หลังจากได้ฟัง/อ่านปาฐกถาของเสกสรรค์ ประเสริฐกุลทั้ง 2 เวอร์ชั่น เวทีแดง-ไม่แดงต่อเนื่องสองวัน ได้ความสรุปอันดับแรกเลยว่ากองเชียร์สีเสื้อคนไหนอย่าได้คิดหยิบคำพูดชุดนี้ “ลากเข้าความ” ไปซัดอีกฝ่ายหรือยกตัวเองให้โดดเด่นเป็นประชาธิปไตยเลยครับเพราะว่ามันจะถูกย้อนเข้าเนื้อได้ง่ายๆ !
ชุดความคิดที่อาจารย์แกนำเสนอต่อเนื่องสองวันนี้เลยการเมืองแบบสีเสื้อไปแล้ว เป็นการฉายภาพประเทศไทย-การเมืองไทย และสิ่งที่กำลังเผชิญที่การเมืองแบบสีเสื้อมองข้ามไปเริ่มจากภาพใหญ่เลยว่าผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อประเทศไทยโดยเฉพาะคนเล็กคนน้อย
โดยส่วนตัวมีสามประเด็นที่ฟังแล้วสนใจเป็นพิเศษอาจด้วยรสนิยมหรือด้วยอะไรก็ไม่รู้
เรื่องแรกคือ ประเด็นว่าด้วยทุนข้ามชาติ แม้นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ชายชื่อเสกสรรค์ ประเสริฐกุลเคยพูด หากแต่ในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าในยุคที่ทุนข้ามชาติมีพลังอำนาจเหนือรัฐชาติไปแล้ว ปัจจัยจากภายนอกที่ยากจะทัดทานได้นี้มีผลต่อประชาธิปไตยของเราด้วย เพราะมันจะยิ่งถ่างความเหลื่อมล้ำแตกต่างให้ยากแก้ไขแถมความเหลื่อมล้ำนี่แหละคือปัจจัยอุปสรรคปัญหาของพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยเราต่อเนื่องมาหลายปีและแนวโน้มยิ่งเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
น่าสนใจจริงๆ กับปาฐกถาชุดนี้ที่ผูกประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำ การเมืองภาคประชาชน(คนชายขอบ) และโลกาภิวัตน์เข้าด้วยกัน โดยมีบททิ้งท้ายเป็นทางออกว่า ต้องกระจายอำนาจ
อาจารย์เสกเสนอว่าควรการกระจายอำนาจ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจให้กระจายออกไปให้กับท้องถิ่นได้มีพลังและภูมิคุ้มกันตัวเอง แต่ผมกลับคิดว่า – แค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็ยากที่สุดแล้ว นั่นเพราะว่าพรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยปลาไหล ทหาร กระทรวงทบวงกรม อธิบดีต่างๆ อำนาจเก่า อำนาจใหม่ อำนาจระบบราชการ ยังยินดีปรีดากับระบบการรวมศูนย์อำนาจแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกันทั้งสิ้น
เอาเฉพาะเรื่องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจนี้ก่อนนะ ถามว่าถ้าพรรคการเมืองและระบบราชการ ฯลฯ ไม่มีใครเห็นด้วยแล้วจะมีใครล่ะจะทำ .. คนเดือนตุลาหรือ?
