นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีการตายของผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 แถลงถึงแนวทางในการดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกฯ และอดีต ผอ.ศอฉ.ในคดีร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผลในการตายของนายพัน คำกอง แท็กซี่เสื้อแดงว่า หลังเสร็จแจ้งข้อหานายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ตนได้เดินทางกลับบ้านทันที เพราะอยากให้คนทั้งสองมีโอกาสได้ชี้แจงอย่างเต็มที่
นายธาริตกล่าวว่า ได้หารือกับคณะพนักงานสอบสวนว่าจะไม่โต้แย้งในรายละเอียดที่นายอภิสิทธิ์ให้ข่าวหลังแจ้งข้อกล่าวหา เรายืนยันว่าปฏิบัติหน้าที่ตามปกติเหมือนคดีอื่น เพียงแต่คดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่มีโทษสูงมาก แต่มีประเด็นที่อยากชี้แจงว่าเนื่องจากท่านทั้งสองมีตำแหน่งสำคัญ มีประวัติดีงามที่ผ่านมาไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ส่วนนี้เป็นข้อประกอบสำคัญเมื่อปรึกษากับพนักงานอัยการแล้วเห็นว่าจะไม่ส่งตัวไปศาลเพื่อออกหมายขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 อย่างไรก็ตาม การสอบสวนขณะแจ้งข้อกล่าวหาเราได้บอกทั้งสองท่านว่า เราขอแจ้งเตือนว่าการที่มีความเห็นไม่ส่งตัวไปขอหมายขังต่อศาล อยากแจ้งเตือนให้ท่านระมัดระวัง 4 เรื่อง คือ
1. พฤติการณ์ที่จะหลบหนี เราจะติดตามการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของท่าน 2.ขอให้ละเว้นไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน 3. ละเว้นไม่ไปก่อเหตุร้ายประการอื่น 4. ไม่ดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ทั้งสองท่านรับข้อเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ไม่ลงชื่อ เป็นเรื่องปกติในคดีทั่วไปที่ผู้ต้องหาไม่ลงชื่อ แต่เจ้าหน้าที่ก็จดบันทึกไว้ว่าแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วแต่ไม่ลงชื่อ
นายธาริตกล่าวว่า ส่วนที่จะมีข่าวคลาดเคลื่อนว่าท่านไม่ได้ลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหาไม่จริง ที่ถูกต้องทั้งสองท่านได้ลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหา และพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิดประมาณ 10 หน้า ท่านลงชื่อรับทราบต่อหน้าพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนรวมทั้งดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการลงชื่อร่วมกับท่าน ในแง่ของพนักงานสอบสวนถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนผู้ต้องหาจะให้การอย่างไร จะชี้แจงกับสื่อมวลชนอย่างไรเป็นสิทธิของท่าน
อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่า ส่วนเรื่องภาพถ่ายที่นายอภิสิทธิ์ถูกโพสต์ขณะพิมพ์ลายนิ้วมือลงในอินเทอร์เน็ต หลังเกิดเหตุนายอภิสิทธิ์ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่าภาพหลุดไปได้อย่างไร ตนชี้แจงว่า เมื่อวานมีผู้ติดตามท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เกือบ 20 คน อาทิ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีขอเข้าไปในห้องสอบสวนด้วย เราไม่เคยอนุญาตขนาดนี้แต่ก็ไม่ขัดข้อง การแจ้งข้อกล่าวหาทำแบบปิด เราเคารพสิทธิของท่านรวมถึงการพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย ส่วนที่มีภาพตอนพิมพ์มือหลุดออกไปดูแล้วก็ไม่เห็นชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์กำลังถูกจับมือพิมพ์มืออยู่ แต่มีคำบรรยายใต้ภาพ ตนได้สั่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่ามีภาพหลุดออกมาได้อย่างไร แต่คนในห้องสอบสวนมีมากพอสมควร และมีการนำโทรศัพท์มือถือมาถ่ายกันเต็มไปหมด ตนจะไม่โยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปถ่ายรูป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการสอบสวนแจ้งข้อหานักการเมืองเป็นอำนาจของ ป.