เอเยนซี - ท่ามกลางสภาพสังคมวัตถุนิยมที่ชาวจีนต่างต่อสู้แย่งชิงเพื่อเอาตัวรอด ยังมีผู้ใจดีรับอุปการะเด็กกำพร้าผู้ยากไร้กว่า 100 คนมากว่า 25 ปี ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นแม่ค้าขายแผงลอยจนๆ กรณีดังกล่าวได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและประชาชนชาวจีนอย่างมาก บ้างก็เรียกนางว่า “แม่พระ” บ้างก็เรียกนางว่า “ปีศาจ” กระทั่งวันที่ 4 ม.ค 2013 ที่ผ่านมาเกิดเหตุไฟไหม้ที่บ้านพัก ทำให้มีเด็กเสียชีวิตถึง 7 คน บาดเจ็บสาหัสอีก 1 ราย ที่เหลือถูกส่งไปเลี้ยงดูที่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐแทน ถือเป็นความสูญเสียต้อนรับปีมะเส็งอย่างคาดไม่ถึง
นับแต่ปี 1986-2011 เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่นางหยวนลี่ไฮ่ (袁厉害) แม่ค้าขายแผงลอยหน้าโรงพยาบาลประชาชนตำบลหลานเข่า (兰考县人民医院) รับเลี้ยงเด็กกำพร้ากว่า 100 คน รุ่นแรกๆ ทำงานและแต่งงานกันไปบ้างแล้ว คงเหลือแต่เด็กเล็กรุ่นหลัง 39 คน นางหยวนใช้บ้านที่ลูกชายให้เป็นสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเกือบ 20 คน ชั้นหนึ่งไว้ให้เด็กเล่น ชั้นสองไว้ใช้หลับนอน ที่เหลือแบ่งไปฝากให้พี่สาวและน้องสาวเลี้ยงบ้าง แบ่งไปพักอาศัยที่ห้องแถวใกล้สวนดอกไม้เก่าโดยจ้างหญิงชราเก็บขยะคอยช่วยดูแลบ้าง แบ่งไปฝากไว้ที่ตึกญาติผู้ป่วยของโรงพยาบาลประชาชนประจำตำบลบ้าง ทุกครั้งที่นางหยวนไปเยี่ยม เด็กๆ ทุกคนจะวิ่งเร่งเข้ามาหาพร้อมตะโกนเรียกนางหยวนว่า “แม่”
เรื่องราวของนางหยวนลี่ไฮ่เป็นที่ฮือฮาในสังคมจีนอย่างมาก กระแสหนึ่งยกย่องให้นางหยวนเป็น “แม่พระ” (爱心妈妈) อีกกระแสหนึ่งก็ให้เรียกสมญานามนางหยวนว่า “ปีศาจ” (魔鬼) เพราะสงสัยว่าใช้เด็กสร้างกระแสทำเงิน บ้างก็อ้างว่านางหยวนนำเด็กที่แข็งแรงไปขายให้กับผู้ที่เต็มใจรับเลี้ยง บ้างก็อ้างว่านางหยวนทำเช่นนี้เพื่อหลอกเอาเบี้ยเลี้ยงชีพจากรัฐ (ปัจจุบันนางหยวนขึ้นทะเบียนลูกบุญธรรมถึง 20 คน ได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพทั้งหมด 5,520 หยวน (27,600บาท) ต่อหนึ่งฤดูกาล) อย่างไรก็ดี พึงสังเกต นโยบายเบี้ยเลี้ยงชีพสำหรับเด็กนี้เพิ่งเริ่มประกาศใช้ในปี 2006 นี้เอง
ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว นางหยวนลี่ไฮ่แย้งว่า “ฉันไม่เคยรับเงินสักแดงเดียว ฉันจะยกเด็กให้ผู้ใจบุญคนนั้นๆ ก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วว่าเขามีปัญญาเลี้ยงได้ดีกว่าตัวเอง ส่วนเบี้ยเลี้ยงชีพที่ได้จากรัฐก็ใช้จ่ายไปกับเด็กๆ หมดแล้ว ค่านมก็ปาเข้าไป 5,000-6,000 หยวน ( 25,000-30,000 บาท) ต่อเดือน ทั้งยังมีค่าจ้างคนงาน ของใช้ส่วนตัวต่างๆ สรุปแล้วเด็กแต่ละคนมีค่าใช้จ่าย 400-500 หยวน (2,000-2,500) ต่อเดือน นี่ยังไม่นับค่าเล่าเรียนสำหรับเด็กที่โตแล้ว ความหวังอันสูงสุดของฉัน คือ การที่เด็กเล็กทุกคนในที่นี้มีนมดื่ม เด็กโตทุกคนในที่นี่ได้มีโอกาสเล่าเรียน”
นางหยวนลี่ไฮ่ไม่เคยคิดที่จะทอดทิ้งเด็กๆ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายสักเพียงไหน มีเพียงอัตราการตายของเด็กๆ ที่สูงถึง 30% คือ สิ่งที่นางหยวนกลัดกลุ้ม “เนื่องจากเด็กๆ ที่เรารับเลี้ยงมักมีปัญหาสุขภาพเป็นทุนเดิม อีกทั้งกลุ่มผู้ดูแลเด็กๆ ล้วนเป็นผู้สูงอายุ จึงขาดความรู้ทางด้านสาธารณสุข เด็กที่รับเลี้ยงจำนวนไม่น้อย อยู่กับเราได้ไม่นาน ก็ต้องตายจากไป” ส่วนสาเหตุที่ไม่นางหยวนไม่ส่งเด็กๆ ไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่มีอยู่แล้วนั้น นางหยวนลี่ไฮ่ชี้แจงว่า “แต่แรก มีคนเอาเด็กมาทิ้งไว้ให้ พอเลี้ยงๆ ไปก็เกิดความผูกพัน ทำใจไม่ได้ที่ต้องแยกจากกัน เพิ่งปลายปี 2009 มานี้ถึงเริ่มจะแบ่งไปให้ทางสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าไคเฟิงบ้าง”
กรณีของนางหยวนลี่ไฮ่ทำให้สังคมถามหาความรับผิดชอบจากรัฐบาลท้องถิ่น ตำบลผู้ช่วยหัวหน้าแผนกสังคมสงเคราะห์หลานเข่าชี้แจงว่า “ทันทีที่ได้รับรายงาน ทางการก็ให้การสนับสนุนกับนางหยวน พวกเราไปเยี่ยมที่บ้านหลายครั้ง ทั้งยังให้การสนับสนุนทางงบประมาณนับแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แต่เด็กที่นางหยวนรับเลี้ยงมีมากเกินไป การเติบโตของเด็กๆ จึงขาดหลักประกัน ทางเราได้ขอให้หยุดรับเด็กเพิ่มแล้ว และหวังว่านางหยวนจะส่งเด็กๆ เข้าสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐ เพราะแม้จิตที่เมตตาของนางหยวนจะเป็นที่ยอมรับทางอารมณ์และเหตุผลทางศีลธรรม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย”
