xs
xsm
sm
md
lg

รำลึก “75 ปี สงครามนานกิง” รำลึกประวัติศาสตร์เพื่อแสวงหาโลกสันติภาพ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ประชาชนเข้าร่วมพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
ASTVผู้จัดการออนไลน์/เอเจนซี--เสียงไซเรนดังก้องทั่วนครหนันจิง (นานกิง) ในเช้านี้(13 ธ.ค.) ย้ำเตือนวาระรำลึกสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่ “การข่มขืน” ครั้งหฤโหดโดยกองทัพญี่ปุ่นเมื่อ 75 ปี ที่แล้ว ที่ชาวโลกรู้จักดีในชื่อ "ข่มขืนนานกิง" (Rape Nanjing)

ประชาชน ถึง 9,000 คน ได้มายัง “พิพิธภัณฑ์สงครามสังหารครั้งใหญ่แห่งนานกิง” (Nanjing Massacre Museum) เข้าร่วมพิธีรำลึกสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่ระหว่างที่กองทัพพระจักรพรรดิแดนอาทิตย์อุทัย บุกยึดเมืองนานกิง เมื่อปี 2480 (1937) เนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี ของสงครามฯ ซึ่งได้กำหนดเป็นวันที่ 13 ธ.ค. ของทุกปี พิธีเริ่มด้วยการร้องเพลงชาติจีน เหล่าทหารถือพวงหรีดขนาดใหญ่ตบเท้าขึ้นมายังเวทีพิธีสักการะดวงวิญญาณเหยื่อผู้สูญเสียชีวิตในสงครามฯ

ก่อนพิธีฯเริ่ม หญิงชราคนหนึ่งสะอื้อไห้ขณะวางดอกไม้ที่กำแพงป้ายชื่อผู้สูญเสียชีวิตในสงครามนานกิง ซึ่งมีรายชื่อผู้เป็นที่รักในครอบครัวของเธอรวมอยู่ด้วย กลุ่มพระสาวกพุทธศาสนาชาวจีนและชาวญี่ปุนได้ร่วมกันสวดมนต์วิงวอนสันติภาพโลก

คืนวานนี้(12 ธ.ค.) ที่ลานสักการะ อนุสรณ์สถานแห่งหงตง ยังมี “พิธีจุดเทียนสันติภาพ สักการะแด่ดวงวิญญาณเหยื่อสงครามฆ่าล้างใหญ่ในหนันจิง” กลุ่มผู้เข้าร่วมพิธีจากทั่วโลก ได้แก่ ผู้แทนจากประเทศต่างๆ สหรัฐอเมริกา แคนาดา รัสเซีย สาธารณรัฐเช็ก กรีก สเปน เกาหลีใต้ อินเดีย เนปาล ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง เป็นต้น ตลอดจนผู้แทนจากพิพิธภัณฑ์รำลึกสงครามต่อต้านญี่ปุ่นของกลุ่มชาวจีน พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์กองทัพญี่ปุนบุกยึดดินแดนจีน “จิ่ว อี ปา” หรือวันเหตุการณ์ 18 ก.ย.แห่งนครเสิ่นหยัง (วันที่กองมทัพญี่่ปุนบุกมาถึงดินแดนจีนครั้งแรกที่นครเสิ่นหยังปี 1931) พิพิธภัณฑ์พระราชวังจักรพรรดิแมนจูหุ่นเชิดแห่งนครฉางชุน ฯลฯ

กลุ่มญาติมิตรของเหยื่อสงคราม ผู้รักสันติภาพจากทั่วโลก ได้เดินทางมาร่วมกันจุดเทียนฉายแสงวิงวอนขอสันติภาพอีกครั้งในวันรำลึกถึงเหยื่อสงครามล้างเผ่าพันธุ์ที่นครหนันจิง ปีที่ 75

“พิธีจุดเทียนสันติภาพ สักการะแด่ดวงวิญญาณเหยื่อสงครามฆ่าล้างใหญ่ในหนันจิง” เป็นหนึ่งในกิจกรรมรำลึกถึงเหยื่อสงครามฯ จัดโดยอนุสรณ์สถานแด่พี่น้องร่วมชาติเหยื่อสงครามญี่ปุ่นบุกนานจิง กิจกรรมฯนี้เริ่มจัดมาแต่ปี 2552 และนับเป็นครั้งที่ 4 ที่มีการเชิญนักรณรรงค์ผู้รักสันติภาพทั่วโลกมาร่วมกิจกรรมด้วย

น้ำตาหลั่งรินท่ามกลางกลุ่มเปลวเพลิงสั่นไหว
กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400 คน ได้ทยอยกันจุดเทียน 3,000 เล่ม น้ำตาเทียนหยดลงอาบป้ายสีดำไร้ตัวอักษรรำลึกดวงวิญญาณของเหยื่อสงครามฯ ทีละป้าย...ทีละป้าย...ท่ามกลางบรรยากาศวิงวอนขอสันติภาพ

นักเรียนจากฮ่องกงที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “เหมือนอย่างในตำราบรรยายไว้เลย เต็มไปด้วยความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ เจ็บปวดอย่างสุดทนทาน....”

