เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเป็นตัวแทนของกองบรรณาธิการเอเอสทีวีผู้จัดการ เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการชุมนุมนักข่าวประจำปี 2556 ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมสามพรานริเวอร์ไซด์ อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งกิจกรรมนี้ไม่ได้มีเพียงแค่การอบรมอยู่แต่ในโรงแรมอย่างเดียว แต่ยังมีการรวมกลุ่มกันเพื่อลงพื้นที่จริงเพื่อทำข่าวและรายงานพิเศษอีกด้วย
กลุ่มผมเลือกประเด็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เป็นผลงานสำหรับส่งคณะกรรมการ โดยลงพื้นที่ถนนสายวัดงิ้วราย-บางเลน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีแนวเส้นทางขนานกับแม่น้ำท่าจีน ซึ่งพบว่ามีการก่อสร้างถนนตั้งแต่ทางลงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ บริเวณหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ไปทาง อ.บางเลน โดยมีการตอกเสาเข็มบริเวณสองข้างทาง ความสูงประมาณ 30-50 ซม.จากพื้นถนน และจากการสังเกตด้วยสายตาจะเห็นว่าถนนอยู่สูงกว่าพื้นที่นาประมาณ 1 เมตร โครงการช่วงนี้ก่อสร้างเป็นระยะทางประมาณ 13 กม. ใช้งบประมาณ 409 ล้านบาท มีบริษัทเอส เทค ซีวิล แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับเหมา คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2557
อีกโครงการหนึ่งคือถนนสายศาลายา-นครชัยศรี ซึ่งมีแนวเส้นทางขนานกับทางรถไฟสายใต้ และคลองมหาสวัสดิ์ ขยายเป็น 4 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกถนนสายวัดงิ้วราย-บางเลน ไปถึงเขตเทศบาลตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล ที่เคยมีการขยายช่องจราจรก่อนหน้านี้ พบว่ามีลักษณะคล้ายกัน โดยมีการทำกำแพงกั้นเพื่อยกระดับถนนความสูงประมาณ 1 เมตร ระยะทางประมาณ 11 กม. งบประมาณ 469 ล้านบาท มีบริษัท แสงชัยโชค จำกัด เป็นผู้รับเหมา คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2557 โดยถนนทั้งสองเส้นระบุชัดเจนว่าเป็นโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน
การก่อสร้างถนนสายนี้ มีกรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ โดยใช้แนวเส้นทางของกรมทางหลวงชนบทในพื้นที่ปริมณฑล อยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (เขตหนองจอก) ปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สุพรรณบุรี และ นครปฐม แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่น้ำป่าสัก-คลองระพีพัฒน์-คลอง 13 ตอนบน, กลุ่มคลอง 13 ตอนล่าง-คลอง 7, กลุ่มคลองระพีพัฒน์แยกตะวันตก, กลุ่มคลองพระยาบรรลือ, กลุ่มคลองพระพิมลราชา-แม่น้ำท่าจีนตอนบน, กลุ่มคลองมหาสวัสดิ์-แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และกลุ่มถนนราชพฤกษ์
สิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นระหว่างลงพื้นที่ก็คือ ที่นครปฐมเวลานี้มีโครงการทำถนนที่แตกต่างไปจากถนนที่เราเห็นทั่วไป เพราะมีการถมถนนให้สูงขึ้นจากระดับพื้นดินประมาณ 1 เมตร และตอกเสาเข็มสองข้างทางเพื่อให้สามารถแปรสภาพเป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในยามอุทกภัย และรองรับการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก ไม่ให้เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่เศรษฐกิจ เพราะเมื่อถนนมีความสูงก็จะกันไม่ให้น้ำไหลผ่านข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้
