冰(bīng) อ่านว่า ปิง แปลว่า น้ำแข็ง
山(shān) อ่านว่า ซาน แปลว่า ภูเขา
难(nán) อ่านว่า หนาน แปลว่า ยาก
靠(kào) อ่านว่า เข้า แปลว่า พึ่งพิง
ในรัชสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง(หลี่หยงจี) นั้น พระองค์ทรงลุ่มหลงหยางอี้ว์หวน จนกระทั่งยกย่องให้เป็นพระสนมเอกหรือที่รู้จักกันในนาม หยางกุ้ยเฟย ซึ่งส่งผลให้บ้านตระกูลหยางมีอิทธิพลต่อแผ่นดินราชวงศ์ถังในยุคนั้นอย่างยิ่ง ลูกผู้พี่ของนางนาม หยางกั๋วจง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดี สำเร็จราชการแทนฮ่องเต้ กุมอำนาจมหาศาลไว้ในอุ้งมือ การคัดเลือกขุนนางเข้ามารับใช้ราชสำนัก ต่างก็ต้องผ่านการเห็นชอบจากตระกูลหยางทั้งสิ้น ส่วนขุนนางที่ไม่ถูกกับตระกูลหยาง ก็ค่อยๆ ถูกกำจัดไป
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมืองส่านซีมีคนผู้หนึ่งซึ่งสอบจองหงวนได้ในระดับสูง มีนามว่า จางถ้วน เขายังไม่มีโอกาสเป็นขุนนาง บรรดาเพื่อนฝูงจึงพากันแนะนำให้เขาเข้ามากราบคารวะหยางกั๋วจง เพราะมีแต่ทำเช่นนั้นจึงจะสามารถเป็นขุนนาง ทั้งยังมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานต่อไป ทว่าจางถ้วน จนแล้วจนรอดก็ไม่ยอมทำตาม กล่าวโต้แย้งเพื่อนฝูงผู้หวังดีกลับไปว่า “ท่านทั้งหลายล้วนพากันยกย่องหยางกั๋วจงว่ามั่นคงเข้มแข็งประหนึ่งขุนเขาไท่ซาน ทว่าข้ากลับเห็นว่าเขานั้น เป็นได้ก็เพียงภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น หากในวันหน้าแผ่นดินเกิดจลาจล เกิดผู้คนลุกขึ้นมาต่อต้าน หยางกั๋วจงย่อมตกต่ำลง ไม่ต่างอะไรกับภูเขาน้ำแข็งที่มอดละลายเพราะแสงอาทิตย์สาดส่อง เมื่อถึงเวลานั้น พวกท่านก็จะขาดภูเขาเอาไว้พึ่งพิงแล้ว”
จากนั้นไม่นาน อานลู่ซาน นำทหารก่อกบฏ บุกโจมตีนครหลวงฉางอาน ถังเสวียนจง หยางกั๋วจง และหยางกุ้ยเฟย รวมทั้งกองทหารต่างพากันหลบหนี เพื่อมุ่งหน้าไปยังนครเสฉวน ทว่าระหว่างทาง เมื่อถึงเนินหม่าเวย กองทหารได้กดดันให้ถังเสวียนจงสำเร็จโทษหยางกั๋วจง เนื่องจากเห็นว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดการกบฏ พระองค์จึงทรงสั่งประหารชีวิตหยางกั๋วจง ส่วนหยางกุ้ยเฟยก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน นางถูกกดดันจนต้องผูกคอตายในที่สุด
สำนวน “ปิงซานหนานเข้า” หรือ “ภูเขาน้ำแข็งยากพึ่งพิง” ใช้เปรียบเปรยว่าการเอาแต่พึ่งพาหรือหยิบยืมอำนาจของผู้อื่นนั้น ไม่มีทางที่จะอยู่ยั่งยืนนาน แต่ย่อมสูญสลายในเร็ววัน
สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งกรรมของประโยค
ที่มา http://baike.baidu.com
山(shān) อ่านว่า ซาน แปลว่า ภูเขา
难(nán) อ่านว่า หนาน แปลว่า ยาก
靠(kào) อ่านว่า เข้า แปลว่า พึ่งพิง
ในรัชสมัยของพระเจ้าถังเสวียนจง(หลี่หยงจี) นั้น พระองค์ทรงลุ่มหลงหยางอี้ว์หวน จนกระทั่งยกย่องให้เป็นพระสนมเอกหรือที่รู้จักกันในนาม หยางกุ้ยเฟย ซึ่งส่งผลให้บ้านตระกูลหยางมีอิทธิพลต่อแผ่นดินราชวงศ์ถังในยุคนั้นอย่างยิ่ง ลูกผู้พี่ของนางนาม หยางกั๋วจง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครมหาเสนาบดี สำเร็จราชการแทนฮ่องเต้ กุมอำนาจมหาศาลไว้ในอุ้งมือ การคัดเลือกขุนนางเข้ามารับใช้ราชสำนัก ต่างก็ต้องผ่านการเห็นชอบจากตระกูลหยางทั้งสิ้น ส่วนขุนนางที่ไม่ถูกกับตระกูลหยาง ก็ค่อยๆ ถูกกำจัดไป
ในช่วงเวลาดังกล่าว เมืองส่านซีมีคนผู้หนึ่งซึ่งสอบจองหงวนได้ในระดับสูง มีนามว่า จางถ้วน เขายังไม่มีโอกาสเป็นขุนนาง บรรดาเพื่อนฝูงจึงพากันแนะนำให้เขาเข้ามากราบคารวะหยางกั๋วจง เพราะมีแต่ทำเช่นนั้นจึงจะสามารถเป็นขุนนาง ทั้งยังมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานต่อไป ทว่าจางถ้วน จนแล้วจนรอดก็ไม่ยอมทำตาม กล่าวโต้แย้งเพื่อนฝูงผู้หวังดีกลับไปว่า “ท่านทั้งหลายล้วนพากันยกย่องหยางกั๋วจงว่ามั่นคงเข้มแข็งประหนึ่งขุนเขาไท่ซาน ทว่าข้ากลับเห็นว่าเขานั้น เป็นได้ก็เพียงภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น หากในวันหน้าแผ่นดินเกิดจลาจล เกิดผู้คนลุกขึ้นมาต่อต้าน หยางกั๋วจงย่อมตกต่ำลง ไม่ต่างอะไรกับภูเขาน้ำแข็งที่มอดละลายเพราะแสงอาทิตย์สาดส่อง เมื่อถึงเวลานั้น พวกท่านก็จะขาดภูเขาเอาไว้พึ่งพิงแล้ว”
จากนั้นไม่นาน อานลู่ซาน นำทหารก่อกบฏ บุกโจมตีนครหลวงฉางอาน ถังเสวียนจง หยางกั๋วจง และหยางกุ้ยเฟย รวมทั้งกองทหารต่างพากันหลบหนี เพื่อมุ่งหน้าไปยังนครเสฉวน ทว่าระหว่างทาง เมื่อถึงเนินหม่าเวย กองทหารได้กดดันให้ถังเสวียนจงสำเร็จโทษหยางกั๋วจง เนื่องจากเห็นว่าเป็นต้นเหตุให้เกิดการกบฏ พระองค์จึงทรงสั่งประหารชีวิตหยางกั๋วจง ส่วนหยางกุ้ยเฟยก็มีชะตากรรมไม่ต่างกัน นางถูกกดดันจนต้องผูกคอตายในที่สุด
สำนวน “ปิงซานหนานเข้า” หรือ “ภูเขาน้ำแข็งยากพึ่งพิง” ใช้เปรียบเปรยว่าการเอาแต่พึ่งพาหรือหยิบยืมอำนาจของผู้อื่นนั้น ไม่มีทางที่จะอยู่ยั่งยืนนาน แต่ย่อมสูญสลายในเร็ววัน
สำนวนนี้ใช้ในตำแหน่งกรรมของประโยค
ที่มา http://baike.baidu.com