ใจหนึ่งก็อดเห็นใจและก็สงสารที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ท่านต้องเสียใจถึงกับบีบน้ำตาในการแถลงข่าวเกี่ยวกับการที่ท่านอดได้ตำแหน่ง ผบ.ตำรวจ ซึ่งท่านอ้างว่า ท่านนั้นมีอาวุโสสูงกว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
แต่ท่านหารู้ไม่ว่า การพิจารณาให้ใครได้รับตำแหน่งนี้ มันใช่ว่าจะดูกันในเรื่องอาวุโสเพียงอย่างเดียว มีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในดุลพินิจของคนที่เขาจะแต่งตั้งด้วย
แค่เขาตอบว่า “เพื่อความเหมาะสม”
ประโยคเดียว แม้ฟังแล้วดูคลุมเครือ และเกือบจะไม่ได้อธิบายอะไรเลย หรือตีความได้ในนัยยะที่กว้างมาก
แต่ประโยคแบบนี้ก็เคยถูกนำมาอ้างมาใช้กันบ่อยมาก ไม่ใช่ว่านี่เป็นครั้งแรก
ทว่าครั้งนี้ ไม่ได้ใช้ก็แล้วกัน
คุณเพรียวพันธ์ แกบอกว่าเคยรั้งตำแหน่งรักษาราชการแทน พ.ต.อ.พัชรวาท มาแล้วถึง 22 ครั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเหตุผลว่าแกจะมีสิทธิขึ้นมาแทน พล.ต.อ.พัชรวาทแต่ประการใด
ตามความเข้าใจของผมนั้น ก่อนที่จะแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียรนั้น เขาก็คงพิจารณาคุณสมบัติของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์อยู่บ้างแหละน่า และนายกรัฐมนตรีก็คงจะมีเหตุผลอยู่ว่าทำไมจึงไม่ได้เลือกนายตำรวจคนนี้มาเป็นผบ.ตำรวจ แต่เหตุผลนี้จะไปเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับการที่ท่านเกี่ยวดองกับอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น ตามความเห็นผมว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวกัน
ทุกเรื่องเวลานี้ รวมทั้งขี้เยี่ยวไม่ออกก็จะไปลงที่ทักษิณหมด
มันก็ไม่ถูก
ดังนั้น กรณี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่ใช่เรื่องของการพิจารณาข้ามหัวข้ามหู และก็ไม่น่าเป็นเรื่องอาวุโส เพราะเคยมีมาแล้วว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ก็เคยข้ามหัวใครต่อใครมาเช่นกัน
มันจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
“ผมเคยชอกช้ำมาแล้ว 2 ครั้ง”
“คราวนี้สุดทนจริง
“รังแกกันจนเกินไปแล้วครับ”
“ผมไม่ได้สู้กับตำรวจ แต่สู้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง”
ประโยคทั้งหมดมาจากเสียงสั่นเครือของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ คนที่น่าสงสารคนนี้
“แต่จะมีใครล่ะ ที่สงสารและเห็นใจเขาบ้าง”
ขณะที่ทักษิณเป็นใหญ่ เขาก็บอกว่าตัวเขานั้นไม่ได้ใหญ่หรือได้ดีไปด้วย และเขากล่าวว่า เขาไม่เคยฝักใฝ่กับพรรคการเมือง
พูดสั้นๆ เขาไม่เล่นการเมือง
มีแต่ถูกการเมืองเล่นอยู่ข้างเดียว
นายกรัฐมนตรีนั้น พอรู้ว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะฟ้องก็กล่าวว่ามันเป็นเรื่องปกติของคนที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
ซึ่งผมก็ว่าเรื่องการตั้งคนนี้เป็นสิทธิ์
หาใช่ว่าจะดูเรื่องความเป็นธรรมไม่
นายกฯ เองมาใช้คำว่า “เพื่อความเหมาะสม” เอาในตอนที่รู้ว่าอาจโดนฟ้องนี้เอง
โดยสำทับว่า “ความเหมาะสม” ที่ท่านหมายถึงนั้นก็เกี่ยวโยงกันกับ “สถานการณ์ปัจจุบัน”
หนึ่งในเรื่องที่ว่านี้ ก็คือคดีลอบสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไงล่ะครับ
คุณว่ามันจะตลกหรือไม่ถ้า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นใหญ่ในตำรวจแล้วให้มาดูคดีคุณสนธิ
มันพิลึกนะ
เรื่องนี้ว่ากันตามเนื้อผ้า จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต มันเป็นเรื่องการโวยวาย
เป็นเรื่องของคนผิดหวัง และทำใจไม่ได้มากกว่า
เสียงจากทั่วไปเขาก็ดูจะรับได้กับ ผบ.ตำรวจคนใหม่ และก็เห็นว่านายกรัฐมนตรีก็เลือกคนได้ถูกแล้ว พล.ต.อ.วิเชียรก็ติดยศ พล.ต.อ.มาตั้งแต่ปี 2545 โน่น อาวุโสก็สูงสุด แถมยังเป็นที่รู้ๆ ว่ามีความเป็นกลาง
นี่แหละคือ “ความเหมาะสม”
เหมาะสมกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ก็แล้วกัน