ทราบว่าในช่วงแรกๆ ชาวบ้านในพื้นที่ก็มองว่าเป็นการขยายถนนธรรมดา มีการถมดินให้สูงขึ้น แต่ทำไปทำมากลับตอกเสาเข็มตลอดสองข้างทาง ก่อนจะทำการถมดินเป็นพื้นถนนสูงระดับเท่าเอว ยิ่งผนวกกับชื่อโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน ชัดเจนว่าจะทำถนนให้เป็นเขื่อนก็ย่อมแปลกใจ ถือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่งของภาครัฐโดยพยายามนำการก่อสร้างถนนมาแอบแฝงเพื่อให้ตายใจ
คุณชุติมา น้อยนารถ แกนนำเครือข่ายลุ่มน้ำภาคตะวันตก และกลุ่มงานสภาลุ่มแม่น้ำท่าจีน นครปฐม ให้ข้อมูลกับผมว่า เวลานี้มีการรับมือโดยการก่อสร้างก่อสร้างคันปิดล้อมเขตเศรษฐกิจ ในรูปแบบถนนและกำแพงแบริเออร์เริ่มจากคลองพระยาบรรลือ ถึง อ.บางเลน จากนั้นลงมา อ.นครชัยศรี ขนานกับแม่น้ำท่าจีน และถนนสายนครชัยศรี-ศาลายา เป็นคันกั้นน้ำ รวมทั้งยังเพิ่มเครื่องสูบน้ำตามคลองสาขาแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะทุ่งพระพิมลราชา
เขากล่าวว่า การที่ทำถนนเสมือนเขื่อนกั้นทางน้ำ เวลาเกิดอุทกภัย จะส่งผลกระทบต่อชุมชนแม่น้ำท่าจีนใน จ.นครปฐมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะศักยภาพของแม่น้ำท่าจีนในการระบายน้ำมีน้อยมาก ประกอบกับแม่น้ำสายนี้มีภาวะน้ำทะเลหนุนบ่อยครั้ง อีกทั้งคลองสาขาของแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก เช่น คลองท่าสาร-บางปลา ระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีนไม่ได้ ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบางพื้นที่ซึ่งอยู่สูงกว่า เช่น อ.ดอนตูม อ.กำแพงแสน
คุณชุติมายังตั้งข้อสังเกตว่า การทำถนนและคันปิดล้อม มีการแบ่งออกเป็นหลายโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ขณะเดียวกันโครงการจัดทำทางผันน้ำ หรือโมดูลเอ 5 จากแม่น้ำปิงถึงแม่น้ำแม่กลอง ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ก็มองว่าอาจเป็นการสับขาหลอกของภาครัฐ เพราะเปิดช่องให้ผู้รับเหมานำข้อมูลโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ซึ่งกรมชลประทานว่าจ้างบริษัทเอกชนไปใช้ได้ทั้งหมด และคำสั่งศาลปกครองกลางก็ไม่ครอบคลุม
สอดคล้องกับความเห็นของ คุณทวี หลงสมบุญ แกนนำชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม ซึ่งแสดงความไม่เห็นด้วย และมองว่าควรจะให้น้ำผ่านไปอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาภาคเกษตรเกิดน้ำท่วม 10 วันยังอยู่ได้ แต่ไม่เกิน 15 วันเพราะเมื่อน้ำขังในเวลานานแล้วพืชผลจะตาย และขอถามกลับว่าการที่รัฐผันน้ำลงแม่น้ำท่าจีนเคยถามคนพื้นที่บ้างหรือไม่ หากน้ำที่ระบายไม่ได้มาตามธรรมชาติ รวมทั้งความแข็งแรงคงทนของคันปิดล้อมในรูปแบบถนนและกำแพงแบบริเออร์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโมดูล เอ 5 นั้น คุณทวีกลับเห็นต่างจากคุณชุติมา เพราะหลังจากที่รัฐเปิดเส้นทาง คร่าวๆ ตั้งแต่แม่น้ำปิงที่ จ.กำแพงเพชร ลงมาถึงแม่น้ำแม่กลองที่ จ.กาญจนบุรี ชาวบ้านในพื้นที่อยากจะได้เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แต่รัฐไม่ได้ให้ความชัดเจนในการเวนคืนที่ดิน และความไม่ชอบมาพากลของโครงการ ซึ่งน่าจะทำประชาพิจารณ์ แต่ถึงกระนั้น รัฐยังไม่ได้ลงมากล่าวกับชาวบ้านลุ่มน้ำท่าจีนว่าจะทำอะไร จึงยังไม่ทราบ มีเพียงนโยบายกู้เงินเท่านั้น
