14 ตุลาฯ 2516 ผ่านพ้นไปอีกปีเป็น 35 ปี แล้วสินะ อดีตทีเต็มไปด้วยริ้วรอยแห่งความอาดูรของผู้เสียสละซึ่งเป็นวีรชนคนกล้า
ผมมองย้อนหลังไปก็พบว่าความหลังยังมีหลายอย่างที่ไม่เคยเปิดเผยและมันคงเป็นความลับหากผมไม่นำมาเล่า จะรอจน 50 ปี ผมคงตายก่อนและมันก็ไม่เป็นความลับหรือเป็นตำนานให้คนเขียนประวัติศาสตร์ได้รับรู้
ก่อน 14 ตุลาคมนั้น บ้านผมอยู่ต้นๆ ในซอยย่านสะพานควาย พวกนักเคลื่อนไหว ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ล้วนรู้จักกันดี พ่อและแม่อยู่ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย
บ้านเราครั้งหนึ่ง จึงเป็นประชุมครั้งใหญ่ เพื่อตัดสินใจกันให้เด็ดขาดว่าจะเอาอย่างไรกับบ้านเมืองภายใต้เผด็จการดี
มีคนมาประชุมประมาณ 70-80 คน นั่งบ้างยืนเต็มห้องรับแขกและเป็นการประชุมที่ไม่มีวาระ
ต่อการเคลื่อนไหวมีคนหนึ่งน่าจะเป็นอาจารย์แล ดิลกวิทยารัฐเสนอว่า เราควรมีอาวุธสู้แบบใต้ดิน อีกรายหนึ่งเป็นนักศึกษาบอกว่าควรจัดตั้งใหญ่ เดินขบวน และน่าจะไปหาเพลงมาร์ชสำหรับเดินขบวน ทำให้อีกคนหนึ่งรายงานว่าสถานทูตรัสเซียน่าจะมีเพลงปลุกใจ
ทางครอบครัวผมเสนอว่าเพื่อนบ้านเราติดต่อประสานงานกับบุคคลสำคัญระดับสูงมากได้ และน่าจะได้ข้อมูลลึกที่สุด
ไม่มีการสรุป แต่ให้แยกกันทำงานครับ
การเดินขบวนมีจริงๆ โดยชุมนุมใหญ่ในธรรมศาสตร์
แต่ไม่รู้ว่าเรื่องเราจะสู้กับเรื่องอาวุธหลุดไปได้อย่างไรไม่ทราบ เพราะวันหนึ่งหลังฝนหายตกได้หมาดๆ ก็มีฝรั่งสูงหุ่นดีหน้าตาก็บอกยี่ห้อว่า คงทำงานหน่วยข่าวกรอง จากสถานทูตมหาอำนาจอเมริกาเดินเข้ามาขอพบผม
แล้วยื่นข้อเสนอ 2 ข้อ ดังนี้ ข้อแรก พร้อมให้อาวุธไม่อั้น เช่น ปืนกล ปืนครก กระสุนเต็มพิกัด ข้อที่สอง พร้อมที่จะล็อบบี้ให้ประเทศตะวันตกไม่ต่ำกว่า 10 กว่าแห่ง นำร่องเพื่อปฏิเสธการรับรองรัฐบาลไทย และไล่ทูตไทยกลับให้หมด
ผมปฏิเสธข้อแรกด้วยเหตุผลว่าเราตกลงจะเดินขบวนและกลัวว่าการใช้อาวุธจะเกสงครามกลางเมือง และประชาชนจะปฏิเสธขบวนการนักศึกษา ส่วนข้อสองถ้าทำได้เราก็ยินดี แต่เราคงต้องชนะก่อน
เขาก็บอกด้วยความเชื่อมั่นว่าพวกนักศึกษาคงไม่แพ้และเขายินดีช่วยทุกทาง ขอให้บอก โดยให้โทรศัพท์ติดต่อซึ่งผมมาทราบว่า เบอร์ที่ให้ไว้กลับเป็นร้านอาหารอิตาเลี่ยนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
