ความเดิมตอนที่แล้วอ่าน
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๑
• Hong Kong on Foot : พิชิต Dragon Back
• Hong Kong on Foot : ตะลุยเกาะ Lamma
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ : หลังจากที่เราเดินผ่านสถานที่ต่างๆ ตามที่มีการระบุไว้ในเส้นทางมรดกผิงซาน “Ping Shan Heritage Trail” ทั้ง เจดีย์ Tsui Sing Lau, แท่นบูชาเทพเจ้า To Tei Kung, กำแพงชุมชน Sheung Cheung Wai, บ่อน้ำของหมู่บ้านอายุ ๒๐๐ ปี และ วัด Yeung Hau แล้วก็เดินทางกันต่อครับ
พอเดินตามทางไปสักพัก ก็เริ่มรู้สึกหิว ก็เลยตามหาร้านของกินครับ แถวนี้มีร้านดังอยู่ร้านนึงที่ผมจดไว้ในไกด์บุ๊ก ซึ่งก็มาจากเว็บไซต์ชื่อดังแห่งหนึ่งของชาวฮ่องกงเขาล่ะ เป็นร้านอาหารกึ่งๆ ฝรั่งนิดๆ แต่ปรากฏว่า มันปิด คาดว่าคงหยุดปีใหม่ เลยต้องทำหน้าเซ็งๆ ทนหิวน้อยๆ ออกมาจากร้าน พอผ่านร้านมาได้นิดเดียวก็พบกับสถานที่สำคัญต่อมา
เราได้พบกับ ๒ สถานที่สำคัญที่อยู่ติดกันนั่นคือ ห้องโถงตระกูลเติ้ง (Tang Ancestral Hall.) และ ห้องโถงบรรพบุรุษ Yu Kiu ( Yu Kiu Ancestral Hall.) แต่ว่าตอนที่มาถึง สถานที่แรกยังไม่เปิด มีอาแปะคนนึงนั่งเฝ้าเล่นๆ ส่วนอีกที่ โชคดีที่มีเจ้าหน้าที่มาเปิดให้เข้าชมพอดี ซึ่งตอนนั้นน่าจะราวๆ เก้าโมงเช้าได้
“Yu Kiu Ancestral Hall” สร้างขึ้นราวๆ ช่วงปลายของพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดย ๒ พี่น้องแห่งตระกูลเติ้ง Tang Sai-yin. หรือนามแฝง Yu-sing. และ Tang Sai-chiu. หรือนามแฝง Kiu-lum ตัวอาคารถูกใช้เป็นห้องสอนเด็กของชุมชนผิงชาน ซึ่งประมาณปี ๒๔๗๔ - ๒๕๐๔ โรงเรียน Tat Tak. ได้เข้ามาใช้พื้นที่ดังกล่าวทำการสอน ซึ่งตัวอาคารยประกอบด้วย ๓ ห้องโถง กับ ๒ ลานกว้าง สถาปัตยกรรมภายนอกเหมือนกับห้องโถงตระกูลเติ้ง โดยมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในช่วงสมัยจักรพรรดิ์กว่างซู (Guangxu.) แห่งราชวงศ์ชิง มีการแกะสลักหินแผ่นจารึกอยู่เหนือทางเข้าหลัก โดยไม่ได้กระทบกระเทือนถึงสิ่งก่อสร้างดั่งเดิม
ส่วน “Tang Ancestral Hall” เป็นห้องโถงบรรพบุรุษของตระกูลเติ้ง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ตามบันทึกของตระกูล สร้างโดย Tang Fung-shun. ราวๆ ๗๐๐ปีที่แล้ว มี ๓ ห้องโถง กับ ๒ ลานกว้างภายใน ซึ่งห้องโถงนี้ถือเป็น ๑ ในตัวอย่างที่ดีที่สุดในฮ่องกง ด้านหน้ามีกลอง ๒ ใบ และ เสาหิน ๒ ต้น เพื่อมารองรับกับหลังคา ภายในเสาหินทำจากหินแกรนิต และด้านนอกทำจากหินทรายสีแดง ลักษณะเด่นของที่นี่คือไม่มีธรณีประตูด้านหน้าทางเข้า มีทางเดินสีแดงในด้านหน้าของลานกว้าง ซึ่งอย่างที่ผมได้เอ่ยไปแล้วว่า มีบุคคลในตระกูลเติ้งนี้เคยมีตำแหน่งสูงที่สุดในรัฐบาลแห่งจักรพรรดิ์จีนด้วย
