1-/ ลึกลงไปในสวนดุสิตโพล ไม่ต้องฉายซ้ำมากเพราะยังไงสวนดุสิตโพลก็โดนคนด่าทั้งเมือง ผมอ่านข่าวผลการสำรวจความเห็นครั้งแรกก็ยังทนไม่ได้เพราะผลการสำรวจแสดงชัดเจนว่า “ประชากรตัวอย่าง” แทบไม่ได้ดูการถ่ายทอดอย่างจริงจังอะไรเลย
ผมไม่ได้มากระทืบซ้ำหรืออารมณ์ค้างหาเรื่องด่าสวนดุสิตโพลอีกรอบดอกนะครับ แต่ที่เขียนถึงเพราะพลันได้คิดว่าผลการสำรวจครั้งนี้ของสวนดุสิตโพลสามารถ “สะท้อนความเป็นจริง” ของสังคมและการเมืองไทยได้ค่อนข้างชัด
ความจริงประการแรก- ผลสำรวจครั้งนี้ยืนยันคำกล่าวที่ว่าในทางการเมือง Perception สำคัญกว่า Fact ขออภัยที่ยกภาษาอังกฤษมาแบบไม่แปลเพราะเวลาแปลคำ Perception ทีไรก็ยังไม่ครอบคลุมความหมายอย่างที่ใจต้องการ ผมเห็นว่าศัพท์ภาษาไทยที่แปลทำนองว่า “ความเข้าใจ” หรือ “แนวความคิด” ยังไม่คลุมความหมายทางการเมืองของศัพท์ตัวนี้จริง เพราะบางขณะมันยังหมายกึ่ง ๆ ใกล้ ๆ เชื่อถือศรัทธาและก็ยังหมายถึงอาการทุบโต๊ะบอกตัวเองว่า “กูเข้าใจของกูว่ามันเป็นแบบนั้น” อารมณ์ประมาณนี้ดังนั้น Perception จึงเป็นอะไรที่เกิดจากฐานความรู้สึกล้วน ๆ ที่เป็นคนละเรื่องกับข้อเท็จจริงหรือ Fact
ปราชญ์การเมืองเขาจึงบอกว่าในทางการเมืองแล้วกลุ่มคนจำนวนมากมีความเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น-เช่นนี้ จะคิดเอง-เออเองหรือถูกกล่อมให้คล้อยตามล้วนแต่มีความสำคัญต่อสังเวียนช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเสมอมา กรณียิ่งลักษณ์แถลงนโยบายก็เหมือนกัน จะอ่านตะกุกตะกักนานเป็น 2 ชั่วโมง แล้วลุกขึ้นตอบสั้น ๆ ห้วน ๆ เหมือนเด็กถูกบังคับท่องอาขยานหน้าชั้นจะ ๆ เป็นที่ประจักษ์ ผมจึงไม่เชื่อหอรกครับว่าประชากรผู้ตอบแบบสอบถามจะนั่งยิ่งฟังนโยบายที่อ่านมาทั้ง 44 หน้า 2 ชั่วโมงกว่าเพื่อจะตอบแบบสอบถามว่า “ได้รับรู้และเข้าใจนโยบายที่รัฐบาลจะทำ” และพึงพอใจคำอภิปรายของยิ่งลักษณ์เหนือใคร ๆ ในบรรดาฝ่ายรัฐบาลที่เหลือ
ในสายตาผมเฉลิม อยู่บำรุงเป็นผู้อภิปรายที่ใช้เวลาสิ้นเปลืองที่สุด มีแต่น้ำมีแต่สร้อยภาษาอังกฤษตลก ๆ บางครั้งก็ลากเอาสภาไปกับก้อนน้ำแข็งเช่นลุกขึ้นบอกว่าการถมทะเลที่แท้จริงตั้งใจถมที่บางขุนเทียนแถวบ้านผม เอาเฉพาะที่ถูกน้ำกัดเซาะ ส่วนปลอดประสพในฐานะรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ก็ลุกขึ้นตอบแบบคนละเรื่องกับที่รองนายกฯเฉลิมตอบ เพราะนำเสนอว่าจะศึกษาป้องกันน้ำท่วม แล้วอาจจะศึกษาลึกลงไปสุดแนวสันดอน เป็น 10 ก.