กระทั่งวันที่ 4 ม.ค 2013 เวลา 8.30 น. ขณะที่นางหยวนลี่ไฮ่ไปส่งเด็กๆ เข้าเรียนเช่นทุกวัน ก็เกิดเหตุไฟไหม้ควันขโมงขึ้นที่บ้านสองชั้นของนางหยวน (ภายหลังการสืบสวน พบว่าชนวนมาจากของเล่นเด็ก) แม้ว่าชาวบ้านจะระดมกำลังช่วยดับไฟ แต่เพราะความหนาวจัดทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง จึงได้แต่มองไฟที่ลุกลามจากชั้นหนึ่งขึ้นชั้นสองกันตาปริบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเด็กพิการหลายคนติดอยู่ในนั้น ไม่มีใครรู้เลยว่า เด็กหูหนวก เป็นใบ้ หรือเด็กปัญญาอ่อนจะดิ้นรนอย่างไรเพื่อเอาชีวิตรอด ภายหลังการช่วยเหลือของพนักงานดับเพลิง นางหยวนรีบกระโจนเข้าไปในห้องครัวเพื่อช่วยชีวิตเด็กๆ อย่างรวดเร็ว ทว่า ก็มีเด็กที่ทนพิษบาดเจ็บไม่ไหว เสียชีวิตไปแล้ว 7 ราย หนึ่งในนั้นมีเด็กโตที่สุดอายุราว 20 ปีป่วยเป็นอัมพาต และเด็กเล็กที่สุดอายุ 7 เดือนซึ่งยังไม่ทันได้ตั้งชื่อ ที่เหลืออีก 10 คนถูกส่งตัวไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าไคเฟิง
เพราะใจอ่อนล้าและร่างกายที่บาดเจ็บ จนถึงวันนี้นางหยวนลี่ไฮ่ยังคงรับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล แม้จะมีลูกชายและลูกสะใภ้คอยเฝ้าอยู่ข้างๆ แต่นางหยวนก็มิคลายความเศร้าสลดใจ “เด็กๆ ที่ตายไปมิอาจพบหน้า ส่วนเด็กๆ ที่ย้ายไปอยู่สถานกำพร้าไคเฟิง แม้จะพบหน้ากันแต่ก็มิอาจฉลองตรุษจีนร่วมกัน เมื่อก่อนฉันจะอาบน้ำ แต่งตัว และทำผมต้อนรับตรุษจีนให้พวกเขาทุกปี ฉันไม่กล้านึกถึงวันเก่าๆ เลยจริงๆ” เมื่อถามถึงพรปีใหม่ นางหยวนรำพึง “วันส่งท้ายปีฉันเตรียมจะห่อเกี๊ยว และเอาไปเยี่ยมเด็กๆ ที่ไคเฟิง”
อย่างไรก็ดี เร็วๆ นี้ก็ยังมีข่าวกล่าวหาว่า นางหยวนใช้เบี้ยเลี้ยงชีพและเงินที่ขายเด็กกำพร้าไปซื้อบ้านถึง 20 หลัง ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว ลูกชายของนางหยวนถึงกับร้องไห้ ด้วยความคับแค้นใจ “ผมโตมาอย่างยากลำบากกับเด็กๆ พวกนี้ อย่ามาใส่ร้ายแม่ผมอีกเลย แค่นี้แม่ก็เจ็บจนเกินจะรับไหวแล้ว”
นับแต่ปี 1986-2011 เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้วที่นางหยวนลี่ไฮ่ (袁厉害) แม่ค้าขายแผงลอยหน้าโรงพยาบาลประชาชนตำบลหลานเข่า (兰考县人民医院) รับเลี้ยงเด็กกำพร้ากว่า 100 คน รุ่นแรกๆ ทำงานและแต่งงานกันไปบ้างแล้ว คงเหลือแต่เด็กเล็กรุ่นหลัง 39 คน นางหยวนใช้บ้านที่ลูกชายให้เป็นสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าเกือบ 20 คน ชั้นหนึ่งไว้ให้เด็กเล่น ชั้นสองไว้ใช้หลับนอน ที่เหลือแบ่งไปฝากให้พี่สาวและน้องสาวเลี้ยงบ้าง แบ่งไปพักอาศัยที่ห้องแถวใกล้สวนดอกไม้เก่าโดยจ้างหญิงชราเก็บขยะคอยช่วยดูแลบ้าง แบ่งไปฝากไว้ที่ตึกญาติผู้ป่วยของโรงพยาบาลประชาชนประจำตำบลบ้าง ทุกครั้งที่นางหยวนไปเยี่ยม เด็กๆ ทุกคนจะวิ่งเร่งเข้ามาหาพร้อมตะโกนเรียกนางหยวนว่า “แม่”
