เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ - ความสามารถด้านภาษาอังกฤษของชาวฮ่องกงหล่นจากอันดับ 22 ในปีที่แล้ว มาอยู่ที่อันดับ 31 ของโลก โดยต่ำกว่าเมืองเซี่ยงไฮ้ กรุงปักกิ่ง และเมืองเทียนจิน จากผลการวัดระดับความสามารถประจำปีทั่วโลก โดยสถานบันการสอนภาษาชั้นนำ
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการและนักการเมืองในฮ่องกงบางคนตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับระเบียบวิธี ที่นำมาใช้ ซึ่งอาจทำให้ผลการศึกษาปราศจากความแม่นยำ
ผลการศึกษา ซึ่งมีชื่อเรียกว่า ดัชนีความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษ ( English Proficiency Index) จัดทำโดย EF Education First ซึ่งเป็นสถาบันการสอนภาษาระดับโลกของสวีเดน การจัดทำดัชนีเปรียบเทียบความสามารถในปีนี้อาศัยข้อมูล ที่รวบรวมจากประชาชน 750,000 คน ใน 63 ประเทศและภูมิภาคเมื่อปีที่แล้ว
ดัชนีความสามารถด้านการใช้ภาษาอังกฤษทำขึ้นจากผลการทดสอบออนไลน์ ซึ่งไม่เสียเงิน และการทดสอบ ที่มีการลงทะเบียนของผู้เข้าเรียนหลักสูตรภาษาของ EF โดยการทดสอบทั้งสองประเภทนี้มีการวัดความสามารถด้านไวยากรณ์ ศัพท์ การอ่าน และการฟัง ประเทศและภูมิภาค ที่มีผู้เข้าทดสอบไม่ต่ำกว่า 400 คน จึงได้รับการจัดอันดับ
สำหรับฮ่องกงนั้น ได้คะแนนร้อยละ 52.5 ซึ่งหมายถึงมีระดับความสามารถปานกลาง ขณะที่เซี่ยงไฮ้ได้ร้อยละ 53.7 ปักกิ่งร้อยละ 52.9 และเทียนจินร้อยละ 52.7 นอกจากนั้น ฮ่องกงยังมีคะแนนต่ำกว่ามาเลเซีย สิงค์โปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเชีย และไต้หวัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวัดระดับความสามารถของประชาชนทั้งแผ่นดินใหญ่ของจีนรวมกันแล้ว ฮ่องกงยังคงมีคะแนนสูงกว่า โดยแผ่นดินใหญ่ติดอันดับ 37
สำหรับมาเลเซียมาเป็นอันดับหนึ่งในทวีปเอเชีย และติดอันดับ 12 ของโลก โดยได้คะแนนร้อยละ 59.7
อย่างไรก็ตาม ศาตราจารย์ ไซมอน เฮนส์ ประธานภาควิชาภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกงเตือนว่า อย่าเพิ่งเชื่อการจัดอันดับนี้ และไม่ควรกังวลใจกับผลการจัดอันดับมากนัก
ขณะที่สำนักงานการศึกษาของฮ่องกงระบุว่า การจัดอันดับนี้ไม่น่าจะสะท้อนประสิทธิภาพด้านภาษาอังกฤษในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ เพราะการสุ่มตัวอย่างไม่สามารถเป็นตัวแทนของทั้งภูมิภาคได้ นอกจากนั้น ในการทดสอบระดับท้องถิ่นและระดับโลกชิ้นอื่น ๆ ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ฮ่องกงมีคะแนนดีกว่าภูมิภาคใกล้เคียงเสียอีก
สมาชิกสภานิติบัญญัติจากพรรคนิวพีเพิ่ล ของฮ่องกงระบุว่า การทดสอบออนไลน์เป็นการทำตามความสมัครใจ ซึ่งยากจะทราบแรงจูงใจ ที่มาทดสอบ นอกจากนั้น การทดสอบ ที่มุ่งเน่นการอ่านและการฟังไม่สามารถสะท้อนทักษะด้านภาษาของผู้ทดสอบได้อย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม ดร. ริชาร์ด วูลส์เตก ( Dr. Richard Vuylsteke) ประธานหอการค้าอเมริกันในฮ่องกงกล่าวว่า ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของฮ่องกงอ่อนด้อยลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งอาจเนื่องมาจากโรงเรียนของรัฐได้เปลี่ยนหลักสูตรจากการสอนภาษาอังกฤษมาเป็นการสอนภาษาจีนแทน หลังจากอังกฤษส่งมอบคืนเกาะฮ่องกงแก่จีน นอกจากนั้น โรงเรียนเอกชน ที่มีการสอนภาษาอังกฤษก็มีค่าเล่าเรียนแพงขึ้น ทำให้ผู้ปกครอง ที่อยากให้บุตรได้เล่าเรียนภาษาอังกฤษ ไม่มีทุนรอนพอ ที่จะส่งเสีย