xs
xsm
sm
md
lg

หนังสือ 10 เล่ม แห่งปี ของแดนมังกร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

King Gesar (格萨尔王)
ในวาระสิ้นปีที่ผ่านมา สื่อจีน ไชน่า เดลี่ ก็ได้เสนอหนังสือแห่งปีของชาวจีน 10 เล่ม ได้แก่

King Gesa r (格萨尔王), by Alai


เป็นมหากาพย์ที่ยาวที่สุดในโลก กำเนิดของเกซาร์ กษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่แห่งทิเบต ผู้ปกครองแคว้นหลิง ซึ่งตั้งอยู่ในแคว้นคัม ทางภาคตะวันออกของทิเบต เรื่องราวการต่อสู้กับปิศาจ และได้กลับสู่สวรรค์ Alai นักเขียนชาวทิเบต เป็นสมาชิกในโครงการ Myth Series ซึ่งเป็นโครงการนานาชาติ ก่อตั้งโดยสำนักพิพม์ Canongate Books แห่งอังกฤษ

ผู้เขียนได้ใช้เวลาหลายปี เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ที่เชื่อกันว่า เป็นที่ที่กษัตริย์เกซาร์เคยใช้ชีวิตอยู่ และยังได้พูดคุยกับนักเล่านิทานพื้นบ้าน ชาวนา และเกษตรกรฟาร์มปศุสัตว์ เกี่ยวกับตำนานกษัตริย์นักรบผู้ยิ่งใหญ่ในตำนานชนชาติทิเบต

Alai นักเขียนผู้สร้างชื่อจากหนังสือขายดีที่สุด Poppies (尘埃落定) ซึ่งเขียนจากตำนาน ในบ้านเกิดของเขา Alai จัดทำนิตยสารนิยายวิทยาศาสตร์ ในเฉิงตู มณฑลเสฉวน จนกลายเป็นหนึ่งในนิตยสารนิยายวิทยาศาสตร์ชั้นนำของโลก โดยมียอดพิมพ์ 400,000 ฉบับ ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์

Frog (蛙)
Frog (蛙), by Mo Yan

อีกเล่มของนักเขียนจีนระดับแถวหน้า ผู้มีงานเขียนจำนวนมากในยุคปัจจุบัน สำหรับเล่มนี้ นับเป็นงานเขียนคลาสิก ที่พูดถึงประเด็นอ่อนไหวของจีน คือนโยบายวางแผนครอบครัว

ม่อ เหยียน บอกว่า เขาได้สร้าง “ห้องทดลองธรรมชาติมนุษย์” โดยได้สร้างตัวละครที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่สุดขั้ว เพื่อค้นหาแก่นสารของความเป็นมนุษย์ สำหรับนิยายเล่มนี้ เขาได้สร้างตัวละครเอกจากอาของเขา ซึ่งเป็นแพทย์ ผู้ได้ทำคลอดม่อ และอีกนับพันคน โดยยึดถือนโยบายวางแผนครอบครัว

งานเขียนนิยายเล่มนี้แตกต่างจากงานเขียนร่วมสมัยอื่นๆ ที่มัก “รีดนมวัว” จากเหตุการณ์ปฏิวัตวัฒนธรรม (1966-76) ม่อได้กำหนดกรอบระยะเวลาในนิยาย จากช่วงทศวรรษที่ 1940 ถึง ปัจจุบัน เนื้อหาในช่วงหลังของนิยายได้สะท้อนถึงความเป็นจริงอันพิลึกพิลั่นของสังคมจีนปัจจุบัน
Little Reunion (小团圆)
Little Reunion (小团圆), by Eileen Chang

สำหรับงานชิ้นนี้ของ Eileen Chang หรือ จาง อ้ายหลิง นักวิจารณ์หลายคนยกย่องงานชิ้นนี้เป็นงานคลาสสิก เป็นนวนิยายอัตชีวประวัติ ที่ตีพิมพ์เมื่อ 14 ปี ที่แล้ว หลังจากที่ผู้เขียนได้เสียชีวิต เนื้อหาเผยถึงความสัมพันธ์ของจาง อ้ายหลิง และสมาชิกในครอบครัว และกับสามี หู หลันเฉิง ผู้สมรู้ร่วมคิดกับญี่ปุ่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