ม.จากชายฝั่ง ที่สำคัญรัฐมนตรีทั้งสองคนนอกจากตอบในสภาคนเรื่องเดียวกันแล้วยังไม่เหมือนกับในคลิปทักษิณโฟนอินมาที่ประชุมพรรคอีกต่างหาก แต่ผู้ตอบโพลกลับพึงพอใจลำดับรองลงมาจากยิ่งลักษณ์
ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามคงไม่ได้นั่งดูจอจ่อเหมือนนักข่าวที่ต้องติดตามปรากฏการณ์ เปิดทีวีแว้บ ๆ ไปโน่นมานี่บังเอิญผ่านหยุดดูสักที เสร็จแล้วตอบแบบสอบถามในภาพรวมประหนึ่งว่ารับรู้ถ่องแท้ เรื่องนี้ไปโทษชาวบ้านก็ไม่ได้เพราะพฤติกรรมคนทำมาหากินใครจะบ้ามานั่งเฝ้าหน้าจอหรือนั่งฟังคนพูดเรื่องยาก ๆ ตลอด 2 วัน ก็ต้องโทษคนออกแบบสอบถามนั่นแหละ
แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่...ผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลในครั้งนี้นอกจากยืนยันว่าการเมืองเป็นเรื่องของ Perception แล้วยังเป็นเรื่องของพวกใครพวกมันไม่แยแสหลักการเหตุผลใด ๆ ประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยยังสนับสนุนการเมืองในแบบเด็กเทคนิคตีกัน คือตัวเองใส่เสื้อสีนี้แล้วยังไงก็ต้องเชียร์ต้องหนุน ใครถามอะไรมาก็ตอบให้ดี ๆ เท่ ๆ เอาไว้ก่อน ส่วนที่เกลียดก็ตอบคำถามแบบใช้ไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว
ถ้ายึดตามสัดส่วนของโพลที่ว่าคนส่วนใหญ่ประมาณ 62 % บอกว่าพอใจการแถลงมีความชัดเจนในรายละเอียดของนโยบาย /เข้าใจนโยบายมากขึ้น/ รู้ถึงแนวทางการทำงานของรัฐบาล ต่อให้พระอินทร์เหาะลงมาเขียว ๆ มายืนเล็คเชอร์ว่า รัฐบาลใช้ลูกเล่นของถ้อยคำ เลี่ยงบาลีจากค่าแรงขั้นต่ำ เป็นรายได้รวมไม่น้อยกว่า มีการยอมรับว่าสิ่งที่หาเสียงไปไม่ทำจริงหลายเรื่องเช่น นครปัตตานีและถมทะเล ฯลฯพวกเขาก็คงไม่เชื่อหรอก ถึงเชื่อก็ก็ยังตอบคำถามโพลด้วยคำตอบเดิม
คนส่วนใหญ่ในเมืองไทยเวลานี้ทุกเรื่องเป็นเรื่องเล็กหมด จะโกหก จะหลอกลวง จะเลี่ยงบาลี จะตอบคำถามยังไงขออย่างเดียวให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ เพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็พอ
ความจริงของสังคมการเมืองไทยจึงสะท้อนออกมาผ่านสวนดุสิตโพลในครั้งนี้- !!