ระหว่างที่ผมพูดคุยกับคุณทวีที่บ้านซึ่งเป็นสวนฝรั่ง หลังโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน เขาก็เล่าให้ฟังว่าภาวะน้ำท่วมส่งผลดีต่อการเกษตร เพราะจะได้พัดพาเอาธาตุอาหารที่อยู่ในดินเข้ามา มีผลให้พืชผักผลไม่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อฟังได้เช่นนั้นผมก็รู้สึกว่าในยามวิกฤตก็ย่อมมีโอกาสเสมอ หากรู้จักคิดในเชิงบวก เพียงแต่ว่าอย่ามัวแต่คิดบวกจนมองข้ามความเป็นจริง เมื่อน้ำท่วมมากกว่าสิบวันแล้วพืชผลทางการเกษตรจะเน่าตายทั้งหมด
อีกด้านหนึ่ง ผมโทรศัพท์สอบถามกับ คุณเจริญศักดิ์ ทรัพย์ประดิษฐ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานนครปฐม เป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยสรุปก็คือ ภาพรวมของโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ยังไม่ได้ชี้แจงกับชาวบ้าน แต่ก่อนหน้านี้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมได้นำเสนอต่อส่วนราชการไปแล้ว ซึ่งจะแจ้งให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ส่วนโครงการศึกษาความเหมาะสมการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก โครงการชลประทานนครปฐมเป็นกรรมการ ซึ่งขณะนี้กำลังทำการศึกษาอยู่
ส่วนการจัดทำคันปิดล้อมนั้นเป็นแผนระบบป้องกันพื้นที่เมือง คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการ เพื่อป้องกันกรุงเทพมหานครและเขตพื้นที่เศรษฐกิจ โดยร่วมมือกับกรมชลประทานในบางเส้นทางที่มีคลองชลประทานขนานอยู่ เขายอมรับว่าอาจต้องปรับปรุงการจัดการน้ำแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก เพื่อเพิ่มศักยภาพ เช่น การขุดลอกแม่น้ำ หรือการทำคลองลัด แต่เขาเชื่อว่าเมื่อทำทางผันน้ำตั้งแต่ จ.กำแพงเพชร ถึง จ.กาญจนบุรี แล้วเสร็จน่าจะแก้ปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะดำเนินการเร็วแค่ไหน
จากการลงพื้นที่และพูดคุยกับแหล่งข่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถนนที่เป็นคันปิดล้อม หรือจะเป็นโมดูลเอ 5 ก็เห็นความจริงบางประการ คือ ชาวบ้านมักจะไม่ทราบว่าแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตัวเองเป็นอย่างไร หากยังจำความได้ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยถึงทางระบายน้ำหลาก หรือ ฟลัดเวย์ กระทั่งสื่อมวลชนบางฉบับนำมาเปิดเผย ทำให้คนนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียงไม่พอใจ นำไปสู่การเคลื่อนไหวภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “คนนครปฐมไม่ไว้ใจฟลัดเวย์” แม้วันนี้จะมีความชัดเจนว่าจะผันน้ำไปทาง จ.กาญจนบุรี แต่ความไม่ชัดเจนก็ทำให้เกิดกระแสทั้งสนับสนุนและต่อต้าน
อีกประการหนึ่ง ผมก็เห็นถึงการที่ภาครัฐขาดตกบกพร่องในการให้ความชัดเจนต่อชาวบ้าน โดยเฉพาะการชี้แจงก็เป็นไปในลักษณะบอกต่อกันมา ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนนำไปบอกต่อกับชาวบ้าน อีกด้านหนึ่งก็ใช้สื่อมวลชนในท้องถิ่น และนักข่าวภูมิภาคเป็นช่องทางชี้แจง ซึ่งชาวบ้านธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะโต้แย้ง หรือแม้แต่แสดงความคิดเห็นได้เลย ถือว่าขาดกระบวนการมีส่วนร่วมโดยสิ้นเชิง