พอเริ่มมีการแจกใบปลิว ผมก็นัดกับพวกที่ไปแจกใบปลิวแต่รถผมสตาร์ทไม่ติดอยู่นาน กว่าจะออกจากบ้านไปแถวๆ จุดนัดพบที่สนามหลวง เพื่อนๆ ก็เดินแจกใบปลิวถึงประตูน้ำแล้ว ต่อมาก็โดนจับกันหมด
หลังจากนั้นก็มีการจับกันอีก 13-14 คน จนเกิดการประท้วง
ขณะเดียวกันเวลานั้น ผมไปทำงานร่วมกับอาจารย์ป๋อง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร อยู่ที่ นสพ.รายวันประชาธิปไตย กองบรรณาธิการทะเลาะกับคุณณรงค์ เกตุทัต ยกทีมออกมาหมด
พอชุมนุมในธรรมศาสตร์ บางส่วนก็ไปทำงาน “ข่าวกรอง” ให้กับการชุมนุม อีกส่วนหนึ่ง หาข่าวอยู่รอบนอก ผมอยู่ในประเภทหลัง โดยประสานงานกับเพื่อนบ้านที่รู้จักพวกผู้ใหญ่ระดับสูงสุดทำให้รู้ว่าเรามี “แบ๊ค ดีจริงๆ
หลังชนะแล้ว ทรราชหนีออกไป สถานการณ์ก็ยังมีการประท้วงต่อเนื่อง แม่ค้าหาบเร่ กรรมกรโรงงาน ฯลฯ
จนถึง 6 ตุลาฯ ผมลาออกจากมหาวิทยาลัย เคยคิดจะเข้าป่า โดยลงจากรถไฟลำปาง แต่เข้าไม่ได้เพราะไม่มีเส้นสาย
หลังจากนั้นเพื่อนรุ่นพี่คือพี่แว่นมาบอกที่บ้านว่า ถ้าอยู่ไม่ไหว ก็จะให้มีคนพาไปเข้าป่า ไม่แน่ใจว่าทางอีสานหรือไม่
สถานการณ์ในป่าก็แบบที่ว่า จนวันหนึ่งมีเด็กสาวจากธนาคารกรุงเทพฯ เอาจดหมายของเสกสรรค์ฯ มาให้ เล่าเรื่องว่าข้างในแตกกัน และชวนผมไปพบด้วย แต่ผมก็ไปไม่ได้
ตอนนั้นผมอยู่สายการบิน มีคนออกจากป่ามาพบ ผมก็อนุมัติให้ตั๋วฟรีไปอยู่ยุโรปหลายคนเหมือนกัน
ครั้งหนึ่งผมพบกับพลเอกสายหยุด เกิดผล เป็นเพื่อนสนิทกับพ่อผม ถามผมว่าเสกสรรค์ สบายดีหรืออยู่ในป่านะ เขารู้ว่าเสกฯ กับผมสนิทกัน อย่างไรก็คงติดต่อกันได้ ผมก็บอกว่าคงไม่สบายนักหรอก
พลเอกสายหยุด บอกกับผมว่า “เชื่ออาเถอะ เมืองไทยไม่มีวันเป็นคอมมิวนิสต์ ถ้ามีเสกสรรค์นะ เด็กคนนี้เป็นคนไทย คิดอิสระ เขาลึกซึ้งกว่าพวกคอมมิวนิสต์ แต่ถ้าเขานำพรรคเป็นพรรคคอมมิวนิตส์ไทยละก็ เราก็เป็นคอมมิวนิสต์แบบไทย ซึ่งเสกสรรคงปวดหัว และก็จะเลิกให้เมืองไทยเป็นคอมมิวนิสต์ไปเอง คงเป็นไปได้แค่สังคมนิยมอ่อนๆ
ผมลืมบอกไปว่า เรื่องหาเพลงมาร์ช ที่สถานทูตรัสเซียนั้น ผมกับธัญญา ชุณชฎาธาร และนพพร สุวรรณพานิช ก็ไปกันจริงๆ ครับ แต่กลับได้หนังสือ And Quited Flow The Don กลับมาโดยขาดเล่ม 1 ไป ซึ่งเข้าใจว่าสถานทูตต้องการให้ผมกับไปอีกครั้ง เพลงมาร์ชนั้นไม่ได้
แต่เรามีเพลงมาร์ชนะ ชื่อ “สู้ไม่ถอย” ก็เสกสรรค์ แต่งรวดเดียวจบ แต่งทั้งเนื้อและทำนอง และแต่งแบบทันทีทันควัน แถมยังแต่งเร็วมากด้วย เป็นพรสวรรค์ชัดๆ