โดยวงกบไม้ และคาน ของทั้ง 3 ห้องโถง ถูกแกะสลักอย่างสวยงาม ด้วยลวดลายที่เป็นมงคลของชาวจีน ช่วงสันและเพดานหลัก ตกแต่งด้วยรูปปลามังกร Shiwan dragon-fish และเครื่องปั้นดินเผาตัวยูนิคอนเป็นตัวเลข มีป้ายบรรพบุรุษอยู่บนแท่นบูชาที่ห้องโถงสุดท้าย ซึ่งห้องโถงนี้ได้ถูกบูรณะครั้งใหญ่โดยคนแซ่เติ้ง เมื่อราวๆ ปีพ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ใช้เป็นที่กราบไหว้บูชา งานเทศกาล งานฉลอง และงานรวมญาติของตระกูล
ผมเดินเล่นไปเรื่อยๆ รู้สึกตัวเองเหมือนหลงเข้าไปอยู่ในหนังจีนกำลังภายในที่ดูในทีวีเลยครับ ฉากต่างๆ ที่เราเคยดู มันได้เห็นกับตาจริงๆ ถ้าคนที่ชอบหนังจีนคงจะอินน่าดู ฮ่าๆๆๆ
ด้านข้างๆ ที่ติดกับห้องโถงทั้ง ๒ ยังมีห้องเรียน Sing Hin Kung.อยู่ด้วย แต่อันนี้ผมไม่ค่อยทราบรายละเอียดนัก แต่ดูแล้วก็เป็นอีกพื้่นที่ที่เหมาะแก่การถ่ายรูปมากๆ เลยจริงๆ
เดินออกจากทั้ง ๓ สถานที่มาตามทาง ก็จะได้พบกับอาคารต่อมา นั่นคือ “ห้องเรียน Kun Ting (Kun Ting Study Hall)” ซึ่งตามรายละเอียด ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๑๓ โดย Tang Heung-chuen โดยตั้งชื่อสถานที่ตามพ่อของเขา Tang Kun-ting ห้องเรียนถูกเตรียมการไว้ให้ใช้อำนวยความสะดวกสำหรับการบูชาบรรพบุรุษ และ การศึกษา ซึ่งห้องเรียนที่ถูกสร้างในพื้นที่ผิงชานนั้น ในยุคหนึ่งได้ถูกใช้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่เด็กของตระกูล ไว้ใช้สอบเข้าเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก เมื่อสอบผ่านก็จะได้ประกาศนียบัตรเพื่อรองรับจากทางการของรัฐบาลแห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งการยกระดับฐานะทางสังคมของตระกูล
ทั้งนี้แม้จะมีการยกเลิกการสอบเข้าในราชสำนักเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ แต่ห้องเรียนก็ยังคงถูกใช้อย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวกทางการศึกษา สำหรับเด็กน้อยในตระกูลรุ่นต่อๆ มา จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
ผมเดินในห้องนี้ดูจะไม่เหมือนกับห้องโถงที่ผ่านมาตรงที่ มี ๒ ชั้น และมีห้องเล็กน้อยอื่นๆ มีโต๊ะเก้าอี้ตั้งจัดวางไว้แบบฉากในหนังจีน มีปฏิมากรรมแบบจีนที่สวยงามค่อนข้างจะเยอะอยู่พอสมควร ก็ได้อารมณ์ไปอีกแบบ
ถ้าเดินถัดมาจากห้องเรียน Kun Ting ก็จะพบกับอาคาร “Ching Shu Hin” ซึ่งเขาว่า ก่อสร้างขึ้นมาภายหลังห้องเรียนในปี ๒๔๑๓ เพื่อบริการสำหรับเป็นบ้านพักชั่วคราวของผู้มาเยือนและนักเรียนทุน มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล เป็นอาคาร ๒ ชั้น แต่เดิมไม่มีชื่อเฉพาะ Ching Shu Hin อาจหมายถึงห้องบนพื้นชั้นล่าง มันเชื่อมต่อกับห้องเรียน โดยมีขนาดเล็กมากอยู่เหนือทางเท้าของชั้นแรก โดยถูกประดับประดาอย่างหรูหรา ที่แสดงถึงความสง่างาม และความสละสลวยตามที่คาดหวังของพวกชาวเมืองชนชั้นสูงในท้องถิ่น