ประเด็นต่อจากเรื่องกระจายอำนาจที่อยากให้คนเสื้อแดงได้ฟังซ้ำคือประเด็นว่าด้วยข้อสรุป 3 ข้อที่เป็น “ข้อเสนอ” ไปยังชาวแดงตุลาทั้งหลายไม่ว่า จรัล ดิษฐาอภิชัย จาตุรนต์ ฉายแสง เหวง-ธิดา ไปจนถึงคนเดือนตุลา (ที่ยังไม่ปรากฏในท้องแม่) ชื่อณัฐวุฒิ จะเข้าใจและยอมรับฟังกันแค่ไหน
อาจารย์เสกแกบอกว่า “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นการต่อสู้เพื่อระบอบการเมือง ไม่ใช่เพื่อรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งหรือพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะ” ใครฟังแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า คนที่อ้างตัวเองเป็นพลังก้าวหน้าประชาธิปไตยอย่าได้ต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือพรรคเพื่อไทย
“พลังประชาธิปไตยมีหน้าที่ปกป้ององค์ประกอบต่างๆ ของประชาธิปไตยที่ไม่ใช่รัฐบาลด้วย” ...พึงเข้าใจว่า องค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตยในความหมายนี้ได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ องค์กรอื่นๆ การตรวจสอบถ่วงดุล ฯลฯ ที่พลังประชาธิปไตยต้องปกป้องด้วย
ถ้าใครไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้อย่าเรียกตัวเองเป็นนักประชาธิปไตยหรือพลังประชาธิปไตยเลยครับ เช่น แดงโกตี๋ยกพวกไปรังควานคนที่เขาใช้สิทธิชุมนุมกันแบบนี้น่ะไม่ใช่พลังประชาธิปไตยในความหมายของเวที 14 ตุลาแดงนะขอรับ
อาจารย์เสกยกตัวอย่างกลุ่มคนจนชายขอบขึ้นมาเพื่อเตือนให้พลังของคนเดือนตุลาฝ่ายแดงมองเห็นและปกป้องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาด้วยอย่าได้คิดปกป้องแค่พรรคหรือรัฐบาล แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อถึงแต่ฟังปุ๊บก็รู้ว่าเป็นกลุ่ม P Move ขบวนการคนจนที่ยกไปทำเนียบรัฐบาลถูกหลอกถูกถ่วงเวลามาหลายรอบ หรือกระทั่งกลุ่มปากมูลก็เคยถูกคนในรัฐบาลนี้แกล้งตัดตู้รถไฟไม่ให้เดินทางเข้ากรุงฯ
ได้ยินมาว่าคนเหล่านี้ยังเคยถูกคนในรัฐบาลจัดให้อยู่กับพวกล้มรัฐบาลด้วยซ้ำไป
ประเด็นสุดท้ายที่ผมติดใจเป็นพิเศษสำหรับปาฐกถา 40 ปี 14 ตุลาของอาจารย์เสกก็คือความคิดในเรื่อง “อำนาจนิยม” และวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประชาธิปไตยเพราะรอบนี้ดูจะอธิบายความน้อยไปหน่อย
จดโน้ตใส่กระเป๋าไว้ถ้ามีโอกาสเจออาจารย์จะถามประเด็นนี้ว่าคิดยังไง ตัวผมเองมีความคิดว่า กลุ่มทุนใหม่ พูดให้ชัดคือ กลุ่มพรรคเพื่อไทยทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังน่ะแปลงร่างกลายเป็น “อำนาจนิยมใหม่” ไปแล้ว มีอิทธิฤทธิ์เหนือกว่าเผด็จการอำนาจนิยมในทศวรรษ 2520-30 หรือยุคก่อนหน้าทั้งหลายด้วยซ้ำไป
นับแต่คณะราษฎรเป็นต้นมาด้วยซ้ำไปที่ฝ่ายการเมืองเข้ามาสวมโครงสร้างอำนาจระบบการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมสังคมอำมาตย์น่ะเป็นอำนาจนิยมโดยตัวของมันมาตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครอง ครั้งบัดโน้นจนกระทั่งบัดนี้ ธรรมเนียมการบริหารจัดการแบบอำนาจนิยมยิ่งเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเดิมพันการทำมาหากินจากงบประมาณแผ่นดิน จนเรียกได้ว่า ชะตาชีวิตของข้าราชการและระบบราชการในปัจจุบันอยู่ในมือของนักการเมือง หรือการเมืองแบบเจ้าพ่อไม่ได้ล้มหายไปไหนเลยแค่แปลงร่างจากเจ้าพ่อคาดผ้าขาวม้ามาเป็นมาเฟียใส่สูทก็เท่านั้น
