xs
xsm
sm
md
lg

มธ.เปิดเวทีใหญ่เสนอความรู้เรื่องจีน “เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

หมิงไท่จู่ (จูหยวนจาง)  ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง
โครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา ธรรมศาสตร์ เปิดเวทีใหญ่ นำเสนอและแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องจีน “เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง” ศุกร์นี้(5 ก.พ.)

สืบเนื่องจากราชวงศ์หมิงแห่งจักรวรรดิจีน (ค.ศ. 1368 – 1644) เป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชนชาติที่เรียกตนเองว่า ชาวฮั่น ตลอดช่วงเวลาเกือบสามศตวรรษในแผ่นดินราชวงศ์หมิง มีเหตุและปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นมากมายหลายกรณี ซึ่งกลายเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดผลทั้งทางบวก อันนำความรุ่งเรืองไพบูลย์มาสู่สมัย กับทั้งผลในทางลบ ซึ่งก่อความเสื่อมแห่งประวัติศาสตร์ กษัตริย์ในยุคต่อมาคือสมัยราชวงศ์ชิง ได้ศึกษาเป็นบทเรียนจากยุคสมัยราชวงศ์หมิง และนำมาเป็นพื้นฐานการปกครองที่ส่งผลให้สามารถดำรงราชบัลลังก์อยู่ได้อย่างยาวนาน

ราชวงศ์หมิง ยังอาจนับได้ว่าเป็นรัชสมัยที่มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยอย่างสำคัญ ชาวไทยและวัฒนธรรมการศึกษาของไทยดูจะคุ้นเคยกับภาพลักษณ์ของจีนในสมัยราชวงศ์หมิงมากกว่าสมัยอื่น ทั้งการรับรู้ผ่านวรรณกรรมแปลซึ่งล้วนเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยหมิง และการศึกษาบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับกรุงศรีอยุธยาทั้งในด้านการค้าและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐอาณาจักร ตลอดจนการสมาคมและเรียนรู้วิถีการดำรงชีพของชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยซึ่งมีการดำเนินชีวิตตามค่านิยมของจีนสมัยหมิงเป็นแบบแผนพื้นฐาน
เจิ้งเหอ แห่งราชวงศ์หมิง ผู้นำขบวนเรือท่องสมุทรทั่วโลก ที่คนไทยมักรู้จักในชื่อ “เจ้าพ่อซำปอกง” (ซานเป่ากง)
ด้วยเหตุนี้ ทางโครงการจีนศึกษา สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีดำริให้ร่วมมือกับโครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการประชุมทางวิชาการในหัวข้อ “เหตุเกิดในสมัยราชวงศ์หมิง” ขึ้น เพื่อให้วงวิชาการไทยได้มีโอกาสสดับและพิจารณาข้อมูลและข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับช่วงประวัติศาสตร์จีนที่น่าสนใจนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านจีนที่ทรงคุณวุฒิ มากมาย มาร่วมนำเสนอความรู้ วิจารณ์ และแลกเปลี่ยนฯ

โดยมีกำหนดจัดขึ้น ในวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ณ ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ชั้น 3 อาคารเอนกประสงค์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ทั้งนี้ มิได้มีการเก็บค่าลงทะเบียนแต่อย่างใด ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดและแจ้งตอบรับได้ที่ สำนักงานเลขานุการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา โทรศัพท์ 02 – 564 – 5000 – 3 โทรสาร 02 – 564 – 4777, 02 – 564 – 4888 ภายในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553

คลิกหน้าสอง: รายละเอียด โครงการประชุมทางวิชาการ “เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง”)

โครงการประชุมทางวิชาการ “เหตุเกิดในราชวงศ์หมิง”

กำหนดการ

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.15 น. พิธีเปิด

กล่าวรายงาน 
อ.รสสุคนธ์ ขันธ์นะภา
ประธานโครงการจีนศึกษา
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กล่าวเปิดงาน
ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

09.15 - 10.15 น. ปาฐกถาเกียรติยศ
ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยรังสิต

10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 11.15 น. การศึกษาเบื้องต้นว่าด้วยการขัดเกลาจริยธรรมในปรัชญาของหวังหยังหมิง”
อ.ดร. ศริญญา อรุณขจรศักดิ์
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้วิจารณ์
รศ.ดร. สุวรรณา สถาอานันท์
ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

11.15 – 12.00 น. “เหตุเกิดในปลายสมัยหมิง: ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศตวรรษที่ 17”
ดร. ปิยดา ชลวร
นักวิชาการอิสระ

12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.30 – 14.15 น. มุมมองของหมิง: การศึกษาภาพสะท้อนสังคมสยามในเอกสารประวัติศาสตร์จีนสมัยราชวงศ์หมิง”
อ.ดร. ปิยะมาศ สรรพวีรวงศ์
ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้วิจารณ์
รศ. วุฒิชัย มูลศิลป์
นายกสมาคมประวัติศาสตร์ฯ
ภาคีราชบัณฑิต

14.15 – 15.00 น. “นิยายกับธุรกิจการพิมพ์ในสมัยราชวงศ์หมิง”
ผศ.ดร. กนกพร นุ่มทอง
สาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผู้วิจารณ์
ผศ.ถาวร สิกขโกศล
ที่ปรึกษาโครงการจีนศึกษา
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.15 – 16.00 น.“วิวาทะเกี่ยวกับสาเหตุการเดินเรือของเจิ้งเหอในต้นราชวงศ์หมิง”
อ. สิทธิพล เครือรัฐติกาล
โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้วิจารณ์
อ.ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายจีนศึกษา
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

พิธีกร อ.ดร.สุรสิทธิ์ อมรวณิชศักดิ์
ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กำลังโหลดความคิดเห็น