เรื่องราวของนางหยวนลี่ไฮ่เป็นที่ฮือฮาในสังคมจีนอย่างมาก กระแสหนึ่งยกย่องให้นางหยวนเป็น “แม่พระ” (爱心妈妈) อีกกระแสหนึ่งก็ให้เรียกสมญานามนางหยวนว่า “ปีศาจ” (魔鬼) เพราะสงสัยว่าใช้เด็กสร้างกระแสทำเงิน บ้างก็อ้างว่านางหยวนนำเด็กที่แข็งแรงไปขายให้กับผู้ที่เต็มใจรับเลี้ยง บ้างก็อ้างว่านางหยวนทำเช่นนี้เพื่อหลอกเอาเบี้ยเลี้ยงชีพจากรัฐ (ปัจจุบันนางหยวนขึ้นทะเบียนลูกบุญธรรมถึง 20 คน ได้รับเบี้ยเลี้ยงชีพทั้งหมด 5,520 หยวน (27,600บาท) ต่อหนึ่งฤดูกาล) อย่างไรก็ดี พึงสังเกต นโยบายเบี้ยเลี้ยงชีพสำหรับเด็กนี้เพิ่งเริ่มประกาศใช้ในปี 2006 นี้เอง
ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว นางหยวนลี่ไฮ่แย้งว่า “ฉันไม่เคยรับเงินสักแดงเดียว ฉันจะยกเด็กให้ผู้ใจบุญคนนั้นๆ ก็ต่อเมื่อพิจารณาแล้วว่าเขามีปัญญาเลี้ยงได้ดีกว่าตัวเอง ส่วนเบี้ยเลี้ยงชีพที่ได้จากรัฐก็ใช้จ่ายไปกับเด็กๆ หมดแล้ว ค่านมก็ปาเข้าไป 5,000-6,000 หยวน ( 25,000-30,000 บาท) ต่อเดือน ทั้งยังมีค่าจ้างคนงาน ของใช้ส่วนตัวต่างๆ สรุปแล้วเด็กแต่ละคนมีค่าใช้จ่าย 400-500 หยวน (2,000-2,500) ต่อเดือน นี่ยังไม่นับค่าเล่าเรียนสำหรับเด็กที่โตแล้ว ความหวังอันสูงสุดของฉัน คือ การที่เด็กเล็กทุกคนในที่นี้มีนมดื่ม เด็กโตทุกคนในที่นี่ได้มีโอกาสเล่าเรียน”
นางหยวนลี่ไฮ่ไม่เคยคิดที่จะทอดทิ้งเด็กๆ ไม่ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมายสักเพียงไหน มีเพียงอัตราการตายของเด็กๆ ที่สูงถึง 30% คือ สิ่งที่นางหยวนกลัดกลุ้ม “เนื่องจากเด็กๆ ที่เรารับเลี้ยงมักมีปัญหาสุขภาพเป็นทุนเดิม อีกทั้งกลุ่มผู้ดูแลเด็กๆ ล้วนเป็นผู้สูงอายุ จึงขาดความรู้ทางด้านสาธารณสุข เด็กที่รับเลี้ยงจำนวนไม่น้อย อยู่กับเราได้ไม่นาน ก็ต้องตายจากไป” ส่วนสาเหตุที่ไม่นางหยวนไม่ส่งเด็กๆ ไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าที่มีอยู่แล้วนั้น นางหยวนลี่ไฮ่ชี้แจงว่า “แต่แรก มีคนเอาเด็กมาทิ้งไว้ให้ พอเลี้ยงๆ ไปก็เกิดความผูกพัน ทำใจไม่ได้ที่ต้องแยกจากกัน เพิ่งปลายปี 2009 มานี้ถึงเริ่มจะแบ่งไปให้ทางสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าไคเฟิงบ้าง”
กรณีของนางหยวนลี่ไฮ่ทำให้สังคมถามหาความรับผิดชอบจากรัฐบาลท้องถิ่น ตำบลผู้ช่วยหัวหน้าแผนกสังคมสงเคราะห์หลานเข่าชี้แจงว่า “ทันทีที่ได้รับรายงาน ทางการก็ให้การสนับสนุนกับนางหยวน พวกเราไปเยี่ยมที่บ้านหลายครั้ง ทั้งยังให้การสนับสนุนทางงบประมาณนับแต่ปี 2010 เป็นต้นมา แต่เด็กที่นางหยวนรับเลี้ยงมีมากเกินไป การเติบโตของเด็กๆ จึงขาดหลักประกัน ทางเราได้ขอให้หยุดรับเด็กเพิ่มแล้ว และหวังว่านางหยวนจะส่งเด็กๆ เข้าสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าของรัฐ เพราะแม้จิตที่เมตตาของนางหยวนจะเป็นที่ยอมรับทางอารมณ์และเหตุผลทางศีลธรรม แต่ไม่เป็นที่ยอมรับทางกฎหมาย”
กระทั่งวันที่ 4 ม.ค 2013 เวลา 8.30 น. ขณะที่นางหยวนลี่ไฮ่ไปส่งเด็กๆ เข้าเรียนเช่นทุกวัน ก็เกิดเหตุไฟไหม้ควันขโมงขึ้นที่บ้านสองชั้นของนางหยวน (ภายหลังการสืบสวน พบว่าชนวนมาจากของเล่นเด็ก) แม้ว่าชาวบ้านจะระดมกำลังช่วยดับไฟ แต่เพราะความหนาวจัดทำให้น้ำกลายเป็นน้ำแข็ง จึงได้แต่มองไฟที่ลุกลามจากชั้นหนึ่งขึ้นชั้นสองกันตาปริบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเด็กพิการหลายคนติดอยู่ในนั้น ไม่มีใครรู้เลยว่า เด็กหูหนวก เป็นใบ้ หรือเด็กปัญญาอ่อนจะดิ้นรนอย่างไรเพื่อเอาชีวิตรอด ภายหลังการช่วยเหลือของพนักงานดับเพลิง นางหยวนรีบกระโจนเข้าไปในห้องครัวเพื่อช่วยชีวิตเด็กๆ อย่างรวดเร็ว ทว่า ก็มีเด็กที่ทนพิษบาดเจ็บไม่ไหว เสียชีวิตไปแล้ว 7 ราย หนึ่งในนั้นมีเด็กโตที่สุดอายุราว 20 ปีป่วยเป็นอัมพาต และเด็กเล็กที่สุดอายุ 7 เดือนซึ่งยังไม่ทันได้ตั้งชื่อ ที่เหลืออีก 10 คนถูกส่งตัวไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าไคเฟิง
เพราะใจอ่อนล้าและร่างกายที่บาดเจ็บ จนถึงวันนี้นางหยวนลี่ไฮ่ยังคงรับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล แม้จะมีลูกชายและลูกสะใภ้คอยเฝ้าอยู่ข้างๆ แต่นางหยวนก็มิคลายความเศร้าสลดใจ “เด็กๆ ที่ตายไปมิอาจพบหน้า ส่วนเด็กๆ ที่ย้ายไปอยู่สถานกำพร้าไคเฟิง แม้จะพบหน้ากันแต่ก็มิอาจฉลองตรุษจีนร่วมกัน เมื่อก่อนฉันจะอาบน้ำ แต่งตัว และทำผมต้อนรับตรุษจีนให้พวกเขาทุกปี ฉันไม่กล้านึกถึงวันเก่าๆ เลยจริงๆ” เมื่อถามถึงพรปีใหม่ นางหยวนรำพึง “วันส่งท้ายปีฉันเตรียมจะห่อเกี๊ยว และเอาไปเยี่ยมเด็กๆ ที่ไคเฟิง”
อย่างไรก็ดี เร็วๆ นี้ก็ยังมีข่าวกล่าวหาว่า นางหยวนใช้เบี้ยเลี้ยงชีพและเงินที่ขายเด็กกำพร้าไปซื้อบ้านถึง 20 หลัง ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว ลูกชายของนางหยวนถึงกับร้องไห้ ด้วยความคับแค้นใจ “ผมโตมาอย่างยากลำบากกับเด็กๆ พวกนี้ อย่ามาใส่ร้ายแม่ผมอีกเลย แค่นี้แม่ก็เจ็บจนเกินจะรับไหวแล้ว”