ป.ช.หรือไม่ นายธาริตกล่าวว่า ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 คือเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยทุจริตก็เป็นเรื่องของ ป.ป.ช.แต่กรณีการตายของนายพัน คำกองไม่ใช่มาตรา 157 ไม่ใช่เจ้าพนักงานกระทำการทุจริต ท่านไม่มีอะไรทุจริต ไม่ได้กระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตัวเองหรือบุคคลของท่าน แต่พนักงานสอบสวนร่วม 3 ฝ่ายวิเคราะห์ว่าเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากหน้าที่คือการรักษาความสงบเรียบร้อย และไม่ทำอะไรที่ละเมิดกฎหมาย แต่สิ่งที่เรากล่าวหาทั้งสองท่านเป็นการกระทำที่เกินจากอำนาจหน้าที่ในการไปก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ปกติเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและสอดคล้องกับศาลมีคำสั่งในคดีของนายพัน คำกอง หากใครเห็นว่าเราดำเนินการไม่ถูกต้องก็เป็นสิทธิในทางกฎหมายที่จะดำเนินการกับคณะพนักงานสอบสวนจาก 3 หน่วยงานได้
ต่อข้อถามว่านายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขานุการ ศอฉ.เรียกร้องให้นายธาริตลาออกจากการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว นายธาริตกล่าวว่า ตนโปร่งใสไม่ได้ทำงานตามลำพัง โดยสภาพของการเป็นอธิบดีดีเอสไอตนต้องรับผิดชอบความจริงอาจสบายตัวด้วยซ้ำถ้าหลบเลี่ยงและให้ลูกน้องทำงาน แต่จะไม่เอาตัวรอดท่ามกลางที่ลูกน้องต้องรับแรงเสียดทาน บรรยากาศในการแจ้งข้อกล่าวหาไม่ได้ราบเรียบ บางช่วงตึงเครียด ตนต้องปกป้องคนทำงาน เพราะเป็นข้าราชการประจำไม่ใช่ฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจแสดงอะไรก็ได้ตามใจชอบ คดีนี้ผู้ต้องหามีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำด้วยความสนุก ดีไม่ดีอาจถูกดำเนินคดีด้วย
นายธาริตกล่าวว่า ได้หารือกับคณะพนักงานสอบสวนว่าจะไม่โต้แย้งในรายละเอียดที่นายอภิสิทธิ์ให้ข่าวหลังแจ้งข้อกล่าวหา เรายืนยันว่าปฏิบัติหน้าที่ตามปกติเหมือนคดีอื่น เพียงแต่คดีนี้เป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่มีโทษสูงมาก แต่มีประเด็นที่อยากชี้แจงว่าเนื่องจากท่านทั้งสองมีตำแหน่งสำคัญ มีประวัติดีงามที่ผ่านมาไม่มีพฤติกรรมจะหลบหนี ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ส่วนนี้เป็นข้อประกอบสำคัญเมื่อปรึกษากับพนักงานอัยการแล้วเห็นว่าจะไม่ส่งตัวไปศาลเพื่อออกหมายขังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 อย่างไรก็ตาม การสอบสวนขณะแจ้งข้อกล่าวหาเราได้บอกทั้งสองท่านว่า เราขอแจ้งเตือนว่าการที่มีความเห็นไม่ส่งตัวไปขอหมายขังต่อศาล อยากแจ้งเตือนให้ท่านระมัดระวัง 4 เรื่อง คือ
1. พฤติการณ์ที่จะหลบหนี เราจะติดตามการเดินทางออกนอกราชอาณาจักรของท่าน 2.ขอให้ละเว้นไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน 3. ละเว้นไม่ไปก่อเหตุร้ายประการอื่น 4. ไม่ดำเนินการใดๆ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ ทั้งสองท่านรับข้อเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ไม่ลงชื่อ เป็นเรื่องปกติในคดีทั่วไปที่ผู้ต้องหาไม่ลงชื่อ แต่เจ้าหน้าที่ก็จดบันทึกไว้ว่าแจ้งให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วแต่ไม่ลงชื่อ
