ระยะหลังๆ นี้ ผมหันมาดูละครทีวีไทยโดยเลือกซื้อจากที่มีขายในท้องตลาด โดยในครั้งแรกๆ นั้น ซื้อที่ศูนย์การค้าใกล้ๆ บ้าน แผ่นละ 100 บาท เรื่องหนึ่งมี 3 ถึง 4 แผ่น จึงตกประมาณ 300-400 เรื่องต่อหนึ่งชุด
ราคานี้เทียบไม่ได้ถ้าไปคลองถม ที่นั่น 2 แผ่น 100 เดียว 4 แผ่น แค่ 200 เท่านั้น ถูกกันครึ่งเดียว ผมจึงเลือกไปซื้อที่คลองถม เพราะมีให้เลือกมากกว่า ราคาถูกกว่า และยังเปลี่ยนได้ด้วย
ละครทีวีเหล่านี้ ส่วนใหญ่ผมไม่เคยรู้จัก เพราะผมไม่อยู่ในไทยเสียนาน ที่รู้จักผมก็เคยดูในขณะที่ยังเด็กอยู่ จำไม่ได้แล้ว
ละครที่มีคุณภาพมีน้อย แต่คุณภาพดีมาก บางเรื่องแม้จะน้ำไม่ดี แต่การนำเสนอกลับมีคุณภาพที่เหมาะมาก เทคนิคมีคุณภาพเทียบกับของต่างประเทศบางประเทศเลยก็ว่าได้ เช่น บ้านทรายทอง ขึ้นต้นเรื่องก็ใช้ฉากนักร้องหมู่ของนักเรียนหญิง หรือ quoirs ร้อง โอลด์แวงซายด์ ได้ไพเราะมากในโบสถ์ฝรั่ง หลังจากนั้นจึงเดินเรื่องต่อไป ภาพก็ชัดเจนดีทั้งหมดมี 5 แผ่น ความยาวหลายชั่วโมง
ที่ผมดูอยู่ชื่อ “ฟ้ากับตะวัน” สร้างในวาระเฉลิมฉลอง ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นมีพอลล่า เทย์เลอร์ แสดงเป็นนางเอก ไม่ใช่ละครน้ำเน่า ใช้ฉากในเมืองประวัติศาสตร์ฮิโรชิมา แย่ที่ตัวอิจฉาเท่านั้นที่เน่าสนิท นอกจากนั้นก็ดีครับ
ละครทีวีไทยนั้นมีข้อบกพร่องที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งเป็นข้อด้อยที่สุด และซ้ำๆ กัน คือไคลแมกซ์ เป็นตอนจบของเรื่อง
ทุกเรื่องจบง่าย และสั้นเกินไป
มักจะลงเอยแบบสุกเอาเผากิน พอสมหวังกันทุกฝ่ายแล้วก็จบเลย ไม่ได้สานต่อเหมือนกับว่ากว่าจะลงเอยก็ฟันฝ่าอุปสรรคมาทั้งเรื่อง โดนกดขี่ทุกรูปแบบ แต่พอจะลงตัวก็มีเหตุให้ลงตัวแบบฟลุคบ้าง ทำให้มันง่าย คนดูรับความสุขแบบสุกเอาเผากิน ไม่อิ่มในรสละครแม้แต่น้อย
จุดอ่อนแบบนี้ผมไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร และอธิบายด้วยตรรกะแบบไหนไม่ได้ ทั้งๆ ที่ต้นทุนที่จะยึดเรื่องไปอีกฉากหนึ่งหรือสองฉากให้งดงามก็ไม่ได้เพิ่มมากมายแค่ไหนเลย
จุดอ่อนอีกจุดก็คือฉากของตัวร้ายตัวอิจฉานั้น เหมือนๆ กันไปหมด คือไม่ว่าตัวพระ ตัวนาง จะไปที่ไหน ก็มักมีเหตุให้ต้องพบตัวร้ายอยู่เรื่อยๆ
และตามสูตร พวกคนใช้พลอยพยัก ก็จะต้องมี 2 พวกคือฝ่ายดีและเลว พวกนี้เพิ่มมีสีสันให้ละครพอควร
ละครพีเรียดไทย มักมีพระเอกหรือนางเอกมียศถาบรรดาศักดิ์ ไม่งั้นไม่สนุก
แม่หรือพ่อต้องเป็นหม่อมเจ้า, คุณหญิง, นางเอก, พระเอก ก็หม่อมราชวงศ์ พระเอก นางเอกต้องสามัญชน ไม่ก็ยาจกยากจน ซึ่งมิได้ทัดเทียม ถูกกีดกันจากครอบครัวของบรรดาแม่ผัวด้วยกัน กว่าจะพิสูจน์ตัวเองก็ต้องใกล้จะจบ
