ผมมีอยู่ 2 เรื่องที่เห็นว่าน่าจะอยู่ในความสนใจของคนส่วนใหญ่ขณะนี้ เรื่องแรกคือเรื่องการยุบพรรค 2 พรรค คือพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย ทั้งสองพรรคนี้ทางคณะกรรมการเลือกตั้งถือตามกฎหมายเลือกตั้งตามมาตรา 103 ในวรรค 2 ซึ่งให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาเรื่องยุบพรรคครับ
แต่ก็ยังให้คุณกับนักการเมืองเพราะในมาตรา 98 นั้น กรรมการบริหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดยังสามารถไปหาพรรคอยู่ได้ภายใน 2 หรือ 3 เดือน
เรื่องนี้ทำให้ นสพ.ผู้จัดการกล่าวว่าสถานภาพของพรรคทั้งสองอยู่ในขั้น “ตรีทูต” หรือ ถึงฆาตแน่
ส่วนพรรคพลังประชาชนนั้นมีประเด็นว่าหัวหน้าพรรคเป็น “นอมินี” ของอดีตนายกฯ ทักษิณหรือไม่ แน่นอนครับว่าคำภาษาอังกฤษนี้ไม่มีในศัพท์กฎหมายไทย แต่ใช้คำว่าการ “เป็นตัวแทน” หรือ “ทำแทน” ก็น่าจะได้ซึ่งเท่ากับว่าหัวหน้าพรรค พปช.นั้นเป็นแค่ “หุ่น” หรือเป็นเพียง “เงา” ของอดีตนายกทักษิณเท่านั้น
คุณไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอนุกรรมการสอบสวนกรณีพรรคพลังประชาชนในเรื่องที่ว่านี้ อธิบายว่าการทำหนังสือไปเชิญอดีตนายกฯ มาให้ปากคำก็จะให้ออกหนังสือนำส่งถึงบ้านอดีตนายกฯ ทักษิณ แต่ไม่มีคนมารับ ก็เลยไปติดต่อกับฝ่ายกฎหมายก็ติดต่อไม่ได้ เรื่องนี้จะหารือเป็นการภายในว่าจะทำอย่างไรต่อไป ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า ทางนี้เปิดให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และทำด้วยความโปร่งใสไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังแต่อย่างไรทั้งนั้น
คำว่า “นอมินี” นั้นเป็นเรื่องมีนัยยะในเชิง “พฤติกรรม” เป็นนิตินัยโดยตัวของมัน ดังนั้นก็ต้องดูพฤติกรรมแวดล้อมว่าพรรคนี้ทำอะไรที่ส่อเค้าว่าได้ทำแทน เช่น การเช่าอาคารเก่าของไทยรักไทย โลโก้คล้ายไหม? ผู้สนับสนุนกลุ่มเดิมหรือไม่ ผู้สมัครย้ายจากพรรคไทยรักไทยมาเล่นเป็นส่วนมากหรือเปล่า ฯลฯ
ครับ... นี่คือเรื่องการยุบพรรคที่พอสรุปกันให้ฟังว่าเหตุการณ์เท่าที่เป็นมามันอยู่ในขั้นตอนปัจจุบัน
แน่นอนว่าพรรค 2 พรรค ไม่ว่าชาติไทยหรือมัชฌิมาฯ คงมีการเคลื่อนไหวพอสมควร หลายคนที่ไม่รู้ชะตากรรม ก็คงต้องหวังไปอิงกับพรรคใหม่ ซึ่งไม่หนีไปอยู่กับพรรคพลังประชาชนแต่ก็กลัวว่า หากพรรคพลังประชาชนโดนหวยถูกยุบก็เหมือนผีเร่ร่อนหาหลุมไม่เจอ จำเป็นต้องร่อนหาที่อื่นอีก
ดังนั้น ก็ต้องรอให้สถานการณ์สุกงอมกว่านี้ หลายคนจับกลุ่มกันตามก๊วน ตามลัทธิภาคนิยม บางคนก็สตางค์หรือธนบัตรนิยม สรุปว่าที่ไหนให้เงินมาก็เฮโลไปตามนั้น นี่คือนิสัยแก้ไม่หายอยู่แล้วครับ ของผู้มีเกียรติและไร้เกียรติที่อยู่ในสภาฯ แบบการเมืองที่ยังไม่พัฒนาของประเทศนี้