ถนนที่เป็นคันปิดล้อมอาจกลายเป็นกำแพงแห่งความแปลกแยกระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจซึ่งน้ำไม่ท่วม กับพื้นที่หมู่บ้านที่ทำนา ทำไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งแน่นอนว่าคงเป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งที่อำนาจรัฐมอบให้โดยไม่ปรึกษาหรือถามชาวบ้านคนพื้นที่ แม้จะอ้างว่ามีเจตนาดีในการปกป้องกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ แต่เกษตรกรก็อาจจะย้อนกลับไปว่า พื้นที่การเกษตรก็ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเช่นกัน และเป็นปากท้องของพวกเขา
สิ่งที่น่าคิดต่อไปในอนาคต เมื่อถนนที่เป็นคันปิดล้อมก่อสร้างแล้วเสร็จก็คือ เมื่อเกิดน้ำท่วม หรือน้ำหลากขึ้นมาในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เมื่อผันไปทางคลองพระยาบรรลือ ออกแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีสภาพแคบอยู่แล้วและเกิดน้ำท่วมขึ้นมา แม้กรุงเทพมหานคร และพื้นที่เศรษฐกิจจะปลอดภัย แต่คนที่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีนถัดจากถนนที่เป็นคันปิดล้อมต้องจมอยู่กับน้ำที่ถูกผันเข้ามา ชาวบ้านจะรู้สึกอย่างไรที่ต้องรับภาระตรงนี้ และผมเชื่อว่าถ้าเลือกเกิดได้ พวกเขาคงไม่อยากได้เงินชดเชยเยียวยาใดๆ เพื่อแลกกับวิถีชีวิตที่ต้องเจอผลกระทบจากการถูกผันน้ำเข้าท่วมโดยไม่เต็มใจ
เมื่อถนนก่อสร้างไปแล้ว หากจะให้เรียกร้องอะไรก็ดูเป็นการยาก เปรียบเทียบกันก็ไม่ต่างไปจากกำแพงแห่งความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนเมืองที่อยู่อย่างสุขสบาย น้ำไม่ท่วม เศรษฐกิจดี กับคนชายขอบที่เป็นเกษตรกร ซึ่งจะต้องรับผลกระทบเมื่อน้ำหลากเข้ามามากขึ้น ตรงนี้ผมก็หวังในใจว่าอยากให้คนกรุงเทพฯ หันมามองและเห็นใจคนเหล่านี้ มากกว่าจะนึกถึงในยามที่พวกเขาประสบภาวะน้ำท่วม เพราะไม่ว่าใครก็ตามก็อยากมีชีวิตปกติกันทั้งนั้น
ในฐานะที่ผมเป็นคนชายขอบกรุงเทพฯ ตั้งแต่เกิด ก็รู้สึกสงสารที่ชาวบ้านทำอะไรไม่ได้เลย และหวังว่าคงเป็นบทเรียนสำหรับโครงการภาครัฐอื่นๆ ซึ่งก็อยากให้รับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านบ้าง ก่อนที่จะลงมือทำโครงการใดๆ เพราะอะไรก็ตามที่ฝ่ายบริหารชอบวางแผนและฝืนทำ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องดี โดยไม่ได้ศึกษาหรือคิดถึงผลกระทบทุกด้านให้รอบคอบ ผลที่สุดสิ่งที่คิดว่าดีอาจกลายเป็นความผิดพลาด และไม่ใช่ภาครัฐที่เสียหน้า แต่ย่อมหมายถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และเกษตรกรที่ตายทั้งเป็น จนยากที่จะฟื้นฟูเยียวยา
ป.ล. ขอบคุณสำหรับกิจกรรมนี้ ขอบคุณพี่เลี้ยงและวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณเป็นพิเศษกับสมาชิกกลุ่ม 2 ทั้งน้องอิท จส.100, พี่เอ สยามรัฐ, น้องอ้อม สำนักข่าวอิศรา และป่าน ไทยพีบีเอส ที่ร่วมกันทำงานชิ้นนี้ และรายงานพิเศษอีกชิ้นหนึ่งออกมา แม้หลายสิ่งหลายอย่างอาจรู้สึกขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องสำคัญ และขออภัยหากบางสิ่งบางอย่างอาจทำให้รู้สึกขุ่นข้องหมองใจไปบ้าง
ขอให้โชคดีในหน้าที่การงานและทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตครับ...