ครับ ละครแบบนี้ผมเรียกว่า เป็นละครที่ใช้สูตรสำเร็จมาจากนวนิยาย หรือเขียนเองก็ใช้ต้นแบบจากนวนิยายตลาดๆ เป็นพื้นเท่านั้น
ละครคลาสสิค เช่น ปริศนาก็ยังดูดี หรือละครเน่าสนิท อย่าง “ดาวพระศุกร์” ไม่สนุกเท่าอ่านจากหนังสือ
ละครอื่นๆ สร้างดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับฝีมือของนักแสดงเป็นส่วนสำคัญ และสำคัญที่สุดคือผู้กำกับครับ
เหตุผลที่ผมมาดูละครไทย ก็เพราะผมเบื่อดู series หนังฝรั่ง เพราะเริ่มเห็นว่ามีความซ้ำซากเหมือนกัน
ที่บ้านผมเก็บ series ฝรั่งไว้ประมาณ 300 กว่าเรื่อง ละครไทยร่วม 100 แล้ว
ส่วนหนังทั่วๆ ไป มีอยู่ 9,000 กว่าเรื่อง จนไม่รู้จะเก็บอย่างไร ต้องเก็บ CD เพลงนับหมื่นๆ แผ่นลงกล่องเสียที
ส่วนเครื่องเล่นบลูเรย์ ก็จำต้องเอามาไว้ที่ทำงานไว้ดูหลังเขียนหนังสือเสร็จ เป็นการพักผ่อน
เหตุที่ผมสะสมภาพยนตร์ไว้เยอะ ไม่ใช่ผมคนเดียว แต่ลูกๆ เก็บด้วย ลูกผมดูภาพยนตร์ไทยแบบชาตินิยม และผมมักไม่ค่อยได้ดู ยกเว้นบางเรื่องเท่านั้น
และที่มีมากก็เพราะผมแปลงจากวิดีโอเทปกว่า 3,000 ม้วนเป็น DVD ส่วนมาก 1,000 กว่าม้วน เป็นกีฬาเช่น รักบี้ และมวย และโอลิมปิคครับ
ผมน่าใช้เงินไปนับแสนสะสมของเหล่านี้
คิดว่าตายไป ลูกหลานคงดูหนังและส่งต่อเพราะหนังหลายเรื่องเดี๋ยวนี้หายาก และเข้าขั้นคลาสสิกไปแล้ว
ราคานี้เทียบไม่ได้ถ้าไปคลองถม ที่นั่น 2 แผ่น 100 เดียว 4 แผ่น แค่ 200 เท่านั้น ถูกกันครึ่งเดียว ผมจึงเลือกไปซื้อที่คลองถม เพราะมีให้เลือกมากกว่า ราคาถูกกว่า และยังเปลี่ยนได้ด้วย
ละครทีวีเหล่านี้ ส่วนใหญ่ผมไม่เคยรู้จัก เพราะผมไม่อยู่ในไทยเสียนาน ที่รู้จักผมก็เคยดูในขณะที่ยังเด็กอยู่ จำไม่ได้แล้ว
ละครที่มีคุณภาพมีน้อย แต่คุณภาพดีมาก บางเรื่องแม้จะน้ำไม่ดี แต่การนำเสนอกลับมีคุณภาพที่เหมาะมาก เทคนิคมีคุณภาพเทียบกับของต่างประเทศบางประเทศเลยก็ว่าได้ เช่น บ้านทรายทอง ขึ้นต้นเรื่องก็ใช้ฉากนักร้องหมู่ของนักเรียนหญิง หรือ quoirs ร้อง โอลด์แวงซายด์ ได้ไพเราะมากในโบสถ์ฝรั่ง หลังจากนั้นจึงเดินเรื่องต่อไป ภาพก็ชัดเจนดีทั้งหมดมี 5 แผ่น ความยาวหลายชั่วโมง
ที่ผมดูอยู่ชื่อ “ฟ้ากับตะวัน” สร้างในวาระเฉลิมฉลอง ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นมีพอลล่า เทย์เลอร์ แสดงเป็นนางเอก ไม่ใช่ละครน้ำเน่า ใช้ฉากในเมืองประวัติศาสตร์ฮิโรชิมา แย่ที่ตัวอิจฉาเท่านั้นที่เน่าสนิท นอกจากนั้นก็ดีครับ