สภาพภายในที่ผมเดินสำรวจก็มี ๒ ชั้น ด้านหน้าทางเข้ามีป้ายสีแดงใหญ่ๆ เรียงๆ อยู่ ทำให้ผมนึกถึงหนังเปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว ฮ่าๆๆ ภายในมีโต๊ะตู้ซ่อนอยู่ในห้องที่มีกรงแต่ถูกปิดไว้
ผมเดินออกจากสถานที่ทั้งสอง มาที่ “Hung Shing Temple” น่าจะเป็นศาลเจ้านะครับ ตามรายละเอียดบอกว่า สร้างขึ้นโดยตระกูลเติ้ง ในยุค Dinghai ปีพ.ศ. ๒๓๑๐ ระหว่างช่วงจักรพรรดิ์เฉียนหลง แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งถูกจารึกไว้บนกระดานภายในวัด การก่อสร้างที่เหลืออยู่ถูกรื้อฟื้นขึ้นในช่วงปีที่ ๕ แห่งจักรพรรดิ์ ต้วงซี่ (Tongzhi) แห่งราชวงศ์ชิง ปีพ.ศ. ๒๔๐๙ และได้บูรณะอย่างใหญ่ในปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งตามตำนาน Hung Shing แต่เดิมคือเจ้าเมืองก่วงลี่ (Guangli.) ระหว่างช่วงราชวงศ์ถัง ปีพ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๐๕ ชื่อ Hung Hei. หลังจากที่เจ้าเมืองได้ตาย จักรพรรดิ์ได้ใช้พระราชอำนาจพระราชทานยศเป็น Kwong Lee Hung Shing Tai Wong. ซึ่ง Hung Shing ได้รับการบูชาอย่างกว้างขวาง จากชาวประมง และชาวบ้านที่ทำมาหากินริมทะเล
โชคไม่ดีแก่ผมนัก วันที่ไปเขาไม่ได้เปิดให้เข้าชม ผมจึงเหลือบดูเวลา โอ้นี่มันสิบโมงแล้ว เดี๋ยวจะไปสถานที่อื่นๆ ตามแผนไม่ทัน ก็เลยตัดสินใจไม่เดินไปที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและห้องจัดแสดงภาพ Ping Shan Tang Clan Gallery cum Heritage Trail Visitors Centre. เพราะต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการเดินทาง เลยแว่บไปถ่ายรูปที่ “ทางเข้าห้องเรียน Shut Hing (Entrance Hall of Shut Hing Study Hall)” ซึ่งอยู่ในทางผ่านตอนเดินกลับไปที่สถานี Tin Shui Wai ซึ่งทางเข้านี้ สร้างระหว่างปีที่ ๑๔ แห่งจักพรรดิ์ถงจื้อ (Tongzhi) แห่งราชวงศ์ชิง ในปีพ.ศ. ๒๔๑๗ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษ Tang Shut-hing การก่อสร้างแต่ดั่งเดิมจะมีเพียง ๒ อาคาร แต่ถูกทำลายเสียหายเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๐ เหลือเพียงแต่ทางเข้าห้องโถงเท่านั้น
ถามผมว่า รู้สึกยังไงกับการมาเดินเที่ยวมรดกผิงซาน ก็ต้องบอกตรงๆ เลยว่า รู้สึกค่อนข้างดี ส่วนตัวเป็นคนชอบชมโบราณสถานอยู่แล้ว ยิ่งได้มาพบสิ่งที่รู้สึกว่ามันแปลกตา ยิ่งทำให้รู้สึกมีความสุข เวลาผมไปที่ไหนก็ตาม ที่ๆ มันมีตำนาน หรือเรื่องเล่าขาน หรือประวัติศาสตร์ ผมพยายามดื่มด่ำกับแต่ละสถานที่โดยนึกถึงเหตุการณ์ที่ได้รับการบอกเล่า แล้วสื่อสัมผัสร่วมเสมือนเป็นหนึ่งตัวละครในนั้น เพื่อพยายามเข้าใจถึงวิถีของพวกเขา ......