กลุ่มผมเลือกประเด็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่เป็นผลงานสำหรับส่งคณะกรรมการ โดยลงพื้นที่ถนนสายวัดงิ้วราย-บางเลน อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม มีแนวเส้นทางขนานกับแม่น้ำท่าจีน ซึ่งพบว่ามีการก่อสร้างถนนตั้งแต่ทางลงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ บริเวณหน้าโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ไปทาง อ.บางเลน โดยมีการตอกเสาเข็มบริเวณสองข้างทาง ความสูงประมาณ 30-50 ซม.จากพื้นถนน และจากการสังเกตด้วยสายตาจะเห็นว่าถนนอยู่สูงกว่าพื้นที่นาประมาณ 1 เมตร โครงการช่วงนี้ก่อสร้างเป็นระยะทางประมาณ 13 กม. ใช้งบประมาณ 409 ล้านบาท มีบริษัทเอส เทค ซีวิล แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับเหมา คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2557
อีกโครงการหนึ่งคือถนนสายศาลายา-นครชัยศรี ซึ่งมีแนวเส้นทางขนานกับทางรถไฟสายใต้ และคลองมหาสวัสดิ์ ขยายเป็น 4 ช่องจราจร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกถนนสายวัดงิ้วราย-บางเลน ไปถึงเขตเทศบาลตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล ที่เคยมีการขยายช่องจราจรก่อนหน้านี้ พบว่ามีลักษณะคล้ายกัน โดยมีการทำกำแพงกั้นเพื่อยกระดับถนนความสูงประมาณ 1 เมตร ระยะทางประมาณ 11 กม. งบประมาณ 469 ล้านบาท มีบริษัท แสงชัยโชค จำกัด เป็นผู้รับเหมา คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2557 โดยถนนทั้งสองเส้นระบุชัดเจนว่าเป็นโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน
การก่อสร้างถนนสายนี้ มีกรมทางหลวงชนบทรับผิดชอบ โดยใช้แนวเส้นทางของกรมทางหลวงชนบทในพื้นที่ปริมณฑล อยู่ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (เขตหนองจอก) ปทุมธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี สุพรรณบุรี และ นครปฐม แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มแม่น้ำป่าสัก-คลองระพีพัฒน์-คลอง 13 ตอนบน, กลุ่มคลอง 13 ตอนล่าง-คลอง 7, กลุ่มคลองระพีพัฒน์แยกตะวันตก, กลุ่มคลองพระยาบรรลือ, กลุ่มคลองพระพิมลราชา-แม่น้ำท่าจีนตอนบน, กลุ่มคลองมหาสวัสดิ์-แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง และกลุ่มถนนราชพฤกษ์
สิ่งหนึ่งที่ผมได้เห็นระหว่างลงพื้นที่ก็คือ ที่นครปฐมเวลานี้มีโครงการทำถนนที่แตกต่างไปจากถนนที่เราเห็นทั่วไป เพราะมีการถมถนนให้สูงขึ้นจากระดับพื้นดินประมาณ 1 เมตร และตอกเสาเข็มสองข้างทางเพื่อให้สามารถแปรสภาพเป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมในยามอุทกภัย และรองรับการผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก ไม่ให้เข้าท่วมกรุงเทพมหานคร และเขตพื้นที่เศรษฐกิจ เพราะเมื่อถนนมีความสูงก็จะกันไม่ให้น้ำไหลผ่านข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้
