เอเจนซี - ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อคลี่คลายปัญหาวิกฤตการเงินและแนวโน้มเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังได้ประกาศอัดฉีดเงิน 1,000 ล้านหยวนให้แก่สถาบันการเงินเพื่อช่วยรับประกันสินเชื่อสำหรับธุรกิจ SMEs
เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของจีนชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 9% จากปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดในรอบ 5 ปีของประเทศ และยิ่งชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสต่อจากนี้ เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนเริ่มชะลอตัว ผนวกกับอุปสงค์การส่งออกก็ตกฮวบ
“รัฐบาลกำลังพยายามขจัดอุปสรรคทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่า การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงเล็กน้อยนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงใดๆ” มาร์ก วิลเลี่ยมส์ นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ในลอนดอนกล่าว
จากการตัดสินใจครั้งนี้จีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.27% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปีเหลือ 6.66% ขณะดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 3.60% โดยทางธนาคารกลางแห่งประเทศจีนได้ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย ก่อนที่ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ หรือ เฟด จะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ 1%
ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป และอังกฤษ ก็คาดว่าจะมีการปรับต้นทุนการกู้ยืมลงในเร็ววันนี้ เนื่องจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ทั้งนี้จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดียวกับที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนพากันรายงานผลประกอบการที่ทรุดฮวบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ซึ่งเป็นหลักฐานสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวิสาหกิจจีนนั้นได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
“การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมันขยายวงกว้างและมาถึงจีนเร็วมาก จนประชาชนไม่มีโอกาสรับมือหรือตอบโต้” วินเซนต์ ชาน หัวหน้าฝ่ายวิจัยกองทุนจีนจากบริษัทเครดิต สวิส กรุ๊ปกล่าว
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากหวังว่าจีนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก และอัดฉีดเงินลงทุนด้านบริการสังคมและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “จีนจำเป็นจะต้องงัดนโยบายทางการคลังออกมาตอบโต้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน” ชานกล่าว
โดยที่ผ่านมามีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนออกมาจากทุกภาคธุรกิจตั้งแต่เหล็กยันชิปปิ้ง ดังเช่นเป่าซัน ไอร่อน แอนด์ สตีล (เป่าสตีล) บริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของจีน ได้ลดเป้ากำไรลงเหลือ 19.2% เนื่องจากการส่งออกเหล็กชะลอตัวลง จากความต้องการก่อสร้างที่ลดลง ส่งผลให้เหล็กราคาตก “บริษัทของเราจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่หนักหนาขึ้นในไตรมาสที่ 4 และต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้าเลยทีเดียว” เป่าสตีลกล่าว
หรือในกรณีที่สองสายการบินยักษ์ใหญ่ของจีน แอร์ไชน่า และไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ ประกาศขาดทุนในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ทั้งที่เป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากปัญหาต้นทุนการปฏิบัติการสูง และความอุปสงค์ที่ลดลง โดยไชน่า อิสเทิร์นให้สัมภาษณ์ว่า “ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยนี้ทำให้ความต้องการเดินทางทางเครื่องบินลดลง และเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้”
ต่อปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ เสี่ยว์ หลัน หัวหน้าฝ่ายวิจัยกองทุนจีนจากซิตี้ กรุ๊ป แสดงความเห็นว่า ในไตรมาสต่อไปบริษัทจีนก็ยังจะต้องทนรับแรงกดดันจากผลกำไรที่ชะลอตัวลง “บริษัทจีนหลายแห่งเดินเครื่องขยายศักยภาพการผลิตมากเกินไป และภาวะเงินฝืดในตอนนี้ส่งผลให้ความต้องการสินค้าชะลอตัวลง”
ต่อลมหายใจ SMEs
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการจีนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (29 ต.ค.) กระทรวงการคลังแห่งประเทศจีนได้ประกาศอัดฉีดเงิน 1,000 ล้านหยวน (146 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อรับประกันสินเชื่อสำหรับบริษัทเหล่านี้ โดยรัฐบาลจะอัดฉีดเงินก้อนนี้เพื่อชดเชยการขาดทุนและความเสี่ยงให้แก่สถาบันการเงิน ที่ให้สินเชื่อแก่บริษัทเหล่านี้
อนึ่ง ปีนี้จีนพยายามอย่างยิ่งในการกระตุ้นการพัฒนาของธุรกิจ SMEs ของจีน โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลได้อัดฉีดเงิน 1,900 ล้านหยวนเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มการหักคืนภาษีสำหรับสินค้าส่งออกบางประเภทเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถแก้ปัญหาผลกำไรลดลงเนื่องจากความต้องการในตลาดชะลอตัว
เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของจีนชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 9% จากปีก่อนหน้า ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ช้าที่สุดในรอบ 5 ปีของประเทศ และยิ่งชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสต่อจากนี้ เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์จีนเริ่มชะลอตัว ผนวกกับอุปสงค์การส่งออกก็ตกฮวบ
“รัฐบาลกำลังพยายามขจัดอุปสรรคทั้งหมดเพื่อให้มั่นใจว่า การที่เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลงเล็กน้อยนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบร้ายแรงใดๆ” มาร์ก วิลเลี่ยมส์ นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัทแคปิตอล อีโคโนมิกส์ ในลอนดอนกล่าว
จากการตัดสินใจครั้งนี้จีนได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.27% โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปีเหลือ 6.66% ขณะดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ 3.60% โดยทางธนาคารกลางแห่งประเทศจีนได้ตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ย ก่อนที่ธนาคารกลางแห่งสหรัฐฯ หรือ เฟด จะตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 มาอยู่ที่ 1%
ขณะที่ธนาคารกลางของประเทศอื่นๆ อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป และอังกฤษ ก็คาดว่าจะมีการปรับต้นทุนการกู้ยืมลงในเร็ววันนี้ เนื่องจากผลกระทบวิกฤตเศรษฐกิจโลกยังคงขยายตัวต่อเนื่อง
ทั้งนี้จีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดียวกับที่บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนพากันรายงานผลประกอบการที่ทรุดฮวบในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี ซึ่งเป็นหลักฐานสะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่าวิสาหกิจจีนนั้นได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
“การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมันขยายวงกว้างและมาถึงจีนเร็วมาก จนประชาชนไม่มีโอกาสรับมือหรือตอบโต้” วินเซนต์ ชาน หัวหน้าฝ่ายวิจัยกองทุนจีนจากบริษัทเครดิต สวิส กรุ๊ปกล่าว
อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากหวังว่าจีนจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก และอัดฉีดเงินลงทุนด้านบริการสังคมและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ “จีนจำเป็นจะต้องงัดนโยบายทางการคลังออกมาตอบโต้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน” ชานกล่าว
โดยที่ผ่านมามีสัญญาณบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนออกมาจากทุกภาคธุรกิจตั้งแต่เหล็กยันชิปปิ้ง ดังเช่นเป่าซัน ไอร่อน แอนด์ สตีล (เป่าสตีล) บริษัทผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของจีน ได้ลดเป้ากำไรลงเหลือ 19.2% เนื่องจากการส่งออกเหล็กชะลอตัวลง จากความต้องการก่อสร้างที่ลดลง ส่งผลให้เหล็กราคาตก “บริษัทของเราจะต้องเผชิญกับความท้าทายที่หนักหนาขึ้นในไตรมาสที่ 4 และต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้าเลยทีเดียว” เป่าสตีลกล่าว
หรือในกรณีที่สองสายการบินยักษ์ใหญ่ของจีน แอร์ไชน่า และไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ ประกาศขาดทุนในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ทั้งที่เป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว เนื่องจากปัญหาต้นทุนการปฏิบัติการสูง และความอุปสงค์ที่ลดลง โดยไชน่า อิสเทิร์นให้สัมภาษณ์ว่า “ภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยนี้ทำให้ความต้องการเดินทางทางเครื่องบินลดลง และเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะยังไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้”
ต่อปรากฏการณ์ข้างต้นนี้ เสี่ยว์ หลัน หัวหน้าฝ่ายวิจัยกองทุนจีนจากซิตี้ กรุ๊ป แสดงความเห็นว่า ในไตรมาสต่อไปบริษัทจีนก็ยังจะต้องทนรับแรงกดดันจากผลกำไรที่ชะลอตัวลง “บริษัทจีนหลายแห่งเดินเครื่องขยายศักยภาพการผลิตมากเกินไป และภาวะเงินฝืดในตอนนี้ส่งผลให้ความต้องการสินค้าชะลอตัวลง”
ต่อลมหายใจ SMEs
เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการจีนขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลก เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (29 ต.ค.) กระทรวงการคลังแห่งประเทศจีนได้ประกาศอัดฉีดเงิน 1,000 ล้านหยวน (146 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อรับประกันสินเชื่อสำหรับบริษัทเหล่านี้ โดยรัฐบาลจะอัดฉีดเงินก้อนนี้เพื่อชดเชยการขาดทุนและความเสี่ยงให้แก่สถาบันการเงิน ที่ให้สินเชื่อแก่บริษัทเหล่านี้
อนึ่ง ปีนี้จีนพยายามอย่างยิ่งในการกระตุ้นการพัฒนาของธุรกิจ SMEs ของจีน โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลได้อัดฉีดเงิน 1,900 ล้านหยวนเพื่อสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ และเพิ่มการหักคืนภาษีสำหรับสินค้าส่งออกบางประเภทเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถแก้ปัญหาผลกำไรลดลงเนื่องจากความต้องการในตลาดชะลอตัว