ซินหวา-เทศกาลไหว้พระจันทร์รับประทานขนมไหว้พระจันทร์ เฉกเช่นเดียวกับเทศกาลบ๊ะจ่างรับประทานบ๊ะจ่าง เทศกาลหยวนเซียวรับประทานบัวลอย เป็นประเพณีจีนที่สืบทอดกันมานานนม ซึ่งปัจจุบันขนมไหว้พระจันทร์ที่พบเห็นตามท้องตลาดส่วนใหญ่ทำจากเครื่องจักร ที่ปั้นจากสองมือนับได้ว่าหายากยิ่ง แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ในอดีตจึงค่อยๆกลายเป็นสิ่งของล้ำค่าที่ผู้คนสรรหาเพื่อการเก็บสะสม
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ที่ทำจากไม้กลายเป็นมรดกที่เปี่ยมไปด้วยร่องรอยของวัฒนธรรมการไหว้พระจันทร์ที่สืบทอดมาแต่โบราณนับพันปี ลวดลายแกะสลักบนแม่พิมพ์ฯ บ่งบอกความหวัง ความปรารถนา ของผู้คน ผ่านคำอวยพรและคำมงคลต่างๆ
เทศกาลไหว้พระจันทร์และขนมไหว้พระจันทร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของการพบปะพร้อมหน้าของคนในครอบครัว ซึ่งพิธีไหว้หรือบูชาพระจันทร์ก็เป็นประเพณีที่มีมาแต่อดีต ในยุคหลังสมัยเว่ย (สมัยโจโฉ) มีโคลงกลอนชมจันทร์มากมาย เช่น กลอนของกวีเอกซูตงปอ เป็นต้น
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งการทำแม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนสามารถทำขนมไหว้พระจันทร์ไว้รับประทานเอง ทำให้แม่พิมพ์ฯกลายเป็นของใช้จำเป็นชิ้นหนึ่งในบ้านไปโดยปริยาย
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์โบราณ ที่ถูกเก็บรักษามาจนถึงปัจจุบัน พบมากสุดเป็นแม่พิมพ์ในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิง จนถึงยุคร่วมสมัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ทำจากต้นพุทรา หรือต้นสาลี่ มีบ้างที่ทำจากดินเผา หรือเซรามิค
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์เป็นงานศิลปะที่ผสานเข้าด้วยกันกับวิถีชีวิตผู้คนในสมัยโบราณ สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการทำแม่พิมพ์คือ การแกะสลักลวดลาย เพื่อให้ปรากฏอยู่บนขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ตลอดจนมาตรฐานงานฝีมือของผู้แกะสลัก เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ลวดลายของแม่พิมพ์ที่มักพบเห็นได้แก่ ลายฉังเอ๋อ (เทพธิดาผู้สถิตอยู่บนดวงจันทร์ตามตำนาน) ลายกระต่ายหยก ลายอู๋กัง (หนุ่มผู้พบรักกับฉังเอ๋อ) ลายสัตว์โบราณ อาทิ มังกร กิเลน ฯ ลายไม้ดอกโบราณ อาทิ อบเชย เหมย ไผ่ เบญมาศ ฯ ลายฮก ลก ซิ่ว ลายพระจันทร์เต็มดวง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นลวดลายที่ยังคงอยู่ควบคู่กับแม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์มาจนถึงทุกวันนี้
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ถือเป็นบันทึกในอีกรูปแบบหนึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการของประเพณีจีนก็ว่าได้ ลวดลายศิลปะบนแม่พิมพ์บ่งบอกถึงการสั่งสมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนนับพันปี เป็นสิ่งของที่มีแนวคิดความงามแบบชาวบ้านคลาสสิค แต่อีกแง่หนึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการสร้างงานศิลป์แบบชาวบ้านและระบบการสร้างแบบจำลองของจีน
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ที่ทำจากไม้กลายเป็นมรดกที่เปี่ยมไปด้วยร่องรอยของวัฒนธรรมการไหว้พระจันทร์ที่สืบทอดมาแต่โบราณนับพันปี ลวดลายแกะสลักบนแม่พิมพ์ฯ บ่งบอกความหวัง ความปรารถนา ของผู้คน ผ่านคำอวยพรและคำมงคลต่างๆ
เทศกาลไหว้พระจันทร์และขนมไหว้พระจันทร์ถือเป็นสัญลักษณ์ของการพบปะพร้อมหน้าของคนในครอบครัว ซึ่งพิธีไหว้หรือบูชาพระจันทร์ก็เป็นประเพณีที่มีมาแต่อดีต ในยุคหลังสมัยเว่ย (สมัยโจโฉ) มีโคลงกลอนชมจันทร์มากมาย เช่น กลอนของกวีเอกซูตงปอ เป็นต้น
ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งการทำแม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนสามารถทำขนมไหว้พระจันทร์ไว้รับประทานเอง ทำให้แม่พิมพ์ฯกลายเป็นของใช้จำเป็นชิ้นหนึ่งในบ้านไปโดยปริยาย
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์โบราณ ที่ถูกเก็บรักษามาจนถึงปัจจุบัน พบมากสุดเป็นแม่พิมพ์ในยุคสมัยราชวงศ์หมิงและชิง จนถึงยุคร่วมสมัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ทำจากต้นพุทรา หรือต้นสาลี่ มีบ้างที่ทำจากดินเผา หรือเซรามิค
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์เป็นงานศิลปะที่ผสานเข้าด้วยกันกับวิถีชีวิตผู้คนในสมัยโบราณ สิ่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดในการทำแม่พิมพ์คือ การแกะสลักลวดลาย เพื่อให้ปรากฏอยู่บนขนมไหว้พระจันทร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจินตนาการ ตลอดจนมาตรฐานงานฝีมือของผู้แกะสลัก เป็นต้น
โดยสรุปแล้ว ลวดลายของแม่พิมพ์ที่มักพบเห็นได้แก่ ลายฉังเอ๋อ (เทพธิดาผู้สถิตอยู่บนดวงจันทร์ตามตำนาน) ลายกระต่ายหยก ลายอู๋กัง (หนุ่มผู้พบรักกับฉังเอ๋อ) ลายสัตว์โบราณ อาทิ มังกร กิเลน ฯ ลายไม้ดอกโบราณ อาทิ อบเชย เหมย ไผ่ เบญมาศ ฯ ลายฮก ลก ซิ่ว ลายพระจันทร์เต็มดวง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นลวดลายที่ยังคงอยู่ควบคู่กับแม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์มาจนถึงทุกวันนี้
แม่พิมพ์ขนมไหว้พระจันทร์ถือเป็นบันทึกในอีกรูปแบบหนึ่งเกี่ยวกับวิวัฒนาการของประเพณีจีนก็ว่าได้ ลวดลายศิลปะบนแม่พิมพ์บ่งบอกถึงการสั่งสมประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีนนับพันปี เป็นสิ่งของที่มีแนวคิดความงามแบบชาวบ้านคลาสสิค แต่อีกแง่หนึ่งก็แสดงให้เห็นถึงระบบการสร้างงานศิลป์แบบชาวบ้านและระบบการสร้างแบบจำลองของจีน