รอยเตอร์ – ผู้เชี่ยวชาญเป็นห่วงกระแสนิยมนั่งดูปักกิ่งเกมส์หน้าจอทีวี ซึ่งเป็นกิจกรรมยอดฮิตที่สุดในรอบเดือนนี้บนแดนมังกร เตือนจีนอาจได้คนอ้วนเพิ่มขึ้นภายหลังการแข่งขันปิดฉาก
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้สื่อมวลชนจีนถึงกับขนานนามกองทัพแฟนกีฬาโอลิมปิกหน้าจอทีวีว่า “โอตากุ” ซึ่งเป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า “บ้านที่น่าเคารพ” และมักหมายถึงคนทึ่ม ๆ ที่หมกมุ่นอยู่กับงานอดิเรกจนถึงขั้นที่ไม่ยอมออกจากบ้านไปไหนเลย
จากข้อมูลตัวเลขระบุว่า ประชากรจีนทั้งหมด 1,300 ล้านคน มีถึงราว 840 ล้านคน ที่เปิดทีวีชมพิธีเปิดการแข่งขันปักกิ่งเกมส์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยคาดว่า ความสนใจเฝ้าชมการแข่งขันทางหน้าจอทีวีจะอยู่ในระดับสูงไปจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันปิดการแข่งขัน
การนั่งดูโทรทัศน์มากขึ้น , การทำงานที่ร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง และการเปลี่ยนวิถีบริโภคจากอาหารดั้งเดิมของชาวจีน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักและคาร์โบไฮเดรต มีเนื้อสัตว์น้อย หันมารับประทานอาหารแบบชาวตะวันตกกันมากขึ้น ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อนมไข่ สิ่งเหล่านี้ทำให้คนจีนน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายกิโลกรัม
“คนเป็นแม่หลายคนไม่รู้กันแล้วล่ะว่าจะให้ลูกกินอะไร” นางจ้าว หัว กล่าว ขณะกำลังรับประทานอาหารกลางวันกับถันหนิง ลูกชายวัย 6 ขวบในร้านแม็คโดนัลด์ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
“แต่ก่อนนั้นนะคะ ถ้าอ้วนนิดหน่อยจะถือว่าดี เพราะแสดงว่าแข็งแรง แต่เดี๋ยวนี้พวกเด็ก ๆ กำลังอ้วนมากเกินไป”
จากสถิติแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ชาวจีนถึงราว 1 ใน 4 อ้วนพุงพลุ้ย หรือมีน้ำหนักเกิน โดยถึงแม้เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าชาติอื่น ๆ อีกหลายชาติ แต่ก็เพิ่มขึ้นจากในปี 2534 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 13 และมีการคาดการณ์ด้วยว่า จำนวนคนอ้วนในจีนอาจเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 20 ปีข้างหน้าคือในปี 2571
ขณะที่ตัวเลขขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2548 ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันร้อยละ 65 เป็นคนอ้วน หรือมีน้ำหนักเกิน
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยนอร์ท คาโรไลน่า ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเดอะ เจอร์นัล เฮลท์ แอฟแฟร์ส (the Journal Health Affairs) ฉบับเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ระบุว่า ในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด มีเม็กซิโกเท่านั้น ที่อัตราคนอ้วนเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าของจีน
ด้านโครงการอาหารโลกระบุว่า ปัจจุบัน เด็กชายอายุ 6 ขวบในจีนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 6 กิโลกรัม และมีส่วนสูงมากกว่าเด็กอายุ 6 ขวบเมื่อสมัย 30 ปีก่อนถึงเกือบ 6.4 เซนติเมตร
“เราต้องค้นหาหลักเกณฑ์และการลงทุน ที่เหมาะสม เพื่อผลักดันให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ ไม่เช่นนั้น เราจะต้องเผชิญความเสี่ยงจากอัตราการตาย,โรคภัยไข้เจ็บ และต้นทุนเกี่ยวข้องอื่น ๆ กันมากขึ้น” แบร์รี่ พ้อปคิ่น ซึ่งเป็นนักวิจัย เตือนอย่างเป็นห่วง
ปัจจุบัน วิถีการบริโภคในจีนกำลังเปลี่ยนไป ขณะที่ร้านแม็คโดนัลด์และเคเอฟซีผุดขึ้นหลายร้อยแห่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังได้ตำหนิเรื่องที่ชาวจีนขาดการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เพราะเวลานี้ชาวจีนขับรถยนต์กันมากขึ้น แต่ขี่จักรยานบนท้องถนนน้อยลง
ด้านหนังสือพิมพ์พีเพิ่ลส์เดลี่ของจีนรายงานว่า จีนมีสนามกีฬาโดยเฉลี่ยไม่ถึง 7 สนามต่อประชาชน 10,000 คน ขณะที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสนามกีฬาโดยเฉลี่ย 200 สนามต่อประชาชนจำนวนเดียวกัน
“สมัยนี้พวกวัยรุ่นชอบเล่นแต่วิดีโอเกมกันทั้งน้าน ชอบดูทีวี และเด็ก ๆ ของเราก็ชอบแม็คโดนัลด์ ซึ่งไม่มีประโยชน์กับร่างกายเล้ย ! ”
