สื่อออนไลน์ที่เรียกกันว่าโซเชียลมีเดีย ที่เด่นที่สุดในปัจจุบันก็ได้แก่ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก เปิดให้บุคคลทั้งธรรมดาและไม่ธรรมดาใช้เป็นที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ ความคิดเห็น ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกซึ่งขอเรียกรวมกันในที่นี้ว่า “ข่าวสาร” สู่สาธารณะ โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นทั้งสื่อสาธารณะและสื่อส่วนบุคคลให้ปัจเจกบุคคลจำนวนมากรับและส่งข่าวสารถึงกัน ผู้ใช้งานกลายเป็นทั้งผู้ผลิต ผู้ส่ง และผู้รับข่าวสาร เกิดการถ่ายเทข้อมูลข่าวสารกันอย่างรวดเร็วและกว้างขวางผ่านการการรีทวีตในทวิตเตอร์ และผ่านการแชร์และไลก์ในเฟซบุ๊ก กล่าวได้ว่า ทันทีที่ปล่อยสารสู่ระบบ สารนั้นก็กลายข่าวสารส่วนบุคคลเป็นข่าวสารของสาธารณะไปในทันที พร้อมที่จะถูกส่งต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะหากผู้เป็นเจ้าของข่าวสารเป็นคนสำคัญ เป็นบุคคลสาธารณะ โอกาสที่ข่าวสารจะถูกส่งต่อไปอย่างรวดเร็วยิ่งมีมากขึ้น หากสื่อหลักอันประกอบไปด้วย หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ นำไปเผยแพร่ต่อก็ยิ่งจะทำให้เกิดการรับรู้ในวงกว้างยิ่งขึ้น
มีบุคคลสาธารณะเป็นจำนวนมาก เช่น นักแสดง นักการเมือง ใช้โซเชียลมีเดียเป็นที่เผยแพร่ข่าวสาร หากมองในแง่ประโยชน์ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดียิ่ง เพราะการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กแทบจะไม่ต้องจ่ายอะไรเลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ตกับเวลาที่ในการใช้งาน ผลที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะข่าวสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรง นั่นคือบรรดาผู้ติดตามในกรณีทวิตเตอร์ และเพื่อนในกรณีเฟซบุ๊กรวมทั้งเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนอีกด้วย ทั้งโอกาสที่ข่าวสารจะขยายไปสู่สังคมนอกโซเชียลมีเดีย ผ่านสื่อกระแสหลักดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นก็มีมาก ทำให้เจ้าของข่าวสารนั้นได้รับการกล่าวถึง จดจำ และเพิ่มความสำคัญขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งข่าวสาร นี่คือประโยชน์ที่ได้รับอย่างแน่นอน
แต่ถ้ามองในแง่ที่เป็นโทษก็นับว่ามีมากเช่นกัน ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า ข่าวสารที่ส่งออกไปสู่สังคมโซเชียลมีเดียได้กลายจากข่าวสารส่วนบุคคลเป็นข่าวสารสาธารณะในทันที มันพร้อมที่จะถูกส่งต่อไปสู่คนอื่นๆ อย่างไม่อาจที่จะยับยั้งได้ แม้ต้นทางจะถูกลบแต่เมื่อได้ไปถึงผู้รับข่าวสารคนอื่นๆ ซึ่งไม่รู้แน่ว่ามีเท่าใด ข่าวสารนั้นย่อมได้รับการจดจำและนำไปบอกต่อ หากเป็นข่าวสารที่เกิดผลในทางลบแก่ผู้ส่งสารซึ่งเป็นเจ้าของที่ผลิตข่าวสารนั้นขึ้นมา ปฏิกิริยาที่สะท้อนกลับมาหาผู้เป็นเจ้าของก็ย่อมจะมีมากมายเช่นกัน
กรณีดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดในเฟซบุ๊กมากกว่าในทวิตเตอร์ เนื่องจากเฟซบุ๊กนั้นสามารถเผยแพร่ต่อได้ง่ายกว่า ทั้งผ่านการกดปุ่มแบ่งปัน (share) และกดปุ่มชอบ (like) การกดแบ่งปันหรือกดชอบ ทำให้ข้อมูลถูกส่งต่อไปยังเพื่อนของคนที่กดแบ่งปันหรือกดชอบนั้นโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนรับรู้มากขึ้นเป็นอัตราทวีคูณ หากเป็นกรณีที่ข่าวสารนั้นๆ มีผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อเจ้าของ มีคนไม่ชอบข่าวสารดังกล่าวนั้น ก็จะมีการส่งต่อเพื่อประจาน ประณาม ด่าว่า ต่างๆ นานา เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นก็ยากที่จะควบคุมได้ แน่นอนว่า ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่เจ้าของข่าวสารนั้น อย่างน้อยภาพพจน์ที่เคยดีงามก็เกิดความเสียหายในสายตาของคนจำนวนมาก เกิดผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อชีวิต การงาน สถานะทางสังคม ความน่าเชื่อ ไม่มากก็น้อย
หากประโยชน์คือดาบคมแรกของโซเชียลมีเดีย โทษที่ได้กล่าวมานี้ก็คือดาบคมที่สองที่หันเข้าหาตัวผู้เป็นเจ้าของข่าวสาร หากควบคุมไม่ดีก็มีโอกาสที่จะบาดตัวเองได้ ดังที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ
แม้ประโยชน์จะมีมากมายอนันต์ แต่โทษของโซเชียลมีเดียก็มีมากมายมหันต์เช่นกัน ดังนั้น การใช้โซเชียลมีเดียย่อมควรที่จะใช้อย่างระมัดระวัง พึงระลึกเสมอว่า ข้อความที่ส่งผ่านแป้นคอมพิวเตอร์ไปสู่โลกไซเบอร์ ก็ไม่ต่างจากคำพูดที่ออกจากปากของเรา มันเป็นส่วนหนึ่งของเรา ไม่ว่าออกจากปากหรือจากแป้นคอมพิวเตอร์ของเรา ย่อมมีผลผูกพันกับเราเช่นกัน ดังคำพูดที่กล่าวกันอยู่เสมอๆ ว่า “ก่อนพูดเราเป็นนายของถ้อยคำ หลังจากพูดไปแล้ว ถ้อยคำเป็นนายของเรา” นั่นคือเราไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ ยิ่งในโลกโซเชียลมีเดียนั้น ข้อความไม่ได้หายไปเหมือนคำพูด หากแต่ยังคงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พร้อมให้ขุดค้นขึ้นมาเป็นหลักฐานได้ตลอดเวลา
การใช้โซเชียลมีเดียก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสาร ลำพังเพียงเครื่องมือนั้นไม่มีโทษไม่มีภัยในตัวของมันเอง หากจะเกิดโทษก็เกิดจากผู้ใช้นั่นเอง สื่อทุกชนิดไม่ว่าสื่อที่มาก่อนอย่างหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อที่มาทีหลังอย่างโซเชียลมีเดีย จะเกิดประโยชน์หรือโทษก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ไม่ว่าสื่อใดหากใช้โดยปราศจากคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบแล้ว โทษก็เกิดขึ้นได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สื่อถูกฟ้องร้องในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่น ถูกตัดสินทั้งโทษแพ่งและโทษอาณาก็มีให้เห็นอยู่เสมอๆ หรือผู้มีอำนาจใช้สื่อในการกล่าวร้ายฝ่ายตรงกันข้าม ยุยงให้คนเกลียดชังกัน สร้างความแตกแยก เพื่ออำนาจของตน ก็มีให้เห็นในทุกสังคม
ดังนั้น เราท่านทั้งหลายที่กำลังสนุกสานกับการสื่อสารผ่านสื่อสมัยใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย ก็จงตระหนักไว้เสมอว่า มันมีทั้งประโยชน์และโทษ เป็นดาบสองคม ดังนั้น ก็จงระวังคมที่หันเข้าหาตัวเอง อย่าเพลินจนเผลอให้บาดตัวเองเข้า หรือคมที่หันออกนอกตัวก็จงอย่าใช้เพื่อสร้างบาดแผลให้ผู้อื่น เพราะต่างคนก็ต่างมีดาบ หากใช้ฟาดฟันกัน ประโยชน์ก็ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร.
