หากกล่าวถึงกระแส J-Pop (Japanese pop culture) คนส่วนใหญ่ย่อมทราบว่าหมายถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นอันเป็นที่นิยมไม่ว่าจะเป็นละคร ภาพยนตร์เพลง เป็นต้น ซึ่งยุคหนึ่งได้รับความนิยมอย่างยิ่งในประเทศไทย ต่อมาจึงถูกแทนที่ด้วยกระแส K-Pop (Korean pop culture) ซึ่งก็คือวัฒนธรรมเกาหลี ในรูปแบบที่คล้าย ๆ กับ J-Pop นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบัน ทั้ง J-Pop และ K-Pop อาจจะต้องหลีกทางให้กับ กระแสความนิยมวัฒนธรรมไทย ซึ่งอาจเรียกได้ว่ากระแส T-Pop (Thai pop culture) ที่กำลังมาแรงอย่างยิ่งในตลาดบันเทิงขนาดใหญ่ระดับโลก อย่างประเทศจีน
หากกล่าวถึงธุรกิจบันเทิงจีนในประเทศไทย ย่อมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป เพราะดารา ละคร ภาพยนตร์ นักร้อง ตลอดจนเพลงจีนได้เข้ามาผลิดอกออกผลในตลาดบันเทิงของไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ แต่สำหรับ พ.ศ. นี้กลับเกิดปรากฏการณ์ตรงกันข้าม เพราะธุรกิจบันเทิงไทยหลายแขนง โดยเฉพาะละครไทย รวมทั้งดารา-นักร้องหลายคน กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดบันเทิงแดนมังกรที่มีขนาดและเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล ผลโหวตของผู้ชมจากสื่อจีนหลายสำนักระบุว่าความนิยมละครไทยนั้นถึงกับแซงหน้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าตลาดบังเทิงเอเชียไปเรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลการสำรวจความนิยมละครโทรทัศน์ จากรายการแห่งหนึ่งในประเทศจีนพบว่ามีผู้โหวตให้ละครโทรทัศน์เกาหลีและละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นพอๆ กันคือ จำนวน 2,000 กว่าคะแนน แต่ละครโทรทัศน์ไทยกลับมีผลโหวตมากถึง 8,000 กว่าคะแนน และแน่นอนว่าสำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ตลาดธุรกิจบันเทิงจีนจึงย่อมมีขนาดใหญ่โตมโหฬารตามไปด้วย
รายงานจากเว็บไซต์ โซหู ของประเทศจีน ได้กล่าวถึงละครไทยว่า ละครไทยดำเนินเรื่องอย่างแหลมคมแต่ไม่หยาบกระด้าง เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติกแต่ไม่ลามก มีอารมณ์ขันแต่ไม่ไร้รสนิยม และที่สำคัญมีเนื้อหาสอดคล้องกับรสนิยมชาวจีน ทั้งยังมีดาราที่เป็นลูกครึ่งเยอะกว่า หากเทียบกับละครเกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งฮ่องกง ซึ่งที่เคยเป็นที่นิยมมากในยุคก่อนหน้านี้
ปัจจุบันละครไทยในเมืองจีนส่วนใหญ่ถูกฉายผ่านทางสถานีโทรทัศน์อานฮุย และ สถานีโทรทัศน์กลางแห่งชาติจีน ช่อง 8 (CCTV8) โดยเมื่อปีพ.ศ.2547 ได้มีการนำละครไทยเรื่อง "เลือดขัตติยา"《出逃的公主》 เข้ามาชิมลางตลาดในประเทศจีน แต่ไม่ถือว่าโด่งดังมากนัก เนื่องจากผู้ชมยังคงชื่นชอบละครเกาหลีอยู่มาก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของละครไทยที่มีที่ยืนในตลาดเมืองจีน ส่วนละครไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในจีนจริงๆ คือละครเรื่อง "สงครามนางฟ้า"《天使之争》 ซึ่งออกฉายในประเทศจีนในปี พ.ศ.2552 จากนั้นจึงตามมาด้วย รอยอดีตแห่งรัก 《伤痕我心》 "พรุ่งนี้ก็รักเธอ"《明天依然爱你》 "บ่วงรักกามเทพ"《丘比特的圈套》 "แก้วล้อมเพชร"《玻钻之争》 "ดอกรักริมทาง"《爱在旅途》 "แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา" 《我家的天使与恶魔》 เป็นต้น ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นละครจากค่ายเอ็กแซ็กท์
