เมื่อสัปดาห์ก่อนผมได้มีโอกาสไปชม ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จ พระนเรศวรมหาราช ภาค3 ยุทธนาวี หลังจากฉายภาค 1 ภาค 2 แล้ว ทิ้งช่วงมานาน หลายคนเฝ้ารอ เฝ้าคอยกันมาหลายปี รอจนกระทั่งจำไม่ได้แล้วว่าภาคสองจบลงตรงไหนหรือเนื้อเรื่องเดินไปถึงไหน
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำกับการสร้างโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือท่านมุ้ย ผู้มีบทบาทในวงการหนังไทย ฝีมือการทำหนังของท่านมุ้ยนั้นเป็นที่ยอมรับเชื่อถือ สร้างผลงานเด่นๆมาแล้ว หลายเรื่องในอดีต
ท่านมุ้ยวันนี้ ในวัย 69 (เกิด เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2485) ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้เขียนบท ผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์ นับว่าได้สะสมประสบการณ์มายาวนาน ทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เยาว์ เนื่องจากตามเสด็จบิดาคือ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2481
ท่านมุ้ยหรือ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม เป็นศิษย์เก่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ เอกสาขาธรณีวิทยา แล้วเปลี่ยนทิศหันมาเรียนปริญญาโท สาขาภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ในระหว่างศึกษาชั้นปริญญาตรีทรงฝึกงานเป็นผู้ช่วยในทีมงานของ มีเรียน ซี. คูเปอร์ ซึ่งเคยเป็นผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ช้าง (2470) และ คิงคอง (2476)
เมื่อกลับมาเมืองไทย ทรงเริ่มเขียนบท และกำกับละครโทรทัศน์ เรื่อง "หญิงก็มีหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2501 ถวายท่านบิดา จากนั้นทรงก่อตั้ง บริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ (ตั้งชื่อตามชื่อซอยพร้อมมิตร ที่ตั้งของวังละโว้) มีผลงานกำกับละครโทรทัศน์ "ห้องสีชมพู" (2512) , "เงือกน้อย" (2515) , และ"หมอผี" (2516)
ท่านมุ้ยได้กำกับภาพยนตร์มากว่า 26 เรื่อง ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง "มันมากับความมืด" (พ.ศ. 2514 )และ ทรงได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น พ.ศ. 2516 จากเรื่อง “เขาชื่อกานต์” ซึ่งส่งให้สรพงศ์ ชาตรี เป็นพระเอกยอดนิยม
ผลงานการสร้างภาพยนตร์ของท่านมุ้ย ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ที่แฝงแง่คิดในเรื่องของปัญหาสังคมและบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆ อย่างเรื่อง “เสียดาย” เป็นเรื่องผู้ที่ติดเอดส์โดยไม่รู้ตัว และการเรียกร้องให้โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาโรคเอดส์ในบ้านเราได้อย่างชัดเจน
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2106 – พ.ศ. 2135 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรฯได้ทำยุทธหัตถี หรือประมาณ 419ปีมาแล้ว
ในภาคที่สาม เป็นภาคยุทธนาวี เล่าเรื่องราวในปี พ.ศ. 2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯประกาศเอกราชที่เมืองแครง ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแห่งพม่าเกิดความประหวั่นพรั่นพรึงว่า อยุธยาในฐานะประเทศราชกล้าแข็งข้อต่อพม่า อาจเป็นเหตุให้ประเทศราชอื่นๆ กระด้างกระเดื่องตาม แต่ด้วยติดศึกอังวะ จึงส่งเพียงพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา
