xs
xsm
sm
md
lg

เมื่อมังกรกลายเป็นนายธนาคารแห่งแปซิฟิก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แผนที่เอเชียแปซิฟิก (เอเยนซี)
เอเอฟพี - จีนได้ฟื้นอิทธิพลของตนในภูมิภาคแปซิฟิก ด้วยโครงการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือเงินกู้ให้เปล่า (soft loan)ช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ อย่างลับ ๆ

นักวิชาการด้านนโยบายต่างประเทศ แห่งสถาบันโลวีเผยรายงานเมื่อวันอังคาร (5 เม.ย.) ว่า ปริมาณเงินกู้ที่จีนปล่อยให้กับบางประเทศ อาทิ ตองกา ซามัว หมู่เกาะคุก ในนิวซีแลนด์ ฯ นั้นมีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีของประเทศเหล่านี้อย่างสำคัญ

นักคิดแห่งสถาบันโลวี ออสเตรเลียได้ออกรายงานฉบับหนึ่งพาดหัวว่า “อิทธิพลจีนในแปซิฟิก: นายธนาคารใหม่ของชาติทั้งหลาย” โดยมีเนื้อหาเตือนว่า “เงินกู้ช่วยเหลือปลอดดอกเบี้ย 5 ปี จากจีนนี้ จะสร้างวิกฤติหนี้ขึ้น เมื่อพวกเขา (ประเทศลูกหนี้) ไม่สามารถจ่ายหนี้คืนจีนได้”

จีนลั่นว่าได้ให้เงินกู้แก่ประเทศต่าง ๆ ในแปซิฟิกมาตั้งแต่ปี 2548 มูลค่ากว่า 600 ล้านดอลลาร์

รายงานฯ ชี้ว่า ประเทศลูกหนี้จะรู้สึกกดดันมากขึ้น เมื่อหนี้ที่กู้จากจีนเริ่มพอกพูนและถ้าระยะเวลาผ่อนผันไม่ต้องจ่ายเงินต้นและดอกหมดไป

รายงานชี้ว่า ผลประโยชน์ของจีนในแปซิฟิกที่แท้มีรากเหง้ามาจากการแข่งขันสร้างอิทธิพลทางการทูตกับไต้หวัน ซึ่งจีนอ้างว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ตั้งแต่แบ่งแยกการปกครองหลังสงครามกลางเมืองในปี 2492

การแข่งขันอย่างดุเดือดนี้ ทำให้เห็นภาพบรรดาชาติในแปซิฟิกที่ผันเปลี่ยนความภักดีไปมาระหว่างไทเป และปักกิ่ง เพื่อให้ได้ความช่วยเหลือเพิ่ม จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งปี 2551 ไต้หวันได้หม่า อิงจิ่วที่มีนโยบายผูกมิตรกับจีนขึ้นมาเป็นประธานาธิบดี.

ดูเหมือนนโยบายแข่งกันให้ความช่วยเหลือได้ลดความร้อนแรงลงบ้างแล้ว แต่จีนก็ยังคงปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือนี้ให้กับชาติต่างๆ ในแปซิฟิกต่อไป เนื่องจากหวั่นว่า วันใดที่สัมพันธ์จีน-ไต้หวันเสื่อมทรามลง ชาติแปซิฟิกจะหนุนจีนมากกว่า “หากสัมพันธ์จีน-ไต้หวันย่ำแย่ หนี้ (ที่จีนปล่อยกู้) เหล่านี้ จีนก็จะนำมาเป็นอิทธิพลกดดันประเทศที่สวามิภักดิ์ไต้หวัน”

รายงานชี้ว่า หนี้ฯ ที่จีนปล่อยกู้ให้ประเทศตองกา มีสัดส่วนถึงร้อยละ 32 ของจีดีพีของตองกา ส่วนซามัวกัวเกาะคุกมีสัดส่วนจากจีดีพีถึงร้อยละ 16 ทีเดียว

จอช อูตอยคามานู อดีตรัฐมนตรีคลังตองกา เผยว่า ขณะนี้ตองกาได้ทำสัญญากู้เงินมากขึ้น และจะกระทบต่ออนาคตของประเทศอย่างแน่นอน

สถาบันโลวี ชี้ต่อว่า “จีนจัดให้โครงการเงินกู้ช่วยเหลือชาติต่างๆ นี้เป็นความลับของชาติ และเป็นประเด็นอ่อนไหวห้ามนำมาวิพากษ์วิจารณ์ นั่นหมายความว่า สิ่งที่จีนทำไม่โปร่งใสและแฝงเจตนาบางอย่างไว้”

ท้ายรายงานแนะว่า ควรจะมีการกดดันให้จีนทำเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา ด้วยการนำเรื่องนี้เข้าสู่สหประชาชาติหรือการประชุมจี 20

อย่างไรก็ตาม เงินกู้ช่วยเหลือจากจีนก็ส่งผลดีในการช่วยสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้กับประเทศในแปซิฟิก
กำลังโหลดความคิดเห็น