ภาพยนตร์ Lust, Caution (色戒) กำกับโดยอั้ง ลี่ (หลี่ อัน) ซึ่งดัดแปลงจากนวนิยายของจาง อ้ายหลิง ทำให้ผู้อ่านที่ไม่ใช่ชาวจีนได้รู้จักผลงานเขียนชิ้นหนึ่งของจาง อ้ายหลิง ซึ่งตีแผ่เจาะลึกภายในจิตใจของมนุษย์ Hsia Chih-tsing อาจารย์ภาควิชาภาษาจีนแห่ง มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ซึ่งปลดเกษียณแล้ว ยกย่องจาง อ้ายหลิง เป็นนักเขียนที่มีพรสวรรค์มากที่สุดแห่งยุคทศวรรษที่ 1940 และยกย่องฝีมือของเธออยู่ในระดับเดียวกับ ฟรานเนอรี่ โอคอนเนอร์ (Flannery O'Connor) และ ฟรานซ์ คราฟก้า (Franz Kafka)

Little Reunion เป็นเรื่องราวของครอบครัวจาง และรายละอียดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวของจาง เรื่องราวดังกล่าวได้จุดกระแสวิจารณ์อันเผ็ดร้อนในหมู่นักวิจารณ์และผู้อ่านชาวจีน

“งานเขียนอัตชีวประวัติเล่มนี้ เป็นแหล่งข้อมูลใหม่สำหรับการวิจัยเกี่ยวกับตัวผู้เขียน ชีวิตที่รุ่งโรจน์ และตกอับ ถกทอร้อยรัดอยู่ในคลื่นการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ในประวัติศาสตร์” จาง อี้อู๋ อาจารย์ด้านวรรณกรรมแห่งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง พูดคุณค่างานเขียน Little Reunion
Chinas Megatrends: The Eight Pillars of a New Society (中国大趋势)
China's Megatrends: The Eight Pillars of a New Society (中国大趋势), by John Naisbitt and his wife Doris

John Naisbitt นักพยากรณ์อนาคต ได้เขียนหนังสือเล่มนี้ ในปี 1982 จัดเป็นหนังสือขายดีที่สุด อีกทั้งเป็นหนึ่งในสำเร็จครั้งใหญ่สุดของโลกการพิมพ์ ด้วยยอดขาย มากกว่า เก้าล้านเล่มใน 57 ประเทศ

China's Megatrends ฉบับแปลภาษาจีน ที่เปิดตัวใน Beijing International Book Fair เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้สร้างกระแสวิจารณ์ เกี่ยวกับการวิเคราะห์ของ Naisbitt ที่มองจีนจากจากแปดแง่มุม และการชี้ถึงเสาหลักแปดต้นของสังคมจีนใหม่ Naisbitt เสนอการผงาดสู่อำนาจของจีน ทั้งในด้านเศรษฐกจ สังคม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

Naisbitt ชี้ระบอบการเมืองในจีน เป็น “ประชาธิปไตยแบบแนวตั้ง” เทียบกับกลุ่มประเทศในซีกโลกตะวันตก ที่ “เป็นประชาธิปไตยแบบแนวนอน” การสื่อสารระหว่างผู้นำและประชาชน ผู้นำจีนได้ใช้แนวทางสู่ปัญหาสังคมทั้งแบบระดับบนสู่ล่าง (top-down approach) และระดับล่างสู่บน (bottom-up approach) ซึ่งได้ช่วยให้ผู้นำจีนสามารถสร้างเอกภาพของประเทศ และมุ่งสู่การพัฒนา Naisbitt เชื่อว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า จีนไม่เพียงแต่เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ยังได้ท้าทายประชาธิปไตยแบบตะวันออกด้วยรูปแบบประชาธิปไตยของจีนเอง

Zhu Rongjis Answers to Journalists Questions (朱镕基答记者问)
Zhu Rongji's Answers to Journalists' Questions (朱镕基答记者问)

จู หรงจี วัย 81 ปี นายกรัฐมนตรีจีนระหว่างปี 1998-2003 ได้กลับมาเป็นที่กล่าวขวัญอีกครั้งจากงานเขียนขายดี ที่รวบรวมความคิดเห็นของเขาในที่ประชุมแถลงข่าวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ

“ไม่ว่าอะไรจะอยู่ข้างหน้า ทุ่งกับระเบิด หรือหุบเหวลึกที่ไม่อาจหยั่งวัด ผมก็จะทุ่มเทกำลัง และอุทิศความสามารถอย่างดีที่สุดแก่ประเทศชาติของผม” หนึ่งในวลี ที่น่าเสื่อมใสของ อดีตนายกฯจู หรงจี