การโวยวายครั้งนี้ จึงเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” มากกว่าจะให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม
คิดอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้คุณวิเชียร เดินหน้าทำงานรีบสะสางคดีคุณสนธิ เสียโดยเร็ว
แต่ท่านหารู้ไม่ว่า การพิจารณาให้ใครได้รับตำแหน่งนี้ มันใช่ว่าจะดูกันในเรื่องอาวุโสเพียงอย่างเดียว มีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในดุลพินิจของคนที่เขาจะแต่งตั้งด้วย
แค่เขาตอบว่า “เพื่อความเหมาะสม”
ประโยคเดียว แม้ฟังแล้วดูคลุมเครือ และเกือบจะไม่ได้อธิบายอะไรเลย หรือตีความได้ในนัยยะที่กว้างมาก
แต่ประโยคแบบนี้ก็เคยถูกนำมาอ้างมาใช้กันบ่อยมาก ไม่ใช่ว่านี่เป็นครั้งแรก
ทว่าครั้งนี้ ไม่ได้ใช้ก็แล้วกัน
คุณเพรียวพันธ์ แกบอกว่าเคยรั้งตำแหน่งรักษาราชการแทน พ.ต.อ.พัชรวาท มาแล้วถึง 22 ครั้ง แต่ก็ใช่ว่าจะเหตุผลว่าแกจะมีสิทธิขึ้นมาแทน พล.ต.อ.พัชรวาทแต่ประการใด
ตามความเข้าใจของผมนั้น ก่อนที่จะแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียรนั้น เขาก็คงพิจารณาคุณสมบัติของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์อยู่บ้างแหละน่า และนายกรัฐมนตรีก็คงจะมีเหตุผลอยู่ว่าทำไมจึงไม่ได้เลือกนายตำรวจคนนี้มาเป็นผบ.ตำรวจ แต่เหตุผลนี้จะไปเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับการที่ท่านเกี่ยวดองกับอดีตนายกฯ ทักษิณนั้น ตามความเห็นผมว่ามันไม่น่าจะเกี่ยวกัน
ทุกเรื่องเวลานี้ รวมทั้งขี้เยี่ยวไม่ออกก็จะไปลงที่ทักษิณหมด
มันก็ไม่ถูก
ดังนั้น กรณี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่ใช่เรื่องของการพิจารณาข้ามหัวข้ามหู และก็ไม่น่าเป็นเรื่องอาวุโส เพราะเคยมีมาแล้วว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ก็เคยข้ามหัวใครต่อใครมาเช่นกัน
มันจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
“ผมเคยชอกช้ำมาแล้ว 2 ครั้ง”
“คราวนี้สุดทนจริง
“รังแกกันจนเกินไปแล้วครับ”
“ผมไม่ได้สู้กับตำรวจ แต่สู้กับผู้มีอำนาจทางการเมือง”
ประโยคทั้งหมดมาจากเสียงสั่นเครือของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ คนที่น่าสงสารคนนี้
“แต่จะมีใครล่ะ ที่สงสารและเห็นใจเขาบ้าง”
ขณะที่ทักษิณเป็นใหญ่ เขาก็บอกว่าตัวเขานั้นไม่ได้ใหญ่หรือได้ดีไปด้วย และเขากล่าวว่า เขาไม่เคยฝักใฝ่กับพรรคการเมือง
พูดสั้นๆ เขาไม่เล่นการเมือง
มีแต่ถูกการเมืองเล่นอยู่ข้างเดียว
นายกรัฐมนตรีนั้น พอรู้ว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จะฟ้องก็กล่าวว่ามันเป็นเรื่องปกติของคนที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
ซึ่งผมก็ว่าเรื่องการตั้งคนนี้เป็นสิทธิ์
หาใช่ว่าจะดูเรื่องความเป็นธรรมไม่
นายกฯ เองมาใช้คำว่า “เพื่อความเหมาะสม” เอาในตอนที่รู้ว่าอาจโดนฟ้องนี้เอง
โดยสำทับว่า “ความเหมาะสม” ที่ท่านหมายถึงนั้นก็เกี่ยวโยงกันกับ “สถานการณ์ปัจจุบัน”
หนึ่งในเรื่องที่ว่านี้ ก็คือคดีลอบสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุลไงล่ะครับ
คุณว่ามันจะตลกหรือไม่ถ้า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เป็นใหญ่ในตำรวจแล้วให้มาดูคดีคุณสนธิ
มันพิลึกนะ
เรื่องนี้ว่ากันตามเนื้อผ้า จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต มันเป็นเรื่องการโวยวาย
เป็นเรื่องของคนผิดหวัง และทำใจไม่ได้มากกว่า
เสียงจากทั่วไปเขาก็ดูจะรับได้กับ ผบ.ตำรวจคนใหม่ และก็เห็นว่านายกรัฐมนตรีก็เลือกคนได้ถูกแล้ว พล.ต.อ.วิเชียรก็ติดยศ พล.ต.อ.มาตั้งแต่ปี 2545 โน่น อาวุโสก็สูงสุด แถมยังเป็นที่รู้ๆ ว่ามีความเป็นกลาง
นี่แหละคือ “ความเหมาะสม”
เหมาะสมกว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ก็แล้วกัน
การโวยวายครั้งนี้ จึงเป็นเรื่อง “ส่วนตัว” มากกว่าจะให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม
คิดอย่างนี้แล้ว ก็ขอให้คุณวิเชียร เดินหน้าทำงานรีบสะสางคดีคุณสนธิ เสียโดยเร็ว