ละครทีวีไทยนั้นมีข้อบกพร่องที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งเป็นข้อด้อยที่สุด และซ้ำๆ กัน คือไคลแมกซ์ เป็นตอนจบของเรื่อง
ทุกเรื่องจบง่าย และสั้นเกินไป
มักจะลงเอยแบบสุกเอาเผากิน พอสมหวังกันทุกฝ่ายแล้วก็จบเลย ไม่ได้สานต่อเหมือนกับว่ากว่าจะลงเอยก็ฟันฝ่าอุปสรรคมาทั้งเรื่อง โดนกดขี่ทุกรูปแบบ แต่พอจะลงตัวก็มีเหตุให้ลงตัวแบบฟลุคบ้าง ทำให้มันง่าย คนดูรับความสุขแบบสุกเอาเผากิน ไม่อิ่มในรสละครแม้แต่น้อย
จุดอ่อนแบบนี้ผมไม่เข้าใจว่าเกิดจากอะไร และอธิบายด้วยตรรกะแบบไหนไม่ได้ ทั้งๆ ที่ต้นทุนที่จะยึดเรื่องไปอีกฉากหนึ่งหรือสองฉากให้งดงามก็ไม่ได้เพิ่มมากมายแค่ไหนเลย
จุดอ่อนอีกจุดก็คือฉากของตัวร้ายตัวอิจฉานั้น เหมือนๆ กันไปหมด คือไม่ว่าตัวพระ ตัวนาง จะไปที่ไหน ก็มักมีเหตุให้ต้องพบตัวร้ายอยู่เรื่อยๆ
และตามสูตร พวกคนใช้พลอยพยัก ก็จะต้องมี 2 พวกคือฝ่ายดีและเลว พวกนี้เพิ่มมีสีสันให้ละครพอควร
ละครพีเรียดไทย มักมีพระเอกหรือนางเอกมียศถาบรรดาศักดิ์ ไม่งั้นไม่สนุก
แม่หรือพ่อต้องเป็นหม่อมเจ้า, คุณหญิง, นางเอก, พระเอก ก็หม่อมราชวงศ์ พระเอก นางเอกต้องสามัญชน ไม่ก็ยาจกยากจน ซึ่งมิได้ทัดเทียม ถูกกีดกันจากครอบครัวของบรรดาแม่ผัวด้วยกัน กว่าจะพิสูจน์ตัวเองก็ต้องใกล้จะจบ
ครับ ละครแบบนี้ผมเรียกว่า เป็นละครที่ใช้สูตรสำเร็จมาจากนวนิยาย หรือเขียนเองก็ใช้ต้นแบบจากนวนิยายตลาดๆ เป็นพื้นเท่านั้น
ละครคลาสสิค เช่น ปริศนาก็ยังดูดี หรือละครเน่าสนิท อย่าง “ดาวพระศุกร์” ไม่สนุกเท่าอ่านจากหนังสือ
ละครอื่นๆ สร้างดีอย่างไร ขึ้นอยู่กับฝีมือของนักแสดงเป็นส่วนสำคัญ และสำคัญที่สุดคือผู้กำกับครับ
เหตุผลที่ผมมาดูละครไทย ก็เพราะผมเบื่อดู series หนังฝรั่ง เพราะเริ่มเห็นว่ามีความซ้ำซากเหมือนกัน
ที่บ้านผมเก็บ series ฝรั่งไว้ประมาณ 300 กว่าเรื่อง ละครไทยร่วม 100 แล้ว
ส่วนหนังทั่วๆ ไป มีอยู่ 9,000 กว่าเรื่อง จนไม่รู้จะเก็บอย่างไร ต้องเก็บ CD เพลงนับหมื่นๆ แผ่นลงกล่องเสียที
ส่วนเครื่องเล่นบลูเรย์ ก็จำต้องเอามาไว้ที่ทำงานไว้ดูหลังเขียนหนังสือเสร็จ เป็นการพักผ่อน
เหตุที่ผมสะสมภาพยนตร์ไว้เยอะ ไม่ใช่ผมคนเดียว แต่ลูกๆ เก็บด้วย ลูกผมดูภาพยนตร์ไทยแบบชาตินิยม และผมมักไม่ค่อยได้ดู ยกเว้นบางเรื่องเท่านั้น
และที่มีมากก็เพราะผมแปลงจากวิดีโอเทปกว่า 3,000 ม้วนเป็น DVD ส่วนมาก 1,000 กว่าม้วน เป็นกีฬาเช่น รักบี้ และมวย และโอลิมปิคครับ
ผมน่าใช้เงินไปนับแสนสะสมของเหล่านี้
คิดว่าตายไป ลูกหลานคงดูหนังและส่งต่อเพราะหนังหลายเรื่องเดี๋ยวนี้หายาก และเข้าขั้นคลาสสิกไปแล้ว