南 (nán) อ่านว่า หนัน แปลว่า ทิศใต้
辕 (yuán) อ่านว่า หยวน แปลตรงตัวคือขอนไม้หน้ารถม้าสำหรับให้ม้าลาก ในที่นี้หมายถึงทิศที่ตั้งใจจะมุ่งไป
北 (běi) อ่านว่า เป่ย แปลว่า ทิศเหนือ
辙 (zhé) อ่านว่า เจ๋อ แปลตรงตัวคือรอยล้อรถ ในที่นี้หมายถึงเส้นทางที่รถหรือเกวียนวิ่งไป
ปลายสมัยสงครามระหว่างรัฐซึ่งจีนแตกออกเป็นรัฐต่างๆ มากมาย อ๋องรัฐเว่ยในขณะนั้นได้คิดการใหญ่ ต้องการแผ่อาณาจักรปกครองรัฐอื่น จึงวางแผนที่จะใช้กำลังทหารโจมตีรัฐเจ้า เมื่อเรื่องนี้รู้ถึงหูของจี้เหลียง ซึ่งเป็นขุนนางชั้นสูงของรัฐเว่ยที่กำลังติดภารกิจยังต่างประเทศ ทำให้เขาต้องรีบเดินทางกลับมาเฝ้าเว่ยอ๋องอย่างเร่งด่วน เพื่อทัดทานแผนการนี้
เมื่อได้เข้าเฝ้า ขุนนางจี้เหลียงกราบทูลเว่ยอ๋องว่า “วันนี้ระหว่างที่ข้าน้อยกำลังเดินทางกลับ ได้พบกับคนผู้หนึ่งซึ่งกำลังนั่งรถม้าวิ่งขึ้นเหนือ ทว่าเขากลับบอกข้าน้อยว่ากำลังเดินทางไปยังรัฐฉู่ ข้าน้อยได้ฟังให้สงสัยเป็นยิ่งนัก เพราะรัฐฉู่อยู่ทางทิศใต้ จึงถามออกไปว่า “เหตุใดท่านไม่บังคับรถม้าให้วิ่งลงใต้เล่า?” ซึ่งชายผู้นั้นตอบกลับมาว่า “ไม่เป็นไรหรอก ม้าของข้าเป็นม้าดี วิ่งเร็ว” ข้าน้อยจึงกล่าวเตือนไปว่า “ถึงม้าเร็วก็ไร้ประโยชน์ เพราะรัฐฉู่ไม่ได้ตั้งอยู่ทางทิศนั้น” ทว่าเขากลับตอบมาว่า “ไม่เป็นไรหรอก ข้ายังมีเงินพอใช้จ่ายไปตลอดทาง” ยิ่งมาข้าน้อยยิ่งไม่เข้าใจ เพราะไม่ว่าชายผู้นั้นจะมีปัจจัยเอื้ออำนวยดีเพียงใด แต่หากเขาไม่ได้เดินทางไปในทิศทางที่ถูกต้อง ก็คงไม่สามารถไปถึงรัฐฉู่ แต่กลับห่างจากรัฐฉู่ออกไปทุกทีๆ”
กล่าวถึงตอนนี้ จี้เหลียงก็หยุด และวกกลับเข้ามาที่ประเด็นปัญหา เขาเอ่ยว่า “เช่นเดียวกัน วันนี้ท่านอ๋องต้องการให้ใต้หล้าสยบอยู่ใต้อำนาจของพระองค์เพราะเชื่อว่ากำลังทหารเราเข้มแข็งกว่า จึงจะไปบุกยึดรัฐเจ้า ทั้งๆ ที่การที่ผู้คนในใต้หล้าจะศิโรราบให้พระองค์นั้นต้องมาจากความเชื่อถือศรัทธาเป็นที่ตั้ง แต่การใช้กำลังเข้าบังคับของพระองค์กลับจะเป็นการทำลายความเชื่อถือศรัทธาจากผู้คนเสียมากกว่า ไม่ต่างจากชายผู้ที่ต้องการเดินทางลงใต้แต่กลับบังคับรถให้วิ่งขึ้นเหนือผู้นั้น ที่ยิ่งกระทำการลงไปกลับยิ่งทำให้ตนเองไกลห่างจากเป้าหมายออกไปทุกที ทุกที”
เมื่อเว่ยอ๋องฟังจบ ก็เห็นด้วยกับขุนนางผู้นี้ จึงตัดสินใจยกเลิกแผนการโจมตีรัฐเจ้าลงในที่สุด
“หนันหยวนเป่ยเจ๋อ” หรือ “หันรถขึ้นเหนือเพื่อมุ่งลงใต้” ใช้เปรียบเทียบกับการกระทำที่ผิดวิธี ยิ่งทำจึงยิ่งทำให้เป้าหมายที่วางไว้ไกลห่างออกไปเรื่อยๆ