2-/ลึกลงในนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ สำหรับผมนี่เป็นวาระเร่งด่วนที่ซ่อนยุทธวิธีทางการเมืองเอาไว้อย่างแยบยล
รัฐบาลยิ่งลักษณ์โชคดีที่มีฐานเสียงจงรักภักดีเหนียวแน่น ไม่ดีเบตเขาก็ไม่ว่า ก้มหน้าอ่านสคริปต์คนยังปรบมือยินดี อ่านแถลงนโยบาย 2 ชั่วโมงชาวบ้านฟังไม่ฟังไม่รู้แต่ก็ตอบแบบสอบถามว่าชัดเจนดีให้คะแนนบวกสุด ๆ ซึ่งหากไปอยู่ประเทศอื่นคงต้องแพ้ไปตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำอย่าว่าแต่แถลงนโยบายแบบสัญญาไม่เป็นสัญญาเลย
อาการแสดงออกแบบหนุนสุดลิ่มไม่สนหลักการเหตุผลใด ๆ ที่มีอยู่จริงจะยังยืนยาวต่อเนื่องได้หากว่ามีเทคนิคการบริหารจัดการ หล่อเลี้ยงกระแสม็อบให้ดี หากกุนซือทักษิณ-ยิ่งลักษณ์เลือกจะใช้สนามแก้รัฐธรรมนูญมาหล่อเลี้ยงขบวนแดง และใช้แก้ปัญหาแดงบางกลุ่มที่รัฐบาลไม่สามารถจะคบค้าอย่างเปิดเผยได้ เช่นแดงไม่เอา ม.112 ให้ไปกดดันผ่านสสร.เอาเอง เมื่อผนวกรวม ๆ กับการเกาะกันเป็นเครือข่ายแม้จะไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิมแต่ก็มากพอจะลากผลการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปทางไหนก็ได้
นโยบายเร่งด่วนข้อนี้แท้ที่จริงไม่มีเรื่องอื่นเจือปนหรอกนอกเหนือจากเร่งแก้รัฐธรรมนูญตามที่ตัวต้องการ
ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่เชื่อรัฐบาลในการแถลงนโยบายเร่งด่วนข้อ 1.16 ที่อ้างว่า “เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” เพื่อนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่
จริงอยู่ที่การปฏิรูปการเมืองครั้งแรกที่นำมาสู่รัฐธรรมนูญธงเขียวปี 2540 เป็นการปฏิรูปผ่านการแก้รัฐธรรมนูญโดยอาศัยกระบวนการ สสร.ชุดที่ 1+กระบวนทางรณรงค์ธงเขียวทางสังคม แต่การปฏิรูปการเมือง(ถ้ามีจริง) ในปี 2555 นั้นยากจะสำเร็จโดยอาศัยกระบวนการแบบเดิมเพราะสังคมไทยถูกเขย่าเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วง 5-6 ปีมานี้
การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดต่อไปจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางสังคมที่กว้างขวางและซับซ้อนกว่าการตั้ง สสร.มาแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น “การปฏิรูปการเมือง” จึงเป็นแค่ข้ออ้างให้ “การแก้รัฐธรรมนูญ” เดินหน้าได้เท่านั้น
การปฏิรูปการเมืองที่ผมเข้าใจถ้ามันมีจริง จะยกระดับความเป็นประชาธิปไตย ตอกเสาเข็มหลักการสำคัญ ๆ ของระบอบดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงในสังคมอย่างหนักแน่นและกว้างขวาง
ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีเจตนารมณ์จะปฏิรูปการเมืองแก้ปัญหาประชาธิปไตยไทยจริงแล้วไซร้ เหตุใดรัฐบาลยังปล่อยให้ถ่อยบางกลุ่มไปชุมนุมหน้ารัฐสภา ใครแสดงออกอะไรไม่ได้พ่อก็ยกพวกไปล็อกคอไล่ทุบเขา นายชวน หลีกภัยนั่งรถออกจากประชุมก็ไปปิดทางไล่ทุบรถเขา ฯลฯ หลักการพื้นฐานประชาธิปไตยแค่นี้ยังบอกกล่าวกันเองไม่ได้เลย
