xs
xsm
sm
md
lg

สำรวจเสียงส่วนใหญ่คนจีน-ไต้หวัน หวังรัฐจับมือแก้ปัญหาน่านน้ำกับยุ่น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แฟ้มภาพ – การพิพาทล่าสุดเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นพยายามล้อมกรอบมิให้เรือไต้หวันเข้าถึงเกาะเตี้ยวอี๋ว์ 4 ก.ค. (ภาพเฟิ่งหวง)
เอเอฟพี - ผลสำรวจเผย (19 ก.ย.) เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่คาดหวังว่ารัฐบาลของทั้งสองฝ่ายจะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาพิพาทน่านน้ำกับญี่ปุ่นแถบทะเลจีนตะวันออกในระยะยาวได้

ปัญหาขัดแย้งหมู่เกาะเตี้ยวอี๋ว์หรือเซนกากุในภาษาญี่ปุ่นบริเวณน่านน้ำพิพาทในทะเลจีนตะวันออก กลายเป็นปัญหาระยะยาวระหว่างไต้หวันกับจีน และญี่ปุ่น ทุกฝ่ายอ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นอาณาธิปไตยของตน

ไชน่าไทมส์ของฝั่งไต้หวัน กับโกลบอลไทมส์ของฝั่งจีนทำการสำรวจความเห็นประชาชนร่วมกัน ระบุว่า ในจีน ประชาชนร้อยละ 85.3 จาก 1,502 คนที่ให้การสัมภาษณ์เห็นด้วยที่จะให้จีนร่วมมือกับไต้หวัน ขณะที่อีก 8.8 เปอร์เซ็นต์ไม่เห็นด้วย

ส่วนในไต้หวัน ประชาชนที่ร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 1,500 คน ร้อยละ 51.1 เห็นด้วยให้มีความร่วมมือฯ ขณะที่อีกร้อยละ 27.5 ไม่เห็นด้วย

นอกจากนั้นชาวจีนกว่า 90.8 เปอร์เซ็นต์ให้การสนับสนุนการใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหาหากจำเป็น ขณะที่อีกร้อยละ 52.1 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะนำมาสู่ความขัดแย้งทางทหารอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

ขณะที่ฝั่งไต้หวัน ผู้เห็นชอบให้ใช้กำลังทหารแก้ปัญหาอยู่ที่เพียง 41.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สัดส่วนผู้ที่เชื่อว่าจะนำมาสู่ความขัดแย้งทางการทหารมีเพียง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

จีนและญี่ปุ่นขัดแย้งเกี่ยวกับพื้นที่เกาะร้างเหล่านี้มายาวนาน ด้วยความปรารถนาที่จะได้หมู่เกาะเหล่านี้มาครอบครอบเพราะเชื่อว่ารายล้อมไปด้วยน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ไต้หวันเองก็อ้างว่าเกาะนี้เป็นของตน นักเคลื่อนไหวท้องถิ่นในไต้หวันพยายามแล่นเรือไปยังน่านน้ำพิพาทเพื่อตอกย้ำสิทธิของไต้หวันเหนือพื้นน้ำดังกล่าวในเดือนนี้ ทำให้เกิดเหตุการณ์เรือยามฝั่งญี่ปุ่นแล่นเข้ามาปะทะกันในน่านน้ำใกล้กับหมู่เกาะพิพาท (4 ก.ค.)

ไต้หวันและจีนแบ่งแยกการปกครองกันมานับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2492 แต่จีนยังคงอ้างว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตนทำให้กลายเป็นความไม่ลงรอยสืบมา ต่อมารัฐบาลหม่า อิงจิ่วขึ้นนั่งเก้าอี้ผู้นำไต้หวันในปี 2551 ใช้นโยบายสัมพันธ์ดีกับจีน ทำให้ความตึงเครียดผ่อนคลายลง
กำลังโหลดความคิดเห็น