จะเป็นอย่างไรเมื่อ "แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา" ถูกพากย์เสียงจีนทับ
เมื่อละครไทยเป็นที่นิยม สิ่งที่ตามมาคือดาราแสดงนำย่อมได้รับอานิสงส์ไปด้วย ทั้งนี้ในช่วงแรกที่ละครไทยเป็นที่นิยมในจีน ดาราดังรุ่นแรกที่มีรายชื่อติดอันดับยอดนิยมในแดนมังกรก็คือ "ติ๊ก" เจษฎาภรณ์ ผลดี เนื่องจากชาวจีนเห็นว่าเป็นดาราชายที่หุ่นดีมีเสน่ห์ดึงดูด หน้าตาหล่อไร้ที่ติ, "เคน" ธีรเดช วงค์พัวพันธ์ เพราะเป็นสุภาพบุรุษ รักครอบครัว และ "อั้ม" อธิชาติ ชุมนานนท์ ซึ่งมีดีที่หุ่น กล้ามใหญ่ ส่วนดาราหญิงที่ชาวจีนรู้จักดี อาทิ "อ้อม" พิยดา จุฑารัตนกุล, "อั้ม" พัชราภา ไชยเชื้อ, "นุ่น" วรนุช วงสวรรค์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ณ ชั่วโมงนี้ ดาราไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดในแดนมังกร จนเรียกได้ว่าแฟนคลับตี๋หมวยล้นหลามไม่แพ้ในประเทศตนเองก็ต้องเป็น "ป้อง" ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ รวมทั้ง "บี้" สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจย์ โจว (โจว เจี๋ยหลุน) เมืองไทยเลยทีเดียว
ไม่เพียงแต่ละครไทยเท่านั้นที่โกอินเตอร์ แต่ภาพยนตร์ไทย และเพลงไทยก็เริ่มเข้าไปสร้างความนิยมให้กับหนุ่มสาวแดนมังกรด้วยเช่นกัน เช่นภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม"《暹罗之恋》 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งในประเทศจีน ส่งผลให้นักแสดงนำในเรื่องและวงดนตรี AUGUST BAND โด่งดังเป็นที่รู้จักตามไปด้วย
เว็บไซต์ โซหู ยังรายงานอีกด้วยว่า กระแสความนิยมของแฟนคลับชาวจีนนั้น ไม่ได้มีแค่เพียงการตั้งกลุ่มรักดารา หรือสร้างเว็บไซต์เพื่อติดตามผลงานเท่านั้น เพราะเมื่อกระแสความนิยมถึงจุดๆ หนึ่ง การรอติดตามละครที่นำมาฉายทางโทรทัศน์ช่องปกติเริ่มไม่พออีกต่อไป แฟนคลับจึงต้องสรรหาละครใหม่ หรือข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินที่ตนชื่นชอบจากทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาจีน ดังนั้นแฟนคลับหลายคนถึงขนาดลงเรียนภาษาไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งยังมีการตั้งกลุ่มแปลบทบรรยายเป็นภาษาไทยแลกเปลี่ยนกันอีกด้วย ในทางหนึ่งจึงอาจถือได้ว่าเป็นการเผยแพร่ภาษาไทยและดึงดูดให้ชาวจีนสนใจภาษาไทยมากยิ่งขึ้นด้วย
ในทางกลับกัน ในฟากของนักแสดงไทยเอง ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการไปเติบโตยังประเทศซึ่งมีผู้ชมนับพันล้านคน นักแสดงไทยบางคน อย่างเช่น"ป้อง" ณวัฒน์ ได้รับเชิญให้ไปเล่นละครในเมืองจีน แต่ยังคงติดปัญหาที่ภาษา ศิลปินหลายคนเริ่มต้นเรียนภาษาจีน ฝึกพูดภาษาจีน ร้องเพลงจีนสำหรับไปโชว์ตัว หรือดังเช่นที่ วง AUGUST BAND ต้องออกเพลงภาษาจีน ที่มีชื่อว่า 《爱情不是一切》 (ความรักไม่ใช่ทุกอย่าง) มาเอาใจแฟนๆ ชาวจีนโดยเฉพาะ เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคสมัยนี้ใครที่สามารถสื่อสารภาษาจีนย่อมได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่า ในตลาดบันเทิงอันมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลบนแดนมังกรแห่งนี้