“จู ไม่ค่อยหลบคำถามที่ตรงไปตรงมาของสื่อต่างชาติ และมักจะตอบคำถามเหล่านั้น ด้วยความมั่นใจ และอย่างมีอารมณ์ขัน” อู๋ เสี่ยจิน บรรณาธิการร่วมหนังสือ กล่าว ยกตัวอย่าง ในการตอบคำถามเกี่ยวกับคอรัปชันครั้งหนึ่ง จูบอกว่า “ผมได้เตรียมโลงศพ 100 หลัง 99 หลังสำหรับพวกคอรัปชั่น และอีกหนึ่งหลัง สำหรับตัวผมเอง”

เฉิน เผิงหมิง บรรณาธิการผู้รับผิดชอบโครงการหนังสือเล่มนี้ กล่าวว่า “เสน่ห์ส่วนบุคคลของจู สะท้อนถึงสติปัญญาของผู้นำจีนในการับมือกับวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อปี 1997 การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างลงลึก และการผลักดันกระบวนการเข้าร่วมองค์การการค้าโลก(ดับเบิลยูทีโอ) หนังสือเล่มนี้ จึงทำให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างแจ่มชัดว่ารัฐบาลจีนประสบความสำเร็จในการคลี่คลายปัญหาเหล่านั้นอย่างไร”

หนังสือเล่มนี้ ขายได้มากกว่าหนึ่งล้านเล่ม หลังจากที่สำนักพิมพ์ People's Publishing House เริ่มนำหนังสือออกวางตลาดในเดือนกันยายนที่ผ่านมา
Yuan Weimin and Chinas Sports (袁伟民与体坛风云)
Yuan Weimin and China's Sports (袁伟民与体坛风云), by Yuan Shan

หนังสือบันทึกความทรงจำของ หยวน เหว่ยหมิง อดีตประธานคณะกรรมการการกีฬาแห่งรัฐ (General Administration of Sport of China) ได้จุดกระแสวิจารณ์อย่างล้นหลาม เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ ไม่เพียงหวนรำลึกถึงชั่วเวลาแห่งความรุ่งโรจน์และเกียรติภูมิ ยังได้เผยเรื่องราวต่างๆที่ถูกซุกซ่อนไว้

หนังสือเล่มนี้ได้เผยการเดินทางสู่โอลิมปิก เกมส์ ของจีน การต่อต้านการใช้ยาโดป และเรื่องราวที่ตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ของเหอ เจินเหลียง อดีตรองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ
When the Sound of Color Tastes Sweet (当彩色的声音尝起来是甜的)
When the Sound of Color Tastes Sweet (当彩色的声音尝起来是甜的), by Science Squirrels club

ได้รับการยกย่องเป็น “หนังสือแนววิทยาศาสตร์ที่สนุกที่สุดแห่งปี” หนังสือเล่มนี้ ได้รวบรวมบทความ 54 ชิ้น ที่ได้รับการคัดสรรคอย่างดีจากบทความที่โพสต์โดย “กระรอก” ที่ ชมรมกระรอกวิทยาศาสตร์ (Science Squirrels club-Songshuhui.net)

เว็บไซต์ ชมรมกระรอกวิทยาศาสตร์ มีฮิตส์ ถึง 50,000 ฮิตส์ ต่อวัน และได้ดึงดูดความคิดสร้างสรรคของเยาวชนมากกว่า 90 คน เข้าสู่ชมรมการเขียนงานวิทยาศาสตร์ การบรรยาย และงานสร้างสรรค์

เหมือนกระรอกที่กระเทาะเปลือกลูกนัท และได้ลิ้มรสหอมอร่อยของเมล็ด
“กระรอกวิทยาศาสตร์” ได้เปลี่ยนโค้ดทางเทคนิกที่ซับซ้อนคลุมเคลือ ให้ชาวจีนทั่วไปเสพได้อย่างสนุกสนาน

Dwelling Narrowness (蜗居)
Dwelling Narrowness (蜗居), by Liu Liu

เป็นนวนิยายที่มาแรงสุดในตลาดหนังสือจีน ที่ทำให้เรื่องราวชีวิตที่ดิ้นรนของบรรดาหนุ่มสาวในเมืองแห่งยุคราคาบ้านที่พุ่งสูง กลายเป็นประเด็นฮ็อตในช่วงสองเดือนที่ผ่านมานี้

นวนิยายเรื่องนี้ ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อสองปีที่แล้ว แต่ได้กลับมาโด่งดังเมื่อถูกนำมาทำเป็นซีรีส์ทีวี Dwelling Narrownessเวอร์ชั่นซีรีส์ทีวีนี้ สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างท่วมท้น และทำให้ผู้อ่านจำนวนมาก กลับมาอ่านนวนิยาย เพื่อค้นหาคำตอบของตัวเองด้วย