ผมพยายามจินตนาการว่าหลังจากเราปฏิรูปการเมืองแล้วสังคมประชาธิปไตยบ้านเราคงจะยกระดับขึ้น นอกจากหลักการพื้นฐานอำนาจอธิปไตยมาจากประชาชนอย่างแท้จริง มีการแยกและถ่วงดุลอำนาจบนหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาล กิจกรรมทางการเมืองคงจะยืนบนหลักการและเหตุผลบนฐานประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากขึ้น
ผมไม่ได้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญดอกนะครับเพราะอย่างไรเสียสักวันมันก็ต้องแก้กันอีกสักครั้งแต่ที่ไม่เห็นด้วยคือการอ้างถึงการปฏิรูปการเมืองที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อนกว่าการแก้รัฐธรรมนูญอีกหลายเท่านัก
ถ้ารัฐบาลยังยืนกรานว่านี่เป็นการปฏิรูปการเมือง ก็สมควรปลูกฝังหลักการประชาธิปไตยพื้นฐาน อาทิการเคารพในสิทธิคนอื่น สิทธิในการแสดงออกในที่สาธารณะว่ามีแค่ไหนอย่างไรมีกรอบอะไรบ้างไม่ใช่พอรวมกลุ่มกันมาก ๆ จากเรียกร้องประชาธิปไตยแปลงกายเป็นอนาธิปไตยไปซะงั้น
ถ้ารัฐบาลอยากปรองดอง แก้ไขไม่แก้แค้น และปฏิรูปการเมืองจริง ต้องเร่งให้ความรู้หลักการประชาธิปไตยพื้นฐานพร้อมกันไปด้วย
จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ไปทำไม ? ถ้ายังแก้ปัญหาไอ้พวกบ้ารวมกลุ่มกันไล่กระทืบชาวบ้านที่เขาจะมาแสดงออกทางการเมืองไม่ได้ ตลกจริง ๆ นโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองข้อนี้.
ผมไม่ได้มากระทืบซ้ำหรืออารมณ์ค้างหาเรื่องด่าสวนดุสิตโพลอีกรอบดอกนะครับ แต่ที่เขียนถึงเพราะพลันได้คิดว่าผลการสำรวจครั้งนี้ของสวนดุสิตโพลสามารถ “สะท้อนความเป็นจริง” ของสังคมและการเมืองไทยได้ค่อนข้างชัด
ความจริงประการแรก- ผลสำรวจครั้งนี้ยืนยันคำกล่าวที่ว่าในทางการเมือง Perception สำคัญกว่า Fact ขออภัยที่ยกภาษาอังกฤษมาแบบไม่แปลเพราะเวลาแปลคำ Perception ทีไรก็ยังไม่ครอบคลุมความหมายอย่างที่ใจต้องการ ผมเห็นว่าศัพท์ภาษาไทยที่แปลทำนองว่า “ความเข้าใจ” หรือ “แนวความคิด” ยังไม่คลุมความหมายทางการเมืองของศัพท์ตัวนี้จริง เพราะบางขณะมันยังหมายกึ่ง ๆ ใกล้ ๆ เชื่อถือศรัทธาและก็ยังหมายถึงอาการทุบโต๊ะบอกตัวเองว่า “กูเข้าใจของกูว่ามันเป็นแบบนั้น” อารมณ์ประมาณนี้ดังนั้น Perception จึงเป็นอะไรที่เกิดจากฐานความรู้สึกล้วน ๆ ที่เป็นคนละเรื่องกับข้อเท็จจริงหรือ Fact
ปราชญ์การเมืองเขาจึงบอกว่าในทางการเมืองแล้วกลุ่มคนจำนวนมากมีความเข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น-เช่นนี้ จะคิดเอง-เออเองหรือถูกกล่อมให้คล้อยตามล้วนแต่มีความสำคัญต่อสังเวียนช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเสมอมา กรณียิ่งลักษณ์แถลงนโยบายก็เหมือนกัน จะอ่านตะกุกตะกักนานเป็น 2 ชั่วโมง แล้วลุกขึ้นตอบสั้น ๆ ห้วน ๆ เหมือนเด็กถูกบังคับท่องอาขยานหน้าชั้นจะ ๆ เป็นที่ประจักษ์ ผมจึงไม่เชื่อหอรกครับว่าประชากรผู้ตอบแบบสอบถามจะนั่งยิ่งฟังนโยบายที่อ่านมาทั้ง 44 หน้า 2 ชั่วโมงกว่าเพื่อจะตอบแบบสอบถามว่า “ได้รับรู้และเข้าใจนโยบายที่รัฐบาลจะทำ” และพึงพอใจคำอภิปรายของยิ่งลักษณ์เหนือใคร ๆ ในบรรดาฝ่ายรัฐบาลที่เหลือ