แม้ว่าการรบในสมัยพระนเรศวรจะมีการรบทางเรือสำคัญๆหลายครั้ง ในหนังเล่าถึงการตามไล่จับเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ที่เข้ามาสอดแนมส่งข่าวให้พระยาละแวกแห่งเขมร ด้วยเรือพายพระที่นั่งที่ตั้งปืนใหญ่ยิงจากหัวเรือ ดูแล้วก็เป็นเพียงการรบทางเรือครั้งหนึ่ง เป็นช่วงสั้นๆในหนัง ไม่ค่อยจะสมชื่อยุทธนาวี ขณะที่เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการรบทางบกอื่นๆมากกว่าการรบทางเรือ
ท่านมุ้ยและทีมงานทุ่มเททำงานหนักกันมาหลายปี ตั้งใจสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยให้ยิ่งใหญ่ ทุ่มทุนทั้งงบประมาณของภาครัฐและเอกชนหลายร้อยล้าน ผมว่าการจงใจตั้งชื่อเรื่อง ว่าตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ตามคำอธิบายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ตำนาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่ากันสืบมา) และบอกเล่าเรื่องพระนเรศวรออกมาในรูปของภาพยนตร์ ตามมุมมองของท่านมุ้ย แปลว่า ย่อมแตกต่างจากมุมมองของคนอื่นได้
เรื่องราวของเหตุการณ์ และตัวละครที่คนดูอาจสงสัยตั้งคำถามอย่าง มณีจันทร์ ไอ้บุญทิ้ง(พระราชมนู) เลอขิ่น หรือในภาคสาม มีคนไทยรักชาติอย่างไอ้ขาม ก็เป็นการเพิ่มสีสันตามมุมมองของท่านมุ้ย หรือแม้แต่ฉากสาวสวยอย่างรัตนาวดี คนดูหนังจะเห็นดีหรือไม่เห็นดีด้วย ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
ผมว่าการสื่อสารด้วยภาพยนตร์เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากหนังสือประวัติศาสตร์ หรืองานเขียนของนักวิชาการ ในสภาพการณ์ที่คนไทยไม่รู้ประวัติศาสตร์ ไม่สนใจประวัติศาสตร์ ไม่ให้ความสำคัญกับความเป็นมาของบ้านเมือง
นักเรียนอย่างผมแทบไม่รู้อะไรเลย ไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ ได้เรียนเล็กน้อยในวิชาสปช. และสังคมศึกษา ดูหนังอย่างตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯแล้วก็มึนงงกับชื่อ ตำแหน่งและเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ปะติดปะต่อเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้อะไร
คิดในแง่นี้ ผมว่าถ้าหนังได้ทำให้คนดูสงสัย ตั้งคำถาม หาคำตอบ คิดโต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ แล้วถ้าได้จุดประกายให้คนไทยหรือเด็กไทยได้ไปค้นคว้าหาอ่านข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์กันบ้าง ก็ถือว่าเป็นคุณประโยชน์แล้ว
นอกจากการสู้รบของกองทัพต่างๆและราชสำนักแล้ว ในหนังภาคนี้มีฉากชาวบ้านที่อพยพหนีภัยพม่า สื่อให้เห็นความโหดร้ายของสงคราม กองซากศพ เลือดนองแผ่นดิน
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯภาคนี้ ผมว่าท่านมุ้ยพยายามสื่อเรื่องของความรักชาติเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และการรักษาเอกราช ท่ามกลางการต่อสู้มีคนหลายแบบ มีทั้งคนฉวยโอกาส คนกล้าหาญ รวมถึงคนตีสองหน้าเพื่อเอาตัวรอด
ดูๆแล้วก็เหมือนประเทศไทยตอนนี้นะครับ เพราะมีคนที่สู้ปกป้องบ้านเมือง มีทั้งคนรักชาติ เสียสละกล้าหาญ แล้วก็มีคนประเภทขายชาติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และอีกสารพัด
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เคยไร้ซึ่งคนดี และกล้าหาญ ที่ออกมาปกป้องประเทศให้พ้นภัยทั้งจากข้าศึกอริราชศัตรู และทั้งคนชั่วที่มีอำนาจอยู่ในมือ
ในขณะที่เมืองไทยมีหนังมีละครประเภทเป็นพิษ เป็นภัย และไร้สาระมากมาย ผมอยากชวนเชิญให้พ่อแม่พี่น้องๆไปดูหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯกันให้มากๆนะครับ เพื่อช่วยกันสร้างจิตสำนึกรักชาติ และเสียสละเพื่อปกป้องแผ่นดินบ้านเกิด
