รอยเตอร์ส- จีน-อิตาลี ลงนามสัญญษธุรกิจมูลค่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ระหว่างการเดินทางเยือนโรมของนายกรัฐมนตรีจีน หลี่ เค่อเฉียง เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เพื่อสานสัมพันธ์การค้าระหว่างสองประเทศให้แนบแน่นขึ้น
รอยเตอร์ส รายงานวานนี้ (14 ต.ค.) ระบุ นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง ร่วมลงนามสัญญาธุรกิจมูลค่า 3 แสนล้านบาท กับนายกรัฐมนตรีอิตาลี นายมัตเตโอ เรนซี ทำให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างแผ่นดินใหญ่กับชาติอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร แน่นแฟ้นขึ้น โดยความร่วมมือดังกล่าวมีตั้งแต่ด้านพลังงานไปจนถึงด้านวิศวกรรม
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ จีนก็ลงนามธุรกิจกับเยอรมนีไปแล้ว เมื่อสัปดาห์ก่อน และเฉพาะปีนี้ จีนจ่ายไปแล้วกว่า 5 พันล้านยูโร หรือราวๆ 205,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นหลายบริษัทใหญ่ของอิตาลี
ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ นายเรนซี กล่าวว่า ข้อตกลงที่ลงนามไปเป็นเพียง “แอนติพาสโต” (อาหารเรียกน้ำย่อย) เท่านั้น และถือเป็นการเบิกทางไปสู่การบรรลุข้อตกลงอื่นระหว่างกันในอนาคต
“เราต้องดึงจีนมาหาอิตาลีและส่งอิตาลีเข้าไปยังจีนมาขึ้น” นายเรนซี กล่าว
ในขณะที่นายหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งกำลังจะเข้าร่วมประชุมอาเซ็ม (ASEM) ที่มิลาน ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่จะถึงนี้ กล่าวว่า จีนหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางให้เข้มแข็งขึ้น และจะพยายามกระตุ้นนักท่องเที่ยวจีนให้มาเยือนอิตาลี
ปัจจุบันอิตาลีกำลังเผชิญกับสภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำเป็นรอบที่สาม ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ทำให้นักลงทุนต่างชาติต่างพากันวิตกกังวลกับความล่าช้าของระบบราชการที่ขึ้นชื่อของอิตาลี รวมทั้งระบบกฎหมายที่ยังเอาแน่นเอานอนไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลของนายเรนซี จึงพยายามดึงดูดเศรษฐีจากแผ่นดินใหญ่
ด้านธนาคารแห่งชาติอิตาลี หรือ CDP ระบุว่า ได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน หรือ CDB ในโครงการความร่วมมือที่มูลค่าสูงถึง 3 พันล้านยูโร หรือ ราวๆ 123,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาอยู่ในช่วง 5 ปีแรกของข้อตกลง
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดโครงการความร่วมมือข้างต้น แต่เชื่อกันว่าจะเป็นการลงทุนในระบบสาธารณูปโภค การลงทุนโดยตรงในหุ้นทุน หรือสินเชื่อเพื่อการส่งออก ซึ่งแหล่งข่าวอิตาเลียน ระบุว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน จะเป็นผู้จ่ายเงินเกินกว่าครึ่งของการลงทุนร่วมครั้งนี้
ในขณะที่กองทุนยุทธศาสตร์การลงทุนของอิตาลี หรือ FSI เปิดเผยว่า ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ CIC เพื่อดำเนินโครงการร่วมลงทุน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะลงทุนประมาณ 500ล้านยูโร หรือประมาณ 20,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินอย่าง Finmeccanica ก็ประกาศทำสัญญาซื้อขายกับจีนมูลค่า 400 ล้านยูโร (16,400 ล้านบาท) สำหรับเฮลิคอปเตอร์ 50 ลำ ส่วนบริษัทกลุ่มพลังงานไฟฟ้าอย่าง Enel ก็ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารแห่งชาติจีนเพื่อให้ธนาคารจีนจัดสรรเงิน 1 พันล้านยูโร (ประมาณ 41,000 ล้านบาท) ให้กู้ยืมตลอด 5 ปีข้างหน้านี้
จีน ถือเป็นผู้ซื้อตราสารหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลอิตาลี เฉพาะในปีนี้ ธนาคารกลางของจีนเข้าลงทุนในหุ้นชั้นดีของบริษัทอิตาเลียนหลายแห่ง รวมทั้งเข้าถือหุ้นของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เฟียต บริษัทเทเลคอมอิตาเลีย ซึ่งเป็นบริษัทด้านโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศและบริษัทกลุ่มผู้ผลิตเคเบิลอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Prysmian อีก 2 เปอร์เซ็นต์
ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีนก็เข้าซื้อหุ้นชั้นดีของ Eni บริษัทน้ำมันและก๊าซชั้นนำของอิตาเลียน และบริษัทสาธารณูปโภคอย่าง Enel
นอกจากนี้ บริษัทการไฟฟ้าแห่งประเทศจีนยังซื้อหุ้นของ CDP Reti บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นบริษัทลูกของ CDP จำนวน 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มการไฟฟ้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Electric Group) ก็เข้าซื้อหุ้นบริษัทวิศวกรรมพลังงานอย่าง Ansaldo Energia ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ต่อจาก FSI โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ 400 ล้านยูโร (ราวๆ 16,400 ล้านบาท)
