ประเทศจีนเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มาตั้งแต่ยุคโบราณ กระทั่งถึงปัจจุบันในแต่ละภูมิภาคก็ยังคงประกอบด้วยกลุ่มชนหลากหลายเผ่าพันธุ์ นับตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลจีนได้สำรวจและประกาศยืนยันว่า ประเทศจีนมีชนเผ่าต่างๆ อาศัยอยู่รวมกันทั้งสิ้น 56 ชนเผ่า โดยชนเผ่าฮั่น (汉族) เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
ชนเผ่าฮั่นมีจำนวนประชากรมากกว่า 1,200 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 91 ของประชากรทั่วประเทศ ถือเป็นคนส่วนใหญ่หรือกลุ่มชาติพันธุ์หลัก (主体民族) ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรรองลงมาได้แก่ กลุ่มชนเผ่าจ้วง (壮族) ประมาณ 16 ล้านคน, กลุ่มชนเผ่าหุย (回族) ประมาณ 10 ล้านคน, กลุ่มชนเผ่าแมนจู (滿族) ประมาณ 10 ล้านคน และกลุ่มชนเผ่าอุยกูร์ (维吾尔族) ประมาณ 10 ล้านคน
ทั้งนี้คนจีนนิยมเรียกชนเผ่าต่างๆ ข้างต้นว่า ‘ชนกลุ่มน้อย’ (少数民族) จีนมีเขตปกครองตนเองโดยชนกลุ่มน้อยทั้งสิ้น 5 เขต ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากับมณฑล ประกอบด้วย เขตปกครองตนเองกวางสี (ชนเผ่าจ้วง) เขตปกครองตนเองซินเจียง (ชนเผ่าอุยกูร์) เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย (ชนเผ่าหุย) เขตปกครองตนเองทิเบต (ชนเผ่าทิเบต) และเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (ชนเผ่ามองโกเลีย)
ลิงค์ ดาวน์โหลดจดหมายข่าวฉบับเต็ม
https://goo.gl/Kme6Fb
อ่าน จดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา
http://www.อาศรมสยาม-จีนวิทยา.com/