ผมมองย้อนหลังไปก็พบว่าความหลังยังมีหลายอย่างที่ไม่เคยเปิดเผยและมันคงเป็นความลับหากผมไม่นำมาเล่า จะรอจน 50 ปี ผมคงตายก่อนและมันก็ไม่เป็นความลับหรือเป็นตำนานให้คนเขียนประวัติศาสตร์ได้รับรู้
ก่อน 14 ตุลาคมนั้น บ้านผมอยู่ต้นๆ ในซอยย่านสะพานควาย พวกนักเคลื่อนไหว ทั้งนักศึกษาและอาจารย์ล้วนรู้จักกันดี พ่อและแม่อยู่ต่างประเทศทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประเทศไทย
บ้านเราครั้งหนึ่ง จึงเป็นประชุมครั้งใหญ่ เพื่อตัดสินใจกันให้เด็ดขาดว่าจะเอาอย่างไรกับบ้านเมืองภายใต้เผด็จการดี
มีคนมาประชุมประมาณ 70-80 คน นั่งบ้างยืนเต็มห้องรับแขกและเป็นการประชุมที่ไม่มีวาระ
ต่อการเคลื่อนไหวมีคนหนึ่งน่าจะเป็นอาจารย์แล ดิลกวิทยารัฐเสนอว่า เราควรมีอาวุธสู้แบบใต้ดิน อีกรายหนึ่งเป็นนักศึกษาบอกว่าควรจัดตั้งใหญ่ เดินขบวน และน่าจะไปหาเพลงมาร์ชสำหรับเดินขบวน ทำให้อีกคนหนึ่งรายงานว่าสถานทูตรัสเซียน่าจะมีเพลงปลุกใจ
ทางครอบครัวผมเสนอว่าเพื่อนบ้านเราติดต่อประสานงานกับบุคคลสำคัญระดับสูงมากได้ และน่าจะได้ข้อมูลลึกที่สุด
ไม่มีการสรุป แต่ให้แยกกันทำงานครับ
การเดินขบวนมีจริงๆ โดยชุมนุมใหญ่ในธรรมศาสตร์
แต่ไม่รู้ว่าเรื่องเราจะสู้กับเรื่องอาวุธหลุดไปได้อย่างไรไม่ทราบ เพราะวันหนึ่งหลังฝนหายตกได้หมาดๆ ก็มีฝรั่งสูงหุ่นดีหน้าตาก็บอกยี่ห้อว่า คงทำงานหน่วยข่าวกรอง จากสถานทูตมหาอำนาจอเมริกาเดินเข้ามาขอพบผม
แล้วยื่นข้อเสนอ 2 ข้อ ดังนี้ ข้อแรก พร้อมให้อาวุธไม่อั้น เช่น ปืนกล ปืนครก กระสุนเต็มพิกัด ข้อที่สอง พร้อมที่จะล็อบบี้ให้ประเทศตะวันตกไม่ต่ำกว่า 10 กว่าแห่ง นำร่องเพื่อปฏิเสธการรับรองรัฐบาลไทย และไล่ทูตไทยกลับให้หมด
ผมปฏิเสธข้อแรกด้วยเหตุผลว่าเราตกลงจะเดินขบวนและกลัวว่าการใช้อาวุธจะเกสงครามกลางเมือง และประชาชนจะปฏิเสธขบวนการนักศึกษา ส่วนข้อสองถ้าทำได้เราก็ยินดี แต่เราคงต้องชนะก่อน
เขาก็บอกด้วยความเชื่อมั่นว่าพวกนักศึกษาคงไม่แพ้และเขายินดีช่วยทุกทาง ขอให้บอก โดยให้โทรศัพท์ติดต่อซึ่งผมมาทราบว่า เบอร์ที่ให้ไว้กลับเป็นร้านอาหารอิตาเลี่ยนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ
พอเริ่มมีการแจกใบปลิว ผมก็นัดกับพวกที่ไปแจกใบปลิวแต่รถผมสตาร์ทไม่ติดอยู่นาน กว่าจะออกจากบ้านไปแถวๆ จุดนัดพบที่สนามหลวง เพื่อนๆ ก็เดินแจกใบปลิวถึงประตูน้ำแล้ว ต่อมาก็โดนจับกันหมด