มีบุคคลสาธารณะเป็นจำนวนมาก เช่น นักแสดง นักการเมือง ใช้โซเชียลมีเดียเป็นที่เผยแพร่ข่าวสาร หากมองในแง่ประโยชน์ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดียิ่ง เพราะการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กแทบจะไม่ต้องจ่ายอะไรเลย นอกจากค่าอินเทอร์เน็ตกับเวลาที่ในการใช้งาน ผลที่ได้ก็คุ้มค่า เพราะข่าวสารไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเที่ยงตรง นั่นคือบรรดาผู้ติดตามในกรณีทวิตเตอร์ และเพื่อนในกรณีเฟซบุ๊กรวมทั้งเพื่อนของเพื่อนของเพื่อนอีกด้วย ทั้งโอกาสที่ข่าวสารจะขยายไปสู่สังคมนอกโซเชียลมีเดีย ผ่านสื่อกระแสหลักดังที่กล่าวไว้ในย่อหน้าข้างต้นก็มีมาก ทำให้เจ้าของข่าวสารนั้นได้รับการกล่าวถึง จดจำ และเพิ่มความสำคัญขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งข่าวสาร นี่คือประโยชน์ที่ได้รับอย่างแน่นอน
แต่ถ้ามองในแง่ที่เป็นโทษก็นับว่ามีมากเช่นกัน ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า ข่าวสารที่ส่งออกไปสู่สังคมโซเชียลมีเดียได้กลายจากข่าวสารส่วนบุคคลเป็นข่าวสารสาธารณะในทันที มันพร้อมที่จะถูกส่งต่อไปสู่คนอื่นๆ อย่างไม่อาจที่จะยับยั้งได้ แม้ต้นทางจะถูกลบแต่เมื่อได้ไปถึงผู้รับข่าวสารคนอื่นๆ ซึ่งไม่รู้แน่ว่ามีเท่าใด ข่าวสารนั้นย่อมได้รับการจดจำและนำไปบอกต่อ หากเป็นข่าวสารที่เกิดผลในทางลบแก่ผู้ส่งสารซึ่งเป็นเจ้าของที่ผลิตข่าวสารนั้นขึ้นมา ปฏิกิริยาที่สะท้อนกลับมาหาผู้เป็นเจ้าของก็ย่อมจะมีมากมายเช่นกัน
กรณีดังกล่าวนี้เห็นได้ชัดในเฟซบุ๊กมากกว่าในทวิตเตอร์ เนื่องจากเฟซบุ๊กนั้นสามารถเผยแพร่ต่อได้ง่ายกว่า ทั้งผ่านการกดปุ่มแบ่งปัน (share) และกดปุ่มชอบ (like) การกดแบ่งปันหรือกดชอบ ทำให้ข้อมูลถูกส่งต่อไปยังเพื่อนของคนที่กดแบ่งปันหรือกดชอบนั้นโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การเพิ่มจำนวนคนรับรู้มากขึ้นเป็นอัตราทวีคูณ หากเป็นกรณีที่ข่าวสารนั้นๆ มีผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อเจ้าของ มีคนไม่ชอบข่าวสารดังกล่าวนั้น ก็จะมีการส่งต่อเพื่อประจาน ประณาม ด่าว่า ต่างๆ นานา เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นก็ยากที่จะควบคุมได้ แน่นอนว่า ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่เจ้าของข่าวสารนั้น อย่างน้อยภาพพจน์ที่เคยดีงามก็เกิดความเสียหายในสายตาของคนจำนวนมาก เกิดผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อชีวิต การงาน สถานะทางสังคม ความน่าเชื่อ ไม่มากก็น้อย