เราจึงได้เห็นอธิบดีพวกกันกับนักการเมืองที่โตพรวดข้ามหัวชาวบ้านไม่แยแสว่ากฎกติการะเบียบธรรมาภิบาลคืออะไร ใช้อำนาจเรียกลูกน้องในราชการมากระทืบราษฎรฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเล่น หรือกระทั่งองค์กรตำรวจที่ยากจะกู่กลับอีกแล้ว เพราะผู้มีตำแหน่งพร้อมจะใช้อำนาจกำปั้นเหล็กสนองฝ่ายการเมือง
อำนาจนิยมเป็นอุปสรรคกับประชาธิปไตย อันนี้ชัดเจนทั้งหลักการตลอดถึงเหตุการณ์จริงในอดีต
ทหาร เครือข่ายอำมาตยาธิปไตย กลุ่มทุนผูกขาดในอดีตและชนชั้นได้เปรียบอาจจะเป็นตัวแทนของพลังอำนาจนิยมในอดีต แต่ปัจจุบันผู้ที่ใช้อำนาจด้วยวิธีการและสำนึกแบบ “อำนาจนิยม” นั้นกลับเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่น่ากลัวกว่าแบบเดิมเยอะ
เพราะทุนข้ามชาติยุคโลกาภิวัตน์น่ะขอให้ได้กำไรสูงสุดเท่านั้น นอกจากจะไม่สนคุณค่าต่างๆ รวมทั้งมนุษยธรรมหรือชาติแล้ว ยังไม่สนวิธีการระบบระบอบด้วยซ้ำว่าเป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยม มีมหาเศรษฐีนักการเมืองไปทำมาหากินในประเทศเผด็จการอาฟริกาให้น้องสาวไล่ตามไปเชื่อมสัมพันธ์กับเผด็จการอำนาจนิยมก็มีให้เห็นตำตา
ผมคิดเอาเองตามประสาเมื่อได้ฟังปาฐกถาว่า
ในเมื่อเรามีทุนเก่า ทุนใหม่ การเมืองแบบเก่า การเมืองแบบใหม่แล้ว
เราก็ควรมีอำนาจนิยมเก่า และอำนาจนิยมใหม่ด้วยสิ !
ชุดความคิดที่อาจารย์แกนำเสนอต่อเนื่องสองวันนี้เลยการเมืองแบบสีเสื้อไปแล้ว เป็นการฉายภาพประเทศไทย-การเมืองไทย และสิ่งที่กำลังเผชิญที่การเมืองแบบสีเสื้อมองข้ามไปเริ่มจากภาพใหญ่เลยว่าผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อประเทศไทยโดยเฉพาะคนเล็กคนน้อย
โดยส่วนตัวมีสามประเด็นที่ฟังแล้วสนใจเป็นพิเศษอาจด้วยรสนิยมหรือด้วยอะไรก็ไม่รู้
เรื่องแรกคือ ประเด็นว่าด้วยทุนข้ามชาติ แม้นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ชายชื่อเสกสรรค์ ประเสริฐกุลเคยพูด หากแต่ในครั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าในยุคที่ทุนข้ามชาติมีพลังอำนาจเหนือรัฐชาติไปแล้ว ปัจจัยจากภายนอกที่ยากจะทัดทานได้นี้มีผลต่อประชาธิปไตยของเราด้วย เพราะมันจะยิ่งถ่างความเหลื่อมล้ำแตกต่างให้ยากแก้ไขแถมความเหลื่อมล้ำนี่แหละคือปัจจัยอุปสรรคปัญหาของพัฒนาการประชาธิปไตยของไทยเราต่อเนื่องมาหลายปีและแนวโน้มยิ่งเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ
น่าสนใจจริงๆ กับปาฐกถาชุดนี้ที่ผูกประชาธิปไตย ความเหลื่อมล้ำ การเมืองภาคประชาชน(คนชายขอบ) และโลกาภิวัตน์เข้าด้วยกัน โดยมีบททิ้งท้ายเป็นทางออกว่า ต้องกระจายอำนาจ
อาจารย์เสกเสนอว่าควรการกระจายอำนาจ ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจให้กระจายออกไปให้กับท้องถิ่นได้มีพลังและภูมิคุ้มกันตัวเอง แต่ผมกลับคิดว่า – แค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็ยากที่สุดแล้ว นั่นเพราะว่าพรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ชาติไทยปลาไหล ทหาร กระทรวงทบวงกรม อธิบดีต่างๆ อำนาจเก่า อำนาจใหม่ อำนาจระบบราชการ ยังยินดีปรีดากับระบบการรวมศูนย์อำนาจแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันกันทั้งสิ้น
เอาเฉพาะเรื่องปฏิรูปโครงสร้างอำนาจนี้ก่อนนะ ถามว่าถ้าพรรคการเมืองและระบบราชการ ฯลฯ ไม่มีใครเห็นด้วยแล้วจะมีใครล่ะจะทำ .. คนเดือนตุลาหรือ?