ทราบว่าในช่วงแรกๆ ชาวบ้านในพื้นที่ก็มองว่าเป็นการขยายถนนธรรมดา มีการถมดินให้สูงขึ้น แต่ทำไปทำมากลับตอกเสาเข็มตลอดสองข้างทาง ก่อนจะทำการถมดินเป็นพื้นถนนสูงระดับเท่าเอว ยิ่งผนวกกับชื่อโครงการป้องกันปัญหาอุทกภัยระยะเร่งด่วน ชัดเจนว่าจะทำถนนให้เป็นเขื่อนก็ย่อมแปลกใจ ถือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่งของภาครัฐโดยพยายามนำการก่อสร้างถนนมาแอบแฝงเพื่อให้ตายใจ
คุณชุติมา น้อยนารถ แกนนำเครือข่ายลุ่มน้ำภาคตะวันตก และกลุ่มงานสภาลุ่มแม่น้ำท่าจีน นครปฐม ให้ข้อมูลกับผมว่า เวลานี้มีการรับมือโดยการก่อสร้างก่อสร้างคันปิดล้อมเขตเศรษฐกิจ ในรูปแบบถนนและกำแพงแบริเออร์เริ่มจากคลองพระยาบรรลือ ถึง อ.บางเลน จากนั้นลงมา อ.นครชัยศรี ขนานกับแม่น้ำท่าจีน และถนนสายนครชัยศรี-ศาลายา เป็นคันกั้นน้ำ รวมทั้งยังเพิ่มเครื่องสูบน้ำตามคลองสาขาแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะทุ่งพระพิมลราชา
เขากล่าวว่า การที่ทำถนนเสมือนเขื่อนกั้นทางน้ำ เวลาเกิดอุทกภัย จะส่งผลกระทบต่อชุมชนแม่น้ำท่าจีนใน จ.นครปฐมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะศักยภาพของแม่น้ำท่าจีนในการระบายน้ำมีน้อยมาก ประกอบกับแม่น้ำสายนี้มีภาวะน้ำทะเลหนุนบ่อยครั้ง อีกทั้งคลองสาขาของแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก เช่น คลองท่าสาร-บางปลา ระบายลงสู่แม่น้ำท่าจีนไม่ได้ ทำให้เกิดน้ำเอ่อล้นเข้าท่วมบางพื้นที่ซึ่งอยู่สูงกว่า เช่น อ.ดอนตูม อ.กำแพงแสน
คุณชุติมายังตั้งข้อสังเกตว่า การทำถนนและคันปิดล้อม มีการแบ่งออกเป็นหลายโครงการ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ขณะเดียวกันโครงการจัดทำทางผันน้ำ หรือโมดูลเอ 5 จากแม่น้ำปิงถึงแม่น้ำแม่กลอง ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ก็มองว่าอาจเป็นการสับขาหลอกของภาครัฐ เพราะเปิดช่องให้ผู้รับเหมานำข้อมูลโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมการบริหารจัดการน้ำพื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ซึ่งกรมชลประทานว่าจ้างบริษัทเอกชนไปใช้ได้ทั้งหมด และคำสั่งศาลปกครองกลางก็ไม่ครอบคลุม
สอดคล้องกับความเห็นของ คุณทวี หลงสมบุญ แกนนำชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีนนครปฐม ซึ่งแสดงความไม่เห็นด้วย และมองว่าควรจะให้น้ำผ่านไปอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาภาคเกษตรเกิดน้ำท่วม 10 วันยังอยู่ได้ แต่ไม่เกิน 15 วันเพราะเมื่อน้ำขังในเวลานานแล้วพืชผลจะตาย และขอถามกลับว่าการที่รัฐผันน้ำลงแม่น้ำท่าจีนเคยถามคนพื้นที่บ้างหรือไม่ หากน้ำที่ระบายไม่ได้มาตามธรรมชาติ รวมทั้งความแข็งแรงคงทนของคันปิดล้อมในรูปแบบถนนและกำแพงแบบริเออร์
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของโมดูล เอ 5 นั้น คุณทวีกลับเห็นต่างจากคุณชุติมา เพราะหลังจากที่รัฐเปิดเส้นทาง คร่าวๆ ตั้งแต่แม่น้ำปิงที่ จ.กำแพงเพชร ลงมาถึงแม่น้ำแม่กลองที่ จ.กาญจนบุรี ชาวบ้านในพื้นที่อยากจะได้เพราะเป็นพื้นที่แห้งแล้ง แต่รัฐไม่ได้ให้ความชัดเจนในการเวนคืนที่ดิน และความไม่ชอบมาพากลของโครงการ ซึ่งน่าจะทำประชาพิจารณ์ แต่ถึงกระนั้น รัฐยังไม่ได้ลงมากล่าวกับชาวบ้านลุ่มน้ำท่าจีนว่าจะทำอะไร จึงยังไม่ทราบ มีเพียงนโยบายกู้เงินเท่านั้น