หากประโยชน์คือดาบคมแรกของโซเชียลมีเดีย โทษที่ได้กล่าวมานี้ก็คือดาบคมที่สองที่หันเข้าหาตัวผู้เป็นเจ้าของข่าวสาร หากควบคุมไม่ดีก็มีโอกาสที่จะบาดตัวเองได้ ดังที่เกิดขึ้นอยู่เนืองๆ
แม้ประโยชน์จะมีมากมายอนันต์ แต่โทษของโซเชียลมีเดียก็มีมากมายมหันต์เช่นกัน ดังนั้น การใช้โซเชียลมีเดียย่อมควรที่จะใช้อย่างระมัดระวัง พึงระลึกเสมอว่า ข้อความที่ส่งผ่านแป้นคอมพิวเตอร์ไปสู่โลกไซเบอร์ ก็ไม่ต่างจากคำพูดที่ออกจากปากของเรา มันเป็นส่วนหนึ่งของเรา ไม่ว่าออกจากปากหรือจากแป้นคอมพิวเตอร์ของเรา ย่อมมีผลผูกพันกับเราเช่นกัน ดังคำพูดที่กล่าวกันอยู่เสมอๆ ว่า “ก่อนพูดเราเป็นนายของถ้อยคำ หลังจากพูดไปแล้ว ถ้อยคำเป็นนายของเรา” นั่นคือเราไม่สามารถปัดความรับผิดชอบได้ ยิ่งในโลกโซเชียลมีเดียนั้น ข้อความไม่ได้หายไปเหมือนคำพูด หากแต่ยังคงอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง พร้อมให้ขุดค้นขึ้นมาเป็นหลักฐานได้ตลอดเวลา
การใช้โซเชียลมีเดียก็คือการใช้เครื่องมือสื่อสาร ลำพังเพียงเครื่องมือนั้นไม่มีโทษไม่มีภัยในตัวของมันเอง หากจะเกิดโทษก็เกิดจากผู้ใช้นั่นเอง สื่อทุกชนิดไม่ว่าสื่อที่มาก่อนอย่างหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อที่มาทีหลังอย่างโซเชียลมีเดีย จะเกิดประโยชน์หรือโทษก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ไม่ว่าสื่อใดหากใช้โดยปราศจากคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบแล้ว โทษก็เกิดขึ้นได้เสมอ ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้สื่อถูกฟ้องร้องในข้อหาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นการหมิ่นประมาทผู้อื่น ถูกตัดสินทั้งโทษแพ่งและโทษอาณาก็มีให้เห็นอยู่เสมอๆ หรือผู้มีอำนาจใช้สื่อในการกล่าวร้ายฝ่ายตรงกันข้าม ยุยงให้คนเกลียดชังกัน สร้างความแตกแยก เพื่ออำนาจของตน ก็มีให้เห็นในทุกสังคม
ดังนั้น เราท่านทั้งหลายที่กำลังสนุกสานกับการสื่อสารผ่านสื่อสมัยใหม่อย่างโซเชียลมีเดีย ก็จงตระหนักไว้เสมอว่า มันมีทั้งประโยชน์และโทษ เป็นดาบสองคม ดังนั้น ก็จงระวังคมที่หันเข้าหาตัวเอง อย่าเพลินจนเผลอให้บาดตัวเองเข้า หรือคมที่หันออกนอกตัวก็จงอย่าใช้เพื่อสร้างบาดแผลให้ผู้อื่น เพราะต่างคนก็ต่างมีดาบ หากใช้ฟาดฟันกัน ประโยชน์ก็ไม่เกิดขึ้นแก่ใคร.