xs
xsm
sm
md
lg

พญามังกรส่ง “เสินโจว 8” ขึ้นสู่วงโคจรสำเร็จ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ยานอวกาศเสินโจว 8 ถูกส่งขึ้นสู่วิถีโคจรที่กำหนดสำเร็จอย่างงดงาม หลังจากทำการยิงเมื่อเวลา 5.58 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ ศูนย์ยิงจรวดจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ โดยใช้จรวดขนส่งฉังเจิง 2 เอฟ (หรือ Long March 2F) เป็นจรวดขนส่ง (ภาพไชน่าเดลี)
เอเยนซี - ชัง หวันเฉวียน ผู้บังคับบัญชาโครงการส่งยานอวกาศที่มีนักบินอวกาศโดยสารแห่งจีน ได้ประกาศเช้าตรู่วันนี้ (1 พ.ย.) ว่า การปล่อยยานอวกาศไร้มนุษย์บังคับเสินโจว 8 สำเร็จแล้ว

ยานอวกาศเสินโจว 8 ถูกส่งขึ้นสู่วิถีโคจรที่กำหนดสำเร็จอย่างงดงาม หลังจากทำการยิงเมื่อเวลา 05.58 น.ตามเวลาท้องถิ่น ณ ศูนย์ยิงจรวดจิ่วเฉวียน มณฑลกันซู่ โดยใช้จรวดขนส่งฉังเจิง 2 เอฟ (หรือ Long March 2F) เป็นจรวดขนส่ง

จีนได้เริ่มปฏิบัติภารกิจการเชื่อมต่อยานอวกาศซึ่งเป็นก้าวแรกของการสร้างถานีอวกาศ โดยส่งโมดูลอวกาศชื่อ ‘เทียนกง-1’ ซึ่งเป็นห้องทดลองอวกาศไร้มนุษย์บังคับ เมื่อ วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา เพื่อรอยานอวกาศเวินโจว8 ที่จะมาทำการเชื่อมต่อ ซึ่งเป็นครั้งแรกของจีน

ก่อนหน้าที่เซินโจว 8 จะถูกส่งไปนี้ เทียนกง-1 จะลงเคลื่อนตัวลงมาที่วงโคจรระดับ 343 กม. เพื่อรอเชื่อมต่อกับยานเซินโจว 8 ยานฯ ทั้งสองจะเชื่อมต่อกันเป็นเวลา 12 วัน และก็จะแยกตัวจากกัน จากนั้นจะเชื่อมต่อกันอีกครั้งภายในปีนี้ และหากการเชื่อมต่อสำเร็จ จะทำให้จีนมีสถานีอวกาศถาวรของตนเองประมาณปี 2563 และจะกลายเป็นชาติที่ 3 ของโลกที่ประสบความสำเร็จ

ในการยิงจรวดขนส่งครั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีจัง เต๋อเจียง ก็เข้าร่วมด้วย นอกจากนั้นยังมีผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากหน่วยงานด้านอวกาศของยุโรปและเยอรมนีร่วมสังเกตการณ์ด้วย

คลิปการยิงจรวดฉังเจิง 2 เอฟ เพื่อส่งยานเสินโจว 8











ภาพจำลองการเชื่อมต่อฯ

หากปฏิบัติการเชื่อมต่อระหว่างเทียนกง 1 และเสินโจว 8 สำเร็จ คาดว่าปีหน้า (2555) จะส่งยานอวกาศเสินโจว 9 และเสินโจว 10 ซึ่งเป็นยานที่มีนักบินอวกาศไปด้วย ไปทดลองการเชื่อมต่อ ซึ่งจะไม่เพียงเป็นปฏิบัติการเชื่อมต่อโดยอัตโนมัติ ยังเป็นปฏิบัติเชื่อมต่อโดยการควบคุมของมนุษย์อวกาศด้วย (ภาพซีอาร์ไอ)

ภาพปฏิบัติการเชื่อมต่อยานเสินโจว 8 ซึ่งเป็นยานไร้มนุษย์บังคับ(ภาพขวา) กับโมดูลอวกาศเทียนกง1 (ภาพซ้าย) ยานเสินโจว8 เป็นยานอวกาศติดตาม ที่จะค้นหายานเป้าหมายคือ เทียนกง1 เพื่อทำการเชื่อมต่อ ด้วยระบบอัตโนมัติอาศัยคลื่นความถี่สูงและอุปกรณ์ค้นหาด้วยแสงเลเลอร์
ภาพจำลอง ภารกิจการเชื่อมต่อยานอวกาศสองลำในห้วงอวกาศ โดยยานอวกาศลำหนึ่งเรียกว่า ยานอวกาศเป้าหมาย(ภาพขวามือ) โดยทั่วไปหมายถึงสถานีอวกาศ หรือยานอวกาศขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการเชื่อมต่อ ส่วนยานอวกาศอีกลำ เรียกว่า ยานอวกาศติดตาม(ภาพซ้ายมือ) โดยทั่วไปคือยานอวกาศที่ถูกส่งมาจากพื้นดิน ซึ่งจะมาเชื่อมต่อกับยานฯเป้าหมาย
เทียนกง1 คือยานอวกาศเป้าหมายของภารกิจการเชื่อมต่อฯครั้งนี้ โดยเทียนกง1 ที่ถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา จะเปลี่ยนวงโคจรเข้าใกล้วงโคจรที่ความสูงประมาณ 350 กิโลเมตร ก่อนที่ยานเสินโจวจะถูกยิงขึ้นไป เทียนกง1 จะเริ่มปรับลดระดับ เข้าสู่วงโคจรที่จะทำการเชื่อมต่อ ที่ระดับประมาณ 343 กิโลเมตร เพื่อรอยานฯที่จะมาเชื่อมต่อ
ในขั้นตอนสืบหาด้วยระบบอัตโนมัติ ยานอวกาศติดตามจะอาศัยคลื่นความถี่สูงและอุปกรณ์ค้นหาด้วยแสงเลเลอร์ ค้นหายานฯเป้าหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น