ระหว่างที่ผมพูดคุยกับคุณทวีที่บ้านซึ่งเป็นสวนฝรั่ง หลังโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สามพราน เขาก็เล่าให้ฟังว่าภาวะน้ำท่วมส่งผลดีต่อการเกษตร เพราะจะได้พัดพาเอาธาตุอาหารที่อยู่ในดินเข้ามา มีผลให้พืชผักผลไม่มีความอุดมสมบูรณ์ เมื่อฟังได้เช่นนั้นผมก็รู้สึกว่าในยามวิกฤตก็ย่อมมีโอกาสเสมอ หากรู้จักคิดในเชิงบวก เพียงแต่ว่าอย่ามัวแต่คิดบวกจนมองข้ามความเป็นจริง เมื่อน้ำท่วมมากกว่าสิบวันแล้วพืชผลทางการเกษตรจะเน่าตายทั้งหมด
อีกด้านหนึ่ง ผมโทรศัพท์สอบถามกับ คุณเจริญศักดิ์ ทรัพย์ประดิษฐ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานนครปฐม เป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยสรุปก็คือ ภาพรวมของโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาทนั้น ยังไม่ได้ชี้แจงกับชาวบ้าน แต่ก่อนหน้านี้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐมได้นำเสนอต่อส่วนราชการไปแล้ว ซึ่งจะแจ้งให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ ส่วนโครงการศึกษาความเหมาะสมการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก โครงการชลประทานนครปฐมเป็นกรรมการ ซึ่งขณะนี้กำลังทำการศึกษาอยู่
ส่วนการจัดทำคันปิดล้อมนั้นเป็นแผนระบบป้องกันพื้นที่เมือง คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการ เพื่อป้องกันกรุงเทพมหานครและเขตพื้นที่เศรษฐกิจ โดยร่วมมือกับกรมชลประทานในบางเส้นทางที่มีคลองชลประทานขนานอยู่ เขายอมรับว่าอาจต้องปรับปรุงการจัดการน้ำแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก เพื่อเพิ่มศักยภาพ เช่น การขุดลอกแม่น้ำ หรือการทำคลองลัด แต่เขาเชื่อว่าเมื่อทำทางผันน้ำตั้งแต่ จ.กำแพงเพชร ถึง จ.กาญจนบุรี แล้วเสร็จน่าจะแก้ปัญหาได้ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะดำเนินการเร็วแค่ไหน
จากการลงพื้นที่และพูดคุยกับแหล่งข่าว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของถนนที่เป็นคันปิดล้อม หรือจะเป็นโมดูลเอ 5 ก็เห็นความจริงบางประการ คือ ชาวบ้านมักจะไม่ทราบว่าแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ของตัวเองเป็นอย่างไร หากยังจำความได้ก่อนหน้านี้มีการเปิดเผยถึงทางระบายน้ำหลาก หรือ ฟลัดเวย์ กระทั่งสื่อมวลชนบางฉบับนำมาเปิดเผย ทำให้คนนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียงไม่พอใจ นำไปสู่การเคลื่อนไหวภาคประชาชนภายใต้ชื่อ “คนนครปฐมไม่ไว้ใจฟลัดเวย์” แม้วันนี้จะมีความชัดเจนว่าจะผันน้ำไปทาง จ.กาญจนบุรี แต่ความไม่ชัดเจนก็ทำให้เกิดกระแสทั้งสนับสนุนและต่อต้าน
อีกประการหนึ่ง ผมก็เห็นถึงการที่ภาครัฐขาดตกบกพร่องในการให้ความชัดเจนต่อชาวบ้าน โดยเฉพาะการชี้แจงก็เป็นไปในลักษณะบอกต่อกันมา ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนนำไปบอกต่อกับชาวบ้าน อีกด้านหนึ่งก็ใช้สื่อมวลชนในท้องถิ่น และนักข่าวภูมิภาคเป็นช่องทางชี้แจง ซึ่งชาวบ้านธรรมดาก็ไม่สามารถที่จะโต้แย้ง หรือแม้แต่แสดงความคิดเห็นได้เลย ถือว่าขาดกระบวนการมีส่วนร่วมโดยสิ้นเชิง
