที่จะมีการแถลงการณ์ ศอ.รส.ได้ออกประกาศเชิญปลัดกระทรวงซึ่งเป็นเหมือนการ “สอบกำลัง” อำนาจในการสั่งการข้าราชการประจำ โดยเรียกข้าราชการระดับสูงที่สุดของแต่ละกระทรวงเข้าไป “นับหัว” หลังจากที่ กปปส.ได้เดินเรียกแขกเข้าพบข้าราชการในหน่วยราชการต่างๆ มาแล้วก่อนหน้านี้
ส่วนใครไม่มา เช่น ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ก็ถูกเอาปูนป้ายหมายหัวกันไป
หลังจากสอบกำลังด้วยการนับหัวปลัดกระทรวงกันไปแล้ว ก็มีการออกแถลงการณ์ที่เป็นปัญหานั้น ซึ่งมีลักษณะ “เหวี่ยงแห” ไปทั้งหมด
เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่า “อำนาจ” ของ ศอ.รส.นั้น เป็นไปตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษในการที่ให้ ศอ.รส.นั้น ปฏิบัติการพิเศษ สามารถสั่งการหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงได้
เพียงแต่ “หน่วยราชการ” ที่ ศอ.รส.สามารถที่จะสั่งการ หรือประสานงานได้นั้น จะมีขอบเขตอยู่เพียงเฉพาะ “หน่วยราชการฝ่ายบริหาร” หรือ “หน่วยงานทางปกครอง” ที่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารเท่านั้น เพราะอำนาจของ ศอ.รส.เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร คือฝ่ายรัฐบาลนั่นเอง
ไม่รวมไปถึง “ศาล” ต่างๆ ที่เป็นองค์กรตุลาการ และ “องค์กรอิสระ” ต่างๆ ที่รัฐธรรมนูญออกแบบไว้เพื่อให้ตรวจสอบถ่วงดุลโดยไม่อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาใคร
เช่นที่ไม่ว่าจะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี ไม่อาจที่จะใช้อำนาจไป “สั่ง” ศาลว่า ต่อไปนี้ คดีประเภทนี้ให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น หรือคดีแบบนี้ขอให้ศาลยกฟ้อง
หรือไม่อาจใช้อำนาจไปสั่งฝ่ายตรวจสอบอย่าง ป.ป.ช.ว่า ต่อไปนี้ หากมีการร้องเรียนเรื่องรัฐมนตรีทุจริต ให้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนได้นั่นแหละครับ
ลองคิดดูว่า ถ้าฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลสามารถใช้อำนาจได้ถึงขนาดนั้น จะเป็นเรื่องล้ำเส้นผิดที่ผิดทางขนาดไหน
อันนี้พูดกันโดยหลักการนะครับ ต่อให้ในกรณีที่รัฐบาลที่มีความถูกต้องชอบธรรม ก็ยังไม่สมควรกระทำเช่นนี้ แล้วนี่เป็นรัฐบาลรักษาการที่มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม ถูกร้องเรียนตรวจสอบ มีคดีฟ้องร้องในศาลเรื่องทุจริต เรื่องการใช้อำนาจมิชอบอยู่ด้วย
การออกแถลงการณ์ของ ศอ.รส.ข้างต้น จึงมีความสุ่มเสี่ยงในแง่ของการก้าวล่วงอำนาจศาลและองค์กรอิสระที่ไม่อยู่ในอำนาจหรือความก้าวก่ายของตัวด้วยลุแก่อำนาจอย่างน่ากลัว แม้ถ้อยคำจะฟังดูสุภาพอย่างไร แต่ถ้าพิจารณากันที่เนื้อหาเอามาแปลเป็นภาษาจิ๊กโก๋ คือ “เฮ้ย ศาล เว้ย ป.ป.ช. โว้ย ข้าเตือนให้แกตัดสินคดีที่พวกข้าถูกฟ้องว่าทุจริตใช้อำนาจไม่ชอบให้เข้าท่าหน่อย ถ้าขัดใจระวังจบไม่สวยนะ”
จึงไม่แปลกใจที่หลังจากแถลงการณ์ ศอ.รส.ฉบับดังกล่าวประกาศออกมาแล้ว ก็ได้รับการโต้ตอบอย่างรุนแรงจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช.และแม้แต่ฝ่ายข้าราชการ แม้แต่ล่าสุดฝ่ายทหารอย่าง พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ.ก็ออกมาปัดว่า มติและการแถลงของ ศอ.รส.นั้นไม่ผูกพันกองทัพ
ส่วนที่จัดว่าอันตรายที่สุดของแถลงการณ์นี้ ที่ถือว่ารัฐบาลผลักดันตัวเองและสถานการณ์ไปสู่ขอบเหวแห่งความหมิ่นเหม่ คือข้อเรียกร้องข้อที่ว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ารัฐบาลจะต้องพ้นตำแหน่งไปทั้งคณะโดยไม่สามารถรักษาการต่อไปได้แล้ว คณะรัฐมนตรีก็ชอบที่จะทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ว่าคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากการอยู่ในตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ และระหว่างที่รอพระบรมราชวินิจฉัยนี้ คณะรัฐมนตรีจะ “อยู่รักษาการต่อไป”
การเปิดไพ่ออกมาว่า จะใช้วิธีนี้หากศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ต้องพ้นตำแหน่งนั้น เป็นการหมิ่นเหม่ที่จะก่อเหตุระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทเป็นอย่างยิ่ง นั่นเพราะเท่ากับเป็นเหมือนการ “ถวายฎีกา” ให้ทบทวนคำวินิจฉัย โดยไม่มีอำนาจ
เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว ในทางการปกครองเราจะต้องถือว่า ศาลแต่ละศาลได้ปฏิบัติหน้าที่มีคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์อยู่แล้ว หลังจากที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเข้าดำรงตำแหน่ง เพราะเป็นไปไม่ได้ที่พระมหากษัตริย์จะมาทรงลงนามรับรองคำพิพากษาทุกฉบับซึ่งวันหนึ่งมีนับพันเรื่อง
การอุทธรณ์ฎีกาใดๆ หากมี ก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด หรือแม้จะมีประเพณีให้ผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดสามารถถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่นั่นก็มีบัญญัติรับรองไว้ตามกฎหมายและกฎระเบียบราชการ
และสำคัญที่สุด การถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษที่ถูกต้อง จะต้องยอมรับเสียก่อนว่าตนเอง “ผิด” และได้รับโทษบ้างแล้ว จึงจะขอได้
แต่การถวายฎีกาโดยปฏิเสธไม่ยอมรับอำนาจศาล กล่าวหาว่า ศาลตัดสิน “ผิด” ตัดสินเกินกว่าเขตอำนาจของตัวเองนั้น ไม่เคยมีมาก่อน
ซ้ำร้ายยังแสดงเจตนาว่า จะยัง “ไม่ยอมรับคำพิพากษา” จนกว่าจะมีพระบรมราชวินิจฉัยด้วย
ซึ่งผิดทั้งกฎหมาย ผิดทั้งธรรมเนียมประเพณี ถือเป็นเรื่องการล่วงละเมิด สร้างความระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทอย่างไม่เคยมีมาก่อน
ช่างเป็นความบังอาจที่เกินกว่าที่จะรับได้จริงๆ
ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะเลือกวิธีเช่นนี้ตามแถลงการณ์จริง ก็อาจจะต้องรอดูว่า ทั้งฝ่ายประชาชนก็ดี ฝ่ายทหารก็ตาม จะเอาอย่างไร จะทำจริงสมกับที่เคยให้สัญญาไว้หรือไม่.