ไชน่า เดลี่--จีนจัดการเดินสวนสนามในวาระครบรอบ 70 ปี ชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 3 ก.ย. 2558 นับเป็นครั้งแรกของการกำหนด “วันแห่งชัยชนะในสงครามต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นของกองทัพประชาชนจีน” และเป็นครั้งแรกในการเดินสวนสนามของกองทัพปลดแอกประชาชนจีน หรือพีแอลเอ เพื่อรำลึกถึงชัยชนะสงคราม
ทั้งนี้ จีนเป็นหนึ่งในสมาชิกกองกำลังพันธมิตรผู้พิชิตสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ.1939-1945/ พ.ศ. 2482-2488 ) ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองนี้ กองทัพจักรพรรดินิยมแห่งญี่ปุ่นได้ยาตราทัพเข้าไปยังประเทศต่างๆในเอเชีย และได้ยึดครองเขตต่างๆในประเทศจีนในปี ค.ศ. 1937 (2480) โดยสงครามหฤโหดฉาวโฉ่ที่สุดคือสงครามยึดครองนานกิง ซึ่งเป็นบาดแผลทางประวัติศาสตร์ที่ฉกาจฉกรรจ์ที่สุดระหว่างจีนและญี่ปุ่น
8 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเดินสวนสนามฉลองครบรอบ 70 ปี ชัยชนะสงครามโลกครั้งที่สอง ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน วันที่ 3 ก.ย. 2558 (ภาพ รอยเตอร์ส/ เอพี)
1)เป็นการเดินสวนสนามครั้งแรก ที่ไม่ได้จัดในวันชาติจีน
จีนจัดการเดินสวนสนามของกองทัพ 14 ครั้ง ตั้งแต่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 โดยการเดินสวนสนามครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1999 (2542) และปี 2009 (2552) เพื่อเฉลิมฉลองการก่อตั้งจีนใหม่โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนครบรอบปีที่ 50 และปีที่ 60 ตามลำดับ
สนธิสัญญาระหว่างประเทศได้บัญญัติการเดินสวนสนามเพื่อฉลองชัยชนะในสงคราม ฝรั่งเศส รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา ก็เคยจัดพิธีเดินสวนสนามฯแบบนี้
ฝรั่งเศสได้เชิญชาติต่างๆ ได้แก่ สหราชอาณาจักร (UK) รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และชาติอื่นมาร่วมงานฉลองครบรอบปีที่ 70 ของการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี (Normandy Landing) ซึ่งเป็นศึกพลิกเปลี่ยนในสงครามโลกครั้งที่สอง
รัสเซียก็ได้จัดการเดินสวนสนามเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา ฉลองชัยชนะสงครามต่อต้านฟาร์ซิสต์ ณ จัตุรัสแดง กรุงมอสโค
2)อดีตทหารผ่านศึกก๊กมินตั๋ง (Kuomintang) ได้รับเชิญมาเข้าร่วมการเดินสวนสนาม
จีนได้เชิญอดีตทหารผ่านศึกก๊กมินตั๋งบางกลุ่มมาเข้าร่วมพิธีเดินสวนสนาม เพื่อรำลึกว่ากองทัพก๊กมินตั๋งมีบทบาทสำคัญในสงครามต่อต้านญี่ปุ่น
3)เจ้าหน้าที่ระดับสูงร่วมเดินสวนสนามโดยเป็นหน่วยผู้นำของขบวนฯ
กลุ่มนายทหารใหญ่ระดับนายพลเดินสวนสนามนำหน้าเพื่อแสดงภาพลักษณ์ใหม่ของกองทัพปลดแอกประชาชน แตกต่างจากการเดินสวนสนามครั้งที่ผ่านๆมา จะเป็นการเดินสวนสนามของนายทหารระดับรองๆลงไป
4)หน่วยทหารจากต่างประเทศ เข้าร่วมด้วย
ในการเดินสวนสนามฯนี้ มีหน่วยทหารต่างชาติเข้าร่วม รัสเซีย มองโกเลีย เบลารุส คาซัคสถาน คีรกีสถาน และชาติอื่นๆ เป็นครั้งแรกที่หน่วยทหารต่างชาติเดินสวนสนามกับกองทัพจีน
5)มีขบวนแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ
สนธิสัญญาระหว่างประเทศได้บัญญัติการแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ของกองทัพ อาวุธยุทโธปกรณ์ทั้งหมดที่นำออกแสดงในขบวนพาเหรด เป็นอาวุธรุ่นใหม่ผลิตในประเทศที่เข้าประจำการแล้ว ทั้งของกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองทัพบก อาทิ เครื่องบินทิ้งระเบิด -6K และคาดว่าจะมีการแสดงขีปนาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ DF-16, DF-21D
6)กลุ่มทหารผ่านศึกที่รอดชีวิตจากสงครามต่อต้านญี่ปุ่น มีอายุเฉลี่ย 90 ปี และลูกๆของทหารที่เสียชีวิต มีอายุเฉลี่ย 78 ปี ทหารผ่านศึกมากว่า 300 คน ได้รับเชิญมาเข้าร่วมพิธีฉลองชัยชนะสงคราม
7)หน่วยทหารกองเกียรติยศหญิง 51 คน มีความสูงเฉลี่ย 1.78 เมตร
เป็นครั้งแรกที่หน่วยทหารกองเกียรติยศหญิง เข้าร่วมการเดินสวนสนาม หน่วยทหารกองเกียรติยศหญิง 51 คนนี้ มีความสูงเฉลี่ย 1.78 เมตร และ 20.88 เปอร์เซ็นต์ จบปริญญาตรี หรือสูงกว่า
พวกเธอได้ขอเพิ่มชั่วโมงการฝึกซ้อม เนื่องจากว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะรักษาจังหวะการก้าวและการเคลื่อนไหวที่แม่นยำเป๊ะเท่ากับทหารชายเนื่องจากขนาดรูปร่างที่เล็กกว่า
8)คนกว่า 2,400 คน เข้าร่วมการร้องเพลงประสานเสียง
ทหารกว่า 2,400 นาย เข้าร่วมร้องเพลงประสานเสียงในขบวนพาเหรด โดยจะร้องเพลงคลาสสิกที่มีเนื้อหาบรรยายเรื่องราวระหว่างสงครามต่อต้านญี่ปุ่น สมาชิกในวงขับร้องประสานเสียงนี้ เข้าร่วมการเดินสวนสนามครั้งแรก