ผมรีบเดินไปขึ้นรถสถานีรถไฟ Tin Shui Wai เพื่อไปลงที่สถานีรถไฟ Tsuen Wan ฝั่งตะวันตก แล้วก็รีบๆๆ เดินไปหาสายรถเมล์ เพื่อจะขึ้นไปยังวัด Yuen Yuen ในตำบล Tsuen Wan ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองไปพอสมควร เดินไปเดินมา ก็เห็นเมืองเขามีห้างสรรพสินค้าค่อนข้างเยอะ และดูทันสมัยดี มีสวนสาธารณะขนาดย่อมด้วย ก็มีคนมานั่งเล่นกันเยอะ เดินผ่านร้านค้าคนเริ่มออกมาซื้อของ แต่ผมหารถเมล์ไม่เจอ หาป้ายไม่เจอด้วย ทั้งๆ ที่คิดว่าเขียนแผนที่มาค่อนข้างดีแล้ว เฮ้ยทำไงดีวะ เหลือบดูเวลานี่ก็ปาไปจะ ๑๑ โมง จึงตัดสินใจ ไม่ไปมันเลยดีกว่า T-T
นี่ก็ถือเป็นบทเรียนที่ต้องจำไปอีก ๑ ครั้งว่า เวลาเขียนแผนการณ์ควรเผื่อเวลาสถานการณ์อันไม่คาดฝันไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะเสียการแน่นอน
• Hong Kong on Foot : ตามรอยมรดก Ping Shan # ๑
• Hong Kong on Foot : พิชิต Dragon Back
• Hong Kong on Foot : ตะลุยเกาะ Lamma
๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ : หลังจากที่เราเดินผ่านสถานที่ต่างๆ ตามที่มีการระบุไว้ในเส้นทางมรดกผิงซาน “Ping Shan Heritage Trail” ทั้ง เจดีย์ Tsui Sing Lau, แท่นบูชาเทพเจ้า To Tei Kung, กำแพงชุมชน Sheung Cheung Wai, บ่อน้ำของหมู่บ้านอายุ ๒๐๐ ปี และ วัด Yeung Hau แล้วก็เดินทางกันต่อครับ
พอเดินตามทางไปสักพัก ก็เริ่มรู้สึกหิว ก็เลยตามหาร้านของกินครับ แถวนี้มีร้านดังอยู่ร้านนึงที่ผมจดไว้ในไกด์บุ๊ก ซึ่งก็มาจากเว็บไซต์ชื่อดังแห่งหนึ่งของชาวฮ่องกงเขาล่ะ เป็นร้านอาหารกึ่งๆ ฝรั่งนิดๆ แต่ปรากฏว่า มันปิด คาดว่าคงหยุดปีใหม่ เลยต้องทำหน้าเซ็งๆ ทนหิวน้อยๆ ออกมาจากร้าน พอผ่านร้านมาได้นิดเดียวก็พบกับสถานที่สำคัญต่อมา
เราได้พบกับ ๒ สถานที่สำคัญที่อยู่ติดกันนั่นคือ ห้องโถงตระกูลเติ้ง (Tang Ancestral Hall.) และ ห้องโถงบรรพบุรุษ Yu Kiu ( Yu Kiu Ancestral Hall.) แต่ว่าตอนที่มาถึง สถานที่แรกยังไม่เปิด มีอาแปะคนนึงนั่งเฝ้าเล่นๆ ส่วนอีกที่ โชคดีที่มีเจ้าหน้าที่มาเปิดให้เข้าชมพอดี ซึ่งตอนนั้นน่าจะราวๆ เก้าโมงเช้าได้
