เอเจนซี – ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ เสนอชื่อผู้ว่าการรัฐยูทาห์ จอน เอ็ม ฮันต์สแมน ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคริพับลิกัน ให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศจีน หลังจากผู้นำมะกันเคยลั่นคำมั่นว่าจะแสวงหาความร่วมมือระหว่างสองพรรคใหญ่ริพับลิกันและเดโมแครต
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เปิดเผยที่ทำเนียบขาวเมื่อวันเสาร์ (16 พ.ค.) ว่า เขาสนับสนุนให้ จอน เอ็ม ฮันต์สแมน ผู้ว่าการมลรัฐยูทาห์ ดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากสุด และเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่สุดของแดนอินทรี
“ผมไม่เห็นใครจะเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ไปกว่าเขาอีกแล้ว” โอบามากล่าวโดยมีฮันต์สแมนยืนอยู่ด้านข้าง พร้อมกล่าวต่อว่า “การกระชับความสัมพันธ์กับจีนจะยังประโยชน์มหาศาลมาสู่สหรัฐฯ แต่การพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนก็ต้องมาพร้อมกับการเปิดเผยตรงไปตรงมาและเปิดอกคุยเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยเช่นกัน อาทิ ประเด็นสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”
พร้อมกันนี้ ฮันต์สแมน ก็จะทำงานร่วมกับจีนในประเด็นต่างๆ อาทิ สาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ การปราบปรามลัทธิก่อการร้าย และความพยายามในการยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือด้วย
ทั้งนี้ โอบามาวางแผนที่จะเดินทางมาเยือนจีนในปีนี้ หลังจากได้พบปะและพูดคุยกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีนที่ลอนดอนเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้นผู้นำทั้งสองได้ให้คำมั่นจะเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์พร้อมผลักดันการประชุมระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ โดยจีนนอกจากจะเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกและมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกแล้ว ยังถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากถึง 767,900 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ รองจากแคนาดา
อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้ว จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากทุบสถิติถึง 266,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดชนวนความไม่พอใจในหมู่บริษัทและองค์กรสหรัฐฯ และกล่าวหารัฐบาลจีนแทรกแซงให้ค่าเงินหยวนต่ำค่ากว่าความเป็นจริงเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ด้านเคนเนธ ไลเบอร์ธัล ผู้อำนวยการอาวุโสจากสภาความมั่นคงแห่งชาติประจำภาคพื้นเอเชียกล่าวว่า “นี่เป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญมาก และผมคิดว่า จอน ฮันต์สแมน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด”
ฮันต์สแมนวัย 49 ปี เป็นบุตรชายของนายจอน ฮันต์สแมน มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเคมีภัณฑ์ “ฮันต์สแมน คอร์ป” ซึ่งดำเนินกิจการในจีนและมีโรงงานตั้งอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ก่อนได้รับเสนอชื่อให้เป็นทูตประจำประเทศจีน เขาเคยเป็นทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์สมัยรัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช, เป็นรองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช และยังเป็นประธานร่วมในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีให้แก่วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคนด้วย
และที่สำคัญคือเขาสามารถพูดภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการและมีชาวจีนกว่า 70% ใช้ โดยฮันต์สแมนเคยเรียนภาษาจีนเมื่อครั้งไปเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์นิกายมอร์มอนที่ไต้หวัน
ไลเบอร์ธัลกล่าวต่อว่า “จีนเป็นกุญแจสำคัญในหลายประเด็น” อาทิ การขาดดุลการค้า แรงงานภาคการผลิตตกงาน และเรื่องพลังงาน “การได้นักการเมืองคนดังจากพรรคริพับลิกันมาเป็นทูตก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและการยอมรับในนโยบายของรัฐบาลจากสมาชิกพรรคริพับลิกันในสภามากขึ้น”
การที่โอบามาจากพรรคเดโมแครต เสนอสมาชิกพรรคริพับลิกันให้มาดำรงตำแหน่งสำคัญนั้น ถือเป็นความพยายามหนึ่งของผู้นำแดนอินทรีที่ต้องการแสวงหาความร่วมมือระหว่างสองขั้วอำนาจในรัฐบาลของเขา เช่นเดียวกับการที่แต่งตั้ง เรย์ ลาฮูด จากพรรคริพับลิกันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ โรเบิร์ต เกทส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในสมัยรัฐบาลบุช ก็ยังคงรั้งตำแหน่งเดิมอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การเสนอชื่อฮันต์สแมนในครั้งนี้ยังจะต้องได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน แต่คาดว่าคงไม่มีปัญหาเพราะบรรดาสมาชิกจากพรรคริพับลิกันและเดโมแครตเองต่างแสดงท่าทีสนับสนุน ขณะที่จอห์น แมคเคนก็มองว่าฮันต์สแมนเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม
ด้านฮันต์สแมนเองนั้นกล่าวแถลงเมื่อวันเสาร์ว่า ความสัมพันธ์กับจีนเป็นความสัมพันธ์แบบทวิภาคีเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐฯ พร้อมทิ้งท้ายคำสุภาษิตจีนเป็นภาษาจีน ซึ่งมีความหมายว่า “ทำงานด้วยกัน ก้าวหน้าด้วยกัน”
ประธานาธิบดี บารัค โอบามา เปิดเผยที่ทำเนียบขาวเมื่อวันเสาร์ (16 พ.ค.) ว่า เขาสนับสนุนให้ จอน เอ็ม ฮันต์สแมน ผู้ว่าการมลรัฐยูทาห์ ดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากสุด และเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่สุดของแดนอินทรี
“ผมไม่เห็นใครจะเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ไปกว่าเขาอีกแล้ว” โอบามากล่าวโดยมีฮันต์สแมนยืนอยู่ด้านข้าง พร้อมกล่าวต่อว่า “การกระชับความสัมพันธ์กับจีนจะยังประโยชน์มหาศาลมาสู่สหรัฐฯ แต่การพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนก็ต้องมาพร้อมกับการเปิดเผยตรงไปตรงมาและเปิดอกคุยเรื่องที่เราไม่เห็นด้วยเช่นกัน อาทิ ประเด็นสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”
พร้อมกันนี้ ฮันต์สแมน ก็จะทำงานร่วมกับจีนในประเด็นต่างๆ อาทิ สาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ การปราบปรามลัทธิก่อการร้าย และความพยายามในการยุติโครงการนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือด้วย
ทั้งนี้ โอบามาวางแผนที่จะเดินทางมาเยือนจีนในปีนี้ หลังจากได้พบปะและพูดคุยกับประธานาธิบดีหู จิ่นเทาของจีนที่ลอนดอนเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งในครั้งนั้นผู้นำทั้งสองได้ให้คำมั่นจะเดินหน้ากระชับความสัมพันธ์พร้อมผลักดันการประชุมระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ โดยจีนนอกจากจะเป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 3 ของโลกและมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุดในโลกแล้ว ยังถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มากถึง 767,900 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ รองจากแคนาดา
อย่างไรก็ตามเมื่อปีที่แล้ว จีนเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากทุบสถิติถึง 266,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดชนวนความไม่พอใจในหมู่บริษัทและองค์กรสหรัฐฯ และกล่าวหารัฐบาลจีนแทรกแซงให้ค่าเงินหยวนต่ำค่ากว่าความเป็นจริงเพื่อกระตุ้นการส่งออก
ด้านเคนเนธ ไลเบอร์ธัล ผู้อำนวยการอาวุโสจากสภาความมั่นคงแห่งชาติประจำภาคพื้นเอเชียกล่าวว่า “นี่เป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญมาก และผมคิดว่า จอน ฮันต์สแมน เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด”
ฮันต์สแมนวัย 49 ปี เป็นบุตรชายของนายจอน ฮันต์สแมน มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเคมีภัณฑ์ “ฮันต์สแมน คอร์ป” ซึ่งดำเนินกิจการในจีนและมีโรงงานตั้งอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ ก่อนได้รับเสนอชื่อให้เป็นทูตประจำประเทศจีน เขาเคยเป็นทูตสหรัฐฯ ในสิงคโปร์สมัยรัฐบาลของประธานาธิบดี จอร์จ เอช ดับเบิลยู บุช, เป็นรองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ สมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช และยังเป็นประธานร่วมในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีให้แก่วุฒิสมาชิก จอห์น แมคเคนด้วย
และที่สำคัญคือเขาสามารถพูดภาษาจีนกลาง ซึ่งเป็นภาษาราชการและมีชาวจีนกว่า 70% ใช้ โดยฮันต์สแมนเคยเรียนภาษาจีนเมื่อครั้งไปเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์นิกายมอร์มอนที่ไต้หวัน
ไลเบอร์ธัลกล่าวต่อว่า “จีนเป็นกุญแจสำคัญในหลายประเด็น” อาทิ การขาดดุลการค้า แรงงานภาคการผลิตตกงาน และเรื่องพลังงาน “การได้นักการเมืองคนดังจากพรรคริพับลิกันมาเป็นทูตก็จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและการยอมรับในนโยบายของรัฐบาลจากสมาชิกพรรคริพับลิกันในสภามากขึ้น”
การที่โอบามาจากพรรคเดโมแครต เสนอสมาชิกพรรคริพับลิกันให้มาดำรงตำแหน่งสำคัญนั้น ถือเป็นความพยายามหนึ่งของผู้นำแดนอินทรีที่ต้องการแสวงหาความร่วมมือระหว่างสองขั้วอำนาจในรัฐบาลของเขา เช่นเดียวกับการที่แต่งตั้ง เรย์ ลาฮูด จากพรรคริพับลิกันเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ โรเบิร์ต เกทส์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในสมัยรัฐบาลบุช ก็ยังคงรั้งตำแหน่งเดิมอยู่ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม การเสนอชื่อฮันต์สแมนในครั้งนี้ยังจะต้องได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน แต่คาดว่าคงไม่มีปัญหาเพราะบรรดาสมาชิกจากพรรคริพับลิกันและเดโมแครตเองต่างแสดงท่าทีสนับสนุน ขณะที่จอห์น แมคเคนก็มองว่าฮันต์สแมนเป็นตัวเลือกที่ดีเยี่ยม
ด้านฮันต์สแมนเองนั้นกล่าวแถลงเมื่อวันเสาร์ว่า ความสัมพันธ์กับจีนเป็นความสัมพันธ์แบบทวิภาคีเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับสหรัฐฯ พร้อมทิ้งท้ายคำสุภาษิตจีนเป็นภาษาจีน ซึ่งมีความหมายว่า “ทำงานด้วยกัน ก้าวหน้าด้วยกัน”