เรื่องที่สองที่ผมอยากคุยกับท่านผู้อ่านก็เป็นเรื่องที่พูดกันมาก และเป็นเรื่องรัฐบาลหวาดกลัวที่สุด นั่นคือการที่ทางพันธมิตรฯ เขาจะจัดสัมมนาที่ธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้ๆ กันว่างานนี้จะมีนักเรียน, นิสิตนักศึกษา และประชาชนรวมถึงพ่อค้า แม่ค้าและนักธุรกิจ รวมทั้งนักวิชาการจะมาร่วมรับฟัง ถามคำถามกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งและล้นหลามที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ร่วมเอาวิชาการทางปัญญาและการเคลื่อนไหวแบบสันติเข้าด้วยกัน แกนนำก็มีแนวร่วมโดยธรรมชาติมากมายอยู่แล้ว
การที่พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวนี้ยังได้ปรับโครงสร้างด้วย เห็นได้ว่าจากมีการตั้งเครือข่ายเพิ่มอีก และตั้งคณะกรรมการมากที่สุดถึง 6 ชุด แนวร่วมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นให้มากในต่างจังหวัด เพราะดูจากแนวโน้มแล้ว สถานการณ์ภายหน้าจะเกิดวิกฤติจนต้องอาศัยมวลชนให้เคลื่อนไหวพร้อมๆ กันขนาดใหญ่แบบทั่วประเทศ
นอกจากนี้สุริยะใส กล่าวว่า การสัมมนานี้นักวิชาการชั้นนำของประเทศในระดับคณบดีจากจุฬาลงกรณ์, ธรรมศาสตร์, นิด้า, สงขลานครินทร์ ฯลฯ จะมาร่วมและสนับสนุนการสัมมนา
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการจัดตั้งกลุ่มประชาชนขึ้นมาเคลื่อนไหวด้านพันธมิตรฯ นำโดย ส.ส.จากพรรค พปช.
เจตนาก็หวังข่มขู่ แต่ผมมีประเด็น 3-4 ประเด็นดังนี้
ประเด็นแรก กลุ่มนี้มาจากรัฐบาลที่กลัวพันธมิตรจนประสาทกินกะบาลได้ขู่ว่า หากเคลื่อนไหวกันมากอาจเกิดรัฐประหาร พูดอย่างนี้หมายความว่าให้ท้ายทหารใช่หรือไม่ หรือเห็นว่านายสมัครคุมกระทรวงกลาโหมอยู่ เลยคิดว่าคุมกองทัพได้ อย่าลืมว่าสมัยหนึ่งเขาเคยเกี่ยวข้องกับการฆ่าหมู่ในทางธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาฯ โดยการยุยงไม่ทางตรงก็ทางอ้อมผ่านทางวิทยุทหารยานเกราะ เรื่องนี้ต้องฟังดูดีๆ
ประเด็นที่สอง ขัดแย้งกับตรรกะแรก เพราะการที่พลังประชาชนยั่วยุให้ ส.ส.ของพรรคจัดตั้งมวลชนมาประจัญหน้ากับพันธมิตรฯ นั้น นี่มิใช่ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย นำสู่ความรุนแรงอีกหรือ ทั้งๆ ที่รู้ว่าการสัมมนานั้นไม่ใช่การเดินขบวนกัน แต่มันเป็นการปิดล้อมยั่วยุไม่ต่างอะไร ที่กลไกรัฐเคยกระทำกรณี 6 ตุลาคม ปี 2519 ที่กระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านพร้อมทั้งบุคคลระดับสูง 2-3 คน พระสงฆ์ขวาจัดได้ร่วมดูเหตุการณ์การฆ่าหมู่อย่างสะใจ เหมือนเป็นฆาตกรเสียอีก
ประเด็นที่สาม นี่มิใช่ข้ออ้างหาเหตุให้ทหารยึดอำนาจหรือ และพรรคนี้ก็รู้ดีว่ารัฐประหารยึดอำนาจแล้วทหารก็จะวางมือให้ตัวเองเป็นนายกฯ ต่อ อาจปรับ ครม. เอาทหารเข้าร่วมแต่งตั้งวุฒิสมาชิกและตั้งสภาราษฎรใหม่ตามใจชอบ และยังได้กุมอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ภายใต้อุ้งตีนของทหาร
