xs
xsm
sm
md
lg

(ชมภาพ) อลังการมวลน้ำหลากแห่งแยงซีเกียงไหลสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนใหญ่สุดในโลกโดยราบรื่น

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


เขื่อนยักษ์สามโตรกได้ต้านทานมวลน้ำหลากถึง 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตรระหว่างช่วงใจกลางของฤดูน้ำหลากของปีนี้  ภาพเมื่อเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2563 (ภาพซินหัว)
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา พญามังกรมีลุ้นระทึกหัวใจแทบทะลุอกจากสถานการณ์น้ำท่วมระลอกที่สอง สืบเนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันนับสัปดาห์จนน้ำท่วมทะลักล้นมหานทีแยงซีเกียงซึ่งยาวถึง 6,300 กิโลเมตร

บรรดามณฑลริมฝั่งแยงซีเกียงผจญภัยน้ำท่วมกันอ่วม ประชาชนใน 24 มณฑลทั่วแผ่นดินใหญ่ รวมกว่า 20.27 ล้านคนได้รับความเดือดร้อน มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงสูงถึง 4.91 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.22 แสนล้านบาท)

มณฑลหูเป่ย ซึ่งมีเมืองเอกคืออู่ฮั่นจุดประเดิมการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือ โควิด-19 ก็ประสบเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เจอน้ำท่วมครั้งประวัติการณ์

น้ำหลากที่ถูกระบายจากเขื่อนสามโตรกในมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน มวลน้ำหลากระลอกที่สองของปีนี้ไหลผ่านเขื่อนยักษ์ใหญ่สุดของโลกอย่างราบรื่น ภาพเมื่อเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2563 (ภาพซินหัว)
การต้านทานภัยพิบัติจากน้ำหลากที่เป็นที่จับตาของโลกคือ การระบายน้ำท่วมที่เขื่อนสามโตรก เขื่อนใหญ่ยักษ์ที่มีกำลังผลิตมากสุดในโลก ในอำเภออี๋ชัง มณฑลหูเป่ย

เขื่อนสามโตรกตั้งตระหง่านกลางลำน้ำแยงซี เป็นระบบควบคุมน้ำเอนกประสงค์ ตัวเขื่อนยาว 2.3 กิโลเมตร สูง 185 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความยาวถึง 600 กิโลเมตร มีพื้นที่รับน้ำ กว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตร มีกำลังกักเก็บน้ำ 3.93 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ตอนก่อสร้างโครงการฯนี้จีนต้องอพยพประชาชน ราว 1.3 ล้านคนออกจากพื้นที่

น้ำหลากที่ถูกระบายจากเขื่อนสามโตรกในมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน มวลน้ำหลากระลอกที่สองของปีนี้ไหลผ่านเขื่อนยักษ์ใหญ่สุดของโลกอย่างราบรื่น ภาพเมื่อเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2563 (ภาพซินหัว)
เขื่อนสามโตรกได้ผ่านงานที่ท้าทายสุดอย่างราบรื่นในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มวลน้ำหลากไหลผ่านประตูระบายน้ำเข้าสู่อ่างเก็บน้ำได้ลดลงมาที่ 46,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีในช่วงเช้าของวันอาทิตย์ (19 ก.ค.) เทียบกับช่วงพีคที่สุดที่มีมวลน้ำ 61,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีไหลบ่าสู่อ่างเก็บน้ำในวันก่อนหน้าเป็นเวลานานถึง 18 ชั่วโมง

ระดับน้ำที่อ่างเก็บน้ำสามโตรกเมื่อวันอาทิตย์ มีระดับสูง 164.18 เมตร ซึ่งถือว่าทำสถิติระดับน้ำในฤดูน้ำหลากนับตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างเขื่อนมหึมาหลังนี้


จากข้อมูลของบริษัท China Three Gorges Corporation ระบุว่า ณ เวลา 14.00 น. ขอวันอาทิตย์ที่ 19 ก.ค. เขื่อนยักษ์สามโตรกได้ต้านทานมวลน้ำหลากถึง 14,000 ล้านลูกบาศก์เมตรระหว่างช่วงใจกลางของฤดูน้ำหลากของปีนี้

น้ำหลากที่ถูกระบายจากเขื่อนสามโตรกในมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน มวลน้ำหลากระลอกที่สองของปีนี้ไหลผ่านเขื่อนยักษ์ใหญ่สุดของโลกอย่างราบรื่น ภาพเมื่อเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2563 (ภาพซินหัว)
ทั้งนี้การก่อสร้างเขื่อนสามโตรก (Three Gorges Dam) หรือในชื่อจีนคือ ซันเสียต้าป้า (三峡大坝) เป็นอภิมหาโปรเจ็คบันลือโลก โดยเป็นวิสัยทัศน์ของซุนยัตเซ็น ผู้นำแห่งสาธารณรัฐจีน วางแผนการสร้างเขื่อนนี้มาในปีพ.ศ. 2462 (ค.ศ.1919) โดยมีเป้าหมายป้องกันน้ำท่วมที่ก่อเหตุวิปโยคสุดรันทดในจีนมานับพันปี งานก่อสร้างเขื่อนยักษ์ฝ่าฟันอุปสรรคนานามายาวนานจนเริ่มก่อสร้างได้ ในปี 2537 และเริ่มทำงานอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2551

น้ำหลากที่ถูกระบายจากเขื่อนสามโตรกในมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน มวลน้ำหลากระลอกที่สองของปีนี้ไหลผ่านเขื่อนยักษ์ใหญ่สุดของโลกอย่างราบรื่น ภาพเมื่อเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2563 (ภาพซินหัว)
เครดิตภาพซินหัว เมื่อวันที่ 19 ก.ค. น้ำหลากที่ถูกระบายจากเขื่อนสามโตรกในมณฑลหูเป่ย ตอนกลางของประเทศจีน มวลน้ำหลากระลอกที่สองของปีนี้ไหลผ่านเขื่อนยักษ์ใหญ่สุดของโลกอย่างราบรื่น

ระดับน้ำที่อ่างเก็บน้ำสามโตรกเมื่อวันอาทิตย์ (19 ก.ค.)  มีระดับสูง 164.18 เมตร ทุบสถิติระดับน้ำในฤดูน้ำหลากนับตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างเขื่อนมหึมาหลังนี้เมื่อราว 26 ปีที่แล้ว

การผุดเขื่อนสามโตรก (Three Gorges Dam) เป็นวิสัยทัศน์ของผู้ซุนยัตเซ็นวางแผนการก่อสร้างฯในปีพ.ศ. 2462 โดยมีเป้าหมายป้องกันน้ำท่วมที่ก่อเหตุวิปโยคในแผ่นดินจีนมานับพันปี งานก่อสร้างเริ่มปี 2537  และเริ่มทำงานเมื่อปี 2551


กำลังโหลดความคิดเห็น