เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- นักลงทุนจีนสนใจตลาดต่างชาติเพิ่มขึ้นมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ท่ามกลางกระแสการซบเซาของภาคอสังหาริมทรัพย์และความสามารถล้นเกินในภาคอุตสาหกรรม
หลังนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ออกทัวร์ล่าสุด ไล่ลงนามข้อตกลงทางธุรกิจ การค้า และการลงทุนมูลค่าหลายล้านล้านยูโรกับประเทศต่างๆ ตั้งแต่อิตาลียันรัสเซีย ทางกระทรวงพาณิชย์จีน ก็ออกมาเผยวานนี้ (16 ต.ค.) ระบุ บริษัทจีนลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นความน่าดึงดูดใจของตลาดต่างประเทศที่สวนทางกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจในบ้านตัวเอง แม้ในเดือนที่ผ่านมา (ก.ย.) แดนมังกรจะมีกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้ากระเตื้องขึ้นมาหน่อย
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Outward direct investment หรือ ODI) ของกลุ่มบริษัทที่ไม่ใช่ภาคการเงิน เพิ่มขึ้นแตะ 90.5 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลขเดือนก.ย.) คิดเป็นมูลค่ารวม 9.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 313,600 ล้านบาท) สูงกว่าปีก่อน (2556) ถึงสองเท่าตัว กระทรวงพาณิชย์ฯ ระบุ
“กระแสการลงทุนในต่างประเทศกำลังมาแรงมาก” นายเสิ่น ตันหยาง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าว “บริษัทจีนตื่นตัวกันอย่างมากในการลงทุน การควบกิจการ และการเข้าถือสิทธิ์ในภาคเหมืองแร่ และภาคการผลิตของต่างชาติ”
นอกเหนือจากโอกาสการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ บริษัทจากแผ่นดินใหญ่ยังถือโอกาสกระจายความเสี่ยงในประเทศ หลังการเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรชะลอแตัวตัวเนื่องจากภาวะซบเซาในภาคอสังหาริมทรัพย์และความสามารถล้นเกินในหลายภาคอุตสาหกรรม
แม้กระทั่งรัฐบาลปักกิ่งเอง ก็กระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ออกไปลงทุนในต่างแดนเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศขนาดมหึมาของตนเอง ที่มีอยู่ถึง 3.89 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 124.48 ล้านล้าน บาท) (ตัวเลขเดือนก.ย ที่ผ่านมา) ซึ่งตกลงมาเล็กน้อยจากเดิมในเดือนมิ.ย. ที่มีอยู่ประมาณ 3.99 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 127.68 ล้านล้าน บาท) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าเงินสหรัฐฯ แข็งตัว
ภาพฝันในการลงทุนนอกประเทศของจีนค่อนข้างขัดแย้งกับภาพการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment หรือ FDI) ที่เพิ่มขึ้นอย่างเบาบาง ตัวเลขจากเดือนก.ย. ชี้ว่า ต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีน 9.01 พันล้านเหรียญฯ (หรือราวๆ 2.9 ล้านล้านบาท) โตขึ้นจากปีก่อนเพียง 1.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลมาในเดือนก.ค.และส.ค. ลดลง 17 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ลดลง 1.4 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 87,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 2,796,800 ล้านบาท)
ทั้งนี้ การที่จีนสั่งสอบสวนบริษัทต่างชาติอย่างออดี้ (Audi) และ ควอลคอมม์ (Qualcomm) ข้อหาผูกขาดทางธุรกิจก็เป็นการจุดประกายให้เห็นบรรยากาศทางเศรษฐกิจของแผ่นดินใหญ่ที่กำลังเลวร้ายลง ในขณะที่สื่อกระบอกเสียงของรัฐอย่าง พีเพิลส์ เดลี ก็เปิดเผยรายงานฉบับเต็ม กล่าวหาบริษัทต่างชาติทั้งสองว่าเอาเปรียบจีนด้วยการเลี่ยงภาษี
ด้านรัฐบาลจีนเองก็พยายามยืนยันว่านโยบายของตนมีความยุติธรรมและให้คำมั่นว่าจะเปิดกว้างตลาดต่อไปในอนาคต
นักวิเคราะห์กล่าวว่า กระแส FDI รายเดือนค่อนข้างผันผวน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพวกข้อตกลงเฉพาะกาลหลักๆ ต่างๆ
ส่วนเจ้าหน้าที่ระบุว่า ค่าแรงในประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้แผ่นดินใหญ่มีศักยภาพในการแข่งขันลดลงเมื่อเทียบกับตลาดแรงงานใหม่อย่างเวียดนามและบราซิล
อย่างไรก็ตาม นายเสิ่น ระบุว่า จีนยังเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติเพราะมีปัจจัยเอื้อทั้งความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีตลาดขนาดใหญ่ บุคลากรมีชั้นดีจำนวนมาก และมีระบบสาธารณูปโภคที่กำลังพัฒนา “กระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในจีนดูเหมือนจะคงที่ ยกเว้นว่าจะมีความความผันผวนทั้งในและต่างประเทศเกิดขึ้น”
อนึ่ง FDI จากเกาหลีใต้และอังกฤษที่เข้ามาในจีนระหว่างเดือนม.ค. ถึง ก.ย.สูงขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่จากญี่ปุ่นลดลง 43 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอเมริกาและยุโรปลดลง 24.7 และ 18.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
หลังนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ออกทัวร์ล่าสุด ไล่ลงนามข้อตกลงทางธุรกิจ การค้า และการลงทุนมูลค่าหลายล้านล้านยูโรกับประเทศต่างๆ ตั้งแต่อิตาลียันรัสเซีย ทางกระทรวงพาณิชย์จีน ก็ออกมาเผยวานนี้ (16 ต.ค.) ระบุ บริษัทจีนลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นความน่าดึงดูดใจของตลาดต่างประเทศที่สวนทางกับแรงกดดันทางเศรษฐกิจในบ้านตัวเอง แม้ในเดือนที่ผ่านมา (ก.ย.) แดนมังกรจะมีกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้ากระเตื้องขึ้นมาหน่อย
การลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Outward direct investment หรือ ODI) ของกลุ่มบริษัทที่ไม่ใช่ภาคการเงิน เพิ่มขึ้นแตะ 90.5 เปอร์เซ็นต์ (ตัวเลขเดือนก.ย.) คิดเป็นมูลค่ารวม 9.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 313,600 ล้านบาท) สูงกว่าปีก่อน (2556) ถึงสองเท่าตัว กระทรวงพาณิชย์ฯ ระบุ
“กระแสการลงทุนในต่างประเทศกำลังมาแรงมาก” นายเสิ่น ตันหยาง โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าว “บริษัทจีนตื่นตัวกันอย่างมากในการลงทุน การควบกิจการ และการเข้าถือสิทธิ์ในภาคเหมืองแร่ และภาคการผลิตของต่างชาติ”
นอกเหนือจากโอกาสการลงทุนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ บริษัทจากแผ่นดินใหญ่ยังถือโอกาสกระจายความเสี่ยงในประเทศ หลังการเติบโตทางเศรษฐกิจของแดนมังกรชะลอแตัวตัวเนื่องจากภาวะซบเซาในภาคอสังหาริมทรัพย์และความสามารถล้นเกินในหลายภาคอุตสาหกรรม
แม้กระทั่งรัฐบาลปักกิ่งเอง ก็กระตุ้นให้บริษัทต่างๆ ออกไปลงทุนในต่างแดนเพื่อบรรเทาแรงกดดันจากทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศขนาดมหึมาของตนเอง ที่มีอยู่ถึง 3.89 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 124.48 ล้านล้าน บาท) (ตัวเลขเดือนก.ย ที่ผ่านมา) ซึ่งตกลงมาเล็กน้อยจากเดิมในเดือนมิ.ย. ที่มีอยู่ประมาณ 3.99 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 127.68 ล้านล้าน บาท) อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าเงินสหรัฐฯ แข็งตัว
ภาพฝันในการลงทุนนอกประเทศของจีนค่อนข้างขัดแย้งกับภาพการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (foreign direct investment หรือ FDI) ที่เพิ่มขึ้นอย่างเบาบาง ตัวเลขจากเดือนก.ย. ชี้ว่า ต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีน 9.01 พันล้านเหรียญฯ (หรือราวๆ 2.9 ล้านล้านบาท) โตขึ้นจากปีก่อนเพียง 1.9 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ไหลมาในเดือนก.ค.และส.ค. ลดลง 17 และ 14 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ลดลง 1.4 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียง 87,400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราวๆ 2,796,800 ล้านบาท)
ทั้งนี้ การที่จีนสั่งสอบสวนบริษัทต่างชาติอย่างออดี้ (Audi) และ ควอลคอมม์ (Qualcomm) ข้อหาผูกขาดทางธุรกิจก็เป็นการจุดประกายให้เห็นบรรยากาศทางเศรษฐกิจของแผ่นดินใหญ่ที่กำลังเลวร้ายลง ในขณะที่สื่อกระบอกเสียงของรัฐอย่าง พีเพิลส์ เดลี ก็เปิดเผยรายงานฉบับเต็ม กล่าวหาบริษัทต่างชาติทั้งสองว่าเอาเปรียบจีนด้วยการเลี่ยงภาษี
ด้านรัฐบาลจีนเองก็พยายามยืนยันว่านโยบายของตนมีความยุติธรรมและให้คำมั่นว่าจะเปิดกว้างตลาดต่อไปในอนาคต
นักวิเคราะห์กล่าวว่า กระแส FDI รายเดือนค่อนข้างผันผวน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากพวกข้อตกลงเฉพาะกาลหลักๆ ต่างๆ
ส่วนเจ้าหน้าที่ระบุว่า ค่าแรงในประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้แผ่นดินใหญ่มีศักยภาพในการแข่งขันลดลงเมื่อเทียบกับตลาดแรงงานใหม่อย่างเวียดนามและบราซิล
อย่างไรก็ตาม นายเสิ่น ระบุว่า จีนยังเป็นที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติเพราะมีปัจจัยเอื้อทั้งความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม มีตลาดขนาดใหญ่ บุคลากรมีชั้นดีจำนวนมาก และมีระบบสาธารณูปโภคที่กำลังพัฒนา “กระแสเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในจีนดูเหมือนจะคงที่ ยกเว้นว่าจะมีความความผันผวนทั้งในและต่างประเทศเกิดขึ้น”
อนึ่ง FDI จากเกาหลีใต้และอังกฤษที่เข้ามาในจีนระหว่างเดือนม.ค. ถึง ก.ย.สูงขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่จากญี่ปุ่นลดลง 43 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอเมริกาและยุโรปลดลง 24.7 และ 18.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