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กำกับการสร้างโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล หรือท่านมุ้ย ผู้มีบทบาทในวงการหนังไทย ฝีมือการทำหนังของท่านมุ้ยนั้นเป็นที่ยอมรับเชื่อถือ สร้างผลงานเด่นๆมาแล้ว หลายเรื่องในอดีต
ท่านมุ้ยวันนี้ ในวัย 69 (เกิด เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2485) ในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ ผู้เขียนบท ผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์ นับว่าได้สะสมประสบการณ์มายาวนาน ทรงคุ้นเคยกับการสร้างภาพยนตร์ตั้งแต่เยาว์ เนื่องจากตามเสด็จบิดาคือ พระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ผู้บุกเบิกภาพยนตร์ไทย และก่อตั้งบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ซึ่งผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2481
ท่านมุ้ยหรือ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม เป็นศิษย์เก่า โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยมที่เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยยูซีแอลเอ เอกสาขาธรณีวิทยา แล้วเปลี่ยนทิศหันมาเรียนปริญญาโท สาขาภาพยนตร์ เป็นเพื่อนร่วมห้องเรียนกับฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา และโรมัน โปลันสกี้ ในระหว่างศึกษาชั้นปริญญาตรีทรงฝึกงานเป็นผู้ช่วยในทีมงานของ มีเรียน ซี. คูเปอร์ ซึ่งเคยเป็นผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ช้าง (2470) และ คิงคอง (2476)
เมื่อกลับมาเมืองไทย ทรงเริ่มเขียนบท และกำกับละครโทรทัศน์ เรื่อง "หญิงก็มีหัวใจ" ในปี พ.ศ. 2501 ถวายท่านบิดา จากนั้นทรงก่อตั้ง บริษัท พร้อมมิตรภาพยนตร์ (ตั้งชื่อตามชื่อซอยพร้อมมิตร ที่ตั้งของวังละโว้) มีผลงานกำกับละครโทรทัศน์ "ห้องสีชมพู" (2512) , "เงือกน้อย" (2515) , และ"หมอผี" (2516)
ท่านมุ้ยได้กำกับภาพยนตร์มากว่า 26 เรื่อง ที่มีชื่อเสียงมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง "มันมากับความมืด" (พ.ศ. 2514 )และ ทรงได้รับรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ดีเด่น พ.ศ. 2516 จากเรื่อง “เขาชื่อกานต์” ซึ่งส่งให้สรพงศ์ ชาตรี เป็นพระเอกยอดนิยม
ผลงานการสร้างภาพยนตร์ของท่านมุ้ย ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ที่แฝงแง่คิดในเรื่องของปัญหาสังคมและบ้านเมืองในช่วงเวลานั้นๆ อย่างเรื่อง “เสียดาย” เป็นเรื่องผู้ที่ติดเอดส์โดยไม่รู้ตัว และการเรียกร้องให้โรงพยาบาลต้องรับผิดชอบ ชี้ให้เห็นถึงปัญหาโรคเอดส์ในบ้านเราได้อย่างชัดเจน
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวร เป็นภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ ช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง เป็นเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2106 – พ.ศ. 2135 ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศวรฯได้ทำยุทธหัตถี หรือประมาณ 419ปีมาแล้ว
ในภาคที่สาม เป็นภาคยุทธนาวี เล่าเรื่องราวในปี พ.ศ. 2127 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรฯประกาศเอกราชที่เมืองแครง ทำให้พระเจ้านันทบุเรงแห่งพม่าเกิดความประหวั่นพรั่นพรึงว่า อยุธยาในฐานะประเทศราชกล้าแข็งข้อต่อพม่า อาจเป็นเหตุให้ประเทศราชอื่นๆ กระด้างกระเดื่องตาม แต่ด้วยติดศึกอังวะ จึงส่งเพียงพระยาพะสิมและพระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพเข้าประชิดกรุงศรีอยุธยา