นายธาริตกล่าวว่า ส่วนที่จะมีข่าวคลาดเคลื่อนว่าท่านไม่ได้ลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหาไม่จริง ที่ถูกต้องทั้งสองท่านได้ลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหา และพฤติการณ์ที่กล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิดประมาณ 10 หน้า ท่านลงชื่อรับทราบต่อหน้าพนักงานสอบสวน และพนักงานสอบสวนรวมทั้งดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการลงชื่อร่วมกับท่าน ในแง่ของพนักงานสอบสวนถือว่าครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนผู้ต้องหาจะให้การอย่างไร จะชี้แจงกับสื่อมวลชนอย่างไรเป็นสิทธิของท่าน
อธิบดีดีเอสไอกล่าวว่า ส่วนเรื่องภาพถ่ายที่นายอภิสิทธิ์ถูกโพสต์ขณะพิมพ์ลายนิ้วมือลงในอินเทอร์เน็ต หลังเกิดเหตุนายอภิสิทธิ์ได้โทรศัพท์มาสอบถามว่าภาพหลุดไปได้อย่างไร ตนชี้แจงว่า เมื่อวานมีผู้ติดตามท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่เกือบ 20 คน อาทิ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีขอเข้าไปในห้องสอบสวนด้วย เราไม่เคยอนุญาตขนาดนี้แต่ก็ไม่ขัดข้อง การแจ้งข้อกล่าวหาทำแบบปิด เราเคารพสิทธิของท่านรวมถึงการพิมพ์ลายนิ้วมือด้วย ส่วนที่มีภาพตอนพิมพ์มือหลุดออกไปดูแล้วก็ไม่เห็นชัดเจนว่า นายอภิสิทธิ์กำลังถูกจับมือพิมพ์มืออยู่ แต่มีคำบรรยายใต้ภาพ ตนได้สั่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเรื่องนี้ว่ามีภาพหลุดออกมาได้อย่างไร แต่คนในห้องสอบสวนมีมากพอสมควร และมีการนำโทรศัพท์มือถือมาถ่ายกันเต็มไปหมด ตนจะไม่โยนความผิดให้เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปถ่ายรูป
ผู้สื่อข่าวถามว่าการสอบสวนแจ้งข้อหานักการเมืองเป็นอำนาจของ ป.ป.ช.หรือไม่ นายธาริตกล่าวว่า ถ้าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำหน้าที่ตามกฎหมายอาญามาตรา 157 คือเจ้าพนักงานกระทำหรือละเว้นการกระทำโดยทุจริตก็เป็นเรื่องของ ป.ป.ช.แต่กรณีการตายของนายพัน คำกองไม่ใช่มาตรา 157 ไม่ใช่เจ้าพนักงานกระทำการทุจริต ท่านไม่มีอะไรทุจริต ไม่ได้กระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตัวเองหรือบุคคลของท่าน แต่พนักงานสอบสวนร่วม 3 ฝ่ายวิเคราะห์ว่าเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากหน้าที่คือการรักษาความสงบเรียบร้อย และไม่ทำอะไรที่ละเมิดกฎหมาย แต่สิ่งที่เรากล่าวหาทั้งสองท่านเป็นการกระทำที่เกินจากอำนาจหน้าที่ในการไปก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จึงไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ปกติเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและสอดคล้องกับศาลมีคำสั่งในคดีของนายพัน คำกอง หากใครเห็นว่าเราดำเนินการไม่ถูกต้องก็เป็นสิทธิในทางกฎหมายที่จะดำเนินการกับคณะพนักงานสอบสวนจาก 3 หน่วยงานได้
ต่อข้อถามว่านายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขานุการ ศอฉ.เรียกร้องให้นายธาริตลาออกจากการเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีดังกล่าว นายธาริตกล่าวว่า ตนโปร่งใสไม่ได้ทำงานตามลำพัง โดยสภาพของการเป็นอธิบดีดีเอสไอตนต้องรับผิดชอบความจริงอาจสบายตัวด้วยซ้ำถ้าหลบเลี่ยงและให้ลูกน้องทำงาน แต่จะไม่เอาตัวรอดท่ามกลางที่ลูกน้องต้องรับแรงเสียดทาน บรรยากาศในการแจ้งข้อกล่าวหาไม่ได้ราบเรียบ บางช่วงตึงเครียด ตนต้องปกป้องคนทำงาน เพราะเป็นข้าราชการประจำไม่ใช่ฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจแสดงอะไรก็ได้ตามใจชอบ คดีนี้ผู้ต้องหามีตำแหน่งหน้าที่สูง เป็นเรื่องที่ไม่ได้ทำด้วยความสนุก ดีไม่ดีอาจถูกดำเนินคดีด้วย