รอยเตอร์ส รายงานวานนี้ (14 ต.ค.) ระบุ นายกรัฐมนตรีของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง ร่วมลงนามสัญญาธุรกิจมูลค่า 3 แสนล้านบาท กับนายกรัฐมนตรีอิตาลี นายมัตเตโอ เรนซี ทำให้ความสัมพันธ์ด้านการค้าระหว่างแผ่นดินใหญ่กับชาติอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 3 ของประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร แน่นแฟ้นขึ้น โดยความร่วมมือดังกล่าวมีตั้งแต่ด้านพลังงานไปจนถึงด้านวิศวกรรม
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ จีนก็ลงนามธุรกิจกับเยอรมนีไปแล้ว เมื่อสัปดาห์ก่อน และเฉพาะปีนี้ จีนจ่ายไปแล้วกว่า 5 พันล้านยูโร หรือราวๆ 205,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นหลายบริษัทใหญ่ของอิตาลี
ระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันของนายกรัฐมนตรีทั้งสองประเทศ นายเรนซี กล่าวว่า ข้อตกลงที่ลงนามไปเป็นเพียง “แอนติพาสโต” (อาหารเรียกน้ำย่อย) เท่านั้น และถือเป็นการเบิกทางไปสู่การบรรลุข้อตกลงอื่นระหว่างกันในอนาคต
“เราต้องดึงจีนมาหาอิตาลีและส่งอิตาลีเข้าไปยังจีนมาขึ้น” นายเรนซี กล่าว
ในขณะที่นายหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งกำลังจะเข้าร่วมประชุมอาเซ็ม (ASEM) ที่มิลาน ในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่จะถึงนี้ กล่าวว่า จีนหวังที่จะสร้างความร่วมมือกับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางให้เข้มแข็งขึ้น และจะพยายามกระตุ้นนักท่องเที่ยวจีนให้มาเยือนอิตาลี
ปัจจุบันอิตาลีกำลังเผชิญกับสภาวการณ์เศรษฐกิจตกต่ำเป็นรอบที่สาม ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ทำให้นักลงทุนต่างชาติต่างพากันวิตกกังวลกับความล่าช้าของระบบราชการที่ขึ้นชื่อของอิตาลี รวมทั้งระบบกฎหมายที่ยังเอาแน่นเอานอนไม่ได้ ดังนั้น รัฐบาลของนายเรนซี จึงพยายามดึงดูดเศรษฐีจากแผ่นดินใหญ่
ด้านธนาคารแห่งชาติอิตาลี หรือ CDP ระบุว่า ได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน หรือ CDB ในโครงการความร่วมมือที่มูลค่าสูงถึง 3 พันล้านยูโร หรือ ราวๆ 123,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาอยู่ในช่วง 5 ปีแรกของข้อตกลง
แม้ว่าจะไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดโครงการความร่วมมือข้างต้น แต่เชื่อกันว่าจะเป็นการลงทุนในระบบสาธารณูปโภค การลงทุนโดยตรงในหุ้นทุน หรือสินเชื่อเพื่อการส่งออก ซึ่งแหล่งข่าวอิตาเลียน ระบุว่า ธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน จะเป็นผู้จ่ายเงินเกินกว่าครึ่งของการลงทุนร่วมครั้งนี้
ในขณะที่กองทุนยุทธศาสตร์การลงทุนของอิตาลี หรือ FSI เปิดเผยว่า ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบรรษัทเพื่อการลงทุนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ CIC เพื่อดำเนินโครงการร่วมลงทุน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะลงทุนประมาณ 500ล้านยูโร หรือประมาณ 20,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมการบินอย่าง Finmeccanica ก็ประกาศทำสัญญาซื้อขายกับจีนมูลค่า 400 ล้านยูโร (16,400 ล้านบาท) สำหรับเฮลิคอปเตอร์ 50 ลำ ส่วนบริษัทกลุ่มพลังงานไฟฟ้าอย่าง Enel ก็ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับธนาคารแห่งชาติจีนเพื่อให้ธนาคารจีนจัดสรรเงิน 1 พันล้านยูโร (ประมาณ 41,000 ล้านบาท) ให้กู้ยืมตลอด 5 ปีข้างหน้านี้
จีน ถือเป็นผู้ซื้อตราสารหนี้รายใหญ่ของรัฐบาลอิตาลี เฉพาะในปีนี้ ธนาคารกลางของจีนเข้าลงทุนในหุ้นชั้นดีของบริษัทอิตาเลียนหลายแห่ง รวมทั้งเข้าถือหุ้นของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์เฟียต บริษัทเทเลคอมอิตาเลีย ซึ่งเป็นบริษัทด้านโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศและบริษัทกลุ่มผู้ผลิตเคเบิลอันดับหนึ่งของโลกอย่าง Prysmian อีก 2 เปอร์เซ็นต์
ในเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของจีนก็เข้าซื้อหุ้นชั้นดีของ Eni บริษัทน้ำมันและก๊าซชั้นนำของอิตาเลียน และบริษัทสาธารณูปโภคอย่าง Enel
นอกจากนี้ บริษัทการไฟฟ้าแห่งประเทศจีนยังซื้อหุ้นของ CDP Reti บริษัทด้านพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นบริษัทลูกของ CDP จำนวน 35 เปอร์เซ็นต์ ส่วนกลุ่มการไฟฟ้าเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Electric Group) ก็เข้าซื้อหุ้นบริษัทวิศวกรรมพลังงานอย่าง Ansaldo Energia ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ต่อจาก FSI โดยมีมูลค่าการซื้อขายที่ 400 ล้านยูโร (ราวๆ 16,400 ล้านบาท)