เอเอฟพี – สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนระบุ ช้าง “ต้าเกอ” เลิกเสพเฮโรอีนแล้ว หลังจากเข้ารับการบำบัดที่ไห่หนันถึง 3 ปี
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ขณะนี้ช้างสายพันธุ์เอเชียอายุ 4 ปี ชื่อ "ต้าเกอ" และช้างอื่นๆ ที่มีอาการติดสารเสพย์ติดอีก 4 ตัวได้รับการบำบัดและเตรียมส่งต่อไปยังศูนย์อนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าที่เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนันทางภาคใต้ของจีนแล้ว หลังจากที่นำเข้ารักษาในศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่าที่มณฑลไห่หนัน(ไหหลำ) ตั้งแต่ปี 2005 รวมระยะเวลาในการบำบัด 3 ปี
เจ้าหน้าที่ได้บำบัดช้างติดยาด้วยการฉีดเมทาโดน (methadone)สารที่ใช้รักษาผู้ติดเฮโรอีน ในปริมาณที่มากกว่าที่ใช้ในมนุษย์ 5 เท่า
ทั้งนี้ต้าเกอ เป็นช้างป่าที่เจ้าหน้าที่ในอุทยานอนุรักษ์สัตว์ป่าหยุนหนัน(ยูนนาน) ให้ความช่วยเหลือ ขณะที่เข้าจับกุมผู้ค้าของเถื่อนบริเวณชายแดนพม่า-จีนเมื่อปลายปี 2005 ซึ่งขณะนั้นต้าเกอและผองเพื่อนถูกพ่อค้าเหล่านี้ป้อนด้วยกล้วยที่สอดไส้เฮโรอีนไว้ข้างใน เป่ยจิง นิวส์รายงาน
เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าอาการของช้างต้าเกอ มีลักษณะคล้ายกับคนที่มีอาการลงแดงเนื่องจากไม่ได้เสพยาเสพย์ติด อาทิ นัยน์ตาแดงกล่ำ ร้องคร่ำครวญ
ด้านกองทุนสัตว์ป่าโลก รายงานว่าปัจจุบันประชากรช้างป่าสายพันธุ์เอเชียหลงเหลืออยู่ในป่าเพียง 25,600 – 32,750 ตัวเท่านั้น เนื่องจากมนุษย์รุกรานและทำลายพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหารของช้าง อีกทั้งยังมีค่านิยมล้มช้างเพื่อเอางาช้าง
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ขณะนี้ช้างสายพันธุ์เอเชียอายุ 4 ปี ชื่อ "ต้าเกอ" และช้างอื่นๆ ที่มีอาการติดสารเสพย์ติดอีก 4 ตัวได้รับการบำบัดและเตรียมส่งต่อไปยังศูนย์อนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ป่าที่เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนันทางภาคใต้ของจีนแล้ว หลังจากที่นำเข้ารักษาในศูนย์พิทักษ์สัตว์ป่าที่มณฑลไห่หนัน(ไหหลำ) ตั้งแต่ปี 2005 รวมระยะเวลาในการบำบัด 3 ปี
เจ้าหน้าที่ได้บำบัดช้างติดยาด้วยการฉีดเมทาโดน (methadone)สารที่ใช้รักษาผู้ติดเฮโรอีน ในปริมาณที่มากกว่าที่ใช้ในมนุษย์ 5 เท่า
ทั้งนี้ต้าเกอ เป็นช้างป่าที่เจ้าหน้าที่ในอุทยานอนุรักษ์สัตว์ป่าหยุนหนัน(ยูนนาน) ให้ความช่วยเหลือ ขณะที่เข้าจับกุมผู้ค้าของเถื่อนบริเวณชายแดนพม่า-จีนเมื่อปลายปี 2005 ซึ่งขณะนั้นต้าเกอและผองเพื่อนถูกพ่อค้าเหล่านี้ป้อนด้วยกล้วยที่สอดไส้เฮโรอีนไว้ข้างใน เป่ยจิง นิวส์รายงาน
เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าอาการของช้างต้าเกอ มีลักษณะคล้ายกับคนที่มีอาการลงแดงเนื่องจากไม่ได้เสพยาเสพย์ติด อาทิ นัยน์ตาแดงกล่ำ ร้องคร่ำครวญ
ด้านกองทุนสัตว์ป่าโลก รายงานว่าปัจจุบันประชากรช้างป่าสายพันธุ์เอเชียหลงเหลืออยู่ในป่าเพียง 25,600 – 32,750 ตัวเท่านั้น เนื่องจากมนุษย์รุกรานและทำลายพื้นที่ป่าซึ่งเป็นแหล่งอาหารของช้าง อีกทั้งยังมีค่านิยมล้มช้างเพื่อเอางาช้าง