“Yu Kiu Ancestral Hall” สร้างขึ้นราวๆ ช่วงปลายของพุทธศตวรรษที่ ๒๐ โดย ๒ พี่น้องแห่งตระกูลเติ้ง Tang Sai-yin. หรือนามแฝง Yu-sing. และ Tang Sai-chiu. หรือนามแฝง Kiu-lum ตัวอาคารถูกใช้เป็นห้องสอนเด็กของชุมชนผิงชาน ซึ่งประมาณปี ๒๔๗๔ - ๒๕๐๔ โรงเรียน Tat Tak. ได้เข้ามาใช้พื้นที่ดังกล่าวทำการสอน ซึ่งตัวอาคารยประกอบด้วย ๓ ห้องโถง กับ ๒ ลานกว้าง สถาปัตยกรรมภายนอกเหมือนกับห้องโถงตระกูลเติ้ง โดยมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในช่วงสมัยจักรพรรดิ์กว่างซู (Guangxu.) แห่งราชวงศ์ชิง มีการแกะสลักหินแผ่นจารึกอยู่เหนือทางเข้าหลัก โดยไม่ได้กระทบกระเทือนถึงสิ่งก่อสร้างดั่งเดิม
ส่วน “Tang Ancestral Hall” เป็นห้องโถงบรรพบุรุษของตระกูลเติ้ง ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ตามบันทึกของตระกูล สร้างโดย Tang Fung-shun. ราวๆ ๗๐๐ปีที่แล้ว มี ๓ ห้องโถง กับ ๒ ลานกว้างภายใน ซึ่งห้องโถงนี้ถือเป็น ๑ ในตัวอย่างที่ดีที่สุดในฮ่องกง ด้านหน้ามีกลอง ๒ ใบ และ เสาหิน ๒ ต้น เพื่อมารองรับกับหลังคา ภายในเสาหินทำจากหินแกรนิต และด้านนอกทำจากหินทรายสีแดง ลักษณะเด่นของที่นี่คือไม่มีธรณีประตูด้านหน้าทางเข้า มีทางเดินสีแดงในด้านหน้าของลานกว้าง ซึ่งอย่างที่ผมได้เอ่ยไปแล้วว่า มีบุคคลในตระกูลเติ้งนี้เคยมีตำแหน่งสูงที่สุดในรัฐบาลแห่งจักรพรรดิ์จีนด้วย
โดยวงกบไม้ และคาน ของทั้ง 3 ห้องโถง ถูกแกะสลักอย่างสวยงาม ด้วยลวดลายที่เป็นมงคลของชาวจีน ช่วงสันและเพดานหลัก ตกแต่งด้วยรูปปลามังกร Shiwan dragon-fish และเครื่องปั้นดินเผาตัวยูนิคอนเป็นตัวเลข มีป้ายบรรพบุรุษอยู่บนแท่นบูชาที่ห้องโถงสุดท้าย ซึ่งห้องโถงนี้ได้ถูกบูรณะครั้งใหญ่โดยคนแซ่เติ้ง เมื่อราวๆ ปีพ.ศ. ๒๕๓๓ - ๒๕๓๔ ซึ่งในเวลาต่อมาได้ใช้เป็นที่กราบไหว้บูชา งานเทศกาล งานฉลอง และงานรวมญาติของตระกูล
ผมเดินเล่นไปเรื่อยๆ รู้สึกตัวเองเหมือนหลงเข้าไปอยู่ในหนังจีนกำลังภายในที่ดูในทีวีเลยครับ ฉากต่างๆ ที่เราเคยดู มันได้เห็นกับตาจริงๆ ถ้าคนที่ชอบหนังจีนคงจะอินน่าดู ฮ่าๆๆๆ
ด้านข้างๆ ที่ติดกับห้องโถงทั้ง ๒ ยังมีห้องเรียน Sing Hin Kung.อยู่ด้วย แต่อันนี้ผมไม่ค่อยทราบรายละเอียดนัก แต่ดูแล้วก็เป็นอีกพื้่นที่ที่เหมาะแก่การถ่ายรูปมากๆ เลยจริงๆ
เดินออกจากทั้ง ๓ สถานที่มาตามทาง ก็จะได้พบกับอาคารต่อมา นั่นคือ “ห้องเรียน Kun Ting (Kun Ting Study Hall)” ซึ่งตามรายละเอียด ถูกสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๑๓ โดย Tang Heung-chuen โดยตั้งชื่อสถานที่ตามพ่อของเขา Tang Kun-ting ห้องเรียนถูกเตรียมการไว้ให้ใช้อำนวยความสะดวกสำหรับการบูชาบรรพบุรุษ และ การศึกษา ซึ่งห้องเรียนที่ถูกสร้างในพื้นที่ผิงชานนั้น ในยุคหนึ่งได้ถูกใช้เพื่อเตรียมความพร้อมแก่เด็กของตระกูล ไว้ใช้สอบเข้าเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก เมื่อสอบผ่านก็จะได้ประกาศนียบัตรเพื่อรองรับจากทางการของรัฐบาลแห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นเส้นทางแห่งการยกระดับฐานะทางสังคมของตระกูล