ในสายตาผมเฉลิม อยู่บำรุงเป็นผู้อภิปรายที่ใช้เวลาสิ้นเปลืองที่สุด มีแต่น้ำมีแต่สร้อยภาษาอังกฤษตลก ๆ บางครั้งก็ลากเอาสภาไปกับก้อนน้ำแข็งเช่นลุกขึ้นบอกว่าการถมทะเลที่แท้จริงตั้งใจถมที่บางขุนเทียนแถวบ้านผม เอาเฉพาะที่ถูกน้ำกัดเซาะ ส่วนปลอดประสพในฐานะรัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ก็ลุกขึ้นตอบแบบคนละเรื่องกับที่รองนายกฯเฉลิมตอบ เพราะนำเสนอว่าจะศึกษาป้องกันน้ำท่วม แล้วอาจจะศึกษาลึกลงไปสุดแนวสันดอน เป็น 10 ก.ม.จากชายฝั่ง ที่สำคัญรัฐมนตรีทั้งสองคนนอกจากตอบในสภาคนเรื่องเดียวกันแล้วยังไม่เหมือนกับในคลิปทักษิณโฟนอินมาที่ประชุมพรรคอีกต่างหาก แต่ผู้ตอบโพลกลับพึงพอใจลำดับรองลงมาจากยิ่งลักษณ์
ประชากรผู้ตอบแบบสอบถามคงไม่ได้นั่งดูจอจ่อเหมือนนักข่าวที่ต้องติดตามปรากฏการณ์ เปิดทีวีแว้บ ๆ ไปโน่นมานี่บังเอิญผ่านหยุดดูสักที เสร็จแล้วตอบแบบสอบถามในภาพรวมประหนึ่งว่ารับรู้ถ่องแท้ เรื่องนี้ไปโทษชาวบ้านก็ไม่ได้เพราะพฤติกรรมคนทำมาหากินใครจะบ้ามานั่งเฝ้าหน้าจอหรือนั่งฟังคนพูดเรื่องยาก ๆ ตลอด 2 วัน ก็ต้องโทษคนออกแบบสอบถามนั่นแหละ
แต่จะอย่างไรก็แล้วแต่...ผลการสำรวจของสวนดุสิตโพลในครั้งนี้นอกจากยืนยันว่าการเมืองเป็นเรื่องของ Perception แล้วยังเป็นเรื่องของพวกใครพวกมันไม่แยแสหลักการเหตุผลใด ๆ ประชาชนไทยจำนวนไม่น้อยยังสนับสนุนการเมืองในแบบเด็กเทคนิคตีกัน คือตัวเองใส่เสื้อสีนี้แล้วยังไงก็ต้องเชียร์ต้องหนุน ใครถามอะไรมาก็ตอบให้ดี ๆ เท่ ๆ เอาไว้ก่อน ส่วนที่เกลียดก็ตอบคำถามแบบใช้ไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว
ถ้ายึดตามสัดส่วนของโพลที่ว่าคนส่วนใหญ่ประมาณ 62 % บอกว่าพอใจการแถลงมีความชัดเจนในรายละเอียดของนโยบาย /เข้าใจนโยบายมากขึ้น/ รู้ถึงแนวทางการทำงานของรัฐบาล ต่อให้พระอินทร์เหาะลงมาเขียว ๆ มายืนเล็คเชอร์ว่า รัฐบาลใช้ลูกเล่นของถ้อยคำ เลี่ยงบาลีจากค่าแรงขั้นต่ำ เป็นรายได้รวมไม่น้อยกว่า มีการยอมรับว่าสิ่งที่หาเสียงไปไม่ทำจริงหลายเรื่องเช่น นครปัตตานีและถมทะเล ฯลฯพวกเขาก็คงไม่เชื่อหรอก ถึงเชื่อก็ก็ยังตอบคำถามโพลด้วยคำตอบเดิม
คนส่วนใหญ่ในเมืองไทยเวลานี้ทุกเรื่องเป็นเรื่องเล็กหมด จะโกหก จะหลอกลวง จะเลี่ยงบาลี จะตอบคำถามยังไงขออย่างเดียวให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ เพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็พอ
ความจริงของสังคมการเมืองไทยจึงสะท้อนออกมาผ่านสวนดุสิตโพลในครั้งนี้- !!
