xs
xsm
sm
md
lg

ปันเชน ลามะ ชี้ทิเบต เป็น “อิสระ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ตำรวจอินเดียกำลังเข้าจับกุมชาวทิเบตพลัดถิ่นขณะที่พวกเขากำลังประท้วงรัฐบาลจีนที่หน้าสถานทูตจีนในกรุงนิว เดลี เมื่อวันที่ 9 มี.ค. ทั้งนี้ชาวทิเบตพลัดถิ่นกลุ่มดังกล่าวได้มาประท้วงจีนในโอกาสวันครบรอบการลุกฮือต่อต้านการปกครองของจีนของชาวทิเบตเมื่อปี 2502 ขณะที่ปันเชน ลามะ ที่ผู้นำคอมมิวนสต์จีนแต่งตั้งนั้น กล่าวว่าปัจจุบันชาวทิเบตมีอิสระมากขึ้น (ภาพโดยเอเอฟพี)
เอเจนซี-ปันเชน ลามะ จากเขตปกครองตัวเองชนชาติทิเบต กล่าวก่อนหน้าวันครบรอบ 3 ปี เหตุการณ์จลาจลต่อต้านรัฐบาลโดยชี้ว่าชาวทิเบตมี “อิสระ” มากขึ้น กว่าในอดีต

“ปัจจุบัน ชาวทิเบตมีอิสระในการนับถือศาสนา และมีความเป็นอยู่ที่ดีกว่าแต่ก่อนมาก

“ประชาชนยังมีอิสระในการเลือกทำกิจการการค้าขาย ศึกษาและใช้ชีวิตแบบลามะ พวกเขาสามารถทำในสิ่งที่ปรารถนาอย่างที่ไม่อาจเป็นไปได้ในทิเบตสมัยก่อน.... ” ปันเชน ลามะ เกียลเชน นอร์บู (Gyaincain Norbu) กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหวาเมื่อวันอังคาร(8 ก.พ.) ขณะที่ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ในทิเบตช่วง 60 ปี ที่ผ่านมา หลังจากที่กองทัพจีนได้เข้ามาปลดแอกประชาชนในทิเบตเมื่อปี 2492

ทั้งนี้ ปันเชน ลามะ คือผู้นำศาสนาพุทธแบบทิเบตซึ่งมีตำแหน่งสูงเป็นอันดับสองรองจากทะไล ลามะ องค์ปัจจุบันคือ เกียลเชน นอร์บูได้รับการแต่งตั้งในปี 2538 ภายใต้การกำกับดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยเป็นการแต่งตั้งปันเชน ลามะ องค์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ ปันเชน ลามะ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยทะไล ลามะ ผู้นำพลัดถิ่นในอินเดีย

สำหรับ เกดุน โชกี นีมะ (Gedhun Choekyi Nyima) ปันเชน ลามะ ที่ทะไล ลามะแต่งตั้งได้สูญหายไปจากสาธารณะ โดยหลายฝ่ายเชื่อว่าจีนได้กักบริเวณท่านไว้

ปันเชน ลามะของจีน ยังได้เป็นคณะกรรมการปรึกษาการเมือง (Chinese People's Political Consultative Conference หรือCPPCC) ซึ่งเป็นหน่วยที่ปรึกษาในทางทฤษฎีของสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน(National People's Congress หรือ NPC)

หน่วยงานรัฐของจีนชี้มาตลอดว่าทิเบตเจริญขึ้นตั้งแต่รัฐบาลคอมมิวนิสต์เข้ามาปกครอง ช่วงอายุของชีวิตผู้คนมากขึ้นเท่าตัว นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในโครการพัฒนาสาธาณูปโภคเป็นมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ก็มีกระแสความไม่พอใจโดยชาวทิเบตจำนวนมากไม่พอใจกลุ่มชาวจีนฮั่นที่หลั่งไหลเข้ามาในทิเบต ทั้งมีกระแสกล่าวหารัฐบาลจีนพยายามกลืนวัฒนธรรมทิเบต ความไม่พอใจดังกล่าวได้ระเบิดเป็นการประท้วงและกลายเป็นจลาจลเนืองเลือดในลาซาเมื่อเดือนมี.ค. 2551 จากนั้นมาเจ้าหน้าที่ก็คุมเข้มความมั่นคงในดินแดนมาตลอด.
เกียลเชน นอร์บู วัย 21 ปี ปันเชน ลามะ องค์ที่ 11 ที่ผู้นำคอมมิวนิสต์จีนแต่งตั้ง (แฟ้มภาพ เอเอฟพี)
กำลังโหลดความคิดเห็น