พวกเขาคิดว่าคนไทยไม่รู้เท่ากันสักคนและเขาอาจรู้กันก่อนหน้านี้แล้ว กับอดีตนายกฯ เพื่อหวังว่าจะให้เขากลับมาได้อำนาจอีกครั้งแบบถาวรด้วยกระมังครับ
แต่ก็ยังให้คุณกับนักการเมืองเพราะในมาตรา 98 นั้น กรรมการบริหารที่ไม่เกี่ยวข้องกับความผิดยังสามารถไปหาพรรคอยู่ได้ภายใน 2 หรือ 3 เดือน
เรื่องนี้ทำให้ นสพ.ผู้จัดการกล่าวว่าสถานภาพของพรรคทั้งสองอยู่ในขั้น “ตรีทูต” หรือ ถึงฆาตแน่
ส่วนพรรคพลังประชาชนนั้นมีประเด็นว่าหัวหน้าพรรคเป็น “นอมินี” ของอดีตนายกฯ ทักษิณหรือไม่ แน่นอนครับว่าคำภาษาอังกฤษนี้ไม่มีในศัพท์กฎหมายไทย แต่ใช้คำว่าการ “เป็นตัวแทน” หรือ “ทำแทน” ก็น่าจะได้ซึ่งเท่ากับว่าหัวหน้าพรรค พปช.นั้นเป็นแค่ “หุ่น” หรือเป็นเพียง “เงา” ของอดีตนายกทักษิณเท่านั้น
คุณไพฑูรย์ เนติโพธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานอนุกรรมการสอบสวนกรณีพรรคพลังประชาชนในเรื่องที่ว่านี้ อธิบายว่าการทำหนังสือไปเชิญอดีตนายกฯ มาให้ปากคำก็จะให้ออกหนังสือนำส่งถึงบ้านอดีตนายกฯ ทักษิณ แต่ไม่มีคนมารับ ก็เลยไปติดต่อกับฝ่ายกฎหมายก็ติดต่อไม่ได้ เรื่องนี้จะหารือเป็นการภายในว่าจะทำอย่างไรต่อไป ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้เห็นว่า ทางนี้เปิดให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และทำด้วยความโปร่งใสไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังแต่อย่างไรทั้งนั้น
คำว่า “นอมินี” นั้นเป็นเรื่องมีนัยยะในเชิง “พฤติกรรม” เป็นนิตินัยโดยตัวของมัน ดังนั้นก็ต้องดูพฤติกรรมแวดล้อมว่าพรรคนี้ทำอะไรที่ส่อเค้าว่าได้ทำแทน เช่น การเช่าอาคารเก่าของไทยรักไทย โลโก้คล้ายไหม? ผู้สนับสนุนกลุ่มเดิมหรือไม่ ผู้สมัครย้ายจากพรรคไทยรักไทยมาเล่นเป็นส่วนมากหรือเปล่า ฯลฯ
ครับ... นี่คือเรื่องการยุบพรรคที่พอสรุปกันให้ฟังว่าเหตุการณ์เท่าที่เป็นมามันอยู่ในขั้นตอนปัจจุบัน
แน่นอนว่าพรรค 2 พรรค ไม่ว่าชาติไทยหรือมัชฌิมาฯ คงมีการเคลื่อนไหวพอสมควร หลายคนที่ไม่รู้ชะตากรรม ก็คงต้องหวังไปอิงกับพรรคใหม่ ซึ่งไม่หนีไปอยู่กับพรรคพลังประชาชนแต่ก็กลัวว่า หากพรรคพลังประชาชนโดนหวยถูกยุบก็เหมือนผีเร่ร่อนหาหลุมไม่เจอ จำเป็นต้องร่อนหาที่อื่นอีก
ดังนั้น ก็ต้องรอให้สถานการณ์สุกงอมกว่านี้ หลายคนจับกลุ่มกันตามก๊วน ตามลัทธิภาคนิยม บางคนก็สตางค์หรือธนบัตรนิยม สรุปว่าที่ไหนให้เงินมาก็เฮโลไปตามนั้น นี่คือนิสัยแก้ไม่หายอยู่แล้วครับ ของผู้มีเกียรติและไร้เกียรติที่อยู่ในสภาฯ แบบการเมืองที่ยังไม่พัฒนาของประเทศนี้
เรื่องที่สองที่ผมอยากคุยกับท่านผู้อ่านก็เป็นเรื่องที่พูดกันมาก และเป็นเรื่องรัฐบาลหวาดกลัวที่สุด นั่นคือการที่ทางพันธมิตรฯ เขาจะจัดสัมมนาที่ธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นที่รู้ๆ กันว่างานนี้จะมีนักเรียน, นิสิตนักศึกษา และประชาชนรวมถึงพ่อค้า แม่ค้าและนักธุรกิจ รวมทั้งนักวิชาการจะมาร่วมรับฟัง ถามคำถามกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่งและล้นหลามที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ร่วมเอาวิชาการทางปัญญาและการเคลื่อนไหวแบบสันติเข้าด้วยกัน แกนนำก็มีแนวร่วมโดยธรรมชาติมากมายอยู่แล้ว
การที่พันธมิตรฯ เคลื่อนไหวนี้ยังได้ปรับโครงสร้างด้วย เห็นได้ว่าจากมีการตั้งเครือข่ายเพิ่มอีก และตั้งคณะกรรมการมากที่สุดถึง 6 ชุด แนวร่วมจะขยายตัวเพิ่มขึ้นให้มากในต่างจังหวัด เพราะดูจากแนวโน้มแล้ว สถานการณ์ภายหน้าจะเกิดวิกฤติจนต้องอาศัยมวลชนให้เคลื่อนไหวพร้อมๆ กันขนาดใหญ่แบบทั่วประเทศ
นอกจากนี้สุริยะใส กล่าวว่า การสัมมนานี้นักวิชาการชั้นนำของประเทศในระดับคณบดีจากจุฬาลงกรณ์, ธรรมศาสตร์, นิด้า, สงขลานครินทร์ ฯลฯ จะมาร่วมและสนับสนุนการสัมมนา
เป็นที่น่าสังเกตว่ามีการจัดตั้งกลุ่มประชาชนขึ้นมาเคลื่อนไหวด้านพันธมิตรฯ นำโดย ส.ส.จากพรรค พปช.
เจตนาก็หวังข่มขู่ แต่ผมมีประเด็น 3-4 ประเด็นดังนี้
ประเด็นแรก กลุ่มนี้มาจากรัฐบาลที่กลัวพันธมิตรจนประสาทกินกะบาลได้ขู่ว่า หากเคลื่อนไหวกันมากอาจเกิดรัฐประหาร พูดอย่างนี้หมายความว่าให้ท้ายทหารใช่หรือไม่ หรือเห็นว่านายสมัครคุมกระทรวงกลาโหมอยู่ เลยคิดว่าคุมกองทัพได้ อย่าลืมว่าสมัยหนึ่งเขาเคยเกี่ยวข้องกับการฆ่าหมู่ในทางธรรมศาสตร์เมื่อ 6 ตุลาฯ โดยการยุยงไม่ทางตรงก็ทางอ้อมผ่านทางวิทยุทหารยานเกราะ เรื่องนี้ต้องฟังดูดีๆ
ประเด็นที่สอง ขัดแย้งกับตรรกะแรก เพราะการที่พลังประชาชนยั่วยุให้ ส.ส.ของพรรคจัดตั้งมวลชนมาประจัญหน้ากับพันธมิตรฯ นั้น นี่มิใช่ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย นำสู่ความรุนแรงอีกหรือ ทั้งๆ ที่รู้ว่าการสัมมนานั้นไม่ใช่การเดินขบวนกัน แต่มันเป็นการปิดล้อมยั่วยุไม่ต่างอะไร ที่กลไกรัฐเคยกระทำกรณี 6 ตุลาคม ปี 2519 ที่กระทิงแดงและลูกเสือชาวบ้านพร้อมทั้งบุคคลระดับสูง 2-3 คน พระสงฆ์ขวาจัดได้ร่วมดูเหตุการณ์การฆ่าหมู่อย่างสะใจ เหมือนเป็นฆาตกรเสียอีก
ประเด็นที่สาม นี่มิใช่ข้ออ้างหาเหตุให้ทหารยึดอำนาจหรือ และพรรคนี้ก็รู้ดีว่ารัฐประหารยึดอำนาจแล้วทหารก็จะวางมือให้ตัวเองเป็นนายกฯ ต่อ อาจปรับ ครม. เอาทหารเข้าร่วมแต่งตั้งวุฒิสมาชิกและตั้งสภาราษฎรใหม่ตามใจชอบ และยังได้กุมอำนาจรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ ภายใต้อุ้งตีนของทหาร
พวกเขาคิดว่าคนไทยไม่รู้เท่ากันสักคนและเขาอาจรู้กันก่อนหน้านี้แล้ว กับอดีตนายกฯ เพื่อหวังว่าจะให้เขากลับมาได้อำนาจอีกครั้งแบบถาวรด้วยกระมังครับ