ไชน่าเดลี (27 พ.ย.) เผยรายงานสำนักงานสถิติแห่งชาติว่า การใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ยในเซี่ยงไฮ้และปักกิ่งอยู่ที่ 30,000 หยวนในช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้ สูงสุด 2 อันดับแรกใน 31 มณฑล และเขตปกครองตนเองของจีน
รายงานฯ ระบุว่า การใช้จ่ายของครัวเรือนต่อหัวของประชากรในประเทศอยู่ที่ 15,464 หยวนเพิ่มขึ้น 8.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ปรับขยายตัวตามอัตราเงินเฟ้อที่ 5.7% ในจำนวนนี้การใช้จ่ายในภาคบริการขยายตัวร้อยละ 10.2
รายได้โดยเฉลี่ยของเซี่ยงไฮ้นั้นอยู่ในอันดับที่ 1 ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่ 52,292 หยวน รองลงมาคือปักกิ่งที่ 50,541 หยวน
นอกจากนี้รายได้โดยเฉลี่ยในสามมณฑลและหนึ่งเทศบาล - เจ้อเจียง - เจียงซู - กวางตุ้ง - เทียนจิน ทะลุ 30,000 หยวนในช่วงสามไตรมาสแรกของปีนี้
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า รายรับของผู้อยู่อาศัยของชาติอยู่ที่ 22,882 หยวน เพิ่มขึ้น 8.8% เมื่อเทียบเป็นรายปีหรือการขยายตัวที่ปรับอัตราเงินเฟ้อ 6.1%
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของคนจีนในด้านอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบอยู่ที่ 4,310 หยวน คิดเป็นสัดส่วนที่ใหญ่ที่สุดของโครงสร้างการบริโภค ส่วนค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่อันดับสองคือที่อยู่อาศัย อยู่ที่ 3,607 หยวน
การใช้จ่ายรายปีด้านการศึกษาวัฒนธรรมและความบันเทิง เพิ่มขึ้นเร็วที่สุด เพิ่มขึ้น 13.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1,766 หยวนต่อคน
ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการบริโภคยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันอุปสงค์ในประเทศ และการบริโภคขั้นสุดท้ายมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต 60.5% ในช่วงเก้าเดือนแรก
10 อันดับ การใช้จ่ายด้านการบริโภคโดยเฉลี่ยรายปี ในประเทศจีน
อันดับ 1 เซี่ยงไฮ้
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 33,557 หยวน
อันดับ 2 ปักกิ่ง
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 31,542 หยวน
อันดับ 3 เทียนจิน
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 23,751 หยวน
อันดับ 4 เจ้อเจียง
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 23,365 หยวน
อันดับ 5 กวางตุ้ง
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 20,997 หยวน
อันดับ 6 เจียงซู
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 19,393 หยวน
อันดับ 7 ฝูเจี้ยน
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 18,498 หยวน
อันดับ 8 เหลียวหนิง
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 15,886 หยวน
อันดับ 9 หูเป่ย
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 15,626 หยวน
อันดับ10 มองโกเลียใน
ค่าใช้จ่ายการบริโภคเฉลี่ย: 15,150 หยวน