คุณแม่คนหนึ่งให้ความเห็น ว่าแล้วก็หยิบมันฝรั่งทอดเข้าปากเคี้ยวกร๊อบ ๆ อยู่ในร้านแม็คโดนัลด์อย่างเอร็ดอร่อยกับลูกชาย วัย 3 ขวบ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้สื่อมวลชนจีนถึงกับขนานนามกองทัพแฟนกีฬาโอลิมปิกหน้าจอทีวีว่า “โอตากุ” ซึ่งเป็นคำในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายว่า “บ้านที่น่าเคารพ” และมักหมายถึงคนทึ่ม ๆ ที่หมกมุ่นอยู่กับงานอดิเรกจนถึงขั้นที่ไม่ยอมออกจากบ้านไปไหนเลย
จากข้อมูลตัวเลขระบุว่า ประชากรจีนทั้งหมด 1,300 ล้านคน มีถึงราว 840 ล้านคน ที่เปิดทีวีชมพิธีเปิดการแข่งขันปักกิ่งเกมส์เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยคาดว่า ความสนใจเฝ้าชมการแข่งขันทางหน้าจอทีวีจะอยู่ในระดับสูงไปจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งเป็นวันปิดการแข่งขัน
การนั่งดูโทรทัศน์มากขึ้น , การทำงานที่ร่างกายเคลื่อนไหวน้อยลง และการเปลี่ยนวิถีบริโภคจากอาหารดั้งเดิมของชาวจีน ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผักและคาร์โบไฮเดรต มีเนื้อสัตว์น้อย หันมารับประทานอาหารแบบชาวตะวันตกกันมากขึ้น ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อนมไข่ สิ่งเหล่านี้ทำให้คนจีนน้ำหนักเพิ่มขึ้นหลายกิโลกรัม
“คนเป็นแม่หลายคนไม่รู้กันแล้วล่ะว่าจะให้ลูกกินอะไร” นางจ้าว หัว กล่าว ขณะกำลังรับประทานอาหารกลางวันกับถันหนิง ลูกชายวัย 6 ขวบในร้านแม็คโดนัลด์ขนาดใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
“แต่ก่อนนั้นนะคะ ถ้าอ้วนนิดหน่อยจะถือว่าดี เพราะแสดงว่าแข็งแรง แต่เดี๋ยวนี้พวกเด็ก ๆ กำลังอ้วนมากเกินไป”
จากสถิติแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่ชาวจีนถึงราว 1 ใน 4 อ้วนพุงพลุ้ย หรือมีน้ำหนักเกิน โดยถึงแม้เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าชาติอื่น ๆ อีกหลายชาติ แต่ก็เพิ่มขึ้นจากในปี 2534 ซึ่งมีเพียงร้อยละ 13 และมีการคาดการณ์ด้วยว่า จำนวนคนอ้วนในจีนอาจเพิ่มเป็นสองเท่าในอีก 20 ปีข้างหน้าคือในปี 2571
ขณะที่ตัวเลขขององค์การอนามัยโลกระบุว่า ในปี 2548 ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันร้อยละ 65 เป็นคนอ้วน หรือมีน้ำหนักเกิน
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยนอร์ท คาโรไลน่า ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารเดอะ เจอร์นัล เฮลท์ แอฟแฟร์ส (the Journal Health Affairs) ฉบับเดือนกรกฎาคม/สิงหาคม ระบุว่า ในบรรดาประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด มีเม็กซิโกเท่านั้น ที่อัตราคนอ้วนเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าของจีน
ด้านโครงการอาหารโลกระบุว่า ปัจจุบัน เด็กชายอายุ 6 ขวบในจีนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก 6 กิโลกรัม และมีส่วนสูงมากกว่าเด็กอายุ 6 ขวบเมื่อสมัย 30 ปีก่อนถึงเกือบ 6.4 เซนติเมตร
“เราต้องค้นหาหลักเกณฑ์และการลงทุน ที่เหมาะสม เพื่อผลักดันให้ประชาชนดำเนินชีวิตอย่างถูกสุขลักษณะ ไม่เช่นนั้น เราจะต้องเผชิญความเสี่ยงจากอัตราการตาย,โรคภัยไข้เจ็บ และต้นทุนเกี่ยวข้องอื่น ๆ กันมากขึ้น” แบร์รี่ พ้อปคิ่น ซึ่งเป็นนักวิจัย เตือนอย่างเป็นห่วง
ปัจจุบัน วิถีการบริโภคในจีนกำลังเปลี่ยนไป ขณะที่ร้านแม็คโดนัลด์และเคเอฟซีผุดขึ้นหลายร้อยแห่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญยังได้ตำหนิเรื่องที่ชาวจีนขาดการออกกำลังกายด้วยเช่นกัน เพราะเวลานี้ชาวจีนขับรถยนต์กันมากขึ้น แต่ขี่จักรยานบนท้องถนนน้อยลง
ด้านหนังสือพิมพ์พีเพิ่ลส์เดลี่ของจีนรายงานว่า จีนมีสนามกีฬาโดยเฉลี่ยไม่ถึง 7 สนามต่อประชาชน 10,000 คน ขณะที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีสนามกีฬาโดยเฉลี่ย 200 สนามต่อประชาชนจำนวนเดียวกัน
“สมัยนี้พวกวัยรุ่นชอบเล่นแต่วิดีโอเกมกันทั้งน้าน ชอบดูทีวี และเด็ก ๆ ของเราก็ชอบแม็คโดนัลด์ ซึ่งไม่มีประโยชน์กับร่างกายเล้ย ! ”
คุณแม่คนหนึ่งให้ความเห็น ว่าแล้วก็หยิบมันฝรั่งทอดเข้าปากเคี้ยวกร๊อบ ๆ อยู่ในร้านแม็คโดนัลด์อย่างเอร็ดอร่อยกับลูกชาย วัย 3 ขวบ