นวนิยายเป็นเรื่องราวชีวิตของสองสาวพี่น้องที่ตกอยู่ในมรสุมราคาบ้านที่พุ่งสูงในนครเซี่ยงไฮ้ กัวไห่เจ้ามีปัญหาด้านการเงิน และได้สังเวยความรัก โดยไปเป็นเมียน้อยของเจ้าหน้าที่รัฐ กัว ไห่ผิง กระเสือกกระสนอย่างสิ้นหวัง ที่จะมีอพาร์ทเมนท์ของตัวเอง ชีวิตที่ตกเป็น “ทาสบ้าน” ของตัวเอกในนวนิยาย พ้องกับชีวิตหนุ่มสาวคนเมืองในประเทศจีน เป็นหนังสือที่ใกล้ตัวใกล้ใจพวกเขามากที่สุด

Our Taiwan in These Years (我们台湾这些年)
Our Taiwan in These Years (我们台湾这些年), by Liao Hsin-chung

ชุดข้อเขียนที่เป็นเกร็ดประวัติชีวิตของเหลียว ซิ่นจง พนักงานสำนักงานบริษัทไต้หวันในนครเซี่ยงไฮ้ ที่โพสต์ครั้งแรกในชุมชนออนไลน์ “เทียนยา” สร้างความประหลาดผู้อ่านจำนวนมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างช่องแคบไต้หวันกระเตื้องขึ้นอย่างมากในไม่กี่ปีมานี้ และชาวแผ่นดินใหญ่ก็เป็นกลุ่มนักเที่ยวท่องใหญ่เป็นอันดับสองของไต้หวัน รองจากญี่ปุ่น ขณะที่ผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายกำลังขยายตัว หนังสือของเหลียว ซึ่งมองไต้หวันในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จากมุมมมองของชาวไต้หวันทั่วไปคนหนึ่ง ก็ได้เชื่อมโยงกับกระแสผลประโยชน์ที่กำลังขยายตัวนี้

ส่วนที่สร้างเสน่ห์ดึงดูดของหนังสือคือ เรื่องเกี่ยวกับละครทีวีแนวดราม่าที่สร้างจากงานเขียนของฉง เหยา นักเขียนนวนิยายชื่อดัง และ "Four Heavenly Kings"

นอกจากนี้ หนังสือยังเผยว่าทำไมงานของนักเขียนฝรั่งเศส Emile Zola จึงถูกแบนในไต้หวัน เนื่องจากนักแปลชาวจีนได้แปลชื่อของนักเขียนท่านนี้ โดยมีอักษร “จั่ว” ที่มีความหมายว่า “ซ้าย” ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้สรุปนัยยะเป็น “การโค่นล้มการปกครอง” ทว่า หลังจากข้อห้ามนี้ ถูกยกเลิก หนังสือของนักเขียนท่านนี้ ขายได้มากกว่า 300,000 เล่ม ภายในเวลาเพียงหนึ่งเดือน

No Monuments (无碑)
No Monuments (无碑), by Wang Shiyue

นิตยสาร ไทม์ ได้คัดเลือกให้ แรงงานจีน เป็นบุคคลประจำปี 2009 นวนิยายเรื่องใหม่ของหวัง สือเยี่ยว์ ได้ชำแหละชีวิตของแรงงานอพยพจีน หวังเกิดในปี 1972 เขาได้ฉายการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในสังคม จากประสบการณ์ของตัวเองในการเป็นคนงานในมณฑลกว่างตง หรือกวางตุ้ง มากกว่า 20 ปี

หวังได้ใช้ตัวละครเอก หลี่ เป่าหยุน เล่าถึงการอุทิศและเสียสละของแรงงานอพยพ ความรู้สึกสูญเสียความสัมพันธ์กับผืนดิน และความฝันที่ค่อยๆเลือนหายไป แรงงานที่ไร้ชื่อชั่วรุ่นแล้วชั่วรุ่นเล่าที่ได้สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหัศจรรย์ของประเทศจีน หวังได้พยายามสร้างอนุเสาวรีย์แก่พวกเขาด้วยถ้อยคำ นักวิจารณ์ เฉิน ฟู่หมิง นักวิจัยประจำสถาบันบัณฑิตยสถานแห่งชาติจีน ยกย่องนวนิยายเรื่องนี้ว่า เป็นเสียงที่แท้จริงของกลุ่ม.
กำลังโหลดความคิดเห็น