แม้ว่าการรบในสมัยพระนเรศวรจะมีการรบทางเรือสำคัญๆหลายครั้ง ในหนังเล่าถึงการตามไล่จับเรือสำเภาของพระยาจีนจันตุ ที่เข้ามาสอดแนมส่งข่าวให้พระยาละแวกแห่งเขมร ด้วยเรือพายพระที่นั่งที่ตั้งปืนใหญ่ยิงจากหัวเรือ ดูแล้วก็เป็นเพียงการรบทางเรือครั้งหนึ่ง เป็นช่วงสั้นๆในหนัง ไม่ค่อยจะสมชื่อยุทธนาวี ขณะที่เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการรบทางบกอื่นๆมากกว่าการรบทางเรือ
ท่านมุ้ยและทีมงานทุ่มเททำงานหนักกันมาหลายปี ตั้งใจสร้างภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ไทยให้ยิ่งใหญ่ ทุ่มทุนทั้งงบประมาณของภาครัฐและเอกชนหลายร้อยล้าน ผมว่าการจงใจตั้งชื่อเรื่อง ว่าตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ตามคำอธิบายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ตำนาน หมายถึง เรื่องราวที่เล่ากันสืบมา) และบอกเล่าเรื่องพระนเรศวรออกมาในรูปของภาพยนตร์ ตามมุมมองของท่านมุ้ย แปลว่า ย่อมแตกต่างจากมุมมองของคนอื่นได้
เรื่องราวของเหตุการณ์ และตัวละครที่คนดูอาจสงสัยตั้งคำถามอย่าง มณีจันทร์ ไอ้บุญทิ้ง(พระราชมนู) เลอขิ่น หรือในภาคสาม มีคนไทยรักชาติอย่างไอ้ขาม ก็เป็นการเพิ่มสีสันตามมุมมองของท่านมุ้ย หรือแม้แต่ฉากสาวสวยอย่างรัตนาวดี คนดูหนังจะเห็นดีหรือไม่เห็นดีด้วย ก็แล้วแต่มุมมองของแต่ละคน
ผมว่าการสื่อสารด้วยภาพยนตร์เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง ที่แตกต่างจากหนังสือประวัติศาสตร์ หรืองานเขียนของนักวิชาการ ในสภาพการณ์ที่คนไทยไม่รู้ประวัติศาสตร์ ไม่สนใจประวัติศาสตร์ ไม่ให้ความสำคัญกับความเป็นมาของบ้านเมือง
นักเรียนอย่างผมแทบไม่รู้อะไรเลย ไม่ได้เรียนวิชาประวัติศาสตร์ ได้เรียนเล็กน้อยในวิชาสปช. และสังคมศึกษา ดูหนังอย่างตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯแล้วก็มึนงงกับชื่อ ตำแหน่งและเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ปะติดปะต่อเรื่องราว ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้อะไร
คิดในแง่นี้ ผมว่าถ้าหนังได้ทำให้คนดูสงสัย ตั้งคำถาม หาคำตอบ คิดโต้แย้ง วิพากษ์วิจารณ์ แล้วถ้าได้จุดประกายให้คนไทยหรือเด็กไทยได้ไปค้นคว้าหาอ่านข้อมูลหลักฐานประวัติศาสตร์กันบ้าง ก็ถือว่าเป็นคุณประโยชน์แล้ว
นอกจากการสู้รบของกองทัพต่างๆและราชสำนักแล้ว ในหนังภาคนี้มีฉากชาวบ้านที่อพยพหนีภัยพม่า สื่อให้เห็นความโหดร้ายของสงคราม กองซากศพ เลือดนองแผ่นดิน
ภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯภาคนี้ ผมว่าท่านมุ้ยพยายามสื่อเรื่องของความรักชาติเป็นเรื่องหลัก เป็นเรื่องของการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ และการรักษาเอกราช ท่ามกลางการต่อสู้มีคนหลายแบบ มีทั้งคนฉวยโอกาส คนกล้าหาญ รวมถึงคนตีสองหน้าเพื่อเอาตัวรอด
ดูๆแล้วก็เหมือนประเทศไทยตอนนี้นะครับ เพราะมีคนที่สู้ปกป้องบ้านเมือง มีทั้งคนรักชาติ เสียสละกล้าหาญ แล้วก็มีคนประเภทขายชาติ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว และอีกสารพัด
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่เคยไร้ซึ่งคนดี และกล้าหาญ ที่ออกมาปกป้องประเทศให้พ้นภัยทั้งจากข้าศึกอริราชศัตรู และทั้งคนชั่วที่มีอำนาจอยู่ในมือ
ในขณะที่เมืองไทยมีหนังมีละครประเภทเป็นพิษ เป็นภัย และไร้สาระมากมาย ผมอยากชวนเชิญให้พ่อแม่พี่น้องๆไปดูหนังตำนานสมเด็จพระนเรศวรฯกันให้มากๆนะครับ เพื่อช่วยกันสร้างจิตสำนึกรักชาติ และเสียสละเพื่อปกป้องแผ่นดินบ้านเกิด