ต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (東漢 ค.ศ. 25-220) ถือเป็นช่วงที่สังคมจีนเต็มไปด้วยความเชื่อที่แตกต่าง ผู้คนส่วนใหญ่ศรัทธาในอำนาจเหนือธรรมชาติ บ้างศรัทธาในเทพเจ้า เชื่อว่าการสักการะบูชาเทพเจ้าด้วยเครื่องเซ่นต่างๆ จะทำให้ชีวิตตนและครอบครัวอยู่ดีมีสุข บ้างศรัทธาในฟ้าดิน เชื่อมั่นว่าฟ้าและดินสามารถประทานพรและลงโทษมนุษย์ได้ ตลอดจนศรัทธาเรื่องภูตผีปีศาจและอำนาจลึกลับ แม้กระทั่งลัทธิหรู (儒家) ในเวลานั้นก็ยังค่อยๆ ผิดเพี้ยนจนคล้ายจะเป็น ‘ไสยศาสตร์หรู’ เข้าไปทุกขณะ ท่ามกลางความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ฟ้าดิน และภูตผีปีศาจ บัณฑิตหนุ่มคนหนึ่งยืนหยัดในความคิดที่แตกต่าง เสนอแนวคิดที่มองทุกสิ่งตามความเป็นจริงและปฏิเสธความเชื่องมงายทั้งปวง บัณฑิตผู้นั้นมีนามว่า หวังชง (王充)
ลิงค์ ดาวน์โหลดจดหมายข่าวฉบับเต็ม
อ่าน จดหมายข่าวอาศรมสยาม-จีนวิทยา