หลังจากนั้นก็มีการจับกันอีก 13-14 คน จนเกิดการประท้วง
ขณะเดียวกันเวลานั้น ผมไปทำงานร่วมกับอาจารย์ป๋อง พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร อยู่ที่ นสพ.รายวันประชาธิปไตย กองบรรณาธิการทะเลาะกับคุณณรงค์ เกตุทัต ยกทีมออกมาหมด
พอชุมนุมในธรรมศาสตร์ บางส่วนก็ไปทำงาน “ข่าวกรอง” ให้กับการชุมนุม อีกส่วนหนึ่ง หาข่าวอยู่รอบนอก ผมอยู่ในประเภทหลัง โดยประสานงานกับเพื่อนบ้านที่รู้จักพวกผู้ใหญ่ระดับสูงสุดทำให้รู้ว่าเรามี “แบ๊ค ดีจริงๆ
หลังชนะแล้ว ทรราชหนีออกไป สถานการณ์ก็ยังมีการประท้วงต่อเนื่อง แม่ค้าหาบเร่ กรรมกรโรงงาน ฯลฯ
จนถึง 6 ตุลาฯ ผมลาออกจากมหาวิทยาลัย เคยคิดจะเข้าป่า โดยลงจากรถไฟลำปาง แต่เข้าไม่ได้เพราะไม่มีเส้นสาย
หลังจากนั้นเพื่อนรุ่นพี่คือพี่แว่นมาบอกที่บ้านว่า ถ้าอยู่ไม่ไหว ก็จะให้มีคนพาไปเข้าป่า ไม่แน่ใจว่าทางอีสานหรือไม่
สถานการณ์ในป่าก็แบบที่ว่า จนวันหนึ่งมีเด็กสาวจากธนาคารกรุงเทพฯ เอาจดหมายของเสกสรรค์ฯ มาให้ เล่าเรื่องว่าข้างในแตกกัน และชวนผมไปพบด้วย แต่ผมก็ไปไม่ได้
ตอนนั้นผมอยู่สายการบิน มีคนออกจากป่ามาพบ ผมก็อนุมัติให้ตั๋วฟรีไปอยู่ยุโรปหลายคนเหมือนกัน
ครั้งหนึ่งผมพบกับพลเอกสายหยุด เกิดผล เป็นเพื่อนสนิทกับพ่อผม ถามผมว่าเสกสรรค์ สบายดีหรืออยู่ในป่านะ เขารู้ว่าเสกฯ กับผมสนิทกัน อย่างไรก็คงติดต่อกันได้ ผมก็บอกว่าคงไม่สบายนักหรอก
พลเอกสายหยุด บอกกับผมว่า “เชื่ออาเถอะ เมืองไทยไม่มีวันเป็นคอมมิวนิสต์ ถ้ามีเสกสรรค์นะ เด็กคนนี้เป็นคนไทย คิดอิสระ เขาลึกซึ้งกว่าพวกคอมมิวนิสต์ แต่ถ้าเขานำพรรคเป็นพรรคคอมมิวนิตส์ไทยละก็ เราก็เป็นคอมมิวนิสต์แบบไทย ซึ่งเสกสรรคงปวดหัว และก็จะเลิกให้เมืองไทยเป็นคอมมิวนิสต์ไปเอง คงเป็นไปได้แค่สังคมนิยมอ่อนๆ
ผมลืมบอกไปว่า เรื่องหาเพลงมาร์ช ที่สถานทูตรัสเซียนั้น ผมกับธัญญา ชุณชฎาธาร และนพพร สุวรรณพานิช ก็ไปกันจริงๆ ครับ แต่กลับได้หนังสือ And Quited Flow The Don กลับมาโดยขาดเล่ม 1 ไป ซึ่งเข้าใจว่าสถานทูตต้องการให้ผมกับไปอีกครั้ง เพลงมาร์ชนั้นไม่ได้
แต่เรามีเพลงมาร์ชนะ ชื่อ “สู้ไม่ถอย” ก็เสกสรรค์ แต่งรวดเดียวจบ แต่งทั้งเนื้อและทำนอง และแต่งแบบทันทีทันควัน แถมยังแต่งเร็วมากด้วย เป็นพรสวรรค์ชัดๆ