xs
xsm
sm
md
lg

จีนส่งจรวดฯ “คุนเผิง” ช่วยงานวิจัยการท่องเที่ยวอวกาศในอนาคต (ชมคลิป)

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

จรวดหยั่งอวกาศ คุนเผิง-1บี ถูกปล่อยออกจากฐานฯ ในเมืองตันโจว มณฑลไห่หนัน วันที่ 27 เม.ย. 2559 (ภาพ ซินหวา)
ซินหวา - สื่อทางการจีนเผย (27 เม.ย.) คณะนักวิทยาศาสตร์จีนประสบความสำเร็จในการปล่อย “จรวดหยั่งอวกาศ” (sounding rocket) ขึ้นสู่ฟากฟ้าในมณฑลไห่หนัน (ไหหลำ) ทางภาคใต้ของประเทศ

ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติ (National Space Science Center - NSSC) รายงานว่า จรวดหยั่งอวกาศ คุนเผิง-1บี (Kunpeng-1B) ถูกปล่อยออกจากฐานปล่อยจรวดในเมืองตันโจว เมื่อเวลา 2 นาฬิกาของวันนี้

นายอู๋ จี้ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่มีการใช้ระบบควบคุมระดับความสูง (altitude control system) และเส้นใยไฟเบอร์ในโครงร่างภายนอกของจรวดหยั่งอวกาศในประเทศจีน ซึ่งมันช่วยให้เครื่องตรวจจับมีความยืดหยุ่นและน้ำหนักเบามากขึ้น

นอกจากนั้นการติดตามผลการทดลองแบบลูกบอลตก (falling ball experiment) ซึ่งใช้ศึกษาละติจูดต่ำในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเพียร์ (ionosphere) และชั้นบรรยากาศชั้นสูง (upper atmosphere) ก็มีความหมายสำคัญทางวิทยาศาสตร์ โดยการใช้จรวดหยั่งอวกาศเป็นวิธีที่คุ้มค่าและใช้เวลาดำเนินงานระยะสั้น

เอ็นเอสเอสซีระบุว่า ภารกิจหลักของจรวดฯ คือ การวัดบรรยากาศชั้นสูง (upper atmosphere) เพื่อเก็บข้อมูลสนับสนุนการวิจัยด้านการหยั่งอวกาศ การบินด้วยความเร็วสูง และการท่องเที่ยวทางอวกาศ (space tourism) ของจีน
ภายในห้องทำงานของคณะนักวิทยาศาสตร์จีน ที่ดูแลการปล่อยจรวดคุนเผิงฯ (ภาพ ซินหวา)
ขณะเจ้าหน้าที่เตรียมนำจรวดคุนเผิงฯ เข้าสู่ฐานปล่อย วันที่ 26 เม.ย. 2559 (ภาพ ซินหวา)
(ภาพ ซินหวา)
(ภาพ ซินหวา)


กำลังโหลดความคิดเห็น