2-/ลึกลงในนโยบายแก้รัฐธรรมนูญ สำหรับผมนี่เป็นวาระเร่งด่วนที่ซ่อนยุทธวิธีทางการเมืองเอาไว้อย่างแยบยล
รัฐบาลยิ่งลักษณ์โชคดีที่มีฐานเสียงจงรักภักดีเหนียวแน่น ไม่ดีเบตเขาก็ไม่ว่า ก้มหน้าอ่านสคริปต์คนยังปรบมือยินดี อ่านแถลงนโยบาย 2 ชั่วโมงชาวบ้านฟังไม่ฟังไม่รู้แต่ก็ตอบแบบสอบถามว่าชัดเจนดีให้คะแนนบวกสุด ๆ ซึ่งหากไปอยู่ประเทศอื่นคงต้องแพ้ไปตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยซ้ำอย่าว่าแต่แถลงนโยบายแบบสัญญาไม่เป็นสัญญาเลย
อาการแสดงออกแบบหนุนสุดลิ่มไม่สนหลักการเหตุผลใด ๆ ที่มีอยู่จริงจะยังยืนยาวต่อเนื่องได้หากว่ามีเทคนิคการบริหารจัดการ หล่อเลี้ยงกระแสม็อบให้ดี หากกุนซือทักษิณ-ยิ่งลักษณ์เลือกจะใช้สนามแก้รัฐธรรมนูญมาหล่อเลี้ยงขบวนแดง และใช้แก้ปัญหาแดงบางกลุ่มที่รัฐบาลไม่สามารถจะคบค้าอย่างเปิดเผยได้ เช่นแดงไม่เอา ม.112 ให้ไปกดดันผ่านสสร.เอาเอง เมื่อผนวกรวม ๆ กับการเกาะกันเป็นเครือข่ายแม้จะไม่แข็งแกร่งเหมือนเดิมแต่ก็มากพอจะลากผลการลงประชามติรับรองร่างรัฐธรรมนูญใหม่ไปทางไหนก็ได้
นโยบายเร่งด่วนข้อนี้แท้ที่จริงไม่มีเรื่องอื่นเจือปนหรอกนอกเหนือจากเร่งแก้รัฐธรรมนูญตามที่ตัวต้องการ
ผมคนหนึ่งล่ะที่ไม่เชื่อรัฐบาลในการแถลงนโยบายเร่งด่วนข้อ 1.16 ที่อ้างว่า “เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” เพื่อนำมาสู่การร่างรัฐธรรมนูญใหม่
จริงอยู่ที่การปฏิรูปการเมืองครั้งแรกที่นำมาสู่รัฐธรรมนูญธงเขียวปี 2540 เป็นการปฏิรูปผ่านการแก้รัฐธรรมนูญโดยอาศัยกระบวนการ สสร.ชุดที่ 1+กระบวนทางรณรงค์ธงเขียวทางสังคม แต่การปฏิรูปการเมือง(ถ้ามีจริง) ในปี 2555 นั้นยากจะสำเร็จโดยอาศัยกระบวนการแบบเดิมเพราะสังคมไทยถูกเขย่าเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วง 5-6 ปีมานี้
การปฏิรูปการเมืองที่จะเกิดต่อไปจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางสังคมที่กว้างขวางและซับซ้อนกว่าการตั้ง สสร.มาแก้รัฐธรรมนูญ ดังนั้น “การปฏิรูปการเมือง” จึงเป็นแค่ข้ออ้างให้ “การแก้รัฐธรรมนูญ” เดินหน้าได้เท่านั้น
