xs
xsm
sm
md
lg

โซเทอร์บี้ส์ เคาะประมูลตราประทับอาญาสิทธิ์เฉียนหลงฮ่องเต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พระราชลัญจกรหยกของเฉียนหลงฮ่องแต้ อายุสองร้อยกว่าปี (ภาพเอเจนซี)
เอเจนซี่ - สำนักข่าวซินหัวได้รายงานวันนี้ (6 พ.ย.) ว่า สืบเนื่องจากที่ทางการจีนได้คัดค้านการประมูลขายสมบัติล้ำค่าที่ถูกลักลอบนำออกไปจากประเทศ กำลังสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในชุมชนออนไลน์อย่างกว้างขวาง ที่มีต้นเหตุมาจากการประมูลพระราชลัญจกรหยก (ตราประทับ) ของฮ่องเต้ ในกรุงลอนดอน เมื่อวันพุธที่ผ่านมา

เจ้าหน้าที่ สำนักงานมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่ารัฐบาลจะใช้กำลังคนและกำลังทรัพย์มากขึ้น เพื่อชำระ ศึกษาและติดตามสมบัติล้ำค่าทุกรายการของจีนที่ถูกลักลอบนำออกไปนอกประเทศเพื่อเอากลับคืนมา

พระราชลัญจกรหยกที่ประมูลนี้ เป็นของจักรพรรดิ์เฉียนหลง ราชวงศ์ชิง ผู้ปกครองจีนในช่วงปี พ.ศ. 2279-2338 ซึ่งถูกนำออกประมูลไปด้วยราคา 3.6 ล้านปอนด์

โดยในงานประมูลของ โซเทอร์บี้ส์ ลอนดอน เมื่อวันพุธนี้ ได้นำตราประทับอาญาสิทธิ์ และศิลปะวัตถุของจีนรวม 153 ชิ้น ออกประมูลด้วยมูลค่ารวมมากกว่า 8 ล้านปอนด์

ไซมอน วอร์เรน เจ้าหน้าที่ของ โซเทอร์บีส์ ในลอนดอนกล่าวว่า "ทางโซเทอร์บี้ส์ ไม่ทราบปัญหาทางข้อกฎหมายหรือที่มาเกี่ยวกับตราประทับหยกนี้ ตามข้อมูลคือตราประทับเป็นสมบัติของเอกชนชาวยุโรปคนหนึ่ง ซึ่งได้มาจากการประมูลแข่งกับผู้ประมูลรายอื่น และเขาได้ขายต่อให้กับผู้ซื้อที่ไม่ระบุนามรายหนึ่งในห้องประมูล บลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันพฤหัสฯ

ทันที่ที่รู้ข่าวนี้ ชาวเน็ตในจีนต่างโกรธเคือง และแสดงความคิดเห็นหลากหลาย บ้างว่าควรเริ่มต้นการประท้วงทั่วประเทศเพื่อกระตุ้นให้คนในชาติลุกขึ้นมาต่อสู้นำสมบัติของชาติกลับคืน

ชาวเน็ตบางกลุ่มได้อ้างไปถึงการประมูลของคริสตี้ เมื่อครึ่งปีมาแล้ว ซึ่ง ไค หมิงเจ้า นักสะสมในประเทศ ได้ประมูลหัวนักษัตรสองหัว ในราคาหัวละ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปฏิเสธการชำระเงินในภายหลัง โดยอ้างเหตุผลสวยหรูว่า กระทำในฐานะผู้รักชาติ การประมูลจึงเป็นอันโมฆะไป

ผู้เชี่ยวชาญมองเรื่องนี้ และเตือนว่า ไม่ควรสร้างกระแสชาตินิยมให้ใหญ่โต เพราะมีแต่จะถูกนำเอาเรื่องนี้มาเป็นเงื่อนไขในการปั่นราคาของผู้ประมูลบางราย เพราะถ้าสมบัติไม่ได้ถูกขโมยมา จะสามารถประมูลได้ตามกฎหมาย

และกระแสต่อต้านยิ่งมากเท่าไหร่ จะช่วยให้อีกฝ่ายได้เคาะค้อนประมูลกันสนุกมือมากขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อการซื้อคืนกลับมา กิม หยุ่นจาง นักวิจัยจากพิพิธภัณฑ์พระราชวังกล่าว

ตามข้อมูลของ สมาคมโบราณวัตถุและมรดกทางวัฒนธรรมจีน ระบุว่า ระหว่างปี พ.ศ.2383 ถึง 2492 มีโบราณวัตถุล้ำค่า ของจีนกว่า 10 ล้านชิ้น ที่ถูกลักลอบนำออกไปนอกประเทศ หรือขายไปอย่างผิดกฎหมาย
กำลังโหลดความคิดเห็น