เอเจนซี--คณะกรรมการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาแห่งรัฐจีนเล็งดึงภาคเอกชนเข้าลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันล้วนอยู่ในมือของรัฐ ได้แก่ การรถไฟ น้ำมัน และพลังงาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้คณะกรรมการปฏิรูปฯ หรือเอ็นดีอาร์ซีเผยนโยบายดังกล่าวในวันจันทร์(25 พ.ค.)
ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่จีนก้าวขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลกแล้ว และกำลังกระตุ้นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้านทานผลกระทบจากภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจโลกครั้งนี้อาจสะเทือนภาคต่างๆที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ
เอ็นดีอาร์ซี ซึ่งเป็นหน่วยวางแผนฯระดับสูงสุดของประเทศจีน เผยรายละเอียดอีกว่าขณะนี้หน่วยงานกำลังเร่งจัดทำวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม และภาคอื่นๆ โดยนโยบายใหม่นี้ยังมีจุดประสงค์ต่อต้านการผูกขาดในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วนกลาง
ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจรัฐรายใหญ่หลายรายอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาล ครองความได้เปรียบมากมาย ทั้งด้านเงินทุน การเข้าจดทะเบียนในตลาด และการทำสัญญา รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่บริหารโดยผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายภาคอุตสาหกรรม สภาพดังกล่าวอาจไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เอ็นดีอาร์ซีย้ำหนักหนาระหว่างการแถลงคือ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่อาจเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้นจึงต้องมีการปฏิรูป
ในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุถึงการอนุญาตต่างชาติเข้าลงทุนในภาคต่างๆ หรือจะมีการตัดสินนโยบายนี้เมื่อไหร่
ที่ผ่านมาผู้นำจีนได้สร้างกลุ่มบริษัทของรัฐเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างเช่น น้ำมัน โทรคมนาคม และการเงินการธนาคาร แต่ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยอมรับว่าประสิทธิภาพการแข่งขันของบริษัทเหล่านี้ ด้อยกว่าภาคเอกชน
จีนได้ลดบทบาทของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจลงมากนับตั้งแต่ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปี 2522 (1979) แต่กลุ่มเศรษฐกรชี้ว่าจีนต้องเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้หากหวังรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มพูนรายได้.
ความคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่จีนก้าวขึ้นมามีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลกแล้ว และกำลังกระตุ้นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้านทานผลกระทบจากภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจโลก ซึ่งภาวะชะลอตัวเศรษฐกิจโลกครั้งนี้อาจสะเทือนภาคต่างๆที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์และความมั่นคงของชาติ
เอ็นดีอาร์ซี ซึ่งเป็นหน่วยวางแผนฯระดับสูงสุดของประเทศจีน เผยรายละเอียดอีกว่าขณะนี้หน่วยงานกำลังเร่งจัดทำวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในภาคพลังงาน โทรคมนาคม และภาคอื่นๆ โดยนโยบายใหม่นี้ยังมีจุดประสงค์ต่อต้านการผูกขาดในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากระบบเศรษฐกิจที่วางแผนจากส่วนกลาง
ปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจรัฐรายใหญ่หลายรายอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของรัฐบาล ครองความได้เปรียบมากมาย ทั้งด้านเงินทุน การเข้าจดทะเบียนในตลาด และการทำสัญญา รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่บริหารโดยผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายภาคอุตสาหกรรม สภาพดังกล่าวอาจไม่เปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เอ็นดีอาร์ซีย้ำหนักหนาระหว่างการแถลงคือ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่อาจเลวร้ายลงไปอีกเนื่องจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้นจึงต้องมีการปฏิรูป
ในแถลงการณ์ไม่ได้ระบุถึงการอนุญาตต่างชาติเข้าลงทุนในภาคต่างๆ หรือจะมีการตัดสินนโยบายนี้เมื่อไหร่
ที่ผ่านมาผู้นำจีนได้สร้างกลุ่มบริษัทของรัฐเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างเช่น น้ำมัน โทรคมนาคม และการเงินการธนาคาร แต่ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยอมรับว่าประสิทธิภาพการแข่งขันของบริษัทเหล่านี้ ด้อยกว่าภาคเอกชน
จีนได้ลดบทบาทของรัฐบาลในภาคเศรษฐกิจลงมากนับตั้งแต่ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ ปี 2522 (1979) แต่กลุ่มเศรษฐกรชี้ว่าจีนต้องเปลี่ยนแปลงมากกว่านี้หากหวังรักษาอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มพูนรายได้.