xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยจีนเจ๋ง คิดค้นวิธีเพาะปลูกที่เพิ่มผลผลิต ลดการใช้ปุ๋ย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- นักวิจัยจีนคิดค้น การจัดการเพาะปลูกแบบใหม่ที่ช่วยทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง แต่ได้ผลผลิตดีทั้งปริมาณและคุณภาพ
การเก็บเกี่ยวข้าวสาลีใกล้เมืองยุ่นเฉิง มณฑลส่านซี ในปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้ผลิตและอุปโภคปุ๋ยมากที่สุดในโลก (ภาพ: ซินหวา)
กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จีน ร่วมกันคิดค้นการจัดการในการเพาะปลูกพืชผลที่ทำลายธรรมชาติน้อยลง โดยตระหนักว่าปัจจุบันจีนประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมาเพียงพอแล้ว

การจัดการในการเพาะปลูกพืชผล ที่ได้รับการติดค้นขึ้น เรียนกันว่า การจัดการเกษตรกรรมแบบ “อัจฉริยะ” โดยเป็นการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการเพาะปลูกพืชผลหลัก ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด ทั้งการคำนวณสำรวจลักษณะดินว่าเหมาะสมในการเพาะปลูกพืชแบบใด คำนวณอากาศที่เหมาะสมในการหว่านเมล็ด คำนวณปริมาณความหนาแน่นของพื้นที่กับผลิตผล รวมทั้งวิธีการใช้ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ทั้งคุณภาพและปริมาณ โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ปุ๋ยจำนวนมาก หรือวิธีการผลิตแบบอื่นที่เอาแน่เอานอนไม่ได้

การจัดการแบบ “อัจฉริยะ” ทำการทดลองมาแล้ว 5 ปี ในเขตพื้นที่ทดลอง มากกว่า 150 แห่ง ทว่ายังคงต้องพัฒนาอีกมากก่อนนำวิธีการไปให้เกษตรกรรมนับล้านคนของแผ่นดินใหญ่ใช้

“งานวิจัยของพวกเราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เป็นวิธีเพาะปลูกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมลงได้ แม้เราจะพยายามเพิ่มผลิตให้สูงอย่างต่อเนื่อง และยังได้อาหารที่ปลอดภัยด้วย” นายจาง ฝูเส้า อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรจีน หัวหน้าทีมวิจัยกล่าว

ในขณะที่ การวิจัยของกระทรวงเกษตรกรรม ปีที่ผ่านมา (2556) ชี้ให้เห็นว่า การจัดการฯ ยังใช้ไม่ได้ผลนัก ทั้งนี้ ทีมวิจัยของกระทรวงฯ ทำการเปรียบเทียบจากวิธีการเพาะปลูก 4 ประเภท ได้แก่ 1. การเพาะปลูกตามวิธีของเกษตรกรท้องถิ่น 2.การเพาะปลูกด้วยวิธีของเกษตรกรท้องถิ่นแต่ปรับปรุงกรรมวิธีให้ดีขึ้น 3. การเพาะปลูกด้วยปุ๋ยไนโตรเจน และ 4. การเพาะปลูกแบบ “อัจฉริยะ” ด้วยระบบการจัดการดินและพืชผลร่วมกัน

ผลการวิจัยพบว่า การเพาะปลูกด้วยวิธีการที่ 3 ให้ผลดีที่สุด โดยให้ผลใกล้เคียงกับการเพาะปลูกในอเมริกาและเยอรมนีที่มีการดูแลการเพาะปลูกอย่างเข้มงวด ในขณะที่ระบบการจัดการดินฯ แบบที่ 4 ก็ให้ผลดี ให้ผลผลิตสูงสุดถึง 97-99 เปอร์เซ็นต์ แต่ใช้ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ามาก นักวิจัย ระบุ

ด้านนายเจิ้ง เฟิ่งเถียน นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรกรรม มหาวิทยาลัยเหรินหมิน กล่าวว่าแม้จะลดปริมาณการใช้ปุ๋ยลงกว่าครึ่ง แต่คาดว่าจะไม่กระทบปริมาณผลผลิตที่ได้ “หากเรานำวิธีการตามผลวิจัยมาใช้กับพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อมลงไปได้มาก”

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ในปี 2573 ภายใต้จำนวนพื้นที่เพาะปลูกเท่ากับปี 2555 ผลผลิตจะล้นตลาดการบริโภค หากเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 80 เปอร์เซ็นต์ของการเพาะปลูกตามแบบที่ทดลอง

อนึ่ง ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศผู้ผลิตและใช้ปุ๋ยมากที่สุดในโลก การผลิตและใช้ปุ๋ย 1 ใน 3 ของโลกมาจากจีน

กำลังโหลดความคิดเห็น