ทั้งนี้แม้จะมีการยกเลิกการสอบเข้าในราชสำนักเมื่อปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ แต่ห้องเรียนก็ยังคงถูกใช้อย่างต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวกทางการศึกษา สำหรับเด็กน้อยในตระกูลรุ่นต่อๆ มา จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒
ผมเดินในห้องนี้ดูจะไม่เหมือนกับห้องโถงที่ผ่านมาตรงที่ มี ๒ ชั้น และมีห้องเล็กน้อยอื่นๆ มีโต๊ะเก้าอี้ตั้งจัดวางไว้แบบฉากในหนังจีน มีปฏิมากรรมแบบจีนที่สวยงามค่อนข้างจะเยอะอยู่พอสมควร ก็ได้อารมณ์ไปอีกแบบ
ถ้าเดินถัดมาจากห้องเรียน Kun Ting ก็จะพบกับอาคาร “Ching Shu Hin” ซึ่งเขาว่า ก่อสร้างขึ้นมาภายหลังห้องเรียนในปี ๒๔๑๓ เพื่อบริการสำหรับเป็นบ้านพักชั่วคราวของผู้มาเยือนและนักเรียนทุน มีลักษณะเป็นรูปตัวแอล เป็นอาคาร ๒ ชั้น แต่เดิมไม่มีชื่อเฉพาะ Ching Shu Hin อาจหมายถึงห้องบนพื้นชั้นล่าง มันเชื่อมต่อกับห้องเรียน โดยมีขนาดเล็กมากอยู่เหนือทางเท้าของชั้นแรก โดยถูกประดับประดาอย่างหรูหรา ที่แสดงถึงความสง่างาม และความสละสลวยตามที่คาดหวังของพวกชาวเมืองชนชั้นสูงในท้องถิ่น
สภาพภายในที่ผมเดินสำรวจก็มี ๒ ชั้น ด้านหน้าทางเข้ามีป้ายสีแดงใหญ่ๆ เรียงๆ อยู่ ทำให้ผมนึกถึงหนังเปาบุ้นจิ้น เลยทีเดียว ฮ่าๆๆ ภายในมีโต๊ะตู้ซ่อนอยู่ในห้องที่มีกรงแต่ถูกปิดไว้
ผมเดินออกจากสถานที่ทั้งสอง มาที่ “Hung Shing Temple” น่าจะเป็นศาลเจ้านะครับ ตามรายละเอียดบอกว่า สร้างขึ้นโดยตระกูลเติ้ง ในยุค Dinghai ปีพ.ศ. ๒๓๑๐ ระหว่างช่วงจักรพรรดิ์เฉียนหลง แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งถูกจารึกไว้บนกระดานภายในวัด การก่อสร้างที่เหลืออยู่ถูกรื้อฟื้นขึ้นในช่วงปีที่ ๕ แห่งจักรพรรดิ์ ต้วงซี่ (Tongzhi) แห่งราชวงศ์ชิง ปีพ.ศ. ๒๔๐๙ และได้บูรณะอย่างใหญ่ในปีพ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งตามตำนาน Hung Shing แต่เดิมคือเจ้าเมืองก่วงลี่ (Guangli.) ระหว่างช่วงราชวงศ์ถัง ปีพ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๐๕ ชื่อ Hung Hei. หลังจากที่เจ้าเมืองได้ตาย จักรพรรดิ์ได้ใช้พระราชอำนาจพระราชทานยศเป็น Kwong Lee Hung Shing Tai Wong. ซึ่ง Hung Shing ได้รับการบูชาอย่างกว้างขวาง จากชาวประมง และชาวบ้านที่ทำมาหากินริมทะเล