ประเด็นต่อจากเรื่องกระจายอำนาจที่อยากให้คนเสื้อแดงได้ฟังซ้ำคือประเด็นว่าด้วยข้อสรุป 3 ข้อที่เป็น “ข้อเสนอ” ไปยังชาวแดงตุลาทั้งหลายไม่ว่า จรัล ดิษฐาอภิชัย จาตุรนต์ ฉายแสง เหวง-ธิดา ไปจนถึงคนเดือนตุลา (ที่ยังไม่ปรากฏในท้องแม่) ชื่อณัฐวุฒิ จะเข้าใจและยอมรับฟังกันแค่ไหน
อาจารย์เสกแกบอกว่า “การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นการต่อสู้เพื่อระบอบการเมือง ไม่ใช่เพื่อรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่งหรือพรรคการเมืองใดโดยเฉพาะ” ใครฟังแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า คนที่อ้างตัวเองเป็นพลังก้าวหน้าประชาธิปไตยอย่าได้ต่อสู้เพื่อปกป้องรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือพรรคเพื่อไทย
“พลังประชาธิปไตยมีหน้าที่ปกป้ององค์ประกอบต่างๆ ของประชาธิปไตยที่ไม่ใช่รัฐบาลด้วย” ...พึงเข้าใจว่า องค์ประกอบอื่นๆ ของประชาธิปไตยในความหมายนี้ได้แก่ สิทธิ เสรีภาพ องค์กรอื่นๆ การตรวจสอบถ่วงดุล ฯลฯ ที่พลังประชาธิปไตยต้องปกป้องด้วย
ถ้าใครไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้อย่าเรียกตัวเองเป็นนักประชาธิปไตยหรือพลังประชาธิปไตยเลยครับ เช่น แดงโกตี๋ยกพวกไปรังควานคนที่เขาใช้สิทธิชุมนุมกันแบบนี้น่ะไม่ใช่พลังประชาธิปไตยในความหมายของเวที 14 ตุลาแดงนะขอรับ
อาจารย์เสกยกตัวอย่างกลุ่มคนจนชายขอบขึ้นมาเพื่อเตือนให้พลังของคนเดือนตุลาฝ่ายแดงมองเห็นและปกป้องสิทธิเสรีภาพของพวกเขาด้วยอย่าได้คิดปกป้องแค่พรรคหรือรัฐบาล แม้จะไม่ได้เอ่ยชื่อถึงแต่ฟังปุ๊บก็รู้ว่าเป็นกลุ่ม P Move ขบวนการคนจนที่ยกไปทำเนียบรัฐบาลถูกหลอกถูกถ่วงเวลามาหลายรอบ หรือกระทั่งกลุ่มปากมูลก็เคยถูกคนในรัฐบาลนี้แกล้งตัดตู้รถไฟไม่ให้เดินทางเข้ากรุงฯ
ได้ยินมาว่าคนเหล่านี้ยังเคยถูกคนในรัฐบาลจัดให้อยู่กับพวกล้มรัฐบาลด้วยซ้ำไป
ประเด็นสุดท้ายที่ผมติดใจเป็นพิเศษสำหรับปาฐกถา 40 ปี 14 ตุลาของอาจารย์เสกก็คือความคิดในเรื่อง “อำนาจนิยม” และวัฒนธรรมที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประชาธิปไตยเพราะรอบนี้ดูจะอธิบายความน้อยไปหน่อย