辕 (yuán) อ่านว่า หยวน แปลตรงตัวคือขอนไม้หน้ารถม้าสำหรับให้ม้าลาก ในที่นี้หมายถึงทิศที่ตั้งใจจะมุ่งไป
北 (běi) อ่านว่า เป่ย แปลว่า ทิศเหนือ
辙 (zhé) อ่านว่า เจ๋อ แปลตรงตัวคือรอยล้อรถ ในที่นี้หมายถึงเส้นทางที่รถหรือเกวียนวิ่งไป
ปลายสมัยสงครามระหว่างรัฐซึ่งจีนแตกออกเป็นรัฐต่างๆ มากมาย อ๋องรัฐเว่ยในขณะนั้นได้คิดการใหญ่ ต้องการแผ่อาณาจักรปกครองรัฐอื่น จึงวางแผนที่จะใช้กำลังทหารโจมตีรัฐเจ้า เมื่อเรื่องนี้รู้ถึงหูของจี้เหลียง ซึ่งเป็นขุนนางชั้นสูงของรัฐเว่ยที่กำลังติดภารกิจยังต่างประเทศ ทำให้เขาต้องรีบเดินทางกลับมาเฝ้าเว่ยอ๋องอย่างเร่งด่วน เพื่อทัดทานแผนการนี้
เมื่อได้เข้าเฝ้า ขุนนางจี้เหลียงกราบทูลเว่ยอ๋องว่า “วันนี้ระหว่างที่ข้าน้อยกำลังเดินทางกลับ ได้พบกับคนผู้หนึ่งซึ่งกำลังนั่งรถม้าวิ่งขึ้นเหนือ ทว่าเขากลับบอกข้าน้อยว่ากำลังเดินทางไปยังรัฐฉู่ ข้าน้อยได้ฟังให้สงสัยเป็นยิ่งนัก เพราะรัฐฉู่อยู่ทางทิศใต้ จึงถามออกไปว่า “เหตุใดท่านไม่บังคับรถม้าให้วิ่งลงใต้เล่า?” ซึ่งชายผู้นั้นตอบกลับมาว่า “ไม่เป็นไรหรอก ม้าของข้าเป็นม้าดี วิ่งเร็ว” ข้าน้อยจึงกล่าวเตือนไปว่า “ถึงม้าเร็วก็ไร้ประโยชน์ เพราะรัฐฉู่ไม่ได้ตั้งอยู่ทางทิศนั้น” ทว่าเขากลับตอบมาว่า “ไม่เป็นไรหรอก ข้ายังมีเงินพอใช้จ่ายไปตลอดทาง” ยิ่งมาข้าน้อยยิ่งไม่เข้าใจ เพราะไม่ว่าชายผู้นั้นจะมีปัจจัยเอื้ออำนวยดีเพียงใด แต่หากเขาไม่ได้เดินทางไปในทิศทางที่ถูกต้อง ก็คงไม่สามารถไปถึงรัฐฉู่ แต่กลับห่างจากรัฐฉู่ออกไปทุกทีๆ”
กล่าวถึงตอนนี้ จี้เหลียงก็หยุด และวกกลับเข้ามาที่ประเด็นปัญหา เขาเอ่ยว่า “เช่นเดียวกัน วันนี้ท่านอ๋องต้องการให้ใต้หล้าสยบอยู่ใต้อำนาจของพระองค์เพราะเชื่อว่ากำลังทหารเราเข้มแข็งกว่า จึงจะไปบุกยึดรัฐเจ้า ทั้งๆ ที่การที่ผู้คนในใต้หล้าจะศิโรราบให้พระองค์นั้นต้องมาจากความเชื่อถือศรัทธาเป็นที่ตั้ง แต่การใช้กำลังเข้าบังคับของพระองค์กลับจะเป็นการทำลายความเชื่อถือศรัทธาจากผู้คนเสียมากกว่า ไม่ต่างจากชายผู้ที่ต้องการเดินทางลงใต้แต่กลับบังคับรถให้วิ่งขึ้นเหนือผู้นั้น ที่ยิ่งกระทำการลงไปกลับยิ่งทำให้ตนเองไกลห่างจากเป้าหมายออกไปทุกที ทุกที”
เมื่อเว่ยอ๋องฟังจบ ก็เห็นด้วยกับขุนนางผู้นี้ จึงตัดสินใจยกเลิกแผนการโจมตีรัฐเจ้าลงในที่สุด
“หนันหยวนเป่ยเจ๋อ” หรือ “หันรถขึ้นเหนือเพื่อมุ่งลงใต้” ใช้เปรียบเทียบกับการกระทำที่ผิดวิธี ยิ่งทำจึงยิ่งทำให้เป้าหมายที่วางไว้ไกลห่างออกไปเรื่อยๆ