เกา เหยาฮั่น วัย 78 บุตรชายของทหารนักบินที่ขับเครื่องบินรบโจมตีศัตรูผู้รุกราน ก็ได้มาร่วมพิธีฯ “หวังงว่ากิจกรรมรำลึกฯที่จัดนี้ จะช่วยให้คนทั่วโลกเข้าใจประวัติศาสตร์ โลกไม่ต้องการสงคราม” ทุกครั้งที่มาที่นี่ ทำให้เขารู้สึกปวดร้าวใจ อย่างยากที่จะข่มให้สงบนิ่งลงได้

นักรณรงค์สันติภาพจากสเปน บอกกับผู้สื่อข่าวจีน ว่า การเดินทางมาร่วมกิจกกรรมฯนี้ เป็นการมาเยือนหนันจิงเป็นครั้งแรกของเธอ เธอเพิ่งได้รู้เกี่ยวกับสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จากภาพยนตร์เรื่อง "ดอกไม้กลางไฟสงครามนานกิง" (《金陵十三钗》/The Flowers Of War) พวกเขารังเกลียดสงครามมาก และหวังในโลกสันติภาพ

สงครามสังหารใหญ่ในนานกิง เริ่มต้นเมื่อกองทัพญี่ปุนได้ยาตราทัพยึดเมืองนานกิงเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 1937 จากนั้นทหารญี่ปุ่นก็ได้ทำลายล้างเมือง สังหาร ข่มขืน อย่างโหดเหี้ยมที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ข้อมูลฝ่ายจีนระบุ ชาวจีนทั้งทหารและพลเรือน 300,000 คน สังเวยชีวิตในการสังหารอย่างบ้าคลั่ง
กลุ่มสถาบันการศึกษาต่างแดนระบุจำนวนเหยื่อฯต่ำกว่านี้ อาทิ นักประวัติศาสตร์จีนชื่อดัง นาย โจนาธาน สเปนซ์ (Jonathan Spence) ระบุตัวเลขเหยื่อสงครามนานกิง ได้แก่ ทหารและพลเมือง 42,000 คน ถูกสังหาร, ผู้หญิง 20,000 คน ถูกข่มขืน โดยหลายๆคนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

นาย ไค ซาโตรุ (Kai Satoru) บุตรชายของทหารญี่ปุ่นที่ประจำการในจีนช่วงสงครามนานกิง ได้มาเข้าร่วมพิธีฯในวันนี้ด้วย

“ผมยอมรับโดยดุษณีต่ออาชญากรรมทั้งหมด พวกเขา (ทหารญี่ปุ่น) แข่งขันกันสังหารประชาชน” ไค ซาโตรุ บอกกับกลุ่มผู้สื่อข่าว “พวกเราที่รอดชีวิต ล้มหายตายจากไปทุกๆปี เราต้องไม่ลืมประวัติศาสตร์ เพื่อที่จะไม่ทำผิดกันอีก”


ชมภาพบรรยากาศพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ข่มขืนนานกิง” (Rape of Nanking) ฝ่ายจีนระบุกองทัพญี่ปุ่น สังหารประชาชนจีนในหนันจิง 300,000 คน กลุ่มพันธมิตรหลังสงครามระบุ ตัวเลขผู้เสียชีวิตในสงครามนานกิง 142,000 คน ขณะที่กลุ่มนักการเมืองฝ่ายขวาและนักวิชาการบางคนในญี่ปุน ว่า ไม่เคยมีสงครามฆ่าล้างที่นานกิง อุบัติขึ้น (ภาพรอยเตอร์)
เจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยเสริมการทหาร ในพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค.  ตัวเลขที่ป้าย “1937.12.13 – 1938.1” คือช่วงเวลาเกิดสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่นานกิง (ภาพรอยเตอร์)
เจ้าหน้าที่ตำรวจจากหน่วยเสริมการทหารกำลังถือพวงหรีดในพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
นักเรียนถือดอกไม้ไว้อาลัยเหยื่อสงครามในเข้าร่วมพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
กลุ่มนักเรียนกำลังวางดอกไม้ไว้อาลัยเหยื่อสงครามในเข้าร่วมพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารหมู่ครั้งใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
นักเรียนสองคนที่มาเข้าร่วมพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
ผู้รอดชีวิตจากสงครามกำลังตีกลองสันติภาพในพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
กลุ่มผู้รอดชีวิตจากสงครามนานกิง ในพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
โครงกระดูกเหยื่อผู้เสียชีวิตในสงครามนานกิง ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
ชายจีนยืนมองฝูงนกพิราบบินระหว่างพิธีรำลึก 75 ปี สงครามสังหารใหญ่ที่หนันจิง (นานกิง)ที่ อนุสรณ์สถานสงครามสังหารใหญ่แห่งนครหนันจิง มณฑลเจียงซู วันที่ 13 ธ.ค. (ภาพรอยเตอร์)
กำลังโหลดความคิดเห็น