เอเชียน วอลล์ สตรีต เจอร์นัล/เอเอฟพี – ไชนาลโคเผย ทำสัญญาทุ่มเงิน 19,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มการถือหุ้นในริโอ ทินโต ซึ่งกำลังดิ้นหาเงินสด ลดภาระหนี้สินสุดฤทธิ์ ด้านรัฐบาลออสซี่ ส่งสัญญาณต้าน ประกาศแผนแก้ไขกฎหมายการลงทุนของต่างชาติทันควัน
การจับมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไชนาลโค วิสาหกิจรัฐ ผู้ผลิตอะลูมิเนียมของจีน กับริโอ ทินโต บริษัทเหมืองแร่รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ซึ่งนับเป็นการลงทุนในบริษัทต่างชาติครั้งใหญ่สุดสำหรับบริษัทแดนมังกรนั้น จะทำให้ไชนาลโคมีหุ้นเพิ่มในบริษัทดังกล่าวทั้งสิ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 และได้ที่นั่งในคณะกรรมการบริหาร 2 ที่นั่ง
ภายใต้สัญญา ไชนาลโคจะทุ่มเงินจำนวน 12,300 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อหุ้นในโครงการผลิตแร่อะลูมิเนียม, ทองแดง และเหล็ก นอกจากนั้น จะลงทุนจำนวน 7,200 ล้านดอลาร์ เข้าซื้อตราสารหนี้ ซึ่งสามารถแปลงเป็นหุ้นของริโอได้ในราคา ที่สูงกว่าราคาหุ้นของริโอ ที่ซื้อขายกันในตลาดออสเตรเลียและตลาดลอนดอน
นายเซียว หย่าชิง ประธานไชนาลโค แถลงเมื่อวันพฤหัสฯ (12 ก.พ.) ว่า การทำข้อตกลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อสู้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในระยะยาวของจีน
ขณะที่นักวิเคราะห์ก็เห็นว่า เป็นการแสดงถึงอำนาจเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของจีน และความปรารถนาสร้างความมั่นคงด้านแหล่งทรัพยากร เพื่อป้อนเศรษฐกิจ ที่กำลังเติบโต นอกจากนั้น ยังเป็นการกระจายความมั่งคั่ง ที่เงินทุนกำลังโตขึ้นไปไว้ยังส่วนต่าง ๆในโลกอีกด้วย
ด้านริโอ ทินโต ซึ่งเป็นกิจการของอังกฤษและออสเตรเลีย ถูกกดดันให้ต้องทำสัญญา ที่ไม่มีใครคาดคิด เพราะกำลังร้อนเงินสด สำหรับมาจัดการกับหนี้สิน ที่สูงเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ โดยริโอ ทินโต เคยถูกบีเอชพี บิลลิตัน บริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในโลก จ้องซื้อกิจการมานานแล้ว จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเงินโลกขึ้น จึงรามือไป
การประกาศการทำสัญญาฉบับนี้มีขึ้นในขณะที่กำไรสุทธิประจำปีของริโอ ทินโตตกลงถึงร้อยละ 50 อันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดิ่งลง
อย่างไรก็ตาม สัญญายังต้องรอการอนุมัติจากหลายฝ่าย ซึ่งรวมทั้งทางการออสเตรเลีย และผู้ถือหุ้นของริโอเอง แต่หนทางคงไม่ราบรื่น เพราะหลังจากสองบริษัทเปิดเผยการทำสัญญาได้ไม่นาน กระทรวงการคลังของออสเตรเลียก็ออกมาประกาศทันทีว่า รัฐบาลจะแก้ไขกฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนของต่างชาติที่ซับซ้อน ซึ่งมีการใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่นหุ้นกู้แปลงสภาพ หัวใจสำคัญของการทำสัญญาระหว่างริโอกับไชนาลโค อันเป็นการส่งสัญญาณว่า รัฐบาลออสเตรเลียจะตรวจสอบสัญญาอย่างละเอียดยิบ