เพลง 《爱情不是一切》วง AUGUST BAND
อย่างไรก็ตาม ในยุคสมัยปัจจุบัน ทั้ง J-Pop และ K-Pop อาจจะต้องหลีกทางให้กับ กระแสความนิยมวัฒนธรรมไทย ซึ่งอาจเรียกได้ว่ากระแส T-Pop (Thai pop culture) ที่กำลังมาแรงอย่างยิ่งในตลาดบันเทิงขนาดใหญ่ระดับโลก อย่างประเทศจีน
หากกล่าวถึงธุรกิจบันเทิงจีนในประเทศไทย ย่อมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป เพราะดารา ละคร ภาพยนตร์ นักร้อง ตลอดจนเพลงจีนได้เข้ามาผลิดอกออกผลในตลาดบันเทิงของไทยมาเนิ่นนานหลายทศวรรษ แต่สำหรับ พ.ศ. นี้กลับเกิดปรากฏการณ์ตรงกันข้าม เพราะธุรกิจบันเทิงไทยหลายแขนง โดยเฉพาะละครไทย รวมทั้งดารา-นักร้องหลายคน กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดบันเทิงแดนมังกรที่มีขนาดและเม็ดเงินหมุนเวียนมหาศาล ผลโหวตของผู้ชมจากสื่อจีนหลายสำนักระบุว่าความนิยมละครไทยนั้นถึงกับแซงหน้าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าตลาดบังเทิงเอเชียไปเรียบร้อยแล้ว
จากข้อมูลการสำรวจความนิยมละครโทรทัศน์ จากรายการแห่งหนึ่งในประเทศจีนพบว่ามีผู้โหวตให้ละครโทรทัศน์เกาหลีและละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นพอๆ กันคือ จำนวน 2,000 กว่าคะแนน แต่ละครโทรทัศน์ไทยกลับมีผลโหวตมากถึง 8,000 กว่าคะแนน และแน่นอนว่าสำหรับประเทศที่มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน ตลาดธุรกิจบันเทิงจีนจึงย่อมมีขนาดใหญ่โตมโหฬารตามไปด้วย
รายงานจากเว็บไซต์ โซหู ของประเทศจีน ได้กล่าวถึงละครไทยว่า ละครไทยดำเนินเรื่องอย่างแหลมคมแต่ไม่หยาบกระด้าง เต็มไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกอบอุ่น โรแมนติกแต่ไม่ลามก มีอารมณ์ขันแต่ไม่ไร้รสนิยม และที่สำคัญมีเนื้อหาสอดคล้องกับรสนิยมชาวจีน ทั้งยังมีดาราที่เป็นลูกครึ่งเยอะกว่า หากเทียบกับละครเกาหลี ญี่ปุ่น หรือแม้กระทั่งฮ่องกง ซึ่งที่เคยเป็นที่นิยมมากในยุคก่อนหน้านี้
ปัจจุบันละครไทยในเมืองจีนส่วนใหญ่ถูกฉายผ่านทางสถานีโทรทัศน์อานฮุย และ สถานีโทรทัศน์กลางแห่งชาติจีน ช่อง 8 (CCTV8) โดยเมื่อปีพ.ศ.2547 ได้มีการนำละครไทยเรื่อง "เลือดขัตติยา"《出逃的公主》 เข้ามาชิมลางตลาดในประเทศจีน แต่ไม่ถือว่าโด่งดังมากนัก เนื่องจากผู้ชมยังคงชื่นชอบละครเกาหลีอยู่มาก แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นของละครไทยที่มีที่ยืนในตลาดเมืองจีน ส่วนละครไทยที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในจีนจริงๆ คือละครเรื่อง "สงครามนางฟ้า"《天使之争》 ซึ่งออกฉายในประเทศจีนในปี พ.ศ.2552 จากนั้นจึงตามมาด้วย รอยอดีตแห่งรัก 《伤痕我心》 "พรุ่งนี้ก็รักเธอ"《明天依然爱你》 "บ่วงรักกามเทพ"《丘比特的圈套》 "แก้วล้อมเพชร"《玻钻之争》 "ดอกรักริมทาง"《爱在旅途》 "แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา" 《我家的天使与恶魔》 เป็นต้น ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นละครจากค่ายเอ็กแซ็กท์