ถนนที่เป็นคันปิดล้อมอาจกลายเป็นกำแพงแห่งความแปลกแยกระหว่างพื้นที่เศรษฐกิจซึ่งน้ำไม่ท่วม กับพื้นที่หมู่บ้านที่ทำนา ทำไร่ ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งแน่นอนว่าคงเป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งที่อำนาจรัฐมอบให้โดยไม่ปรึกษาหรือถามชาวบ้านคนพื้นที่ แม้จะอ้างว่ามีเจตนาดีในการปกป้องกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ แต่เกษตรกรก็อาจจะย้อนกลับไปว่า พื้นที่การเกษตรก็ถือเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเช่นกัน และเป็นปากท้องของพวกเขา
สิ่งที่น่าคิดต่อไปในอนาคต เมื่อถนนที่เป็นคันปิดล้อมก่อสร้างแล้วเสร็จก็คือ เมื่อเกิดน้ำท่วม หรือน้ำหลากขึ้นมาในที่ราบลุ่มเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เมื่อผันไปทางคลองพระยาบรรลือ ออกแม่น้ำท่าจีน ซึ่งมีสภาพแคบอยู่แล้วและเกิดน้ำท่วมขึ้นมา แม้กรุงเทพมหานคร และพื้นที่เศรษฐกิจจะปลอดภัย แต่คนที่อยู่ริมแม่น้ำท่าจีนถัดจากถนนที่เป็นคันปิดล้อมต้องจมอยู่กับน้ำที่ถูกผันเข้ามา ชาวบ้านจะรู้สึกอย่างไรที่ต้องรับภาระตรงนี้ และผมเชื่อว่าถ้าเลือกเกิดได้ พวกเขาคงไม่อยากได้เงินชดเชยเยียวยาใดๆ เพื่อแลกกับวิถีชีวิตที่ต้องเจอผลกระทบจากการถูกผันน้ำเข้าท่วมโดยไม่เต็มใจ
เมื่อถนนก่อสร้างไปแล้ว หากจะให้เรียกร้องอะไรก็ดูเป็นการยาก เปรียบเทียบกันก็ไม่ต่างไปจากกำแพงแห่งความเหลื่อมล้ำ ระหว่างคนเมืองที่อยู่อย่างสุขสบาย น้ำไม่ท่วม เศรษฐกิจดี กับคนชายขอบที่เป็นเกษตรกร ซึ่งจะต้องรับผลกระทบเมื่อน้ำหลากเข้ามามากขึ้น ตรงนี้ผมก็หวังในใจว่าอยากให้คนกรุงเทพฯ หันมามองและเห็นใจคนเหล่านี้ มากกว่าจะนึกถึงในยามที่พวกเขาประสบภาวะน้ำท่วม เพราะไม่ว่าใครก็ตามก็อยากมีชีวิตปกติกันทั้งนั้น
ในฐานะที่ผมเป็นคนชายขอบกรุงเทพฯ ตั้งแต่เกิด ก็รู้สึกสงสารที่ชาวบ้านทำอะไรไม่ได้เลย และหวังว่าคงเป็นบทเรียนสำหรับโครงการภาครัฐอื่นๆ ซึ่งก็อยากให้รับฟังความคิดเห็นจากชาวบ้านบ้าง ก่อนที่จะลงมือทำโครงการใดๆ เพราะอะไรก็ตามที่ฝ่ายบริหารชอบวางแผนและฝืนทำ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องดี โดยไม่ได้ศึกษาหรือคิดถึงผลกระทบทุกด้านให้รอบคอบ ผลที่สุดสิ่งที่คิดว่าดีอาจกลายเป็นความผิดพลาด และไม่ใช่ภาครัฐที่เสียหน้า แต่ย่อมหมายถึงความเป็นอยู่ของชาวบ้าน และเกษตรกรที่ตายทั้งเป็น จนยากที่จะฟื้นฟูเยียวยา
ป.ล. ขอบคุณสำหรับกิจกรรมนี้ ขอบคุณพี่เลี้ยงและวิทยากรทุกท่าน ขอบคุณเป็นพิเศษกับสมาชิกกลุ่ม 2 ทั้งน้องอิท จส.100, พี่เอ สยามรัฐ, น้องอ้อม สำนักข่าวอิศรา และป่าน ไทยพีบีเอส ที่ร่วมกันทำงานชิ้นนี้ และรายงานพิเศษอีกชิ้นหนึ่งออกมา แม้หลายสิ่งหลายอย่างอาจรู้สึกขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีม และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นเรื่องสำคัญ และขออภัยหากบางสิ่งบางอย่างอาจทำให้รู้สึกขุ่นข้องหมองใจไปบ้าง
ขอให้โชคดีในหน้าที่การงานและทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตครับ...