เอเยนซี- สื่อจีนรายงาน มลพิษทางอากาศสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจจีนเป็นอย่างมาก ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยเทียบได้เท่ากับ 1.2 เปอร์เซนต์ ของ GDP ) ในขณะที่ 7 เมืองของจีน ติดโผ 10 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก
สื่อจีนรายงาน ผลการวิเคราะห์อนาคตความยั่งยืนทางสภาวะแวดล้อมของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะแวดล้อมของจีนและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี ระบุว่า จากความต้องการบริโภคทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น ปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพของประชากร รวมทั้งระบบนิเวศน์จากมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้น
จากรายงานชิ้นดังกล่าว พบว่า จากทั้งหมด 500 เมืองใหญ่ของจีน มีเพียง 1 เปอร์เซนต์ เท่านั้นที่ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศตามข้อแนะนำขององค์กรอนามัยโลก ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ทำการทบทวนมาตรฐานอากาศกันใหม่ สรุปว่าระดับความหนาแน่นอากาศเสียที่ 200 ก็ถือว่าเป็นมลพิษขนาดหนัก และเป็นผลเสียต่อปอดและหัวใจของผู้ที่สูดควันพิษเข้าไป หากว่าวัดค่าได้ที่ 300 นั้น ถือว่าเป็นระดับที่อันตรายต่อประชาชนอย่างยิ่งยวดนั้น พบว่า มีถึง 10 เมืองที่ระดับมลพิษเข้าข่ายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ในขณะที่ 7 เมืองของจีน ติดโผ 10 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก

มากกว่า 1 ใน 3 ของเมืองที่ทำการสำรวจ พบว่ามีค่าฝุ่นละอองหยาบ หรือ (PM10) มากกว่าระดับ 2 นอกจากนี้ เมืองส่วนใหญ่ในประเทศจีนยังมีค่า ฝุ่นละเอียดหรือฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) ในระดับเข้มข้นสูงอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ประเทศจีนยังต้องเผชิญกับมลพิษภายในอาคาร จากการวิจัยของสมาคมผู้บริโภคจีน พบว่า มีค่าฟอร์มาลดีไฮด์ภายในอาคารในเมืองปักกิ่ง สูงถึง 73 เปอร์เซนต์ ที่หังโจวสูงถึง 79 เปอร์เซนต์ และห้องที่มีการตกแต่งใหม่สูงถึง 90 เปอร์เซนต์



จากฐานข้อมูลทางการสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศทำให้ปอดทำงานได้แย่ลง อันเป็นปัจจัยให้อัตราการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น พร้อมกับอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว เอดีบีได้เรียกร้องให้ทางการจีนให้ความสำคัญกับการออกนโยบายประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบ ในขณะที่รายงานการวิเคราะห์อนาคตความยั่งยืนทางสภาวะแวดล้อมของสาธารณประชาชนจีน เสนอให้ปฏิรูประบบกำหนดราคาทรัพยากร และลดภาษีให้กับการลงทุนด้านควบคุมมลพิษ
สื่อจีนรายงาน ผลการวิเคราะห์อนาคตความยั่งยืนทางสภาวะแวดล้อมของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะแวดล้อมของจีนและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือเอดีบี ระบุว่า จากความต้องการบริโภคทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น ปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพของประชากร รวมทั้งระบบนิเวศน์จากมลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้น
จากรายงานชิ้นดังกล่าว พบว่า จากทั้งหมด 500 เมืองใหญ่ของจีน มีเพียง 1 เปอร์เซนต์ เท่านั้นที่ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศตามข้อแนะนำขององค์กรอนามัยโลก ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ทางการจีนได้ทำการทบทวนมาตรฐานอากาศกันใหม่ สรุปว่าระดับความหนาแน่นอากาศเสียที่ 200 ก็ถือว่าเป็นมลพิษขนาดหนัก และเป็นผลเสียต่อปอดและหัวใจของผู้ที่สูดควันพิษเข้าไป หากว่าวัดค่าได้ที่ 300 นั้น ถือว่าเป็นระดับที่อันตรายต่อประชาชนอย่างยิ่งยวดนั้น พบว่า มีถึง 10 เมืองที่ระดับมลพิษเข้าข่ายเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ในขณะที่ 7 เมืองของจีน ติดโผ 10 อันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก
มากกว่า 1 ใน 3 ของเมืองที่ทำการสำรวจ พบว่ามีค่าฝุ่นละอองหยาบ หรือ (PM10) มากกว่าระดับ 2 นอกจากนี้ เมืองส่วนใหญ่ในประเทศจีนยังมีค่า ฝุ่นละเอียดหรือฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) ในระดับเข้มข้นสูงอีกด้วย ไม่เพียงเท่านี้ ประเทศจีนยังต้องเผชิญกับมลพิษภายในอาคาร จากการวิจัยของสมาคมผู้บริโภคจีน พบว่า มีค่าฟอร์มาลดีไฮด์ภายในอาคารในเมืองปักกิ่ง สูงถึง 73 เปอร์เซนต์ ที่หังโจวสูงถึง 79 เปอร์เซนต์ และห้องที่มีการตกแต่งใหม่สูงถึง 90 เปอร์เซนต์
จากฐานข้อมูลทางการสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่า มลพิษทางอากาศทำให้ปอดทำงานได้แย่ลง อันเป็นปัจจัยให้อัตราการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยเกิดโรคทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น พร้อมกับอัตราการเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกด้วย
เพื่อที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว เอดีบีได้เรียกร้องให้ทางการจีนให้ความสำคัญกับการออกนโยบายประหยัดพลังงานอย่างเป็นระบบ ในขณะที่รายงานการวิเคราะห์อนาคตความยั่งยืนทางสภาวะแวดล้อมของสาธารณประชาชนจีน เสนอให้ปฏิรูประบบกำหนดราคาทรัพยากร และลดภาษีให้กับการลงทุนด้านควบคุมมลพิษ