ขณะเดียวกัน ด้านผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางรายของริโอเองยังระบุว่า ไม่เคยมีการมาปรึกษาเรื่องการทำสัญญาฉบับนี้กับผู้ถือหุ้นกันก่อนเลย
การจับมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไชนาลโค วิสาหกิจรัฐ ผู้ผลิตอะลูมิเนียมของจีน กับริโอ ทินโต บริษัทเหมืองแร่รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ซึ่งนับเป็นการลงทุนในบริษัทต่างชาติครั้งใหญ่สุดสำหรับบริษัทแดนมังกรนั้น จะทำให้ไชนาลโคมีหุ้นเพิ่มในบริษัทดังกล่าวทั้งสิ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 และได้ที่นั่งในคณะกรรมการบริหาร 2 ที่นั่ง
ภายใต้สัญญา ไชนาลโคจะทุ่มเงินจำนวน 12,300 ล้านดอลลาร์ เข้าซื้อหุ้นในโครงการผลิตแร่อะลูมิเนียม, ทองแดง และเหล็ก นอกจากนั้น จะลงทุนจำนวน 7,200 ล้านดอลาร์ เข้าซื้อตราสารหนี้ ซึ่งสามารถแปลงเป็นหุ้นของริโอได้ในราคา ที่สูงกว่าราคาหุ้นของริโอ ที่ซื้อขายกันในตลาดออสเตรเลียและตลาดลอนดอน
นายเซียว หย่าชิง ประธานไชนาลโค แถลงเมื่อวันพฤหัสฯ (12 ก.พ.) ว่า การทำข้อตกลงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นต่อสู้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในระยะยาวของจีน
ขณะที่นักวิเคราะห์ก็เห็นว่า เป็นการแสดงถึงอำนาจเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของจีน และความปรารถนาสร้างความมั่นคงด้านแหล่งทรัพยากร เพื่อป้อนเศรษฐกิจ ที่กำลังเติบโต นอกจากนั้น ยังเป็นการกระจายความมั่งคั่ง ที่เงินทุนกำลังโตขึ้นไปไว้ยังส่วนต่าง ๆในโลกอีกด้วย
ด้านริโอ ทินโต ซึ่งเป็นกิจการของอังกฤษและออสเตรเลีย ถูกกดดันให้ต้องทำสัญญา ที่ไม่มีใครคาดคิด เพราะกำลังร้อนเงินสด สำหรับมาจัดการกับหนี้สิน ที่สูงเกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์ โดยริโอ ทินโต เคยถูกบีเอชพี บิลลิตัน บริษัทเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในโลก จ้องซื้อกิจการมานานแล้ว จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเงินโลกขึ้น จึงรามือไป
การประกาศการทำสัญญาฉบับนี้มีขึ้นในขณะที่กำไรสุทธิประจำปีของริโอ ทินโตตกลงถึงร้อยละ 50 อันเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ดิ่งลง
อย่างไรก็ตาม สัญญายังต้องรอการอนุมัติจากหลายฝ่าย ซึ่งรวมทั้งทางการออสเตรเลีย และผู้ถือหุ้นของริโอเอง แต่หนทางคงไม่ราบรื่น เพราะหลังจากสองบริษัทเปิดเผยการทำสัญญาได้ไม่นาน กระทรวงการคลังของออสเตรเลียก็ออกมาประกาศทันทีว่า รัฐบาลจะแก้ไขกฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้นสำหรับการลงทุนของต่างชาติที่ซับซ้อน ซึ่งมีการใช้เครื่องมือทางการเงิน เช่นหุ้นกู้แปลงสภาพ หัวใจสำคัญของการทำสัญญาระหว่างริโอกับไชนาลโค อันเป็นการส่งสัญญาณว่า รัฐบาลออสเตรเลียจะตรวจสอบสัญญาอย่างละเอียดยิบ
ขณะเดียวกัน ด้านผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางรายของริโอเองยังระบุว่า ไม่เคยมีการมาปรึกษาเรื่องการทำสัญญาฉบับนี้กับผู้ถือหุ้นกันก่อนเลย