การปฏิรูปการเมืองที่ผมเข้าใจถ้ามันมีจริง จะยกระดับความเป็นประชาธิปไตย ตอกเสาเข็มหลักการสำคัญ ๆ ของระบอบดังกล่าวเกิดขึ้นได้จริงในสังคมอย่างหนักแน่นและกว้างขวาง
ถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีเจตนารมณ์จะปฏิรูปการเมืองแก้ปัญหาประชาธิปไตยไทยจริงแล้วไซร้ เหตุใดรัฐบาลยังปล่อยให้ถ่อยบางกลุ่มไปชุมนุมหน้ารัฐสภา ใครแสดงออกอะไรไม่ได้พ่อก็ยกพวกไปล็อกคอไล่ทุบเขา นายชวน หลีกภัยนั่งรถออกจากประชุมก็ไปปิดทางไล่ทุบรถเขา ฯลฯ หลักการพื้นฐานประชาธิปไตยแค่นี้ยังบอกกล่าวกันเองไม่ได้เลย
ผมพยายามจินตนาการว่าหลังจากเราปฏิรูปการเมืองแล้วสังคมประชาธิปไตยบ้านเราคงจะยกระดับขึ้น นอกจากหลักการพื้นฐานอำนาจอธิปไตยมาจากประชาชนอย่างแท้จริง มีการแยกและถ่วงดุลอำนาจบนหลักนิติรัฐและธรรมาภิบาล กิจกรรมทางการเมืองคงจะยืนบนหลักการและเหตุผลบนฐานประโยชน์ของประชาชนส่วนรวมมากขึ้น
ผมไม่ได้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญดอกนะครับเพราะอย่างไรเสียสักวันมันก็ต้องแก้กันอีกสักครั้งแต่ที่ไม่เห็นด้วยคือการอ้างถึงการปฏิรูปการเมืองที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อนกว่าการแก้รัฐธรรมนูญอีกหลายเท่านัก
ถ้ารัฐบาลยังยืนกรานว่านี่เป็นการปฏิรูปการเมือง ก็สมควรปลูกฝังหลักการประชาธิปไตยพื้นฐาน อาทิการเคารพในสิทธิคนอื่น สิทธิในการแสดงออกในที่สาธารณะว่ามีแค่ไหนอย่างไรมีกรอบอะไรบ้างไม่ใช่พอรวมกลุ่มกันมาก ๆ จากเรียกร้องประชาธิปไตยแปลงกายเป็นอนาธิปไตยไปซะงั้น
ถ้ารัฐบาลอยากปรองดอง แก้ไขไม่แก้แค้น และปฏิรูปการเมืองจริง ต้องเร่งให้ความรู้หลักการประชาธิปไตยพื้นฐานพร้อมกันไปด้วย
จะมีรัฐธรรมนูญใหม่ไปทำไม ? ถ้ายังแก้ปัญหาไอ้พวกบ้ารวมกลุ่มกันไล่กระทืบชาวบ้านที่เขาจะมาแสดงออกทางการเมืองไม่ได้ ตลกจริง ๆ นโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการปฏิรูปการเมืองข้อนี้.