คณะนักโบราณคดีจีนค้นพบภาพจิตรกรรมฝาผนังสภาพดีจากหลุมศพสมัยราชวงศ์ถัง (ปี 618-907) ในเมืองไท่หยวน มณฑลซานซี ทางตอนเหนือของจีน ซึ่งเผยให้เห็นฉากการใช้ชีวิตประจำวันของคนสมัยโบราณ
หลุมศพห้องเดี่ยวที่ทำจากอิฐนี้ถูกขุดพบระหว่างการก่อสร้างถนนในปี 2018 โดยเป็นของชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตเมื่ออายุได้ 63 ปี ในปี 736
ประตู ทางเดิน เพดาน ผนัง และแท่นวางโลงศพทั้งหมดถูกแต่งแต้มสีสันด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ขณะที่ส่วนประตูหลุมศพ ทางเดิน และประตูห้องหลุมศพมีรูปปั้นคู่ตั้งอยู่ทั้งสองด้าน ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นตัวแทนของเทพผู้พิทักษ์
ในบรรดาภาพจิตรกรรมฝาผนังสีสันสดใสเหล่านี้ มีภาพจำนวน 2 ภาพบนผนังคนละด้านที่ดึงดูดความสนใจของคณะนักโบราณคดีเป็นพิเศษ
ภาพแรกเผยฉากการทำงานของผู้คนในหลายอิริยาบถ เช่น ผู้ชายใช้เครื่องมือกะเทาะเปลือกเมล็ดพืช ผู้หญิงทำงานที่โรงโม่หิน ผู้ชายกำลังทำแป้ง และผู้หญิงคนหนึ่งยกน้ำด้วยเครื่องมือสำหรับใช้ยกของหนักแบบจีนโบราณ
ส่วนอีกภาพเป็นผู้หญิงในชุดคลุมหลากสี ผู้ชายจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่ใช่ชาวฮั่นกำลังถือแส้ม้า และรูปม้าและอูฐ
ที่มาข่าว สำนักข่าวซินหัว