โชคไม่ดีแก่ผมนัก วันที่ไปเขาไม่ได้เปิดให้เข้าชม ผมจึงเหลือบดูเวลา โอ้นี่มันสิบโมงแล้ว เดี๋ยวจะไปสถานที่อื่นๆ ตามแผนไม่ทัน ก็เลยตัดสินใจไม่เดินไปที่ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและห้องจัดแสดงภาพ Ping Shan Tang Clan Gallery cum Heritage Trail Visitors Centre. เพราะต้องใช้เวลาอีกพอสมควรในการเดินทาง เลยแว่บไปถ่ายรูปที่ “ทางเข้าห้องเรียน Shut Hing (Entrance Hall of Shut Hing Study Hall)” ซึ่งอยู่ในทางผ่านตอนเดินกลับไปที่สถานี Tin Shui Wai ซึ่งทางเข้านี้ สร้างระหว่างปีที่ ๑๔ แห่งจักพรรดิ์ถงจื้อ (Tongzhi) แห่งราชวงศ์ชิง ในปีพ.ศ. ๒๔๑๗ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษ Tang Shut-hing การก่อสร้างแต่ดั่งเดิมจะมีเพียง ๒ อาคาร แต่ถูกทำลายเสียหายเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๐ เหลือเพียงแต่ทางเข้าห้องโถงเท่านั้น
ถามผมว่า รู้สึกยังไงกับการมาเดินเที่ยวมรดกผิงซาน ก็ต้องบอกตรงๆ เลยว่า รู้สึกค่อนข้างดี ส่วนตัวเป็นคนชอบชมโบราณสถานอยู่แล้ว ยิ่งได้มาพบสิ่งที่รู้สึกว่ามันแปลกตา ยิ่งทำให้รู้สึกมีความสุข เวลาผมไปที่ไหนก็ตาม ที่ๆ มันมีตำนาน หรือเรื่องเล่าขาน หรือประวัติศาสตร์ ผมพยายามดื่มด่ำกับแต่ละสถานที่โดยนึกถึงเหตุการณ์ที่ได้รับการบอกเล่า แล้วสื่อสัมผัสร่วมเสมือนเป็นหนึ่งตัวละครในนั้น เพื่อพยายามเข้าใจถึงวิถีของพวกเขา ......
ผมรีบเดินไปขึ้นรถสถานีรถไฟ Tin Shui Wai เพื่อไปลงที่สถานีรถไฟ Tsuen Wan ฝั่งตะวันตก แล้วก็รีบๆๆ เดินไปหาสายรถเมล์ เพื่อจะขึ้นไปยังวัด Yuen Yuen ในตำบล Tsuen Wan ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองไปพอสมควร เดินไปเดินมา ก็เห็นเมืองเขามีห้างสรรพสินค้าค่อนข้างเยอะ และดูทันสมัยดี มีสวนสาธารณะขนาดย่อมด้วย ก็มีคนมานั่งเล่นกันเยอะ เดินผ่านร้านค้าคนเริ่มออกมาซื้อของ แต่ผมหารถเมล์ไม่เจอ หาป้ายไม่เจอด้วย ทั้งๆ ที่คิดว่าเขียนแผนที่มาค่อนข้างดีแล้ว เฮ้ยทำไงดีวะ เหลือบดูเวลานี่ก็ปาไปจะ ๑๑ โมง จึงตัดสินใจ ไม่ไปมันเลยดีกว่า T-T
นี่ก็ถือเป็นบทเรียนที่ต้องจำไปอีก ๑ ครั้งว่า เวลาเขียนแผนการณ์ควรเผื่อเวลาสถานการณ์อันไม่คาดฝันไว้ด้วย ไม่เช่นนั้นจะเสียการแน่นอน