จะเป็นอย่างไรเมื่อ "แจ๋วใจร้ายกับคุณชายเทวดา" ถูกพากย์เสียงจีนทับ
เมื่อละครไทยเป็นที่นิยม สิ่งที่ตามมาคือดาราแสดงนำย่อมได้รับอานิสงส์ไปด้วย ทั้งนี้ในช่วงแรกที่ละครไทยเป็นที่นิยมในจีน ดาราดังรุ่นแรกที่มีรายชื่อติดอันดับยอดนิยมในแดนมังกรก็คือ "ติ๊ก" เจษฎาภรณ์ ผลดี เนื่องจากชาวจีนเห็นว่าเป็นดาราชายที่หุ่นดีมีเสน่ห์ดึงดูด หน้าตาหล่อไร้ที่ติ, "เคน" ธีรเดช วงค์พัวพันธ์ เพราะเป็นสุภาพบุรุษ รักครอบครัว และ "อั้ม" อธิชาติ ชุมนานนท์ ซึ่งมีดีที่หุ่น กล้ามใหญ่ ส่วนดาราหญิงที่ชาวจีนรู้จักดี อาทิ "อ้อม" พิยดา จุฑารัตนกุล, "อั้ม" พัชราภา ไชยเชื้อ, "นุ่น" วรนุช วงสวรรค์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ณ ชั่วโมงนี้ ดาราไทยที่มีชื่อเสียงที่สุดในแดนมังกร จนเรียกได้ว่าแฟนคลับตี๋หมวยล้นหลามไม่แพ้ในประเทศตนเองก็ต้องเป็น "ป้อง" ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ รวมทั้ง "บี้" สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจย์ โจว (โจว เจี๋ยหลุน) เมืองไทยเลยทีเดียว
ไม่เพียงแต่ละครไทยเท่านั้นที่โกอินเตอร์ แต่ภาพยนตร์ไทย และเพลงไทยก็เริ่มเข้าไปสร้างความนิยมให้กับหนุ่มสาวแดนมังกรด้วยเช่นกัน เช่นภาพยนตร์เรื่อง "รักแห่งสยาม"《暹罗之恋》 ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งในประเทศจีน ส่งผลให้นักแสดงนำในเรื่องและวงดนตรี AUGUST BAND โด่งดังเป็นที่รู้จักตามไปด้วย
เว็บไซต์ โซหู ยังรายงานอีกด้วยว่า กระแสความนิยมของแฟนคลับชาวจีนนั้น ไม่ได้มีแค่เพียงการตั้งกลุ่มรักดารา หรือสร้างเว็บไซต์เพื่อติดตามผลงานเท่านั้น เพราะเมื่อกระแสความนิยมถึงจุดๆ หนึ่ง การรอติดตามละครที่นำมาฉายทางโทรทัศน์ช่องปกติเริ่มไม่พออีกต่อไป แฟนคลับจึงต้องสรรหาละครใหม่ หรือข่าวสารเกี่ยวกับศิลปินที่ตนชื่นชอบจากทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ได้แปลเป็นภาษาจีน ดังนั้นแฟนคลับหลายคนถึงขนาดลงเรียนภาษาไทยอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ทั้งยังมีการตั้งกลุ่มแปลบทบรรยายเป็นภาษาไทยแลกเปลี่ยนกันอีกด้วย ในทางหนึ่งจึงอาจถือได้ว่าเป็นการเผยแพร่ภาษาไทยและดึงดูดให้ชาวจีนสนใจภาษาไทยมากยิ่งขึ้นด้วย
ในทางกลับกัน ในฟากของนักแสดงไทยเอง ก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มโอกาสในการไปเติบโตยังประเทศซึ่งมีผู้ชมนับพันล้านคน นักแสดงไทยบางคน อย่างเช่น"ป้อง" ณวัฒน์ ได้รับเชิญให้ไปเล่นละครในเมืองจีน แต่ยังคงติดปัญหาที่ภาษา ศิลปินหลายคนเริ่มต้นเรียนภาษาจีน ฝึกพูดภาษาจีน ร้องเพลงจีนสำหรับไปโชว์ตัว หรือดังเช่นที่ วง AUGUST BAND ต้องออกเพลงภาษาจีน ที่มีชื่อว่า 《爱情不是一切》 (ความรักไม่ใช่ทุกอย่าง) มาเอาใจแฟนๆ ชาวจีนโดยเฉพาะ เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่า ในยุคสมัยนี้ใครที่สามารถสื่อสารภาษาจีนย่อมได้เปรียบและมีโอกาสมากกว่า ในตลาดบันเทิงอันมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลบนแดนมังกรแห่งนี้
เพลง 《爱情不是一切》วง AUGUST BAND