เอเยนซี- สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส H7N9 ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดประสบปัญหาธุรกิจ เป็นเวลากว่าหนึ่งสัปดาห์แล้วที่ลูกเจี๊ยบกว่าหมื่นตัว ถูกปล่อยให้รอวันตายตามยถากรรมทุกวัน หลิน ชุ่นตง (林顺东) เจ้าของฟาร์มเลี้ยงเป็ดกล่าวถึงปัญหาที่กำลังประสบว่า ลูกเจี๊ยบตัวเล็ก 1 ตัว มีต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 10-15 บาท นั่นหมายถึงผู้ประกอบการรายนี้ต้องแบกภาระขาดทุนกว่าแสนบาทต่อวัน
ลูกเจี๊ยบตัวน้อยที่เพิ่งเกิดได้ไม่ถึงวัน ถูกคนงานช่วยกันจับมาไว้รวมกันในตะกร้าใบใหญ่ เพื่อเตรียมขนย้ายไปทำลายภายนอกฟาร์ม ตลอดระยะเวลาเตรียมการหลิน ชุ่นตง มีสีหน้าเรียบเฉย ผู้สื่อข่าวสอบถามว่าทำไมต้องทำเช่นนี้ เขาตอบด้วยใบหน้าปนรอยยิ้ม “มันไม่มีทางอื่น ถ้าไม่นำลูกเป็ดไปทิ้งนอกฟาร์ม เก็บไว้ที่นี่ก็จะหิวจนตายและโรคร้ายก็จะระบาดไปสู่ตัวอื่นๆ”
ผู้ประกอบการรายนี้เริ่มกิจการเลี้ยงเป็ดตั้งแต่ปี 1989 ซึ่งก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 ลูกเจี๊ยบที่เพาะเลี้ยงไว้จะถูกจำหน่ายให้คนท้องถิ่นหรือมีนายหน้าภายนอกมารับซื้อ แต่ขณะนี้เป็นเวลากว่าสิบวันแล้วที่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจสั่งจองสินค้า
“ทุกวันนี้ผมต้องจ่ายเงินค่าอาหาร 3 บาท ต่อลูกเจี๊ยบ 1ตัว ถ้าเลี้ยงให้โตจะมีค่าใช้จ่ายกว่า 100 บาทต่อ 1 ตัว โดยยังไม่รวมค่าแรงงานหรือต้นทุนอื่นใด ขณะที่มีลูกเจี๊ยบที่กำลังจะเกิดในรอบการผลิตใหม่กว่าสองหมื่นถึงสามหมื่นตัว ฉะนั้น ยิ่งเลี้ยงมากก็จะยิ่งขาดทุน รวมๆ แล้วในแต่ละรอบการผลิตจะขาดทุนเป็นแสน” หลิน ชุ่นตง พูดถึงบัญชีรายรับรายจ่าย
หมู่บ้าน จื่อหนีเจิ้นซินหยัง (紫泥镇新洋) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดจำนวนมาก ทั้งนี้ มีการจัดตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงฯ ซึ่งหลิน ชุ่นตง ดำรงตำแหน่งประธาน ขณะที่จำนวนลูกเป็ดที่ต้องทำลายมีมากขึ้นทุกวัน สหกรณ์จึงเร่งดำเนินการประสานงานกับรัฐบาลท้องถิ่นขอการสนับสนุนในเรื่องกระบวนการทำลายซากลูกเป็ดที่ถูกหลักอนามัยกว่าที่มีอยู่
กระนั้น สถานการณ์ของเป็ดที่เลี้ยงโตแล้วก็สร้างความปวดหัวให้หลิน ชุ่นตง เช่นกัน “ก่อนหน้าผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ก่อน ภายหลังขายเป็ดโตเต็มวัยได้แล้วค่อยชำระเงิน แต่ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารฯ ยืนยันว่าต้องชำระเงินก่อนเท่านั้น ตอนนี้ก็เลยไม่รู้จะใช้อะไรเลี้ยงเป็ดโตเต็มวัย”
แม้ว่าหน่วยงานท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน บังคับใช้มาตรการเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 แต่หลิน ชุ่นตง เห็นว่าประชาชนทั่วไปสามารถบริโภคเนื้อเป็ดกันได้ตามปรกติ “ ผมอยู่กับเป็ดทั้งวันไม่เห็นจะเป็นอะไร ร่างกายก็แข็งแรงดี และการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ต่างๆก็ไม่เห็นเกี่ยวกับเป็ดเลย ”
ลูกเจี๊ยบตัวน้อยที่เพิ่งเกิดได้ไม่ถึงวัน ถูกคนงานช่วยกันจับมาไว้รวมกันในตะกร้าใบใหญ่ เพื่อเตรียมขนย้ายไปทำลายภายนอกฟาร์ม ตลอดระยะเวลาเตรียมการหลิน ชุ่นตง มีสีหน้าเรียบเฉย ผู้สื่อข่าวสอบถามว่าทำไมต้องทำเช่นนี้ เขาตอบด้วยใบหน้าปนรอยยิ้ม “มันไม่มีทางอื่น ถ้าไม่นำลูกเป็ดไปทิ้งนอกฟาร์ม เก็บไว้ที่นี่ก็จะหิวจนตายและโรคร้ายก็จะระบาดไปสู่ตัวอื่นๆ”
ผู้ประกอบการรายนี้เริ่มกิจการเลี้ยงเป็ดตั้งแต่ปี 1989 ซึ่งก่อนการแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 ลูกเจี๊ยบที่เพาะเลี้ยงไว้จะถูกจำหน่ายให้คนท้องถิ่นหรือมีนายหน้าภายนอกมารับซื้อ แต่ขณะนี้เป็นเวลากว่าสิบวันแล้วที่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจสั่งจองสินค้า
“ทุกวันนี้ผมต้องจ่ายเงินค่าอาหาร 3 บาท ต่อลูกเจี๊ยบ 1ตัว ถ้าเลี้ยงให้โตจะมีค่าใช้จ่ายกว่า 100 บาทต่อ 1 ตัว โดยยังไม่รวมค่าแรงงานหรือต้นทุนอื่นใด ขณะที่มีลูกเจี๊ยบที่กำลังจะเกิดในรอบการผลิตใหม่กว่าสองหมื่นถึงสามหมื่นตัว ฉะนั้น ยิ่งเลี้ยงมากก็จะยิ่งขาดทุน รวมๆ แล้วในแต่ละรอบการผลิตจะขาดทุนเป็นแสน” หลิน ชุ่นตง พูดถึงบัญชีรายรับรายจ่าย
หมู่บ้าน จื่อหนีเจิ้นซินหยัง (紫泥镇新洋) มีเกษตรกรผู้เลี้ยงเป็ดจำนวนมาก ทั้งนี้ มีการจัดตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงฯ ซึ่งหลิน ชุ่นตง ดำรงตำแหน่งประธาน ขณะที่จำนวนลูกเป็ดที่ต้องทำลายมีมากขึ้นทุกวัน สหกรณ์จึงเร่งดำเนินการประสานงานกับรัฐบาลท้องถิ่นขอการสนับสนุนในเรื่องกระบวนการทำลายซากลูกเป็ดที่ถูกหลักอนามัยกว่าที่มีอยู่
กระนั้น สถานการณ์ของเป็ดที่เลี้ยงโตแล้วก็สร้างความปวดหัวให้หลิน ชุ่นตง เช่นกัน “ก่อนหน้าผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ใช้ผลิตภัณฑ์ก่อน ภายหลังขายเป็ดโตเต็มวัยได้แล้วค่อยชำระเงิน แต่ปัจจุบันผู้ผลิตอาหารฯ ยืนยันว่าต้องชำระเงินก่อนเท่านั้น ตอนนี้ก็เลยไม่รู้จะใช้อะไรเลี้ยงเป็ดโตเต็มวัย”
แม้ว่าหน่วยงานท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศจีน บังคับใช้มาตรการเข้มงวดในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส H7N9 แต่หลิน ชุ่นตง เห็นว่าประชาชนทั่วไปสามารถบริโภคเนื้อเป็ดกันได้ตามปรกติ “ ผมอยู่กับเป็ดทั้งวันไม่เห็นจะเป็นอะไร ร่างกายก็แข็งแรงดี และการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ต่างๆก็ไม่เห็นเกี่ยวกับเป็ดเลย ”