จดโน้ตใส่กระเป๋าไว้ถ้ามีโอกาสเจออาจารย์จะถามประเด็นนี้ว่าคิดยังไง ตัวผมเองมีความคิดว่า กลุ่มทุนใหม่ พูดให้ชัดคือ กลุ่มพรรคเพื่อไทยทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลังน่ะแปลงร่างกลายเป็น “อำนาจนิยมใหม่” ไปแล้ว มีอิทธิฤทธิ์เหนือกว่าเผด็จการอำนาจนิยมในทศวรรษ 2520-30 หรือยุคก่อนหน้าทั้งหลายด้วยซ้ำไป
นับแต่คณะราษฎรเป็นต้นมาด้วยซ้ำไปที่ฝ่ายการเมืองเข้ามาสวมโครงสร้างอำนาจระบบการบริหารราชการแบบรวมศูนย์ วัฒนธรรมองค์กร วัฒนธรรมสังคมอำมาตย์น่ะเป็นอำนาจนิยมโดยตัวของมันมาตั้งแต่ก่อนการเปลี่ยนแปลงปกครอง ครั้งบัดโน้นจนกระทั่งบัดนี้ ธรรมเนียมการบริหารจัดการแบบอำนาจนิยมยิ่งเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเดิมพันการทำมาหากินจากงบประมาณแผ่นดิน จนเรียกได้ว่า ชะตาชีวิตของข้าราชการและระบบราชการในปัจจุบันอยู่ในมือของนักการเมือง หรือการเมืองแบบเจ้าพ่อไม่ได้ล้มหายไปไหนเลยแค่แปลงร่างจากเจ้าพ่อคาดผ้าขาวม้ามาเป็นมาเฟียใส่สูทก็เท่านั้น
เราจึงได้เห็นอธิบดีพวกกันกับนักการเมืองที่โตพรวดข้ามหัวชาวบ้านไม่แยแสว่ากฎกติการะเบียบธรรมาภิบาลคืออะไร ใช้อำนาจเรียกลูกน้องในราชการมากระทืบราษฎรฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเล่น หรือกระทั่งองค์กรตำรวจที่ยากจะกู่กลับอีกแล้ว เพราะผู้มีตำแหน่งพร้อมจะใช้อำนาจกำปั้นเหล็กสนองฝ่ายการเมือง
อำนาจนิยมเป็นอุปสรรคกับประชาธิปไตย อันนี้ชัดเจนทั้งหลักการตลอดถึงเหตุการณ์จริงในอดีต
ทหาร เครือข่ายอำมาตยาธิปไตย กลุ่มทุนผูกขาดในอดีตและชนชั้นได้เปรียบอาจจะเป็นตัวแทนของพลังอำนาจนิยมในอดีต แต่ปัจจุบันผู้ที่ใช้อำนาจด้วยวิธีการและสำนึกแบบ “อำนาจนิยม” นั้นกลับเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่น่ากลัวกว่าแบบเดิมเยอะ
เพราะทุนข้ามชาติยุคโลกาภิวัตน์น่ะขอให้ได้กำไรสูงสุดเท่านั้น นอกจากจะไม่สนคุณค่าต่างๆ รวมทั้งมนุษยธรรมหรือชาติแล้ว ยังไม่สนวิธีการระบบระบอบด้วยซ้ำว่าเป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยม มีมหาเศรษฐีนักการเมืองไปทำมาหากินในประเทศเผด็จการอาฟริกาให้น้องสาวไล่ตามไปเชื่อมสัมพันธ์กับเผด็จการอำนาจนิยมก็มีให้เห็นตำตา
ผมคิดเอาเองตามประสาเมื่อได้ฟังปาฐกถาว่า
ในเมื่อเรามีทุนเก่า ทุนใหม่ การเมืองแบบเก่า การเมืองแบบใหม่แล้ว
เราก็ควรมีอำนาจนิยมเก่า และอำนาจนิยมใหม่ด้วยสิ !